- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 22 December 2017 18:51
- Hits: 2351
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนียังได้แรงหนุนจากกองทุนในประเทศ ทั้ง LTF และ Window Dressing และต่างชาติชะลอการขาย แต่ดัชนียังมีโอกาสผันผวนตามแรงขายทำกำไรในกรอบ 1730-1744 จุด กลยุทธ์ยังแนะนำทยอยขายหุ้นแพง BJC, CPALL, ROBINS, CENTEL, TOP, LANNA แต่ให้เลือกหุ้นปันผล (PTTEP, BANPU, INTUCH, CPF, SCC, SCB) Top picks เลือก INTUCH (FV@79) และ SCC(FV@B620) นอกจาก Laggard เงินปันผลสูง ยังมีโอกาสทำ Window Dressing
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนียังได้แรงหนุนจากกองทุนในประเทศ ทั้ง LTF และ Window Dressing และต่างชาติชะลอการขาย แต่ดัชนียังมีโอกาสผันผวนตามแรงขายทำกำไรในกรอบ 1730-1744 จุด กลยุทธ์ยังแนะนำทยอยขายหุ้นแพง BJC, CPALL, ROBINS, CENTEL, TOP, LANNA แต่ให้เลือกหุ้นปันผล (PTTEP, BANPU, INTUCH, CPF, SCC, SCB) Top picks เลือก INTUCH (FV@79) และ SCC(FV@B620) นอกจาก Laggard เงินปันผลสูง ยังมีโอกาสทำ Window Dressing
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … กลุ่มพลังงาน - ธ.พ. กดดันตลาดฯ ปิดลบเล็กน้อย
วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับต่อขึ้นในกรอบแคบๆ ก่อนจะปิดตลาดที่ 1736.91 จุด ลดลงเล็กน้อย 1.25 จุด หรือ 0.07% มูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 3.6 หมื่นล้านบาท แต่ละอุตสาหกรรมเคลื่อนไหวค่อนข้างกระจัดกระจาย โดยหุ้นกลุ่มพลังงานกดดันตลาดมากที่สุด PTT ลดลง 0.5% โรงกลั่น TOP ลดลง 0.95%, IRPC ลดลง 0.7% ESSO, SPRC ลดลง 0.6% และ 1.15% โรงไฟฟ้า GPSC, GLOW ลดลง 1.52% และ 1.21% ตามลำดับ เช่นเดียวกันกับหุ้นขนาดใหญ่ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ทั้ง KBANK, BBL, TMB และ KTB ลดลง 0.43%, 0.5%, 0.7% และ 0.52% ตามลำดับ ส่วนหุ้นกลุ่มค้าปลีก อย่าง MAKRO เผชิญแรงขายทำกำไรกดดันราคาหุ้นปรับตัวลดลง 1.86% หลังจากปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่ต้นสัปดาห์แล้วกว่า 13.4% ขณะที่หุ้นในกลุ่มฯ BIG, ROBINS, COM7 ลดลง 6%, 0.34% และ 0.62% ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกลุ่ม ICT ปรับตัวขึ้นโดดเด่นสวนทางตลาด นำโดย ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ทั้ง DTAC TRUE ADVANC ปรับขึ้น 3.51%, 0.81% และ 0.54% ตามลำดับ เช่นเดียวกับ THCOM ฟื้นตัวแรง 3.28% และ INTUCH เพิ่มขึ้น 0.45% ฝ่ายวิจัยยังชื่นชอบ INTUCH ยังคงฟื้นตัวตาม ADVANC (INTUCH ถือหุ้น 40.45%) ส่วน THCOM (INTUCH ถือหุ้น 41.14%) จะฟื้นตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดหนุนจากลูกค้าใหม่ที่เข้ามาใช้งานอย่างต่อเนื่อง ยังมีปันผลสูงกว่า 4% ต่อปี และ upside เปิดกว้างกว่า 42%
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสแกว่งพักตัวหลังจากปรับขึ้นมา 6 วันติด อีกทั้งเข้าใกล้แนวต้าน 1744 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1730 จุด
วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับต่อขึ้นในกรอบแคบๆ ก่อนจะปิดตลาดที่ 1736.91 จุด ลดลงเล็กน้อย 1.25 จุด หรือ 0.07% มูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 3.6 หมื่นล้านบาท แต่ละอุตสาหกรรมเคลื่อนไหวค่อนข้างกระจัดกระจาย โดยหุ้นกลุ่มพลังงานกดดันตลาดมากที่สุด PTT ลดลง 0.5% โรงกลั่น TOP ลดลง 0.95%, IRPC ลดลง 0.7% ESSO, SPRC ลดลง 0.6% และ 1.15% โรงไฟฟ้า GPSC, GLOW ลดลง 1.52% และ 1.21% ตามลำดับ เช่นเดียวกันกับหุ้นขนาดใหญ่ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ทั้ง KBANK, BBL, TMB และ KTB ลดลง 0.43%, 0.5%, 0.7% และ 0.52% ตามลำดับ ส่วนหุ้นกลุ่มค้าปลีก อย่าง MAKRO เผชิญแรงขายทำกำไรกดดันราคาหุ้นปรับตัวลดลง 1.86% หลังจากปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่ต้นสัปดาห์แล้วกว่า 13.4% ขณะที่หุ้นในกลุ่มฯ BIG, ROBINS, COM7 ลดลง 6%, 0.34% และ 0.62% ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกลุ่ม ICT ปรับตัวขึ้นโดดเด่นสวนทางตลาด นำโดย ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ทั้ง DTAC TRUE ADVANC ปรับขึ้น 3.51%, 0.81% และ 0.54% ตามลำดับ เช่นเดียวกับ THCOM ฟื้นตัวแรง 3.28% และ INTUCH เพิ่มขึ้น 0.45% ฝ่ายวิจัยยังชื่นชอบ INTUCH ยังคงฟื้นตัวตาม ADVANC (INTUCH ถือหุ้น 40.45%) ส่วน THCOM (INTUCH ถือหุ้น 41.14%) จะฟื้นตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดหนุนจากลูกค้าใหม่ที่เข้ามาใช้งานอย่างต่อเนื่อง ยังมีปันผลสูงกว่า 4% ต่อปี และ upside เปิดกว้างกว่า 42%
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสแกว่งพักตัวหลังจากปรับขึ้นมา 6 วันติด อีกทั้งเข้าใกล้แนวต้าน 1744 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1730 จุด
BOJ ยังคงดอกเบี้ย และ QE ตามเดิม ส่วนการขยายเพดานหนี้สหรัฐน่าจะผ่านทันเส้นตายวันนี้
ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เป็นไปตามคาด คือยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% (ตั้งแต่ พ.ย. 58) และคงวงเงิน QQE เดือนละ 80 ล้านล้านเยนต่อปี ควบคู่กับการรักษาเส้น Yield Curve เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นยังอยู่ในระดับต่ำ ล่าสุด เดือน ต.ค. 0.2%yoy และเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังฟื้นตัวล่าช้าสะท้อนจาก IMF คาด GDP ญี่ปุ่นปี 2561 จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัว 0.7%yoy จาก 1.5%yoy ในปีนี้
ขณะที่สหรัฐ ประเด็นการปฎิรูปภาษี คือ ลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 21% จากเดิม 35% และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะลดขั้นบนสุดเหลือ 37% จากเดิม 39.6% ทั้งหมด 7 ขั้น ตามฐานรายได้ อยู่ในขั้นตอนสุดท้าย คือส่งให้ประธานาธิบดี ทรัมป์ เซ็นอนุมัติเป็นกฎหมาย ก่อนวันคริสต์มาส 25 ธ.ค. และจะบังคับใช้ปี 2561 ทันที ซึ่งเป็นประด็นที่ตลาดรับรู้ไปแล้ว ขณะที่ประเด็นปัญหาทางการคลังสหรัฐ คือ เพดานหนี้ (Debt Ceiling) ซึ่งปัจจุบันมีหนี้ใกล้เคียงกับเพดานหนี้ที่กำหนด 19.9 ล้านล้านเหรียญฯ (ยอดหนี้สาธารณะล่าสุด ราว 20 ล้านล้านเหรียญฯ) ล่าสุด สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ได้ผ่านร่างกฎหมายระยะสั้น เพื่อให้รัฐบาลมีงบประมาณไปจนถึงวันที่ 19 ม.ค. 2561 และส่งต่อให้วุฒิสภา (ส.ว.) พิจารณา เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา Government Shutdown ดังที่เคยเกิดขึ้นในช่วง 1-16 ต.ค. 2556 ราว 16 วัน อย่างไรก็ตามเชื่อว่าจะมีขยายเพดานหนี้ออกไปเหมือนทุกครั้ง
ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เป็นไปตามคาด คือยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% (ตั้งแต่ พ.ย. 58) และคงวงเงิน QQE เดือนละ 80 ล้านล้านเยนต่อปี ควบคู่กับการรักษาเส้น Yield Curve เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นยังอยู่ในระดับต่ำ ล่าสุด เดือน ต.ค. 0.2%yoy และเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังฟื้นตัวล่าช้าสะท้อนจาก IMF คาด GDP ญี่ปุ่นปี 2561 จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัว 0.7%yoy จาก 1.5%yoy ในปีนี้
ขณะที่สหรัฐ ประเด็นการปฎิรูปภาษี คือ ลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 21% จากเดิม 35% และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะลดขั้นบนสุดเหลือ 37% จากเดิม 39.6% ทั้งหมด 7 ขั้น ตามฐานรายได้ อยู่ในขั้นตอนสุดท้าย คือส่งให้ประธานาธิบดี ทรัมป์ เซ็นอนุมัติเป็นกฎหมาย ก่อนวันคริสต์มาส 25 ธ.ค. และจะบังคับใช้ปี 2561 ทันที ซึ่งเป็นประด็นที่ตลาดรับรู้ไปแล้ว ขณะที่ประเด็นปัญหาทางการคลังสหรัฐ คือ เพดานหนี้ (Debt Ceiling) ซึ่งปัจจุบันมีหนี้ใกล้เคียงกับเพดานหนี้ที่กำหนด 19.9 ล้านล้านเหรียญฯ (ยอดหนี้สาธารณะล่าสุด ราว 20 ล้านล้านเหรียญฯ) ล่าสุด สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ได้ผ่านร่างกฎหมายระยะสั้น เพื่อให้รัฐบาลมีงบประมาณไปจนถึงวันที่ 19 ม.ค. 2561 และส่งต่อให้วุฒิสภา (ส.ว.) พิจารณา เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา Government Shutdown ดังที่เคยเกิดขึ้นในช่วง 1-16 ต.ค. 2556 ราว 16 วัน อย่างไรก็ตามเชื่อว่าจะมีขยายเพดานหนี้ออกไปเหมือนทุกครั้ง
ส่งออกเดือน พ.ย. เติบโต สูงสุดของปีนี้ คาดปีนี้ส่งออกใกล้เคียง 10%
กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดการค้าระหว่างประเทศเดือน พ.ย. ยังส่งสัญญาณขยายตัวต่อเนื่อง คือ ยอดส่งออก(ในรูปดอลลาร์)ขยายตัว 13.4%yoy ที่ 2.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (สกุลบาทขยายตัว 7.2% ผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่า) เป็นขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 และระดับสูงสุดของปีนี้ หากพิจารณาตลาดส่งอออก พบว่าขยายตัวเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะคู่ค้าหลักคือ จีน, สหรัฐ, ญี่ปุ่นและเวียดนาม (รวมกันราว 40% ของตลาดส่งออกรวมทั้งหมด) และตลาดที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 คือ ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย และตลาดที่พลิกกลับมาขยายตัวอีกครั้ง คือ สิงคโปร์, ลาว, เม็กซิโก ขณะที่ตลาดยังหดตัวคือ ซาอุดิอาระเบีย, บราซิล และสวิตเซอร์แลนด์ และสินค้าส่งออกที่ขยายตัวมาจาก คอมพิวเตอร์, ผลิตภัณฑ์ยาง, เม็ดพลาสติก, รถยนต์ และยางพารา ขณะที่สินค้าที่ยังหดตัว คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า, อัญมณี
ขณะที่ยอดนำเข้า ขยายตัว 13.7%yoy ที่ 1.97 หมื่นล้านเหรียญ (7.6% ในสกุลเงินบาท) สินค้าหลักที่มีการนำเข้า คือประเภทวัตถุดิบที่ใช้เพื่อการส่งออก อาทิ เคมีภัณฑ์ และ แผงวงจรไฟฟ้าที่ขยายตัว 16 เดือนติดต่อกัน, เหล็กขยายตัวเป็นเดือนที่ 3 และเป็นที่สังเกตว่าในเดือน พ.ย. การนำเข้าเครื่องจักรกลไฟฟ้าและ เครื่องจักรกลปกติ ยังเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 และ 5 ตามลำดับ สะท้อนว่าเอกชนยังมีการลงทุนและนำเข้าเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง
โดยรวมทำให้ยอดส่งออกและนำเข้าเฉลี่ย 11M60 ขยายตัว 10%yoyและ14.6%yoy (เทียบกับ ASPS คาดปี 2560 9.5%และ14.7%) โดยปี 2561 ASPS ประเมินว่าภาคการค้าระหว่างประเทศยังขยายตัวแต่ในอัตราที่ชะลอลง แต่ปัจจัยขับเคลื่อนหลักจะมาจากการลงทุนเอกชนเริ่มกระเตื้องขึ้นและเห็นเป็นรูปธรรมในช่วง 2H61 จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนผ่าน EEC ตามหลังการลงทุนภาครัฐที่ได้นำร่องลงทุนโครงสร้างขนาดใหญ่ และปี 2561 มีโครงการรอประมูลราว 9.2 แสนล้านบาท หนุนให้ GDP Growth ปี 2561 ขยายตัวที่ 4.2%yoy จาก 3.8% ในปี 2560
ขณะที่ยอดนำเข้า ขยายตัว 13.7%yoy ที่ 1.97 หมื่นล้านเหรียญ (7.6% ในสกุลเงินบาท) สินค้าหลักที่มีการนำเข้า คือประเภทวัตถุดิบที่ใช้เพื่อการส่งออก อาทิ เคมีภัณฑ์ และ แผงวงจรไฟฟ้าที่ขยายตัว 16 เดือนติดต่อกัน, เหล็กขยายตัวเป็นเดือนที่ 3 และเป็นที่สังเกตว่าในเดือน พ.ย. การนำเข้าเครื่องจักรกลไฟฟ้าและ เครื่องจักรกลปกติ ยังเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 และ 5 ตามลำดับ สะท้อนว่าเอกชนยังมีการลงทุนและนำเข้าเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง
โดยรวมทำให้ยอดส่งออกและนำเข้าเฉลี่ย 11M60 ขยายตัว 10%yoyและ14.6%yoy (เทียบกับ ASPS คาดปี 2560 9.5%และ14.7%) โดยปี 2561 ASPS ประเมินว่าภาคการค้าระหว่างประเทศยังขยายตัวแต่ในอัตราที่ชะลอลง แต่ปัจจัยขับเคลื่อนหลักจะมาจากการลงทุนเอกชนเริ่มกระเตื้องขึ้นและเห็นเป็นรูปธรรมในช่วง 2H61 จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนผ่าน EEC ตามหลังการลงทุนภาครัฐที่ได้นำร่องลงทุนโครงสร้างขนาดใหญ่ และปี 2561 มีโครงการรอประมูลราว 9.2 แสนล้านบาท หนุนให้ GDP Growth ปี 2561 ขยายตัวที่ 4.2%yoy จาก 3.8% ในปี 2560
ภาพรวมต่างชาติยังขายหุ้นในภูมิภาค แต่สลับมาซื้อหุ้นกลุ่ม TIP
วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ด้วยมูลค่า 276 ล้านเหรียญ โดยแรงขายเกิดขึ้นเฉพาะตลาดหุ้นในแถบเอเชียตะวันออก คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 277 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไต้หวัน 84 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตรงข้ามกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ที่ถูกต่างชาติซื้อสุทธิทั้ง 3 ประเทศ เริ่มจากอินโดนีเซีย 32 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3 วัน), ฟิลิปปินส์ 37 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 4 วัน) และไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 17 ล้านเหรียญ หรือ 560 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ยังคงเดินหน้าซื้อสุทธิอีก 693 ล้านบาท และเป็นการซื้อสุทธิทุกวันในเดือน ธ.ค. นี้ โดยมีมูลค่ารวมสูงถึง 2.31 หมื่นล้านบาท แรงซื้อสถาบันฯที่เข้ามาหนาแน่นในเดือนนี้ มาจากเม็ดเงิน LTF และการทำ Window Dressing ซึ่งน่าจะเป็นตัวช่วยสำคัญที่พยุง SET Index ในช่วงโค้งสุดท้ายของปี
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 7.83 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 2.99 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8)
เริ่มเห็นแรงขายทำกำไรหุ้นรายตัวที่เกิน Fair Value ยังคงให้สลับมายังหุ้น Laggard
ปัจจัยโดยรวมยังเป็นไปในเชิงบวก โดยราคาน้ำมันดิบวานนี้ฟื้นตัวขึ้นได้ และปัญหาเพดานหนี้สหรัฐที่น่าจะลุล่วงไปได้ ขณะที่ปัจจัยในประเทศยังได้ sentiment เชิงบวกจากตัวเลขส่งออกที่ขยายตัวได้ดี และแรงหนุนจากกองทุนในประเทศ ทั้ง LTF และการทำ window dressing หนุนดัชนีเดินหน้า แต่อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นที่ปรับขึ้นมามากน่าจะทำให้ยังเห็นการขายทำกำไรออกมาได้อีก โดยเฉพาะหุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ที่ให้ผลตอบแทนสูง เห็นได้จากช่วง 2-3 วันนี้เห็นแรงขายในหุ้น SET50 ออกมา ส่วนหุ้นขนาดกลาง-เล็ก เริ่มฟื้นตัว จึงยังคงแนะนำขายหุ้นใหญ่ที่ราคาหุ้นปรับขึ้นมามากในช่วง ต.ค. – ปัจจุบัน หรือมี upside เหลือน้อย เช่น
กลุ่มค้าปลีก เช่น BJC, CPALL, ROBINS เป็นต้น
กลุ่มท่องเที่ยว เช่น CENTEL และ ERW
กลุ่มพลังงาน เช่น LANNA, GPSC, EA, BCPG, CKP, TOP
ส่วนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เช่น TCAP และ TISCO ยังมี Div. Yield ยังสูงกว่า 4% จึงแนะนำสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว
กลยุทธ์การลงทุน ยังคงแนะนำให้สลับมาลงทุนในหุ้นที่ยัง laggard กว่าตลาดฯ เช่น SCC (FV@B620) SCB (FV@B174) UNIQ (FV@B24) IRPC ([email protected]) BANPU (FV@B26) BCH ([email protected]) SPALI ([email protected])
นอกจากนี้ ยังแนะนำลงทุนใน 3 theme หลักของกลยุทธ์การลงทุน 1Q61 ตามที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ
หุ้นที่คาดหวังเงินปันผลได้สูง มีระดับ P/E ไม่สูงมาก และแนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโต คือ INTUCH (FV@B79) ส่วน PTTEP (FV@B118) แนะนำลงทุนสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว เนื่องจากยังมีแนวโน้มเชิงบวกต่อราคาน้ำมันโลก
หุ้นทีได้ประโยชน์จากกระแสการลงทุนรอบใหม่ ทั้งกลุ่มรับเหมาฯ และกลุ่มนิคมฯ รวมทั้งเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง คือ STEC (FV@B30), SEAFCO (FV@B12), WHA ([email protected]), TK (FV@B20)
หุ้นที่เกาะกระแส Life Style สังคมเมืองที่นิยมใช้เวลาอยู่นอกบ้านมากขึ้น และกระแสความงาม-รักษ์สุขภาพ คือ PLANB ([email protected]) และ RS ([email protected])
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO3941
วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ด้วยมูลค่า 276 ล้านเหรียญ โดยแรงขายเกิดขึ้นเฉพาะตลาดหุ้นในแถบเอเชียตะวันออก คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 277 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไต้หวัน 84 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตรงข้ามกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ที่ถูกต่างชาติซื้อสุทธิทั้ง 3 ประเทศ เริ่มจากอินโดนีเซีย 32 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3 วัน), ฟิลิปปินส์ 37 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 4 วัน) และไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 17 ล้านเหรียญ หรือ 560 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ยังคงเดินหน้าซื้อสุทธิอีก 693 ล้านบาท และเป็นการซื้อสุทธิทุกวันในเดือน ธ.ค. นี้ โดยมีมูลค่ารวมสูงถึง 2.31 หมื่นล้านบาท แรงซื้อสถาบันฯที่เข้ามาหนาแน่นในเดือนนี้ มาจากเม็ดเงิน LTF และการทำ Window Dressing ซึ่งน่าจะเป็นตัวช่วยสำคัญที่พยุง SET Index ในช่วงโค้งสุดท้ายของปี
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 7.83 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 2.99 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8)
เริ่มเห็นแรงขายทำกำไรหุ้นรายตัวที่เกิน Fair Value ยังคงให้สลับมายังหุ้น Laggard
ปัจจัยโดยรวมยังเป็นไปในเชิงบวก โดยราคาน้ำมันดิบวานนี้ฟื้นตัวขึ้นได้ และปัญหาเพดานหนี้สหรัฐที่น่าจะลุล่วงไปได้ ขณะที่ปัจจัยในประเทศยังได้ sentiment เชิงบวกจากตัวเลขส่งออกที่ขยายตัวได้ดี และแรงหนุนจากกองทุนในประเทศ ทั้ง LTF และการทำ window dressing หนุนดัชนีเดินหน้า แต่อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นที่ปรับขึ้นมามากน่าจะทำให้ยังเห็นการขายทำกำไรออกมาได้อีก โดยเฉพาะหุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ที่ให้ผลตอบแทนสูง เห็นได้จากช่วง 2-3 วันนี้เห็นแรงขายในหุ้น SET50 ออกมา ส่วนหุ้นขนาดกลาง-เล็ก เริ่มฟื้นตัว จึงยังคงแนะนำขายหุ้นใหญ่ที่ราคาหุ้นปรับขึ้นมามากในช่วง ต.ค. – ปัจจุบัน หรือมี upside เหลือน้อย เช่น
กลุ่มค้าปลีก เช่น BJC, CPALL, ROBINS เป็นต้น
กลุ่มท่องเที่ยว เช่น CENTEL และ ERW
กลุ่มพลังงาน เช่น LANNA, GPSC, EA, BCPG, CKP, TOP
ส่วนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เช่น TCAP และ TISCO ยังมี Div. Yield ยังสูงกว่า 4% จึงแนะนำสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว
กลยุทธ์การลงทุน ยังคงแนะนำให้สลับมาลงทุนในหุ้นที่ยัง laggard กว่าตลาดฯ เช่น SCC (FV@B620) SCB (FV@B174) UNIQ (FV@B24) IRPC ([email protected]) BANPU (FV@B26) BCH ([email protected]) SPALI ([email protected])
นอกจากนี้ ยังแนะนำลงทุนใน 3 theme หลักของกลยุทธ์การลงทุน 1Q61 ตามที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ
หุ้นที่คาดหวังเงินปันผลได้สูง มีระดับ P/E ไม่สูงมาก และแนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโต คือ INTUCH (FV@B79) ส่วน PTTEP (FV@B118) แนะนำลงทุนสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว เนื่องจากยังมีแนวโน้มเชิงบวกต่อราคาน้ำมันโลก
หุ้นทีได้ประโยชน์จากกระแสการลงทุนรอบใหม่ ทั้งกลุ่มรับเหมาฯ และกลุ่มนิคมฯ รวมทั้งเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง คือ STEC (FV@B30), SEAFCO (FV@B12), WHA ([email protected]), TK (FV@B20)
หุ้นที่เกาะกระแส Life Style สังคมเมืองที่นิยมใช้เวลาอยู่นอกบ้านมากขึ้น และกระแสความงาม-รักษ์สุขภาพ คือ PLANB ([email protected]) และ RS ([email protected])
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO3941