- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 30 November 2017 17:01
- Hits: 893
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นยังผันผวน ทั้งขาดแรงซื้อต่างชาติ ขณะที่แรงซื้อสุทธิจาก LTF เป็นเพียงการประคองตลาด สะท้อนจากการซื้อขายมีลักษณะของการหมุนเวียนหุ้นรายกลุ่ม ทำให้ SET ยังแกว่งตัวบวก-ลบ 1700 จุด กลยุทธ์เน้นหุ้น Laggard + ปันผลสูง เช่น INTUCH(FV@B79) yield 4.8% PTTEP(FV@B118) yield 4% ส่วนวันนี้ Top picks สลับมาหุ้นที่มีแนวโน้มสดใสปี 2561 SEAFCO(FV@B12) เริ่มรับรู้งานสร้างรากฐานรถไฟฟ้าสีส้ม และสีชมพูจะตามมา อีกหุ้น BCH([email protected]) World Medical Center กำไรแล้วในเดือน พ.ย. หนุนกำไรให้เติบโตต่อเนื่อง
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นยังผันผวน ทั้งขาดแรงซื้อต่างชาติ ขณะที่แรงซื้อสุทธิจาก LTF เป็นเพียงการประคองตลาด สะท้อนจากการซื้อขายมีลักษณะของการหมุนเวียนหุ้นรายกลุ่ม ทำให้ SET ยังแกว่งตัวบวก-ลบ 1700 จุด กลยุทธ์เน้นหุ้น Laggard + ปันผลสูง เช่น INTUCH(FV@B79) yield 4.8% PTTEP(FV@B118) yield 4% ส่วนวันนี้ Top picks สลับมาหุ้นที่มีแนวโน้มสดใสปี 2561 SEAFCO(FV@B12) เริ่มรับรู้งานสร้างรากฐานรถไฟฟ้าสีส้ม และสีชมพูจะตามมา อีกหุ้น BCH([email protected]) World Medical Center กำไรแล้วในเดือน พ.ย. หนุนกำไรให้เติบโตต่อเนื่อง
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … ตลาดฯ ปิดลบ หลังเผชิญแรงขายทำกำไรรายหุ้น
แม้วานนี้ดัชนีจะแกว่งอยู่ในแดนบวกตลอดทั้งวัน แต่ช่วงท้ายของตลาดกลับโดนแรงขายกดดันดัชนีย่อลงมาปิดที่ 1705.33 จุด ลดลง 1.19 จุด หรือ 0.07% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 6.19 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่ถูกกดดัน อาทิ กลุ่มพลังงาน จาก PTT และ PTTEP ลดลง 0.5% และ 1.6% ตามลำดับ กลุ่มค้าปลีก BJC ลดลง 2.9% ตามด้วย HMPRO ลดลง 2.3% COM7 ลดลง 1.8% และ BEAUTY ลดลง 2.4% กลุ่มอาหารฯ เช่น CBG ลดลงกว่า 4.05% และ TKN ลดลงแรง 7.9% ส่วนหุ้นกลุ่มสื่อฯ WORK ลดลงแรงกว่า 5.9% เพราะตลาดน่าจะตกใจกับข้อมูลที่เพิ่งรับทราบจากบริษัทว่างวด 4Q60 ต้องเผชิญกับขาดทุน โดย ASPS ประเมินไว้ว่าขาดทุนราว 39 ล้านบาท จาก 1) บันทึกค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารสูงขึ้นจากการบันทึกโบนัสที่สูงมาก และ 2) ขายโฆษณาน้อยในเดือน ต.ค. จากผลกระทบดังที่ทราบกัน ทำให้ทั้งงวด 4Q60 จะมี Utilization rate เพียง 40% ต่ำกว่าที่ประเมินไว้ 50% ทำให้ ASPS ต้องปรับลด ลดประมาณการกำไรปี 2560 ลงเล็ก แต่ยังคงประมาณการกำไร และ Fair Value ปี 2561 ที่เดิม และ เช่นเดียวกับราคาหุ้น RS ลดลง 3%
สวนทางกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวขึ้นโดดเด่นทั้งกลุ่ม นำโดย หุ้น ธ.พ. ขนาดใหญ่ ทั้ง KBANK SCB BBL TMB เพิ่มขึ้น 3.15% 2.04% 2.28% และ 2.14% ตามลำดับ เช่นเดียวกันกับ ธ.พ. ขนาดกลาง TISCO TCAP และ KKP เพิ่มขึ้น 2.34% 3.26% และ 1.70% ตามลำดับ ฝ่ายวิจัยยังคงให้น้ำหนักหุ้นกลุ่ม ธ.พ. มากกว่าตลาดเนื่องจากสินเชื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมากลับมาเติบโตทั้งหุ้นขนาดเล็ก-ใหญ่ ในกลุ่ม รวมถึงภาระจากสำรองหนี้ฯ ที่เริ่มเบาบางลง (KBANK, BBL) บวกกับธุรกิจหลักที่ยังเติบโตตามฤดูกาล ซึ่งน่าจะสามารถหักล้างกับค่าใช้จ่ายดำเนินการที่เร่งตัวขึ้น ยังคงแนะนำหุ้น Laggard กลุ่มฯ อย่าง SCB และ BBL หลัง NPL ได้ผ่านจุด peak ไปแล้วบวกกับดีลใหม่กับ AIA เพื่อหนุนช่องทางรายได้ค่าธรรมเนียมของ bancassurance ให้มากขึ้น
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ ดัชนีอาจกลับมาแกว่งพักตัวอีกครั้ง โดยมีแนวรับสำคัญที่ 1695 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1710 จุด
แม้วานนี้ดัชนีจะแกว่งอยู่ในแดนบวกตลอดทั้งวัน แต่ช่วงท้ายของตลาดกลับโดนแรงขายกดดันดัชนีย่อลงมาปิดที่ 1705.33 จุด ลดลง 1.19 จุด หรือ 0.07% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 6.19 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่ถูกกดดัน อาทิ กลุ่มพลังงาน จาก PTT และ PTTEP ลดลง 0.5% และ 1.6% ตามลำดับ กลุ่มค้าปลีก BJC ลดลง 2.9% ตามด้วย HMPRO ลดลง 2.3% COM7 ลดลง 1.8% และ BEAUTY ลดลง 2.4% กลุ่มอาหารฯ เช่น CBG ลดลงกว่า 4.05% และ TKN ลดลงแรง 7.9% ส่วนหุ้นกลุ่มสื่อฯ WORK ลดลงแรงกว่า 5.9% เพราะตลาดน่าจะตกใจกับข้อมูลที่เพิ่งรับทราบจากบริษัทว่างวด 4Q60 ต้องเผชิญกับขาดทุน โดย ASPS ประเมินไว้ว่าขาดทุนราว 39 ล้านบาท จาก 1) บันทึกค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารสูงขึ้นจากการบันทึกโบนัสที่สูงมาก และ 2) ขายโฆษณาน้อยในเดือน ต.ค. จากผลกระทบดังที่ทราบกัน ทำให้ทั้งงวด 4Q60 จะมี Utilization rate เพียง 40% ต่ำกว่าที่ประเมินไว้ 50% ทำให้ ASPS ต้องปรับลด ลดประมาณการกำไรปี 2560 ลงเล็ก แต่ยังคงประมาณการกำไร และ Fair Value ปี 2561 ที่เดิม และ เช่นเดียวกับราคาหุ้น RS ลดลง 3%
สวนทางกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวขึ้นโดดเด่นทั้งกลุ่ม นำโดย หุ้น ธ.พ. ขนาดใหญ่ ทั้ง KBANK SCB BBL TMB เพิ่มขึ้น 3.15% 2.04% 2.28% และ 2.14% ตามลำดับ เช่นเดียวกันกับ ธ.พ. ขนาดกลาง TISCO TCAP และ KKP เพิ่มขึ้น 2.34% 3.26% และ 1.70% ตามลำดับ ฝ่ายวิจัยยังคงให้น้ำหนักหุ้นกลุ่ม ธ.พ. มากกว่าตลาดเนื่องจากสินเชื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมากลับมาเติบโตทั้งหุ้นขนาดเล็ก-ใหญ่ ในกลุ่ม รวมถึงภาระจากสำรองหนี้ฯ ที่เริ่มเบาบางลง (KBANK, BBL) บวกกับธุรกิจหลักที่ยังเติบโตตามฤดูกาล ซึ่งน่าจะสามารถหักล้างกับค่าใช้จ่ายดำเนินการที่เร่งตัวขึ้น ยังคงแนะนำหุ้น Laggard กลุ่มฯ อย่าง SCB และ BBL หลัง NPL ได้ผ่านจุด peak ไปแล้วบวกกับดีลใหม่กับ AIA เพื่อหนุนช่องทางรายได้ค่าธรรมเนียมของ bancassurance ให้มากขึ้น
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ ดัชนีอาจกลับมาแกว่งพักตัวอีกครั้ง โดยมีแนวรับสำคัญที่ 1695 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1710 จุด
จับตาผลการประชุมกลุ่ม OPEC ในวันนี้
วานนี้ทางสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุดปรับตัวลดลง 3.43 ล้านบาร์เรล (ลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 2) มากกว่าที่ตลาดฯคาดว่าจะลดลง 2.30 ล้านบาร์เรล แต่ราคาน้ำมันดิบ WTI ยังคงปรับตัวลดลงอีก 1.19% มาอยู่ที่ 57.30 เหรียญ/บาร์เรล ถูกกดดันจากการที่บริษัท TransCanada กลับมาเริ่มดำเนินการท่อขนส่งน้ำมันดิบ Keystone ที่มีกำลังการส่งน้ำมันดิบ 590,000 บาร์เรลต่อวันอีกครัง้ หลังจากปิดซ่อมบำรุงไปราว 2 สัปดาห์ และปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงราว 9.68 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ส่วนประเด็นที่ต้องรอติดตามวันนี้ คือ การประชุมของสมาชิก 14 ประเทศของกลุ่มประเทศโอเปก และอีก 11 ประเทศจากนอกกลุ่มโอเปก เพื่อหารือกันเกี่ยวกับการขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิต ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เวลา 9.30 น. (ตรงกับเวลาในไทยราว 15.30 น.) โดยตลาดฯคาดว่าจะยืดระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบราว 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่สิ้นสุดเดือน มี.ค. 2561 ขยายออกไปออกไปได้อีกราว 6 ถึง 9 เดือน อย่างไรก็ตามหลังการประชุม ในระยะสั้นอาจมีแรงขายทำกำไรออกมา หรือ Sell on Fact หากข้อตกลงไม่ได้ออกมาเกินความคาดหมาย เนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวเป็นสิ่งที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้ว
อย่างไรก็ตามในระยะกลาง-ยาว ฝ่ายวิจัยฯคาดว่าราคาน้ำมันดิบยังอยู่ในทิศทางขาขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นกลยุทธ์แนะนำให้สะสมหุ้นน้ำมัน อย่าง PTTEP(FV’61@B118) ยามราคาอ่อนตัวลง และราคาหุ้นยังถือว่า Laggard ราคาน้ำมันดิบอยู่มาก เพราะหากพิจารณาราคาน้ำมันดิบ Dubai ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่าปรับขึ้นมาแล้ว 11.33% (ytd) แต่ราคาหุ้น PTTEP กลับลดลงจากต้นปีราว 4.42% (ytd)
ส่วนประเด็นที่ต้องรอติดตามวันนี้ คือ การประชุมของสมาชิก 14 ประเทศของกลุ่มประเทศโอเปก และอีก 11 ประเทศจากนอกกลุ่มโอเปก เพื่อหารือกันเกี่ยวกับการขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิต ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เวลา 9.30 น. (ตรงกับเวลาในไทยราว 15.30 น.) โดยตลาดฯคาดว่าจะยืดระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบราว 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่สิ้นสุดเดือน มี.ค. 2561 ขยายออกไปออกไปได้อีกราว 6 ถึง 9 เดือน อย่างไรก็ตามหลังการประชุม ในระยะสั้นอาจมีแรงขายทำกำไรออกมา หรือ Sell on Fact หากข้อตกลงไม่ได้ออกมาเกินความคาดหมาย เนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวเป็นสิ่งที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้ว
อย่างไรก็ตามในระยะกลาง-ยาว ฝ่ายวิจัยฯคาดว่าราคาน้ำมันดิบยังอยู่ในทิศทางขาขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นกลยุทธ์แนะนำให้สะสมหุ้นน้ำมัน อย่าง PTTEP(FV’61@B118) ยามราคาอ่อนตัวลง และราคาหุ้นยังถือว่า Laggard ราคาน้ำมันดิบอยู่มาก เพราะหากพิจารณาราคาน้ำมันดิบ Dubai ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่าปรับขึ้นมาแล้ว 11.33% (ytd) แต่ราคาหุ้น PTTEP กลับลดลงจากต้นปีราว 4.42% (ytd)
ต่างชาติยังขายสุทธิตลาดหุ้นในภูมิภาค รวมทั้งไทย
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่าราว 827 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิในตลาดหุ้นเกือบทุกแห่ง ยกเว้นฟิลิปปินส์ ซึ่งต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 24.38 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 6 วัน) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 แห่งที่ขายสุทธินำโดย ไต้หวันมูลค่าราว 220 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) เกาหลีใต้ 60 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) สำหรับอินโดนีเซียถูกสลับมาขายสุทธิมูลค่าสูงกว่า 522 ล้านเหรียญ และไทยถูกขายสุทธิอีก 50 ล้านเหรียญ หรือ 1.62 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิวันก่อนหน้า) ขณะที่สถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิต่อเนื่องอีกกว่า 3.2 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 5.55 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิราว 1.4 พันล้านบาท
ดัชนีผันผวน แนะหุ้น Laggard + ปันผล หรือหุ้นที่มีแนวโน้มสดใสปี 2561
ดังที่กล่าวว่าตลาดหุ้นไทยยังมีแนวโน้มแกว่งตัว และน่าจะบวก-ลบ ไม่ห่างจาก 1700 จุด กลยุทธ์จึงให้สะสมหุ้น Laggard มีเงินปันผลสูง เช่น INTUCH, PTTEP, SCB, SCC BANPU, MCS, PSH, PTT, หรือ หุ้นที่คาดว่าราคาลดลงมากต่ำกว่าพื้นฐานมากคือ THCOM, STEC และ UNIQ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาดัชนีตลาดหุ้นไทย นับตั้งแต่ปลายเดือน ส.ค. ที่ดัชนีขึ้นผ่าน 1600 จุดขึ้นมาจนถึงวานนี้ SET Index ปรับขึ้นราว 7.5% อย่างไรก็ตาม มีหลายกลุ่มฯ ที่ ยังคง laggard กว่าตลาดฯ อาทิ กลุ่มรับเหมาฯ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง กลุ่ม ICT เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มรับเหมาฯ ที่น่าจะได้ sentiment มากสุดจากโครงการลงทุนก่อสร้างภาครัฐ กลับให้ผลตอบแทน -0.5% โดยเฉพาะหุ้นรับเหมาฯ ขนาดใหญ่ที่ราคาหุ้นยังไม่ขยับไปไหน ปัจจัยกดดันช่วงสั้นน่าจะมาจาก การประมูลที่เกิดขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีเพียง 4 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 17% ของเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 2.4 ล้านล้านบาท ซึ่งค่อนข้างล่าช้าไปมาก
อย่างไรก็ตาม โครงการที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างโดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม) วงเงินกว่า 1.09 แสนล้านบาท เห็นถึงความคืบหน้าเป็นลำดับ ซึ่งในส่วนของงานฐานรากและเสาเข็มซึ่งถือเป็นงานในลำดับแรกๆ ที่จะเกิดขึ้น ทำให้ราคาหุ้นของผู้รับเหมาฐานรากเริ่มปรับขึ้น โดยเฉพาะ SEAFCO จะเข้าไปเป็นผู้รับเหมาหลักงานเสาเข็มโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม นับเฉพาะที่เซ็นสัญญาแล้วมูลค่ารวมกว่า 1.6 พันล้านบาท ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ทางด้าน SEAFCO น่าจะเข้าไปมีส่วนรับงานเสาเข็มโครงการนี้เช่นกัน
นอกจากนี้ ในส่วนของงานภาคเอกชน SEAFCO อื่นๆ ก็ได้รับงานใหม่เข้ามา นับจากต้นปีรวมกว่า 3,589 ล้านบาท และมี Backlog อยู่ที่ 2.9 พันล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ รองรับการสร้างรายได้เต็มปี 2561 โดยนักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2561-62 ขึ้นอีก 18% และ 27% จากเดิม ตามลำดับ ได้ Fair Value ใหม่ ที่ 12 บาท มี upside กว่า 21% ขณะที่ PYLON ที่เข้าไปรับงานส่วนใหญ่ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ก็ได้ประโยชน์จากงานฐานรากที่มีความคืบหน้าเช่นกัน แต่ราคาหุ้นที่ปรับขึ้นไปมากจนเกินมูลค่าพื้นฐานของฝ่ายวิจัยแล้ว ขณะที่ระดับ P/E ปัจจุบันซื้อขายกันในระดับสูงถึง 49 เท่า ส่วน SEAFCO ปัจจุบันซื้อขายกันบน P/E เพียง 29 เท่า และจะลดลงเหลือ 19 เท่าในปีหน้า จึงแนะนำลงทุนใน SEAFCO แทน
ถัดมาเป็นหุ้นโรงพยาบาล BCH([email protected]) ซึ่งจากการไป Company visit วานนี้ มีประเด็นบวก ที่สำคัญคือ โรงพยาบาลอินเตอร์ หรือ WMC ได้พลิกมาเป็นกำไรครั้งแรกในเดือน พ.ย. นับจากเปิดให้บริการมาหลายปี ล่าสุดงวด 3Q60 WMC ยังขาดทุนเล็กน้อราว 23 ล้านบาท และ EBIDA ติดลบเพียง 18 ล้านบาท เพราะมีกลุ่มลูกค้าเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน มาใช้บริการตรวจสุชภาพและเป็นศูนย์ดูแลสุขภาพ (Anti Aging) เพิ่มมากขึ้น ทำให้งวด 4Q60 WMC น่าจะพลิกมากำไร
นอกจากนี้ยังมีโอกาสบันทึกรายได้จากประกันสังคมเพิ่มเติมในงวด 4Q60 และ 2Q61 เพราะที่ผ่านมาบันทึกต่ำกว่าสิ่งที่ควรจะได้รับรู้ ทำให้ประเมินว่า ผลประกอบการงวด 4Q60 ยังคงเติบโตจากงวด 4Q59 แม้จะอ่อนตัวลงจากงวด 3Q60 ก็ตาม และทำให้ผลประกอบการโดยรวมปี 2560-2561 มีแนวโน้มดีกว่าที่ประมาณการเดิม แต่ยังคงประเมินกำไรสุทธิปีนี้ที่ 865 ล้านบาท และ กำไรต่อหุ้น 0.35 บาท และในปี 2561 เป็น 979 ล้านบาท และหุ้นละ 0.39 บาท พร้อมคง Fair value ไว้ที่ 18.6 บาท
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่าราว 827 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิในตลาดหุ้นเกือบทุกแห่ง ยกเว้นฟิลิปปินส์ ซึ่งต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 24.38 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 6 วัน) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 แห่งที่ขายสุทธินำโดย ไต้หวันมูลค่าราว 220 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) เกาหลีใต้ 60 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) สำหรับอินโดนีเซียถูกสลับมาขายสุทธิมูลค่าสูงกว่า 522 ล้านเหรียญ และไทยถูกขายสุทธิอีก 50 ล้านเหรียญ หรือ 1.62 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิวันก่อนหน้า) ขณะที่สถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิต่อเนื่องอีกกว่า 3.2 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 5.55 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิราว 1.4 พันล้านบาท
ดัชนีผันผวน แนะหุ้น Laggard + ปันผล หรือหุ้นที่มีแนวโน้มสดใสปี 2561
ดังที่กล่าวว่าตลาดหุ้นไทยยังมีแนวโน้มแกว่งตัว และน่าจะบวก-ลบ ไม่ห่างจาก 1700 จุด กลยุทธ์จึงให้สะสมหุ้น Laggard มีเงินปันผลสูง เช่น INTUCH, PTTEP, SCB, SCC BANPU, MCS, PSH, PTT, หรือ หุ้นที่คาดว่าราคาลดลงมากต่ำกว่าพื้นฐานมากคือ THCOM, STEC และ UNIQ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาดัชนีตลาดหุ้นไทย นับตั้งแต่ปลายเดือน ส.ค. ที่ดัชนีขึ้นผ่าน 1600 จุดขึ้นมาจนถึงวานนี้ SET Index ปรับขึ้นราว 7.5% อย่างไรก็ตาม มีหลายกลุ่มฯ ที่ ยังคง laggard กว่าตลาดฯ อาทิ กลุ่มรับเหมาฯ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง กลุ่ม ICT เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มรับเหมาฯ ที่น่าจะได้ sentiment มากสุดจากโครงการลงทุนก่อสร้างภาครัฐ กลับให้ผลตอบแทน -0.5% โดยเฉพาะหุ้นรับเหมาฯ ขนาดใหญ่ที่ราคาหุ้นยังไม่ขยับไปไหน ปัจจัยกดดันช่วงสั้นน่าจะมาจาก การประมูลที่เกิดขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีเพียง 4 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 17% ของเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 2.4 ล้านล้านบาท ซึ่งค่อนข้างล่าช้าไปมาก
อย่างไรก็ตาม โครงการที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างโดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม) วงเงินกว่า 1.09 แสนล้านบาท เห็นถึงความคืบหน้าเป็นลำดับ ซึ่งในส่วนของงานฐานรากและเสาเข็มซึ่งถือเป็นงานในลำดับแรกๆ ที่จะเกิดขึ้น ทำให้ราคาหุ้นของผู้รับเหมาฐานรากเริ่มปรับขึ้น โดยเฉพาะ SEAFCO จะเข้าไปเป็นผู้รับเหมาหลักงานเสาเข็มโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม นับเฉพาะที่เซ็นสัญญาแล้วมูลค่ารวมกว่า 1.6 พันล้านบาท ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ทางด้าน SEAFCO น่าจะเข้าไปมีส่วนรับงานเสาเข็มโครงการนี้เช่นกัน
นอกจากนี้ ในส่วนของงานภาคเอกชน SEAFCO อื่นๆ ก็ได้รับงานใหม่เข้ามา นับจากต้นปีรวมกว่า 3,589 ล้านบาท และมี Backlog อยู่ที่ 2.9 พันล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ รองรับการสร้างรายได้เต็มปี 2561 โดยนักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2561-62 ขึ้นอีก 18% และ 27% จากเดิม ตามลำดับ ได้ Fair Value ใหม่ ที่ 12 บาท มี upside กว่า 21% ขณะที่ PYLON ที่เข้าไปรับงานส่วนใหญ่ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ก็ได้ประโยชน์จากงานฐานรากที่มีความคืบหน้าเช่นกัน แต่ราคาหุ้นที่ปรับขึ้นไปมากจนเกินมูลค่าพื้นฐานของฝ่ายวิจัยแล้ว ขณะที่ระดับ P/E ปัจจุบันซื้อขายกันในระดับสูงถึง 49 เท่า ส่วน SEAFCO ปัจจุบันซื้อขายกันบน P/E เพียง 29 เท่า และจะลดลงเหลือ 19 เท่าในปีหน้า จึงแนะนำลงทุนใน SEAFCO แทน
ถัดมาเป็นหุ้นโรงพยาบาล BCH([email protected]) ซึ่งจากการไป Company visit วานนี้ มีประเด็นบวก ที่สำคัญคือ โรงพยาบาลอินเตอร์ หรือ WMC ได้พลิกมาเป็นกำไรครั้งแรกในเดือน พ.ย. นับจากเปิดให้บริการมาหลายปี ล่าสุดงวด 3Q60 WMC ยังขาดทุนเล็กน้อราว 23 ล้านบาท และ EBIDA ติดลบเพียง 18 ล้านบาท เพราะมีกลุ่มลูกค้าเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน มาใช้บริการตรวจสุชภาพและเป็นศูนย์ดูแลสุขภาพ (Anti Aging) เพิ่มมากขึ้น ทำให้งวด 4Q60 WMC น่าจะพลิกมากำไร
นอกจากนี้ยังมีโอกาสบันทึกรายได้จากประกันสังคมเพิ่มเติมในงวด 4Q60 และ 2Q61 เพราะที่ผ่านมาบันทึกต่ำกว่าสิ่งที่ควรจะได้รับรู้ ทำให้ประเมินว่า ผลประกอบการงวด 4Q60 ยังคงเติบโตจากงวด 4Q59 แม้จะอ่อนตัวลงจากงวด 3Q60 ก็ตาม และทำให้ผลประกอบการโดยรวมปี 2560-2561 มีแนวโน้มดีกว่าที่ประมาณการเดิม แต่ยังคงประเมินกำไรสุทธิปีนี้ที่ 865 ล้านบาท และ กำไรต่อหุ้น 0.35 บาท และในปี 2561 เป็น 979 ล้านบาท และหุ้นละ 0.39 บาท พร้อมคง Fair value ไว้ที่ 18.6 บาท
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO3035
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO3035