WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
 
กลยุทธ์การลงทุน
          SET ยังอยู่ภายใต้อิทธิพล 1,700 จุด ตราบที่ยังไม่มีประเด็นบวกใหม่ ๆ ขณะที่ต่างชาติยังมีแรงซื้อสลับขาย กดดันตลาดแม้จะมีแรงซื้อจาก LTF ภาวะตลาดผันผวนให้เลือกหุ้น Laggard เน้นเงินปันผลสูง Top pick INTUCH(FV@B79) เป็นบริษัท Holding ถือหุ้น ADVANC(FV@B230) 40.45% และ THCOM(FV@B25) 41.14% น่าจะผ่านจุดเลวร้ายแล้ว ขณะที่ INTUCH ให้เงินปันผลราว 4.8% และยังชอบ PTTEP (FV@B118) ได้ประโยชน์ราคาน้ำมันเหนือ 61 เหรียญฯ     

 

ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … หุ้นกลุ่ม ธ.พ. กดดันตลาดปิดลบ
          วานนี้ ดัชนีหุ้นไทยยังแกว่งตัวลดลง และปิดตลาดที่ 1695.67 จุด ลดลง 0.17 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 4.65 หมื่นล้านบาท กลุ่มธนาคารพาณิชย์ยังเผชิญกับแรงขายกดดันอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ ธ.พ. ขนาดกลาง ทั้ง TISCO ลดลง 4.31% TCAP ลดลง 2.71% และ KKP ลดลง  2.35% เช่นเดียวกับ ธ.พ. ขนาดใหญ่อย่าง SCB BBL และ KBANK ลดลง 0.7% 0.5% และ 0.5% ตามลำดับ ตามด้วยกลุ่มโรงพยาบาล BCH ลดลง 1.32 BDMS และ BH ลดลงเกือบ 1% อีกกลุ่มที่ปรับลดลงคือพัฒนาที่อยู่อาศัย โดย LH ลดลง 2.80% ส่วน QH วานนี้ราคาร่วงแรงกว่า 3.75% หลังมีบิ๊กล็อตกว่า 1.11 พันล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 3.08 บาท แต่เป็นการปรับฐานราคาช่วงสั้น เนื่องด้วยปัจจัยพื้นฐานที่ยังแข็งแกร่ง พร้อมทั้งเติบโตดีขึ้นใน 4Q60 ส่วนหุ้นในกลุ่มฯอย่าง SC ปรับตัวขึ้นโดดเด่น 1.60% ซึ่งฝ่ายวิจัยคาดว่าผลประกอบการใน 4Q60 ที่จะเติบโตกว่า 265% yoy และต่อเนื่องไปยังปี 2561 พร้อมปันผลเกือบ 6% และ upside สูงกว่า 38%
          ตรงข้ามหุ้นที่สามารถปรับตัวขึ้นสวนทางตลาดได้คือ กลุ่มขนส่ง โดยเฉพาะธุรกิจเดินเรือยังปรับตัวขึ้นได้ต่อหลังจากค่าระวางเรือ (BDI) ปรับขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่กลางเดือน พ.ย. จนถึงวานนี้กว่า 7% โดย TTA เพิ่มขึ้น 1.1% PSL เพิ่มขึ้น 3.88% และ RCL เพิ่มขึ้นอีก 3.16% ส่วนหุ้นรายตัวที่เพิ่มขึ้นโดดเด่น นำโดย THCOM เพิ่มขึ้น 8.55% หลังจากบรรลุข้อตกลงกับ TOT ในการต่อสัญญาเช่าใช้บริการสัญญาณดาวเทียมบรอดแบนด์ เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อนำไปใช้สนับสนุนการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง และเพิ่มศักยภาพการให้บริการ ตามด้วย SAWAD ฟื้นตัวแรงกว่า 5.63% หลังตลาดซึมซับงบ 3Q60 ไปหมดแล้ว โดยหลังจากนี้เชื่อว่าราคาหุ้นมีโอกาสฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องจากการคาดการณ์ว่าจะถูกคัดเข้าคำนวณ SET50 ในรอบใหม่
          สำหรับแนวโน้มตลาดฯ  ยังอยู่ในช่วงพักตัวในแนวขาขึ้น ตราบที่ยังไม่มีประเด็นใหม่หนุน แต่วันนี้อาจ ลุ้นฟื้นตัวได้ เพราะเห็นสัญญาณการดีดกลับของดัชนีช่วงท้ายตลาดวานนี้ โดยมีกรอบแนวรับ/แนวต้านหลักที่ 1680 และ 1730 จุด ตามลำดับ
ปรับเพิ่ม GDP Growth ขึ้นสะท้อนตัวเลขงวด 3Q60 ดีกว่าคาด
          เศรษฐกิจไทยเห็นสัญญาณขยายตัวต่อเนื่อง   หลังจาก GDP Growth งวด 3Q60 เติบโตสูง    4.3%yoy (สูงสุดในรอบ 18 ไตรมาส)   ดีกว่าคาด โดยมีเครื่องจักรเกือบทุกตัวเป็นตัวขับเคลื่อน    และมีแนวโน้มจะขยายตัวต่อเนื่องในงวด 4Q60 ต่อเนื่องจนถึงปี  2561  โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักยังมาจาก 
          การส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องตามคู่ค้าหลักที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะ จีน , สหรัฐ  และ ยุโรป เป็นต้น   
          การบริโภคครัวเรือนมาจากมาตรการภาครัฐ คือ งวด 4Q60  ช็อปช่วยชาติระยะเวลา 23 วัน (11 พ.ย. ถึง 3 ธ.ค.60) นำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการในประเทศมาลดหย่อนภาษีไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท  ,  งวด 4Q60 - ปลายปี 2561 คือ  บัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย วงเงินรวม  4.2 หมื่นล้านบาท เพื่อนำไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในร้านที่มีป้ายธงฟ้าเท่านั้น ระยะเวลา ต.ค.2560- ก.ย.2561 ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดีในต่างจังหวัด สะท้อนได้จากล่าสุด ร้านค้าปลีกตามต่างจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ มียอดขายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว 20-100% ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดอาจจะยังไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้
          และการลงทุนเอกชนที่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว ตามแผนกระตุ้นการลงทุนผ่าน  3 จังหวัดภาคตะวันออก ภายใต้ EEC ผ่านการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน  ควบคู่กับลงทุนสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ  แม้อาจจะล่าช้าบ้าง แต่ยังเป็นปัจจัยหนุนที่สำคัญในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า  จากงานที่รอประมูลอีกถึง 2 ล้านล้านบาท (83%ของงบลงทุนระยะ 8 ปี 2558-2564) และเฉพาะปี 2561 คาดว่าเม็ดเงินที่จะต้องประมูลสูงถึง   9 แสนล้านบาท
          โดยภาพรวม ASPS จึงปรับเพิ่ม   GDP Growth ปี  2560  ขึ้นเป็น  3.8% ในปี 2560 และ  4.2% ปี 2561  จากเดิมคาด 3.5% และ 4%ตามลำดับ โดยปรับเปลี่ยนสมมติฐาน คือ  การบริโภคครัวเรือน เพิ่มเป็น  3.2%ในปี 2560-61 จาก 3%, การลงทุน (ปรับเพิ่มเอกชนเป็น 1.8%,และ 2.9% จากเดิม  1.6% และ 2.5  แต่ลงทุนรัฐหดตัว 0.5% เดิม 7.9% แต่คงปีหน้า 5.5%  ขณะที่ส่งออก&นำเข้า(ในรูปดอลลาร์ฯ) เพิ่มเป็น 14.7% และ  5.6% ในปีนี้   ส่วนปี 2561 เพิ่มในอัตราที่ชะลอ 5% และ 8%
          ส่วนเงินเฟ้อปี  2561 อยู่ที่ 1.26%  จาก 1.07%yoy ในปี 2560 (เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีที่ 0.62%yoy)  กำหนด ราคาน้ำมันดิบปี  2560 ที่ 55 เหรียญฯ และ 60 เหรียญฯ ปี 2561   แต่ปรับลดสมมติฐานค่าเงินในบาทปีหน้าเหลือ 33 บาทจากเดิม 34 บาท/ดอลลาร์ฯ  แต่เงินเฟ้อยังต่ำกว่าดอกเบี้ยฯ 1.5% ทำให้เชื่อว่า กนง. ยังคงดอกเบี้ยไปจนถึงกลางปี  2561   (ติดตามอ่านรายละเอียดใน Economic Outlook  ที่ออกบ่ายวานนี้

 

หุ้นสื่อสาร upderperfrom แต่เชื่อว่าผ่านจุดเลวร้ายไปแล้ว แนะนำหุ้น INTUCH 
          หุ้นสื่อสารถือว่าเป็นกลุ่มที่ upderperfrom ตลาดมาก และหากพิจารณารายตัวพบว่า  หุ้นกลุ่ม INTUCH  ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นบริษัท Holding  ซึ่งปัจจุบันถือหุ้น ADVANC(FV@B230) 40.45% และ THCOM(FV@B25) 41.14%  ได้รับผลกระทบหนักสุดจาก THCOM   อยู่ระหว่างข้อพิพาทกับภาครัฐ ที่ต้องการยึดดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 เนื่องจากมีต้นทุนส่วนแบ่งรายได้เพียง 4% ภายใต้ใบอนุญาต การกำกับดูแลของ กสทช  ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของศาลอนุญาโตตุลาการ      จากอดีต หรือการดำเนินงานดาวเทียมดวงอื่นๆ  เช่น ดวงที่ 4 และ 5  ล้วนอยู่ภายในใต้สัมปทาน (กระทรวงดิจิตอล) กำหนดต้นทุนที่ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้แก่รัฐสูงถึง  22%    ไม่รวมที่ต้องเผชิญกับลูกค้าบางกลุ่มหยุดใช้บริการดาวเทียมไทย   เป็นต้น
          วานนี้มีข่าวเชิงบวกต่อ   THCOM  เพราะ TOT ซึ่งเป็น 1 ในลูกค้าที่ใช้บริการ  ดาวเทียม iPSTAR  ได้ยกเลิกการใช้บริการ ทั้ง 100%  ของ iPSTAR ในประเทศไทย (กำลังให้บริการ iPSTAR  ใช้ในประเทศ 8% ที่เหลือ 92%  ถูกกำหนดการขายไว้ใน 13 ประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินเดีย จีน) เมื่อ 2Q60 ได้หันกลับมาใช้บริการของ THCOM อีกครั้งแต่ราว 25% ของกำลังการให้บริการในประเทศ  โดยจะเริ่มใช้งานตั้งแต่ พ.ย. เป็นต้นไป เป็นหนึ่งสัญญาณที่น่าจะยืนยันถึงผลประกอบการ THCOM ที่ได้ผ่านจุดต่ำสุดใน 3Q60 ไปแล้ว แต่ประเด็นได้รวมไว้ในประมาณการแล้ว เพราะเชื่อว่า TOT น่าจะมีทางเลือกอื่น ๆ น้อย
          อย่างไรก็ตาม ประเด็นความเสี่ยงที่ยังมีอยู่ และยังต้องรอการพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ คือ  ดาวเทียมไทยคม 7 และ 8  ข้างต้น   ซึ่งเชื่อว่า คงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะได้ข้อสรุป     ในส่วนนี้ฝ่ายวิจัยจึงตั้งสมมติฐานส่วนแบ่งรายได้กระทั่งสิ้นสุดใบอนุญาตปี 2575 ที่ 4% ขณะที่ให้เพิ่มเป็น 22.5% หลังจากนั้น
          ขณะที่แนวโน้มการส่งดาวเทียมทดแทนดาวเทียมสัมปทานไทยคม 4 (iPSTAR) และ ไทยคม 5 เพื่อทดแทนของเดิมที่จะครบกำหนด ปี 2564  ขณะนี้คาดว่าการแก้ไขกฎหมายให้อำนาจการกำกับดูแลธุรกิจดาวเทียมอยู่ภายใต้ กสทช. จากปัจจุบันดาวเทียมทั้ง 2 ดวงอยู่ภายใต้  กระทรวงดิจิตอล   (ปัจจุบันอยู่ในการพิจารณา สนช. วาระที่ 2)  ซึ่งน่าจะช่วยให้ THCOM เดินหน้าสร้างดาวเทียมทดแทนไทยดวงใหม่  เพื่อรักษาฐานลูกค้า โดยฝ่ายวิจัยกำหนด ให้การยิงดาวเทียมดวงใหม่ทดแทนของเดิม มี  ต้นทุนส่วนแบ่งรายได้เท่าสัมปทานที่ 22.5% ซึ่งยังเป็นไปตามสมมติฐานเดิม จึงยังคงมูลค่าพื้นฐานได้ที่ 25 บาท ยังมี Upside อีกสูงมาก

 

ต่างชาติขายหุ้นไทยมากสุดในเดือน พ.ย. 60 เช่นในอดีต
          วานนี้ต่างชาติยังคงพร้อมใจกันขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่ากว่า 763 ล้านเหรียญ โดยเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นอินโดนีเซียเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ถูกซื้อสุทธิ 50 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 แห่งต่างชาติขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 427 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3 วัน) ตามมาด้วยไต้หวัน 286 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), ฟิลิปปินส์ 1 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) และไทยที่ต่างชาติยังขายสุทธิอีกกว่า 68 ล้านเหรียญ หรือ 2.22 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิ 1.26 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า)
          หากพิจารณาเฉพาะตลาดหุ้นไทย พบว่า ในเดือน พ.ย. 60 นี้ เป็นเดือนที่ต่างชาติขายหุ้นไทยมากที่สุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆที่ผ่านมา ด้วยมูลค่ากว่า 1.76 หมื่นล้านบาท กดดันยอดซื้อสุทธิสะสมทั้งปีติดลบ 1.53 หมื่นล้านบาท (ytd) อย่างไรก็ตามแรงขายดังกล่าวยังถือว่าสอดคล้องกับอดีต 10 ปี ที่ต่างชาติมักจะขายสุทธิมากสุดในเดือน พ.ย. เฉลี่ยราว 1.62 หมื่นล้านบาท ขายสุทธิ 8 ใน 10 ปี

 

SET  ปรับฐานยังมีอยู่ จากการขายทำกำไร 
          แนวโน้ม SET Index ในช่วงนี้ น่าจะยังแกว่งปรับฐานในกรอบไปจนถึงสิ้นปี เนื่องจาก 3 เหตุผลหลัก ดังนี้
          การซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศในช่วงนี้เป็นไปในลักษณะซื้อสลับขาย โดยนับตั้งแต่ดัชนีขึ้นทะลุผ่าน 1600 จุดขึ้นมาเมื่อปลายเดือน ส.ค. จนถึงช่วงที่ดัชนีขึ้นทดสอบ 1730 จุดครั้งแรกเมื่อกลางเดือน ต.ค. ปรากฏว่านักลงทุนกลุ่มนี้ซื้อสุทธิไปถึง 2.26 หมื่นล้านบาท จากนั้นก็เริ่มทยอยขายออกมา ซึ่งประเมินได้ว่าเป็นการ take profit เพื่อล็อคกำไรก่อนสิ้นปี ก่อนที่จะกลับมาลงทุนซื้อหุ้นใหม่ในช่วงต้นปีถัดไป และถือว่าเป็นปกติของนักลงทุนกลุ่มนี้และสอดคล้องกับสถิติในอดีต 10 ปีย้อนหลังที่นักลงทุนต่างชาติมักขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยเดือน พ.ย. และ ธ.ค. เฉลี่ยกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท และ 6.6 พันล้านบาท ตามลำดับ
          แรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศมีน้ำหนักเพียงประคองตลาด แม้เป็นผู้ซื้อสุทธิหลักในช่วงนี้ โดยส่วนหนึ่งน่าจะมาจากแรงหนุนของเม็ดเงิน LTF ที่มักจะกระจุกตัวในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตาม ก็มีโอกาสที่เม็ดเงินที่ไหลเข้ามาอาจไม่ได้หนาแน่นเหมือนปีก่อนๆ เนื่องจากถูกหักล้างด้วยผู้ที่ทยอยขายกองทุน LTF ไปแล้วบางส่วนในช่วงที่ดัชนีปรับขึ้นมา นอกจากนี้ กฏเกณฑ์ที่เปลี่ยนไปในการถือครองที่ยาวนานขึ้นเป็น 7 ปีปฏิทิน อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ลดแรงดึงดูดในการเข้าซื้อ LTF ไปบางส่วน ดังนั้น แรงซื้อของนักลงทุนสถาบันฯ จึงทำได้เพียงประคองตลาดฯ ในช่วงนี้
          ผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเกือบ 10%ytd  แม้จะดูไม่มากนักเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียที่ 14.5%ytd และฟิลิปปินส์ที่ 22% รวมทั้งตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่ 23.7%ytd แต่หากวัดกันตั้งแต่ 29 ส.ค. เป็นต้นมา SET Index ขึ้นไปแล้วกว่า 7% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นในอัตราที่มากกว่าอินโดนีเซียที่ 2.7% และฟิลิปปินส์ที่ 4.3% แต่ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่ 7.6% ทำให้เห็นแรง take profit ตลาดหุ้น KOSPI ของเกาลีใต้วานนี้ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทยปัจจุบันซื้อขายกันที่ Expected P/E สูงกว่า 17.1 เท่า เทียบกับ EPS Growth ตลาดหุ้นไทยปีนี้ราว 4.8% คิดเป็น PEG Ratio ราว 3.57 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ถูกเท่าใดนัก
          อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป และจะโดดเด่นในปีหน้า (ฝ่ายวิจัยประเมิน GDP Growth ปี 2561 ที่ 4.2%) ทำให้เชื่อว่า ตลาดหุ้นไทยยังมีแนวโน้มปรับขึ้นได้ต่อในปีหน้า ขณะที่ช่วงที่เหลือของปีนี้ปัจจัยบวกยังไม่มีประเด็นใหม่ จึงคาดดัชนี ณ สิ้นปี น่าจะอยู่ที่บริเวณ 1720-1730 จุด จึงยังแนะนำให้สลับการลงทุน ทยอยขายทำกำไรหุ้นที่ปรับขึ้นมามาก และสะสมหุ้นพื้นฐานดี มี upside หรือ laggards  เช่น SCC PTTEP INTUCH และ UNIQ เป็นต้น
         
Derivative Team:
          ภรณี ทองเย็น       เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
          เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม         เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
          พบชัย ภัทราวิชญ์          เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
          ภราดร เตียรณปราโมทย์         เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
          ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์         เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
OO2906

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!