- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 27 November 2017 17:12
- Hits: 1221
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังแกว่งตัวต่ำกว่า 1,700 จุด ลักษณะเดียวกับตลาดเพื่อนบ้าน หลังให้ผลตอบแทนกว่า 10%ytd การปรับ ครม. ยังไม่มีอะไรทำให้นโยบายแตกต่างจากเดิม ขณะที่มองว่าตลาดหุ้นไทยปี 2561 ยังเป็นขาขึ้น หาก อิง EPS ตลาดที่คาดว่าจะเติบโกว่า 10% (ราว 113 บาท vs ปีนี้ที่ราว 99.1 บาท) กลยุทธ์ให้ละสะสมหุ้นที่คาดกำไรโดดเด่นใน 4Q60 และ 2561 Top pick ยังชอบ PTTEP (FV@B118) ยังได้ประโยชน์ราคาน้ำมันเหนือ 61 เหรียญฯ และราคาหุ้น Laggard
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังแกว่งตัวต่ำกว่า 1,700 จุด ลักษณะเดียวกับตลาดเพื่อนบ้าน หลังให้ผลตอบแทนกว่า 10%ytd การปรับ ครม. ยังไม่มีอะไรทำให้นโยบายแตกต่างจากเดิม ขณะที่มองว่าตลาดหุ้นไทยปี 2561 ยังเป็นขาขึ้น หาก อิง EPS ตลาดที่คาดว่าจะเติบโกว่า 10% (ราว 113 บาท vs ปีนี้ที่ราว 99.1 บาท) กลยุทธ์ให้ละสะสมหุ้นที่คาดกำไรโดดเด่นใน 4Q60 และ 2561 Top pick ยังชอบ PTTEP (FV@B118) ยังได้ประโยชน์ราคาน้ำมันเหนือ 61 เหรียญฯ และราคาหุ้น Laggard
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … หุ้นโรงกลั่น-ค้าปลีก และ ธ.พ. กดดันตลาดฯ
วันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยปรับฐานตามตลาดต่างประเทศ โดยตลอดทั้งวันดัชนีแกว่งตัวในแดนลบ และปิดที่ 1695.84 จุด ลดลงแรงกว่า 11.54 จุด หรือ 0.68% มูลค่าการซื้อขาย 5.65 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการลดลงของดัชนีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มพลังงาน-โรงกลั่นเผชิญแรงขายกดดันทั้งกลุ่ม นำโดย IRPC ลดลงแรงกว่า 4% ตามด้วย TOP ลดลงกว่า 3.90% ส่วนหุ้นปิโตรเคมีอย่าง IVL ลดลง 3.09% และ PTTGC ลดลง 0.94% ตามด้วยกลุ่มค้าปลีก ที่ปรับตัวลดลงยกแผง BJC ลดลง 2.51% COM7 ลดลง 1.81% BEAUTY ลดลง 3.77% และ HMPRO ลดลง 1.52% ฝ่ายวิจัยยังคงมีมุมมองเชิงบวกกับหุ้นในกลุ่มค้าปลีกที่มีศักยภาพการเติบโตโดดเด่นอย่าง COM7 และ BEAUTY ซึ่งคาดว่าผลประกอบการใน 4Q60 ยังคงเติบโตโดดเด่น และมีปัจจัยหนุนจากมาตรการภาครัฐในการกระตุ้นการบริโภค โดย Fair value ปี 61 ของ COM7 อยู่ที่ 21 บาท และ BEAUTY 25 บาทตามลำดับ
ส่วนหุ้นรายตัวอื่นๆ ที่ปรับลดลงคือ หุ้นกลุ่มอาหาร-เครื่องดื่มอย่าง CBG ลดลงแรงกว่า 7.07% และ TKN ลดลงแรงถึง 4.62% ตามด้วยหุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้าอย่าง SKE ที่เพิ่งเข้าตลาดฯ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ลดลงแรงกว่า 9% ส่วน LANNA และ CKP ลดลง 4.23% และ 3.83% ซึ่งหุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้าดังกล่าวราคาปรับตัวขึ้นจนเกินมูลค่าพื้นฐานที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ จึงแนะนำ switch ไปยังหุ้นที่มี upside สูงอย่าง BANPU และ BGRIM
ตรงกันข้ามหุ้นที่สามารถปรับตัวขึ้นสวนทางตลาดได้คือ หุ้นกลุ่ม ICT โดย ADVANC ปรับขึ้น 1.43% และ TRUE เพิ่มขึ้น 0.88% ซึ่งตลาดได้รับรู้ข่าวบวก หลังผู้ถือหน่วยลงทุน DIF อนุมัติการเข้าลงทุนในสินทรัพย์ของ TRUE เพิ่มอีก 7 หมื่นล้านบาท ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุน DIF เพิ่มมาเป็น 1.6 แสนล้านบาท ส่วนหุ้นรายตัวอื่นๆ ที่ปรับขึ้นโดดเด่นคือ กลุ่มเดินเรือ TTA เพิ่มขึ้น 1.12% PSL เพิ่มขึ้น 3% และ RCL เพิ่มขึ้นแรงกว่า 13.10%
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้เป็นไปได้ที่ดัชนีจะเคลื่อนไหวต่ำกว่า 1700 จุด เพื่อรอประเด็นบวกใหม่ ๆ โดยมีแนวต้านที่ 1700 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1690 จุด
วันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยปรับฐานตามตลาดต่างประเทศ โดยตลอดทั้งวันดัชนีแกว่งตัวในแดนลบ และปิดที่ 1695.84 จุด ลดลงแรงกว่า 11.54 จุด หรือ 0.68% มูลค่าการซื้อขาย 5.65 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการลดลงของดัชนีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มพลังงาน-โรงกลั่นเผชิญแรงขายกดดันทั้งกลุ่ม นำโดย IRPC ลดลงแรงกว่า 4% ตามด้วย TOP ลดลงกว่า 3.90% ส่วนหุ้นปิโตรเคมีอย่าง IVL ลดลง 3.09% และ PTTGC ลดลง 0.94% ตามด้วยกลุ่มค้าปลีก ที่ปรับตัวลดลงยกแผง BJC ลดลง 2.51% COM7 ลดลง 1.81% BEAUTY ลดลง 3.77% และ HMPRO ลดลง 1.52% ฝ่ายวิจัยยังคงมีมุมมองเชิงบวกกับหุ้นในกลุ่มค้าปลีกที่มีศักยภาพการเติบโตโดดเด่นอย่าง COM7 และ BEAUTY ซึ่งคาดว่าผลประกอบการใน 4Q60 ยังคงเติบโตโดดเด่น และมีปัจจัยหนุนจากมาตรการภาครัฐในการกระตุ้นการบริโภค โดย Fair value ปี 61 ของ COM7 อยู่ที่ 21 บาท และ BEAUTY 25 บาทตามลำดับ
ส่วนหุ้นรายตัวอื่นๆ ที่ปรับลดลงคือ หุ้นกลุ่มอาหาร-เครื่องดื่มอย่าง CBG ลดลงแรงกว่า 7.07% และ TKN ลดลงแรงถึง 4.62% ตามด้วยหุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้าอย่าง SKE ที่เพิ่งเข้าตลาดฯ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ลดลงแรงกว่า 9% ส่วน LANNA และ CKP ลดลง 4.23% และ 3.83% ซึ่งหุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้าดังกล่าวราคาปรับตัวขึ้นจนเกินมูลค่าพื้นฐานที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ จึงแนะนำ switch ไปยังหุ้นที่มี upside สูงอย่าง BANPU และ BGRIM
ตรงกันข้ามหุ้นที่สามารถปรับตัวขึ้นสวนทางตลาดได้คือ หุ้นกลุ่ม ICT โดย ADVANC ปรับขึ้น 1.43% และ TRUE เพิ่มขึ้น 0.88% ซึ่งตลาดได้รับรู้ข่าวบวก หลังผู้ถือหน่วยลงทุน DIF อนุมัติการเข้าลงทุนในสินทรัพย์ของ TRUE เพิ่มอีก 7 หมื่นล้านบาท ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุน DIF เพิ่มมาเป็น 1.6 แสนล้านบาท ส่วนหุ้นรายตัวอื่นๆ ที่ปรับขึ้นโดดเด่นคือ กลุ่มเดินเรือ TTA เพิ่มขึ้น 1.12% PSL เพิ่มขึ้น 3% และ RCL เพิ่มขึ้นแรงกว่า 13.10%
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้เป็นไปได้ที่ดัชนีจะเคลื่อนไหวต่ำกว่า 1700 จุด เพื่อรอประเด็นบวกใหม่ ๆ โดยมีแนวต้านที่ 1700 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1690 จุด
ครม. ใหม่ (ประยุทธ์ 5) เน้นขับเคลื่อนนโยบายในช่วง 1 ปีที่เหลือ
เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2560 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมทั้งหมด 18 ตำแหน่ง คือ
ให้รัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งรวม 9 คน
แต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่จำนวน 10 คน และ
มีบางส่วนมีการปรับย้ายกระทรวงที่รับผิดชอบ
พิจารณาในแง่มุมของตัวบุคคลที่เข้ามารับตำแหน่ง พบว่าส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่เคยมีประสบการณ์ในด้านการปฎิบัติงานจริงทั้งในภาคราชการ และภาคเอกชน ทำให้สามารถนำมาปฎิบัติหน้าที่ในกระทรวงที่เกี่ยวข้องได้ และเป็นการบ่งชี้ว่าในช่วงเวลา 1 ปีที่เหลือจากนี้ไป (จนถึงกำหนดการเลือกตั้งที่คาดว่าจะเกิดราวเดือน พ.ย.2561) น่าจะเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลต้องการนำแผนยุทธศาสตร์ที่ได้จัดทำไว้มาขับเคลื่อนให้เห็นผลในทางปฎิบัติที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
ส่วนสัญญาณทางการเมือง บางส่วนอาจถูกนำไปตีความได้ว่าเป็นการส่งสัญญาณว่ารัฐบาล คสช. เริ่มมีมุมมองเชิงบวกกับพรรคการเมืองบางพรรค เนื่องจากมีรัฐมนตรีใหม่บางท่านที่เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอดีต เช่น รมว. กระทรวงท่องเที่ยว และกีฬาเป็นต้น
สำหรับผลกระทบที่จะมีต่อ SET Index เชื่อว่าจะไม่อยู่ในระดับที่มีนัยสำคัญ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีที่กำกับดูแลทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้การเดินหน้านโยบายต่างๆ มีความต่อเนื่อง และอีกทางหนึ่งเชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่ มองภาพข้ามไปถึงการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นใน เดือน พ.ย.2561 แล้ว
เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2560 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมทั้งหมด 18 ตำแหน่ง คือ
ให้รัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งรวม 9 คน
แต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่จำนวน 10 คน และ
มีบางส่วนมีการปรับย้ายกระทรวงที่รับผิดชอบ
พิจารณาในแง่มุมของตัวบุคคลที่เข้ามารับตำแหน่ง พบว่าส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่เคยมีประสบการณ์ในด้านการปฎิบัติงานจริงทั้งในภาคราชการ และภาคเอกชน ทำให้สามารถนำมาปฎิบัติหน้าที่ในกระทรวงที่เกี่ยวข้องได้ และเป็นการบ่งชี้ว่าในช่วงเวลา 1 ปีที่เหลือจากนี้ไป (จนถึงกำหนดการเลือกตั้งที่คาดว่าจะเกิดราวเดือน พ.ย.2561) น่าจะเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลต้องการนำแผนยุทธศาสตร์ที่ได้จัดทำไว้มาขับเคลื่อนให้เห็นผลในทางปฎิบัติที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
ส่วนสัญญาณทางการเมือง บางส่วนอาจถูกนำไปตีความได้ว่าเป็นการส่งสัญญาณว่ารัฐบาล คสช. เริ่มมีมุมมองเชิงบวกกับพรรคการเมืองบางพรรค เนื่องจากมีรัฐมนตรีใหม่บางท่านที่เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอดีต เช่น รมว. กระทรวงท่องเที่ยว และกีฬาเป็นต้น
สำหรับผลกระทบที่จะมีต่อ SET Index เชื่อว่าจะไม่อยู่ในระดับที่มีนัยสำคัญ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีที่กำกับดูแลทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้การเดินหน้านโยบายต่างๆ มีความต่อเนื่อง และอีกทางหนึ่งเชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่ มองภาพข้ามไปถึงการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นใน เดือน พ.ย.2561 แล้ว
รัฐช่วยเหลือ SMEs หนุนเศรษฐกิจ แต่บริษัทในตลาดฯ ได้ประโยชน์จำกัด
นโยบายรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งคาดว่าจะดึงเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น ราว 1.5 ล้านล้านบาทใน 5 ปีแรก โดยราว 30% ของเม็ดเงินลงทุน เป็นการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ อาทิ สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุด ท่าเรือแหลมฉบัง มอเตอร์เวย์ เป็นต้น (บางส่วนเป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ PPP) ที่เหลือส่วนใหญ่ 70% เป็นการลงทุนของภาคเอกชน แต่โครงการนี้ถือว่าเป็นการกระตุ้นการลงทุนระยะยาว
ในระยะสั้น ๆ ยังต้องพึ่งพาการลงทุนภาครัฐที่ยังคืบหน้าไม่มาก คือ แผนลงทุนคมนาคมระยะเร่งด่วน (Action Plan) ปี 2558-2565 วงเงินรวมทั้งสิ้น 2.4 ล้านล้านบาท ซึ่งผ่านไปแล้ว 3 ปีพบว่ามีการประมูลไปเพียง 4 แสนล้านบาท หรือคิด 17% ของเงินลงทุนรวมทั้งหมด จึงยังคงเหลือโครงการรอประมูลอีกถึง 2 ล้านล้านบาท (83%) จึงเชื่อว่าโครงการต่างๆ น่าจะทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องในปีหน้า และยังคาดหวังการส่งออกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัว รวมถึงนโยบายกระตุ้นการบริโภคครัวเรือน อาทิ ช็อปช่วยชาติ (11 พ.ย. - 3 ธ.ค. 60 รวม 23 วัน)
และล่าสุด รัฐเตรียมออกมาตรการช่วยเหลือการลงทุนในอุตสาหกรรมฐานราก คือ SMES ผ่านการจัดตั้งกองทุน 3 กองวงเงินรวมราว 7 หมื่นล้านบาท ดังนี้คือ ปล่อยสินเชื่อให้ SMES ทั้งรายเก่า และ Micro SMES อาทิ วิสาหกิจชุมชน, กลุ่มธุรกิจเกษตรแปรรูป เป็นต้น โดยให้ธนาคารออมสินและ ธนาคาร SMES เป็นผู้ให้สินเชื่อ (รายละเอียดดังตาราง)
นโยบายครั้งนี้เชื่อว่าเป็นการช่วยเหลือบริษัทขนาดเล็กที่อยู่นอกตลาด ซึ่งมีความต้องการเงินทุน แต่เข้าถึงสถาบันการเงินยาก ขณะที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์คาดว่ามาตรการนี้น่าจะได้ประโยชน์จากมาตรการนี้น้อย เพราะส่วนใหญ่มีสภาพคล่องที่ดีกว่าบริษัทนอกตลาด แต่โดยภาพรวม คาดว่าถือปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งทำให้ GDP Growth ปี 2560 มีโอกาสแตะ 3.8% ในปี 2561 และจะเร่งขึ้นไปแตะ 4.2%yoy ในปี 2561 (ปรับเพิ่มจากจากเดิม 3.5% และ 4% ตามลำดับ)
นโยบายรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งคาดว่าจะดึงเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น ราว 1.5 ล้านล้านบาทใน 5 ปีแรก โดยราว 30% ของเม็ดเงินลงทุน เป็นการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ อาทิ สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุด ท่าเรือแหลมฉบัง มอเตอร์เวย์ เป็นต้น (บางส่วนเป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ PPP) ที่เหลือส่วนใหญ่ 70% เป็นการลงทุนของภาคเอกชน แต่โครงการนี้ถือว่าเป็นการกระตุ้นการลงทุนระยะยาว
ในระยะสั้น ๆ ยังต้องพึ่งพาการลงทุนภาครัฐที่ยังคืบหน้าไม่มาก คือ แผนลงทุนคมนาคมระยะเร่งด่วน (Action Plan) ปี 2558-2565 วงเงินรวมทั้งสิ้น 2.4 ล้านล้านบาท ซึ่งผ่านไปแล้ว 3 ปีพบว่ามีการประมูลไปเพียง 4 แสนล้านบาท หรือคิด 17% ของเงินลงทุนรวมทั้งหมด จึงยังคงเหลือโครงการรอประมูลอีกถึง 2 ล้านล้านบาท (83%) จึงเชื่อว่าโครงการต่างๆ น่าจะทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องในปีหน้า และยังคาดหวังการส่งออกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัว รวมถึงนโยบายกระตุ้นการบริโภคครัวเรือน อาทิ ช็อปช่วยชาติ (11 พ.ย. - 3 ธ.ค. 60 รวม 23 วัน)
และล่าสุด รัฐเตรียมออกมาตรการช่วยเหลือการลงทุนในอุตสาหกรรมฐานราก คือ SMES ผ่านการจัดตั้งกองทุน 3 กองวงเงินรวมราว 7 หมื่นล้านบาท ดังนี้คือ ปล่อยสินเชื่อให้ SMES ทั้งรายเก่า และ Micro SMES อาทิ วิสาหกิจชุมชน, กลุ่มธุรกิจเกษตรแปรรูป เป็นต้น โดยให้ธนาคารออมสินและ ธนาคาร SMES เป็นผู้ให้สินเชื่อ (รายละเอียดดังตาราง)
นโยบายครั้งนี้เชื่อว่าเป็นการช่วยเหลือบริษัทขนาดเล็กที่อยู่นอกตลาด ซึ่งมีความต้องการเงินทุน แต่เข้าถึงสถาบันการเงินยาก ขณะที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์คาดว่ามาตรการนี้น่าจะได้ประโยชน์จากมาตรการนี้น้อย เพราะส่วนใหญ่มีสภาพคล่องที่ดีกว่าบริษัทนอกตลาด แต่โดยภาพรวม คาดว่าถือปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งทำให้ GDP Growth ปี 2560 มีโอกาสแตะ 3.8% ในปี 2561 และจะเร่งขึ้นไปแตะ 4.2%yoy ในปี 2561 (ปรับเพิ่มจากจากเดิม 3.5% และ 4% ตามลำดับ)
ภาพรวมต่างชาติสลับมาขายหุ้นในภูมิภาค หลังจากซื้อติดต่อกัน 6 วัน
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 250 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 6 วัน) และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นอินโดนีเซียเพียงแห่งเดียวที่ถูกซื้อสุทธิ 50 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 แห่งต่างชาติขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 162 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2 วัน) ตามมาด้วยไต้หวัน 107 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน), ฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) และไทยที่ต่างชาติยังขายสุทธิอีก 22 ล้านเหรียญ หรือ 732 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิกว่า 2.67 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.54 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 491 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8 มูลค่ารวมกันกว่า 5.58 หมื่นล้านบาท)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
OO2847
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 250 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 6 วัน) และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นอินโดนีเซียเพียงแห่งเดียวที่ถูกซื้อสุทธิ 50 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 แห่งต่างชาติขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 162 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2 วัน) ตามมาด้วยไต้หวัน 107 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน), ฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) และไทยที่ต่างชาติยังขายสุทธิอีก 22 ล้านเหรียญ หรือ 732 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิกว่า 2.67 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.54 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 491 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8 มูลค่ารวมกันกว่า 5.58 หมื่นล้านบาท)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
OO2847