- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 29 November 2017 17:09
- Hits: 3250
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดพลิกกลับมาเหนือ 1,700 จุด แต่เป็นการขึ้นโดยหุ้นรายตัว คือ AOT แม้มีโอกาสเดินหน้าต่อแต่น่าจะมีโอกาสถูกขายทำกำไรอีกครั้ง โดยมีแนวต้าน 1720-1729 จุด แรงซื้อ LTF ยังมีน้ำหนักประคองตลาดเท่านั้น กลยุทธ์ยังแนะนำหุ้น Laggard เน้นเงินปันผลสูง เช่น INTUCH(FV@B79) yield 4.8% PTTEP(FV@B118) yield 4% วันนี้ Top picks เลือก TPIPP([email protected]) มีโอกาสเข้าคำนวณ SET50-SET100 รอบ ม.ค.-มิ.ย. ปี 2561 และ SAWAD(FV@B80) ที่จะเข้าคำนวณ SET50 ช่วงเดียวกัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดพลิกกลับมาเหนือ 1,700 จุด แต่เป็นการขึ้นโดยหุ้นรายตัว คือ AOT แม้มีโอกาสเดินหน้าต่อแต่น่าจะมีโอกาสถูกขายทำกำไรอีกครั้ง โดยมีแนวต้าน 1720-1729 จุด แรงซื้อ LTF ยังมีน้ำหนักประคองตลาดเท่านั้น กลยุทธ์ยังแนะนำหุ้น Laggard เน้นเงินปันผลสูง เช่น INTUCH(FV@B79) yield 4.8% PTTEP(FV@B118) yield 4% วันนี้ Top picks เลือก TPIPP([email protected]) มีโอกาสเข้าคำนวณ SET50-SET100 รอบ ม.ค.-มิ.ย. ปี 2561 และ SAWAD(FV@B80) ที่จะเข้าคำนวณ SET50 ช่วงเดียวกัน
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … หุ้น Big Cap ดันตลาดปิดบวก
วานนี้ตลาดหุ้นไทยพลิกกลับมาอยู่ในแดนบวกได้ทั้งวัน และปิดตลาดที่ 1706.52 จุด เพิ่มขึ้น 10.85 จุด แต่มูลค่าการซื้อขายไม่มากนักเพียง 4.9 หมื่นล้านบาท โดยมีหุ้นใหญ่นำตลาดฯ คือ AOT ปรับขึ้นกว่า 5.13% ปิดที่ 61.50 บาท ทำ All-time-high ครั้งใหม่ หลังจากผู้บริหารเปิดเผยแผนธุรกิจที่ชัดเจน ทั้งการขยายสนามบินและการสร้าง Airport City ซึ่งเป็นช่องทางเพิ่มส่วนแบ่งรายได้อีกทางในอนาคต และดึงให้หุ้นสายการบินเพิ่มขึ้นยกแผง คือ THAI 2.37% NOK 1.17% และ AAV 1.61%
หุ้น Market Cap ใหญ่ อื่นๆ ที่ปรับขึ้น คือ IVL เพิ่มขึ้น 2.6% IRPC เพิ่มขึ้น 3.33% ขณะที่หุ้นโรงไฟฟ้ากลับมาวิ่งขึ้นอีกครั้ง ทั้ง GLOW และ RATCH เพิ่มขึ้น 4.06% และ 1.4% ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน DEMCO เพิ่มขึ้น 1.68% และ EA ปรับขึ้นกว่า 1.65% ซึ่งราคาเกินมูลค่าพื้นฐานปี 61 ของฝ่ายวิจัยไปมากแล้ว จึงแนะนำให้ switch ไปยังหุ้นในกลุ่มฯ ที่มี upside และแนวโน้มผลประกอบการเติบโตอย่าง BCPG และ GUNKUL
กลุ่มอื่นๆ ที่ปรับขึ้นคือ กลุ่มโรงพยาบาล ซึ่งปรับตัวขึ้นแทบทั้งกลุ่ม นำโดยหุ้น Big Cap อย่าง BDMS เพิ่มขึ้น 1.00% BCH เพิ่มขึ้น 4.00% และ BH เพิ่มขึ้น 2.46% และกลุ่มค้าปลีก COM7 เพิ่มขึ้น 2.42% BEAUTY 2.00% BJC เพิ่มขึ้น 3.00% ซึ่งกลุ่มหลัง น่าจะได้รับผลบวกการกระตุ้นภาครัฐ หนุนยอดสาขาเดิม แต่ราคาหุ้นตอบรับเชิงบวกไปมากแล้ว แนะนำซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดดัชนีจะยังฟื้นตัวได้ต่อเนื่องตาม momentum เชิงบวกที่ยังมีอยู่ โดยมีแนวต้านถัดไปที่ 1720 จุด ส่วนแนวรับ 1700 จุด
วานนี้ตลาดหุ้นไทยพลิกกลับมาอยู่ในแดนบวกได้ทั้งวัน และปิดตลาดที่ 1706.52 จุด เพิ่มขึ้น 10.85 จุด แต่มูลค่าการซื้อขายไม่มากนักเพียง 4.9 หมื่นล้านบาท โดยมีหุ้นใหญ่นำตลาดฯ คือ AOT ปรับขึ้นกว่า 5.13% ปิดที่ 61.50 บาท ทำ All-time-high ครั้งใหม่ หลังจากผู้บริหารเปิดเผยแผนธุรกิจที่ชัดเจน ทั้งการขยายสนามบินและการสร้าง Airport City ซึ่งเป็นช่องทางเพิ่มส่วนแบ่งรายได้อีกทางในอนาคต และดึงให้หุ้นสายการบินเพิ่มขึ้นยกแผง คือ THAI 2.37% NOK 1.17% และ AAV 1.61%
หุ้น Market Cap ใหญ่ อื่นๆ ที่ปรับขึ้น คือ IVL เพิ่มขึ้น 2.6% IRPC เพิ่มขึ้น 3.33% ขณะที่หุ้นโรงไฟฟ้ากลับมาวิ่งขึ้นอีกครั้ง ทั้ง GLOW และ RATCH เพิ่มขึ้น 4.06% และ 1.4% ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน DEMCO เพิ่มขึ้น 1.68% และ EA ปรับขึ้นกว่า 1.65% ซึ่งราคาเกินมูลค่าพื้นฐานปี 61 ของฝ่ายวิจัยไปมากแล้ว จึงแนะนำให้ switch ไปยังหุ้นในกลุ่มฯ ที่มี upside และแนวโน้มผลประกอบการเติบโตอย่าง BCPG และ GUNKUL
กลุ่มอื่นๆ ที่ปรับขึ้นคือ กลุ่มโรงพยาบาล ซึ่งปรับตัวขึ้นแทบทั้งกลุ่ม นำโดยหุ้น Big Cap อย่าง BDMS เพิ่มขึ้น 1.00% BCH เพิ่มขึ้น 4.00% และ BH เพิ่มขึ้น 2.46% และกลุ่มค้าปลีก COM7 เพิ่มขึ้น 2.42% BEAUTY 2.00% BJC เพิ่มขึ้น 3.00% ซึ่งกลุ่มหลัง น่าจะได้รับผลบวกการกระตุ้นภาครัฐ หนุนยอดสาขาเดิม แต่ราคาหุ้นตอบรับเชิงบวกไปมากแล้ว แนะนำซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดดัชนีจะยังฟื้นตัวได้ต่อเนื่องตาม momentum เชิงบวกที่ยังมีอยู่ โดยมีแนวต้านถัดไปที่ 1720 จุด ส่วนแนวรับ 1700 จุด
ตลาดหุ้นสหรัฐเดินหน้าทำ new high หวังการปรับโครงสร้างภาษีเดินหน้า
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ (All Time High) โดยมีแรงหนุนจากความคืบหน้า ของร่างกฎหมายปฎิรูปภาษีของสหรัฐ ซึ่งล่าสุด มติคณะกรรมาธิการงบประมาณวุฒิสภา 12 ต่อ 11 เสียง ให้ผ่านร่างกฎหมายฯ ดังกล่าว และขั้นตอนต่อไป และวันนี้จะเข้าสู่การพิจารณาโดยสมาชิกวุฒิสภา(สภาสูง) ซึ่งน่าจะทราบผลราวเช้าวันศุกร์ที่จะถึงนี้
ทั้งนี้ก่อนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการงบประมาณวุฒิสภา ได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ไปเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ด้วยคะแนนเสียง 227 ต่อ 205 เรียบร้อยแล้ว ทำให้ตลาดคาดว่ามีโอกาสผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาฯ ในรอบสุดท้ายด้วยเช่นกัน เพราะหากพิจารณาจาก พรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล สามารถควบคุมเสียงข้างมากในวุฒิสภาจำนวน 52 เสียง สูงกว่าพรรคเดโมแครตที่ 46 เสียง (และอีก 2 เสียงเป็นสมาชิกอิสระ) ซึ่งมีคะแนนเกินครึ่งหนึ่ง จึงมีโอกาสเป็นไปได้สูง ทั้งนี้หากวุฒิสภาอนุมัติผ่าน จะส่งต่อให้ประธานาธิบดีทรัมป์อนุมัติร่างเป็นกฎหมาย และจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2561
โดยร่างกฎหมายปฎิรูปภาษี หลักๆมุ่งเน้นไปที่อัตราภาษีนิติบุคคลจะลดเหลือ 20% จากปัจจุบัน 35% (ลดราว 15% น้อยกว่าตอนประธานาธิบดีทรัมป์หาเสียงจะลดลง 20%) ส่วนการลดภาษีบุคคลธรรมดาจะลดลงเหลือ 3 ขั้น จาก 7 ขั้นบันได คือ 12%, 25%, 35% ขึ้นกับฐานรายได้ภาษีของบุคคลธรรมดา (สูงสุดไม่เกิน 35% จากเดิมสูงสุด 39.6%) ซึ่งเชื่อว่าประเด็นภาษีตลาดหุ้นสหรัฐน่าจะได้ตอบรับไปมากแล้วสะท้อนจากผลตอบแทนตั้งแต่ประธานาธิบดีทรัมป์รับตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ต้นปี 2560 - ปัจจุบันราว 36.9% ขณะที่หากพิจารณาความถูก/แพง จาก Expected PE ปี 2560-61 ตลาดหุ้นสหรัฐ พบว่าสูงสุด คือ S&P500 ราว 19.7 เท่า และ 17.88 เท่า Dow jones 19 เท่า , 17.4 เท่า ตามลำดับ สูงสุดเมื่อเทียบกับ ฝรั่งเศส 15.8 , 14.8 เท่า อังกฤษ 15.1 , 14.2 และ เยอรมัน 14.7 , 13.4 เท่า ทำให้เชื่อว่าหลังจากนี้แนวโน้มตลาดหุ้นสหรัฐจะขึ้นกับเศรษฐกิจสหรัฐ เป็นหลัก หลังดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังส่งสัญญาณขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจาก ล่าสุดยอดขายบ้านใหม่สหรัฐ เดือน ต.ค. ขยายตัว 6.2%mom สูงสุดในรอบ 10 ปี ผลจากตลาดแรงงานแข็งแกร่ง อัตราการว่างงาน 4.1% ต่ำสุดในรอบ 10 ปี
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ (All Time High) โดยมีแรงหนุนจากความคืบหน้า ของร่างกฎหมายปฎิรูปภาษีของสหรัฐ ซึ่งล่าสุด มติคณะกรรมาธิการงบประมาณวุฒิสภา 12 ต่อ 11 เสียง ให้ผ่านร่างกฎหมายฯ ดังกล่าว และขั้นตอนต่อไป และวันนี้จะเข้าสู่การพิจารณาโดยสมาชิกวุฒิสภา(สภาสูง) ซึ่งน่าจะทราบผลราวเช้าวันศุกร์ที่จะถึงนี้
ทั้งนี้ก่อนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการงบประมาณวุฒิสภา ได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ไปเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ด้วยคะแนนเสียง 227 ต่อ 205 เรียบร้อยแล้ว ทำให้ตลาดคาดว่ามีโอกาสผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาฯ ในรอบสุดท้ายด้วยเช่นกัน เพราะหากพิจารณาจาก พรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล สามารถควบคุมเสียงข้างมากในวุฒิสภาจำนวน 52 เสียง สูงกว่าพรรคเดโมแครตที่ 46 เสียง (และอีก 2 เสียงเป็นสมาชิกอิสระ) ซึ่งมีคะแนนเกินครึ่งหนึ่ง จึงมีโอกาสเป็นไปได้สูง ทั้งนี้หากวุฒิสภาอนุมัติผ่าน จะส่งต่อให้ประธานาธิบดีทรัมป์อนุมัติร่างเป็นกฎหมาย และจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2561
โดยร่างกฎหมายปฎิรูปภาษี หลักๆมุ่งเน้นไปที่อัตราภาษีนิติบุคคลจะลดเหลือ 20% จากปัจจุบัน 35% (ลดราว 15% น้อยกว่าตอนประธานาธิบดีทรัมป์หาเสียงจะลดลง 20%) ส่วนการลดภาษีบุคคลธรรมดาจะลดลงเหลือ 3 ขั้น จาก 7 ขั้นบันได คือ 12%, 25%, 35% ขึ้นกับฐานรายได้ภาษีของบุคคลธรรมดา (สูงสุดไม่เกิน 35% จากเดิมสูงสุด 39.6%) ซึ่งเชื่อว่าประเด็นภาษีตลาดหุ้นสหรัฐน่าจะได้ตอบรับไปมากแล้วสะท้อนจากผลตอบแทนตั้งแต่ประธานาธิบดีทรัมป์รับตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ต้นปี 2560 - ปัจจุบันราว 36.9% ขณะที่หากพิจารณาความถูก/แพง จาก Expected PE ปี 2560-61 ตลาดหุ้นสหรัฐ พบว่าสูงสุด คือ S&P500 ราว 19.7 เท่า และ 17.88 เท่า Dow jones 19 เท่า , 17.4 เท่า ตามลำดับ สูงสุดเมื่อเทียบกับ ฝรั่งเศส 15.8 , 14.8 เท่า อังกฤษ 15.1 , 14.2 และ เยอรมัน 14.7 , 13.4 เท่า ทำให้เชื่อว่าหลังจากนี้แนวโน้มตลาดหุ้นสหรัฐจะขึ้นกับเศรษฐกิจสหรัฐ เป็นหลัก หลังดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังส่งสัญญาณขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจาก ล่าสุดยอดขายบ้านใหม่สหรัฐ เดือน ต.ค. ขยายตัว 6.2%mom สูงสุดในรอบ 10 ปี ผลจากตลาดแรงงานแข็งแกร่ง อัตราการว่างงาน 4.1% ต่ำสุดในรอบ 10 ปี
ภาพรวมต่างชาติยังขายหุ้นในภูมิภาค แต่สลับมาซื้อไทยเล็กน้อย
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นต่อเนื่องวันที่ 3 ด้วยมูลค่า 514 ล้านเหรียญ โดยแรงขายหลักๆ เกิดขึ้นในตลาดหุ้นแถบเอเชียตะวันออก อย่างไต้หวันถูกขายสุทธิ 279 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และเกาหลีใต้ 248 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4 วัน) ส่วนตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP มีการซื้อสลับขายเล็กน้อย เริ่มจากฟิลิปปินส์ยังขายสุทธิเล็กน้อย 1 ล้านเหรียญ และขายสุทธิเป็นวันที่ 6 สวนทางกับอินโดนีเซียที่ยังซื้อสุทธิ 8 ล้านเหรียญ โดยซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5 และไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 7 ล้านเหรียญ หรือ 221 ล้านบาท หลังจากขายสุทธิ 3 วัน เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 2.04 พันล้านบาท (เป็นการซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.24 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิเล็กน้อย 158 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
SET กลับมายืนเหนือ 1700 จุด แต่เป็นการขึ้นรายหุ้น ทำให้การปรับฐานยังมีอยู่
แม้วานนี้ดัชนีจะกลับขึ้นมายืนเหนือ 1700 จุด ได้ แต่เป็นที่สังเกตว่าการฟื้นตัวของดัชนีมาจากหุ้นรายตัว ที่ผู้บริหารเปิดเผยแผนระยะยาว หลังจากการประชุมนักวิเคราะห์ โดยเฉพาะ AOT ซึ่งทำให้ระยะยาวอาจจะต้องปรับเพิ่มประมาณการตามแผนธุรกิจใหม่ ๆ (อ่านรายละเอียด New Plus หุ้น AOT วานนี้) ขณะที่หุ้นใหญ่ในกลุ่มสื่อสาร และ ธนาคารพาณิชย์ยังคงอยู่ในช่วงพักฐานหรือแกว่ง จึงถือเป็นกลุ่มที่ถ่วงดัชนี นอกจากนี้ตลาดยังขาดแรงหนุนใหม่ ขณะที่แรงกดดันที่ยังเห็นอยู่ในช่วงนี้ คือ
ต่างชาติมีลักษณะซื้อสลับขาย หลังจากที่ปรับลดพอร์ตและขายกำไรไปบ้าง กล่าวคือ ต่างชาติเข้าซื้อตลาดหุ้นไทยนับตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม ดันดัชนีขึ้นทะลุผ่าน 1600 จุด ขึ้นทดสอบ 1730 จุด เมื่อกลางเดือน ต.ค. โดยต่างชาติซื้อสุทธิไปถึง 2.26 หมื่นล้านบาท และจากนั้นก็เริ่มทยอยขายทำกำไร ซึ่งประเมินได้ว่าเป็นการ take profit เพื่อล็อคกำไรก่อนสิ้นปี ก่อนที่จะกลับมาลงทุนซื้อหุ้นใหม่ในช่วงต้นปีถัดไป และถือว่าเป็นปกติของนักลงทุนกลุ่มนี้และสอดคล้องกับสถิติในอดีต 10 ปีย้อนหลังที่นักลงทุนต่างชาติมักขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยเดือน พ.ย. และ ธ.ค. เฉลี่ยกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท และ 6.6 พันล้านบาท ตามลำดับ
แรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศ มีน้ำหนักเพียงประคองตลาด แม้เป็นผู้ซื้อสุทธิหลักในช่วงนี้ จะมาจากแรงหนุนของเม็ดเงิน LTF ที่มักจะกระจุกตัวในช่วงปลายปี แต่ปีนี้ อาจจะมีผู้ถือกองทุน LTF มานานแต่ยังไม่เคยขาย อาจจะมาขายในช่วงที่ดัชนีทะลุ 1700 จุด ทำให้โดยสุทธิแล้ว เม็ดเงินก้อนใหม่ที่มาซื้อ LTF อาจจะลดน้อยลง นอกจากนี้ กฏเกณฑ์ที่เปลี่ยนไปในการถือครองที่ยาวนานขึ้นเป็น 7 ปีปฏิทิน อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ลดแรงดึงดูดในการเข้าซื้อ LTF ไปบางส่วน
ผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเกือบ 10%ytd แม้จะดูไม่มากนักเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียที่ 14.5%ytd และฟิลิปปินส์ที่ 22% รวมทั้งตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่ 23.7%ytd แต่หากวัดกันตั้งแต่ 29 ส.ค. เป็นต้นมา SET Index ขึ้นไปแล้วกว่า 7% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นในอัตราที่มากกว่าอินโดนีเซียที่ 2.7% และฟิลิปปินส์ที่ 4.3% แต่ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่ 7.6% ทำให้เริ่มเห็นแรง take profit ของตลาดหุ้นเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินเดีย และ TIP และมีบางตลาดที่ underperform ตลาดเพื่อนบ้านมากที่สุดคือ มาเลเซีย และ ตามมาด้วย จีน และหากพิจารณา ตลาดหุ้นไทยปัจจุบันซื้อขายกันที่ Expected P/E สูงกว่า 17.1 เท่า เทียบกับ EPS Growth ตลาดหุ้นไทยปีนี้ราว 4.8% คิดเป็น PEG Ratio ราว 3.57 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ถูกเท่าใดนัก
อย่างไรก็ตาม แนวโน้ม EPS Growth ของไทยในปี 2561 มีแนวโน้มจะเติบโตกว่า 14% เนื่องจากฐานกำไรที่ต่ำในปี 2560 ซึ่งสอดคล้องกับ GDP Growth ปี 2561 ที่ 4.2% ทำให้เชื่อว่า ตลาดหุ้นไทยยังมีแนวโน้มปรับขึ้นยืนเหนือ 1700 จุด ได้ต่อในปีหน้า กลยุทธ์การลงทุนยังแนะนำให้สลับการลงทุน ทยอยขายทำกำไรหุ้นที่ปรับขึ้นมามาก และสะสมหุ้นพื้นฐานดี มี upside หรือ laggards เช่น SCC , SCB, BANPU, PTTEP, MCS, PSH, PTT, INTUCH, THCOM, STEC และ UNIQ เป็นต้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO2973
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นต่อเนื่องวันที่ 3 ด้วยมูลค่า 514 ล้านเหรียญ โดยแรงขายหลักๆ เกิดขึ้นในตลาดหุ้นแถบเอเชียตะวันออก อย่างไต้หวันถูกขายสุทธิ 279 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และเกาหลีใต้ 248 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4 วัน) ส่วนตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP มีการซื้อสลับขายเล็กน้อย เริ่มจากฟิลิปปินส์ยังขายสุทธิเล็กน้อย 1 ล้านเหรียญ และขายสุทธิเป็นวันที่ 6 สวนทางกับอินโดนีเซียที่ยังซื้อสุทธิ 8 ล้านเหรียญ โดยซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5 และไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 7 ล้านเหรียญ หรือ 221 ล้านบาท หลังจากขายสุทธิ 3 วัน เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 2.04 พันล้านบาท (เป็นการซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.24 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิเล็กน้อย 158 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
SET กลับมายืนเหนือ 1700 จุด แต่เป็นการขึ้นรายหุ้น ทำให้การปรับฐานยังมีอยู่
แม้วานนี้ดัชนีจะกลับขึ้นมายืนเหนือ 1700 จุด ได้ แต่เป็นที่สังเกตว่าการฟื้นตัวของดัชนีมาจากหุ้นรายตัว ที่ผู้บริหารเปิดเผยแผนระยะยาว หลังจากการประชุมนักวิเคราะห์ โดยเฉพาะ AOT ซึ่งทำให้ระยะยาวอาจจะต้องปรับเพิ่มประมาณการตามแผนธุรกิจใหม่ ๆ (อ่านรายละเอียด New Plus หุ้น AOT วานนี้) ขณะที่หุ้นใหญ่ในกลุ่มสื่อสาร และ ธนาคารพาณิชย์ยังคงอยู่ในช่วงพักฐานหรือแกว่ง จึงถือเป็นกลุ่มที่ถ่วงดัชนี นอกจากนี้ตลาดยังขาดแรงหนุนใหม่ ขณะที่แรงกดดันที่ยังเห็นอยู่ในช่วงนี้ คือ
ต่างชาติมีลักษณะซื้อสลับขาย หลังจากที่ปรับลดพอร์ตและขายกำไรไปบ้าง กล่าวคือ ต่างชาติเข้าซื้อตลาดหุ้นไทยนับตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม ดันดัชนีขึ้นทะลุผ่าน 1600 จุด ขึ้นทดสอบ 1730 จุด เมื่อกลางเดือน ต.ค. โดยต่างชาติซื้อสุทธิไปถึง 2.26 หมื่นล้านบาท และจากนั้นก็เริ่มทยอยขายทำกำไร ซึ่งประเมินได้ว่าเป็นการ take profit เพื่อล็อคกำไรก่อนสิ้นปี ก่อนที่จะกลับมาลงทุนซื้อหุ้นใหม่ในช่วงต้นปีถัดไป และถือว่าเป็นปกติของนักลงทุนกลุ่มนี้และสอดคล้องกับสถิติในอดีต 10 ปีย้อนหลังที่นักลงทุนต่างชาติมักขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยเดือน พ.ย. และ ธ.ค. เฉลี่ยกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท และ 6.6 พันล้านบาท ตามลำดับ
แรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศ มีน้ำหนักเพียงประคองตลาด แม้เป็นผู้ซื้อสุทธิหลักในช่วงนี้ จะมาจากแรงหนุนของเม็ดเงิน LTF ที่มักจะกระจุกตัวในช่วงปลายปี แต่ปีนี้ อาจจะมีผู้ถือกองทุน LTF มานานแต่ยังไม่เคยขาย อาจจะมาขายในช่วงที่ดัชนีทะลุ 1700 จุด ทำให้โดยสุทธิแล้ว เม็ดเงินก้อนใหม่ที่มาซื้อ LTF อาจจะลดน้อยลง นอกจากนี้ กฏเกณฑ์ที่เปลี่ยนไปในการถือครองที่ยาวนานขึ้นเป็น 7 ปีปฏิทิน อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ลดแรงดึงดูดในการเข้าซื้อ LTF ไปบางส่วน
ผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเกือบ 10%ytd แม้จะดูไม่มากนักเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียที่ 14.5%ytd และฟิลิปปินส์ที่ 22% รวมทั้งตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่ 23.7%ytd แต่หากวัดกันตั้งแต่ 29 ส.ค. เป็นต้นมา SET Index ขึ้นไปแล้วกว่า 7% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นในอัตราที่มากกว่าอินโดนีเซียที่ 2.7% และฟิลิปปินส์ที่ 4.3% แต่ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่ 7.6% ทำให้เริ่มเห็นแรง take profit ของตลาดหุ้นเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินเดีย และ TIP และมีบางตลาดที่ underperform ตลาดเพื่อนบ้านมากที่สุดคือ มาเลเซีย และ ตามมาด้วย จีน และหากพิจารณา ตลาดหุ้นไทยปัจจุบันซื้อขายกันที่ Expected P/E สูงกว่า 17.1 เท่า เทียบกับ EPS Growth ตลาดหุ้นไทยปีนี้ราว 4.8% คิดเป็น PEG Ratio ราว 3.57 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ถูกเท่าใดนัก
อย่างไรก็ตาม แนวโน้ม EPS Growth ของไทยในปี 2561 มีแนวโน้มจะเติบโตกว่า 14% เนื่องจากฐานกำไรที่ต่ำในปี 2560 ซึ่งสอดคล้องกับ GDP Growth ปี 2561 ที่ 4.2% ทำให้เชื่อว่า ตลาดหุ้นไทยยังมีแนวโน้มปรับขึ้นยืนเหนือ 1700 จุด ได้ต่อในปีหน้า กลยุทธ์การลงทุนยังแนะนำให้สลับการลงทุน ทยอยขายทำกำไรหุ้นที่ปรับขึ้นมามาก และสะสมหุ้นพื้นฐานดี มี upside หรือ laggards เช่น SCC , SCB, BANPU, PTTEP, MCS, PSH, PTT, INTUCH, THCOM, STEC และ UNIQ เป็นต้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO2973