- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 19 December 2017 16:27
- Hits: 1843
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ต่างชาติชะลอการขายและกลับมาซื้อเล็กน้อย หลัง Fed มีแผนการขึ้นดอกเบี้ย 2-3 ปีต่อเนื่อง ขณะที่การปรับโครงสร้างภาษีสหรัฐ หนุนเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ส่วนในประเทศยังได้แรงหนุนจาก สถาบันในประเทศทั้งจากการทำงานของ LTF และการทำ Window Dressing หนุนดัชนียืนเหนือ 1700 จุดได้ต่อเนื่อง กลยุทธ์เลือกหุ้นที่เข้าข่ายทำ Window Dressing (PTT, SCC, INTUCH, TISCO) และหุ้น Laggards + ปันผลสูง (PTTEP, BANPU, INTUCH, CPF) Top picks INTUCH(FV@79) และ WHA([email protected]) ได้ประโยชน์จาก EEC และยังเข้าคำนวณ SET50
กลยุทธ์การลงทุน
ต่างชาติชะลอการขายและกลับมาซื้อเล็กน้อย หลัง Fed มีแผนการขึ้นดอกเบี้ย 2-3 ปีต่อเนื่อง ขณะที่การปรับโครงสร้างภาษีสหรัฐ หนุนเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ส่วนในประเทศยังได้แรงหนุนจาก สถาบันในประเทศทั้งจากการทำงานของ LTF และการทำ Window Dressing หนุนดัชนียืนเหนือ 1700 จุดได้ต่อเนื่อง กลยุทธ์เลือกหุ้นที่เข้าข่ายทำ Window Dressing (PTT, SCC, INTUCH, TISCO) และหุ้น Laggards + ปันผลสูง (PTTEP, BANPU, INTUCH, CPF) Top picks INTUCH(FV@79) และ WHA([email protected]) ได้ประโยชน์จาก EEC และยังเข้าคำนวณ SET50
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย… หุ้นกลุ่มพลังงานนำตลาดปิดบวก
วานนี้ดัชนีแกว่งตัวในแดนบวกตลอดทั้งวัน และปิดที่ 1723.71 จุด เพิ่มขึ้น 6.02 จุด หรือ 0.35% มูลค่าการซื้อขาย 4.52 หมื่นล้านบาท ได้แรงหนุนจากหุ้น Big Cap ของกลุ่มพลังงาน โดย PTT เพิ่มขึ้น 0.93% ส่วน PTTEP เพิ่มขึ้น 3.17% ราคาหุ้นของ PTTEP ยัง Laggard ราคาน้ำมันดิบโลกที่ยืนเหนือ 60 เหรียญฯ และมี Div.Yield เกือบ 4% ต่อปี ส่วนหุ้นโรงกลั่นอย่าง IRPC เพิ่มขึ้นโดดเด่นกว่า 3.82% ตามด้วย TOP เพิ่มขึ้น 2.00% ESSO เพิ่มขึ้น 4.8% และ SRPC เพิ่มขึ้น 0.60% ตามด้วยกลุ่มปิโตรเคมี คือ IVL เพิ่มขึ้น 1.42% และ PTTGC เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.60% และกลุ่ม ICT โดย TRUE เพิ่มขึ้น 1.71% ADVANC เพิ่มขึ้น 0.81% และ INTUCH เพิ่มขึ้น 0.91% ซึ่งเป็น Top Pick ของฝ่ายวิจัย ด้วยเป็นหุ้นเด่น Window Dressing และยังสามารถคาด Div.Yield สูงกว่า 4.7%
สวนทางกับหุ้นรายตัวอย่าง DELTA, BLA และ STPI ที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง 2.6%, 1.4% และ 2.40% ตามลำดับ ซึ่งเป็นหุ้นที่กคัดออกจาก SET100 รอบ มก.ค-มิ.ย. 2561 นอกจากนี้หุ้นที่ถูกขายหนักคือ MCS ลดลงอีก 1.77% ตั้งแต่ต้นเดือน ธ.ค. ปรับตัวลงไปแล้วกว่า 30.63% จากความกังวลหลายประการ ทั้งการขายหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ การลาออกของผู้บริหาร แต่ฝ่ายวิจัยยังคงมั่นใจในปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของบริษัทฯ โดยคาด 4Q60 กำไรสุทธิสูงสุดของปีด้วยแผนส่งมอบงานที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนปี 2561 กำไรสุทธิจะเติบโตถึง 30% พร้อมคาด Div.Yield สูงถึง 7.3%
แนวโน้มตลาดวันนี้คาดดัชนียังปรับขึ้นได้ต่อ ทดสอบแนวต้าน 1730 จุด และแนวรับอยู่ที่ 1717 จุด
วานนี้ดัชนีแกว่งตัวในแดนบวกตลอดทั้งวัน และปิดที่ 1723.71 จุด เพิ่มขึ้น 6.02 จุด หรือ 0.35% มูลค่าการซื้อขาย 4.52 หมื่นล้านบาท ได้แรงหนุนจากหุ้น Big Cap ของกลุ่มพลังงาน โดย PTT เพิ่มขึ้น 0.93% ส่วน PTTEP เพิ่มขึ้น 3.17% ราคาหุ้นของ PTTEP ยัง Laggard ราคาน้ำมันดิบโลกที่ยืนเหนือ 60 เหรียญฯ และมี Div.Yield เกือบ 4% ต่อปี ส่วนหุ้นโรงกลั่นอย่าง IRPC เพิ่มขึ้นโดดเด่นกว่า 3.82% ตามด้วย TOP เพิ่มขึ้น 2.00% ESSO เพิ่มขึ้น 4.8% และ SRPC เพิ่มขึ้น 0.60% ตามด้วยกลุ่มปิโตรเคมี คือ IVL เพิ่มขึ้น 1.42% และ PTTGC เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.60% และกลุ่ม ICT โดย TRUE เพิ่มขึ้น 1.71% ADVANC เพิ่มขึ้น 0.81% และ INTUCH เพิ่มขึ้น 0.91% ซึ่งเป็น Top Pick ของฝ่ายวิจัย ด้วยเป็นหุ้นเด่น Window Dressing และยังสามารถคาด Div.Yield สูงกว่า 4.7%
สวนทางกับหุ้นรายตัวอย่าง DELTA, BLA และ STPI ที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง 2.6%, 1.4% และ 2.40% ตามลำดับ ซึ่งเป็นหุ้นที่กคัดออกจาก SET100 รอบ มก.ค-มิ.ย. 2561 นอกจากนี้หุ้นที่ถูกขายหนักคือ MCS ลดลงอีก 1.77% ตั้งแต่ต้นเดือน ธ.ค. ปรับตัวลงไปแล้วกว่า 30.63% จากความกังวลหลายประการ ทั้งการขายหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ การลาออกของผู้บริหาร แต่ฝ่ายวิจัยยังคงมั่นใจในปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของบริษัทฯ โดยคาด 4Q60 กำไรสุทธิสูงสุดของปีด้วยแผนส่งมอบงานที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนปี 2561 กำไรสุทธิจะเติบโตถึง 30% พร้อมคาด Div.Yield สูงถึง 7.3%
แนวโน้มตลาดวันนี้คาดดัชนียังปรับขึ้นได้ต่อ ทดสอบแนวต้าน 1730 จุด และแนวรับอยู่ที่ 1717 จุด
เอเชียยังใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายกระตุ้นเศรษฐกิจ สวนทางสหรัฐ
ตลาดหุ้นยังได้ Sentiment บวกจากมาตรการปฎิรูปภาษีของสหรัฐ หลังจากที่รัฐสภาได้ข้อสรุปคือ ภาษีเงินได้นิติบุคคลจะลดลงเหลือ 21% จากเดิม 35% และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะลดขั้นบนสุดเหลือ 37% จากเดิม 39.6% ทั้งหมด 7 ขั้น (ตามฐานรายได้) ซึ่งขั้นตอนต่อไปคือรัฐสภาลงคะแนนเสียง และส่งต่อให้ประธานาธิบดี ทรัมป์ เซ็นอนุมัติเป็นกฎหมาย โดยน่าจะเสร็จสิ้นก่อนคริสต์มาส 25 ธ.ค. และมีผลในปี 2561 ทันที ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐต่อไป สะท้อนจากดัชนี DJIA ได้ปรับขึ้นทำ New High 24792.2 จุด หรือ 25.45%ytd ทำให้โอกาสการปรับขึ้นอาจจะมีอัตราการเพิ่มที่ลดลง โดยต้องติดตามแผนการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐว่าจะเป็นไปตามกำหนดเดิม ที่ในช่วง 2561-2562 จะขึ้นปีละ 3 ครั้งละๆ 0.25% ทำให้ดอกเบี้ยสิ้นปี 2561 อยู่ที่ 2.25% และปี 2562 และ 3% ส่วนปี 2563 จะขึ้น 1ครั้ง อยู่ที่ 3.25%
ทางด้านยุโรป พบว่า อัตราเงินเฟ้อยุโรปเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นเป็น 1.5%yoy เพิ่มจากเดือน ต.ค. เล็กน้อยที่ 1.4% สินค้าหลักที่ราคาปรับเพิ่มขึ้น อาทิ น้ำมันทำความร้อน (Heating oil) เพิ่มขึ้น 12.3% น้ำมันรถยนต์เพิ่มขึ้น 6.5% ไข่ ชีสและนมเพิ่มขึ้น 4.0% สอดคล้องกับธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% (ตั้งแต่ มี.ค. 2559) และคงวงเงิน QE เดือนละ 3 หมื่นล้านยูโรไปจนถึงเดือน ก.ย. ปี 2561 เพราะอัตราเงินเฟ้อยังต่ำ และเศรษฐกิจในยุโรปบางประเทศยังฟื้นตัวล่าช้า โดยเฉพาะประเทศที่มีปัญหาทางการเงินกลุ่ม PIIGS
ทางฝั่งเอเซีย ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีกำหนดประชุมวันที่ 21 ธ.ค. ซึ่งคาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% (ตั้งแต่ พ.ย. 58) ต่อไป และคงวงเงิน QQE เดือนละ 80 ล้านล้านเยนต่อปี ควบคู่กับการรักษาเส้น Yield Curve เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่น ล่าสุด ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 0.2%yoy น่าจะหนุนให้ค่าเงินเยนทรงตัวในกรอบ หลังจากที่อ่อนตัวแรงในช่วงต้นปี 2560 ซึ่งน่าจะทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นแกว่งตัวในกรอบ หรือการปรับเพิ่มขึ้นจำกัด หลังจากที่ปรับเพิ่ม 20.18% ytd
ขณะที่ไทย วันที่ 20 ธ.ค. จะมีการประชุม กนง. ตลาดยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% (ตั้งแต่ เม.ย.58) เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อไทย ยังต่ำ ล่าสุดอยู่ที่ 0.99%yoy (เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี ม.ค.-พ.ย. ขยายตัว 0.66%yoy) สอดคล้องกับประเทศในภูมิภาคยังใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง โดยเฉพาะอินโดนีเซียที่ลดดอกเบี้ยฯ 2 ครั้งในปีนี้และอินเดียลดดอกเบี้ย 1 ครั้ง ขณะที่ประเทศอื่นๆ ยังยืนดอกเบี้ยที่เดิม และวันที่ 22 ธ.ค. จะมีรายงานยอดการค้าระหว่างประเทศ เดือน พ.ย. ตลาดคาด ยอดส่งออก(ในรูปดอลลาร์) ขยายตัว 7.8%yoy ชะลอจาก 13.1%ในเดือน ต.ค. และยอดนำเข้าคาดขยายตัว 12.8%yoy จาก 13.5%
ตลาดหุ้นยังได้ Sentiment บวกจากมาตรการปฎิรูปภาษีของสหรัฐ หลังจากที่รัฐสภาได้ข้อสรุปคือ ภาษีเงินได้นิติบุคคลจะลดลงเหลือ 21% จากเดิม 35% และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะลดขั้นบนสุดเหลือ 37% จากเดิม 39.6% ทั้งหมด 7 ขั้น (ตามฐานรายได้) ซึ่งขั้นตอนต่อไปคือรัฐสภาลงคะแนนเสียง และส่งต่อให้ประธานาธิบดี ทรัมป์ เซ็นอนุมัติเป็นกฎหมาย โดยน่าจะเสร็จสิ้นก่อนคริสต์มาส 25 ธ.ค. และมีผลในปี 2561 ทันที ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐต่อไป สะท้อนจากดัชนี DJIA ได้ปรับขึ้นทำ New High 24792.2 จุด หรือ 25.45%ytd ทำให้โอกาสการปรับขึ้นอาจจะมีอัตราการเพิ่มที่ลดลง โดยต้องติดตามแผนการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐว่าจะเป็นไปตามกำหนดเดิม ที่ในช่วง 2561-2562 จะขึ้นปีละ 3 ครั้งละๆ 0.25% ทำให้ดอกเบี้ยสิ้นปี 2561 อยู่ที่ 2.25% และปี 2562 และ 3% ส่วนปี 2563 จะขึ้น 1ครั้ง อยู่ที่ 3.25%
ทางด้านยุโรป พบว่า อัตราเงินเฟ้อยุโรปเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นเป็น 1.5%yoy เพิ่มจากเดือน ต.ค. เล็กน้อยที่ 1.4% สินค้าหลักที่ราคาปรับเพิ่มขึ้น อาทิ น้ำมันทำความร้อน (Heating oil) เพิ่มขึ้น 12.3% น้ำมันรถยนต์เพิ่มขึ้น 6.5% ไข่ ชีสและนมเพิ่มขึ้น 4.0% สอดคล้องกับธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% (ตั้งแต่ มี.ค. 2559) และคงวงเงิน QE เดือนละ 3 หมื่นล้านยูโรไปจนถึงเดือน ก.ย. ปี 2561 เพราะอัตราเงินเฟ้อยังต่ำ และเศรษฐกิจในยุโรปบางประเทศยังฟื้นตัวล่าช้า โดยเฉพาะประเทศที่มีปัญหาทางการเงินกลุ่ม PIIGS
ทางฝั่งเอเซีย ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีกำหนดประชุมวันที่ 21 ธ.ค. ซึ่งคาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% (ตั้งแต่ พ.ย. 58) ต่อไป และคงวงเงิน QQE เดือนละ 80 ล้านล้านเยนต่อปี ควบคู่กับการรักษาเส้น Yield Curve เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่น ล่าสุด ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 0.2%yoy น่าจะหนุนให้ค่าเงินเยนทรงตัวในกรอบ หลังจากที่อ่อนตัวแรงในช่วงต้นปี 2560 ซึ่งน่าจะทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นแกว่งตัวในกรอบ หรือการปรับเพิ่มขึ้นจำกัด หลังจากที่ปรับเพิ่ม 20.18% ytd
ขณะที่ไทย วันที่ 20 ธ.ค. จะมีการประชุม กนง. ตลาดยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% (ตั้งแต่ เม.ย.58) เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อไทย ยังต่ำ ล่าสุดอยู่ที่ 0.99%yoy (เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี ม.ค.-พ.ย. ขยายตัว 0.66%yoy) สอดคล้องกับประเทศในภูมิภาคยังใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง โดยเฉพาะอินโดนีเซียที่ลดดอกเบี้ยฯ 2 ครั้งในปีนี้และอินเดียลดดอกเบี้ย 1 ครั้ง ขณะที่ประเทศอื่นๆ ยังยืนดอกเบี้ยที่เดิม และวันที่ 22 ธ.ค. จะมีรายงานยอดการค้าระหว่างประเทศ เดือน พ.ย. ตลาดคาด ยอดส่งออก(ในรูปดอลลาร์) ขยายตัว 7.8%yoy ชะลอจาก 13.1%ในเดือน ต.ค. และยอดนำเข้าคาดขยายตัว 12.8%yoy จาก 13.5%
สถาบันฯยังซื้อหุ้นไทยทุกวันในเดือนนี้ และต่างชาติเริ่มสลับมาซื้อบ้างเล็กน้อย
ภาพรวมวานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค 128 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และเป็นการขายสุทธิทุกเกือบทุกประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 105 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยไต้หวัน 21 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และอินโดนีเซีย 15 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 13) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 13 ล้านเหรียญ หรือ 431 ล้านบาท และ เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่เดินหน้าซื้อสุทธิอีก 1.81 พันล้านบาท ทำให้ตลอดทั้งเดือน ธ.ค. 60 นี้ สถาบันฯยังคงซื้อสุทธิหุ้นไทยทุกวัน ด้วยมูลค่ารวมกว่า 1.82 หมื่นล้านบาท สาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากเม็ดเงิน LTF ที่มักจะเข้ามาหนาแน่นในเดือนนี้ และช่วยหนุน SET Index ในช่วงที่เหลือของปี สำหรับข้อมูลการซื้อขายตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ล่าสุด เช้านี้ยังไม่มีการอัพเดท ส่วนข้อมูลในวันก่อนหน้าต่างชาติสลับมาขายหุ้นฟิลิปปินส์ราว 22 ล้านเหรียญ
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 4.33 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิ 2.13 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5)
ภาพรวมวานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค 128 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และเป็นการขายสุทธิทุกเกือบทุกประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 105 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยไต้หวัน 21 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และอินโดนีเซีย 15 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 13) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 13 ล้านเหรียญ หรือ 431 ล้านบาท และ เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่เดินหน้าซื้อสุทธิอีก 1.81 พันล้านบาท ทำให้ตลอดทั้งเดือน ธ.ค. 60 นี้ สถาบันฯยังคงซื้อสุทธิหุ้นไทยทุกวัน ด้วยมูลค่ารวมกว่า 1.82 หมื่นล้านบาท สาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากเม็ดเงิน LTF ที่มักจะเข้ามาหนาแน่นในเดือนนี้ และช่วยหนุน SET Index ในช่วงที่เหลือของปี สำหรับข้อมูลการซื้อขายตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ล่าสุด เช้านี้ยังไม่มีการอัพเดท ส่วนข้อมูลในวันก่อนหน้าต่างชาติสลับมาขายหุ้นฟิลิปปินส์ราว 22 ล้านเหรียญ
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 4.33 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิ 2.13 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5)
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยปี 2561 ยังเป็นขาขึ้นแต่อาจจะมี upside จำกัด
ฝ่ายวิจัยได้ออกกลยุทธ์การลงทุนไตรมาส 1/2561 (ติดตามอ่าน Invest+, 1Q61 เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2560 ได้ที่ www.asiaplus.co.th) ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจปี 2561 ว่ายังคงฟื้นตัวได้ต่อ แต่ในอัตราที่ชะลอตัวลงจากปี 2560 เนื่องจากการเติบโตหลักๆ จะมาจากสหรัฐ โดยคาดหมายว่าจะยังเป็นผู้นำในการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในอีก 2 ปีข้างหน้า (ปี 2561 คาดปรับขึ้น 3 ครั้ง และปี 2562 คาดปรับขึ้นอีก 3 ครั้ง) สวนทางกับหลายประเทศในเอเชีย รวมถึงไทย คาดยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายถึงกลางปี 2561 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังคงเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดของสหรัฐ ทั้งการขึ้นดอกเบี้ยฯ และการลดขนาดงบดุล แม้จะทำให้กระแสเงินทุนไหลออกในปีนี้ แต่ถือว่าไม่มากนัก (หลังจากที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยอย่างหนักมาช่วงปี 2557 ภายหลังจากการหยุด QE) และด้วยการถือครองหุ้นไทยของต่างชาติอยู่ในระดับที่ต่ำเพียง 31.23% (ถือครองที่เป็นชื่อปิดโอนของต่างชาติราว 24.12% และ NVDR ราว 7.11%) จึงทำให้กระแสเงินที่ไหลออกช่วงปลายปีเป็นเพียงการปรับพอร์ตตามปกติ และเชื่อว่าต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นไทยในช่วง 1Q61 ซึ่งถือเป็นภาวะปกติของทุกปี (ขายปลายปี และกลับมาซื้อต้นปี)
ขณะที่กำไรสุทธิตลาดหุ้นไทยปี 2561 ประเมินว่าจะอยู่ที่ 1.11 ล้านล้านบาท คิดเป็น EPS ที่ 113.5 บาทต่อหุ้น เติบโต 14.5% ก้าวกระโดดจากปี 2560 ที่เติบโตต่ำเพียง 4.7% (เนื่องจากมีการปรับประมาณการฯ ในหลายกลุ่มฯ ส่งผลให้กำไรสุทธิตลาดฯ ปี 2560 ลงมาอยู่ที่ 9.75 แสนล้านบาท คิดเป็น EPS ที่ 99.1 บาท) ทำให้ตลาดหุ้นไทยมี Expected P/E ปี 2561 ลดลงมาที่ 15 เท่า มีความน่าใจมากขึ้น เมื่อเทียบกับหลายตลาด ทั้ง TIP หรือประเทศพัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐ และญี่ปุ่น ยกเว้น มาเลเซีย และ จีน
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินดัชนีเป้าหมายสิ้นปี 2561 อิง P/E 16 เท่า ได้ที่ 1,815 จุด และในงวด 1Q61 คาดดัชนีจะแกว่งตัวในกรอบ 1,693 - 1,744 จุด ทำให้ upside ในการขึ้นของดัชนีมีจำกัด กลยุทธ์การลงทุนในงวด 1Q61 เน้นลงทุนรายหุ้น โดยแบ่งเป็น 3 theme หลัก คือ
หุ้นที่คาดหวังเงินปันผลได้สูง มีระดับ P/E ไม่สูงมาก และแนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโต คือ PTTEP (FV@B118), INTUCH (FV@B79)
หุ้นทีได้ประโยชน์จากกระแสการลงทุนรอบใหม่ คือ STEC (FV@B30), SEAFCO (FV@B12), WHA ([email protected]), TK (FV@B20)
หุ้นที่เกาะกระแส Life Style สังคมเมืองที่นิยมใช้เวลาอยู่นอกบ้านมากขึ้น คือ PLANB ([email protected]) และ RS ([email protected])
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO3757
ฝ่ายวิจัยได้ออกกลยุทธ์การลงทุนไตรมาส 1/2561 (ติดตามอ่าน Invest+, 1Q61 เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2560 ได้ที่ www.asiaplus.co.th) ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจปี 2561 ว่ายังคงฟื้นตัวได้ต่อ แต่ในอัตราที่ชะลอตัวลงจากปี 2560 เนื่องจากการเติบโตหลักๆ จะมาจากสหรัฐ โดยคาดหมายว่าจะยังเป็นผู้นำในการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในอีก 2 ปีข้างหน้า (ปี 2561 คาดปรับขึ้น 3 ครั้ง และปี 2562 คาดปรับขึ้นอีก 3 ครั้ง) สวนทางกับหลายประเทศในเอเชีย รวมถึงไทย คาดยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายถึงกลางปี 2561 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังคงเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดของสหรัฐ ทั้งการขึ้นดอกเบี้ยฯ และการลดขนาดงบดุล แม้จะทำให้กระแสเงินทุนไหลออกในปีนี้ แต่ถือว่าไม่มากนัก (หลังจากที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยอย่างหนักมาช่วงปี 2557 ภายหลังจากการหยุด QE) และด้วยการถือครองหุ้นไทยของต่างชาติอยู่ในระดับที่ต่ำเพียง 31.23% (ถือครองที่เป็นชื่อปิดโอนของต่างชาติราว 24.12% และ NVDR ราว 7.11%) จึงทำให้กระแสเงินที่ไหลออกช่วงปลายปีเป็นเพียงการปรับพอร์ตตามปกติ และเชื่อว่าต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นไทยในช่วง 1Q61 ซึ่งถือเป็นภาวะปกติของทุกปี (ขายปลายปี และกลับมาซื้อต้นปี)
ขณะที่กำไรสุทธิตลาดหุ้นไทยปี 2561 ประเมินว่าจะอยู่ที่ 1.11 ล้านล้านบาท คิดเป็น EPS ที่ 113.5 บาทต่อหุ้น เติบโต 14.5% ก้าวกระโดดจากปี 2560 ที่เติบโตต่ำเพียง 4.7% (เนื่องจากมีการปรับประมาณการฯ ในหลายกลุ่มฯ ส่งผลให้กำไรสุทธิตลาดฯ ปี 2560 ลงมาอยู่ที่ 9.75 แสนล้านบาท คิดเป็น EPS ที่ 99.1 บาท) ทำให้ตลาดหุ้นไทยมี Expected P/E ปี 2561 ลดลงมาที่ 15 เท่า มีความน่าใจมากขึ้น เมื่อเทียบกับหลายตลาด ทั้ง TIP หรือประเทศพัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐ และญี่ปุ่น ยกเว้น มาเลเซีย และ จีน
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินดัชนีเป้าหมายสิ้นปี 2561 อิง P/E 16 เท่า ได้ที่ 1,815 จุด และในงวด 1Q61 คาดดัชนีจะแกว่งตัวในกรอบ 1,693 - 1,744 จุด ทำให้ upside ในการขึ้นของดัชนีมีจำกัด กลยุทธ์การลงทุนในงวด 1Q61 เน้นลงทุนรายหุ้น โดยแบ่งเป็น 3 theme หลัก คือ
หุ้นที่คาดหวังเงินปันผลได้สูง มีระดับ P/E ไม่สูงมาก และแนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโต คือ PTTEP (FV@B118), INTUCH (FV@B79)
หุ้นทีได้ประโยชน์จากกระแสการลงทุนรอบใหม่ คือ STEC (FV@B30), SEAFCO (FV@B12), WHA ([email protected]), TK (FV@B20)
หุ้นที่เกาะกระแส Life Style สังคมเมืองที่นิยมใช้เวลาอยู่นอกบ้านมากขึ้น คือ PLANB ([email protected]) และ RS ([email protected])
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO3757