WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 

กลยุทธ์การลงทุน
  ตลาดหุ้นน่าจะปรับฐานต่อ และน่าจะได้รับอิทธิพลจากตลาดหุ้นจีน หลังจากธนาคารกลางฯ ระงับการให้ใบอนุญาตการปล่อยเชื่อรายย่อยแบบ online ซึ่งเห็นว่าเติบโตเร็วและเป็นส่วนหนึ่งของ shadow bank ที่ก่อให้เกิด NPLs ขณะที่ ASPS อยู่ระหว่างทบทวน EPS ตลาดคาดว่า 2560 จะะเติบโตลดลง แต่เติบโตโดดเด่นในปี 2561 กลยุทธ์ทยอยขายหุ้นที่เต็มมูลค่า และสะสมหุ้น Domestic Play ที่คาดผลประกอบการโดดเด่นงวด 4Q60 และ 2561 Top pick PTTEP (FV@B118) ยังได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวเหนือ 60 เหรียญฯ และราคาหุ้นยัง Laggard
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … กลุ่ม ICT-พลังงาน-ธ.พ. ฉุดตลาดปิดลบ
  วานนี้ตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในแดนลบตลอดทั้งวัน และปิดตลาดที่ 1707.38 จุด ลดลง 5.75 จุด หรือ 0.34% มูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 4.74 หมื่นล้านบาท ซึ่งหุ้นในหลายๆ กลุ่มอุตสาหกรรมปรับตัวลงหลังเผชิญแรงขายระยะสั้น โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม ICT ทั้ง ADVANC และ TRUE ลดลง 1.96% และ  0.88% ส่วน DTAC ลดลงต่อเนื่องอีก 2.30% ปัจจัยกดันจากการเซ็นสัญญาคลื่น 2300 MHz มีแนวโน้มล่าช้ากว่าที่คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายใน 4Q60 จึงอาจส่งผลต่อกำลังการให้บริการในอนาคต  อีกกลุ่มที่ปรับลดลงแทบทั้งกลุ่มคือ ธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะ ธ.พ. ขนาดกลางอย่าง TCAP และ KKP ลดลง 2.64% และ 1.64% ตามลำดับ ตามด้วยกลุ่มบันเทิง WORK ลดลง 5.07% RS ลดลง 5.14% และ MONO ลดลง 2.43% หุ้นเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง THANI SAWAD ลดลง 2.17% และ 3.23% ตามลำดับ ส่วนหุ้นที่เพิ่งเข้ามาเทรดเมื่อวันพุธที่ผ่านมาอย่าง SKE ลดลง 5.66% และหุ้นที่คาดว่ามีโอกาสเข้าข่าย Turnover list อย่าง III ลดลง 4.79%
  สำหรับกลุ่มฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นมีเพียง กลุ่มค้าปลีก โดยเฉพาะ BJC เพิ่มขึ้นแรงกว่า 4.82% ซึ่งแนวโน้มกำไรใน 4Q60 ยังคงเติบโตต่อเนื่อง หนุนจากยอดขายสาขาเดิมและมาตรการกระตุ้นการบริโภคของรัฐ ส่วน PTTEP เพิ่มขึ้น 0.8% หลังมีปัจจัยหนุนระยะสั้นจากราคาน้ำมันดิบ Dubai เหนือ 60 เหรียญฯ
  สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ น่าจะแกว่งพักตัวอีกวัน โดยมีแนวรับที่ 1700 จุด แนวต้าน 1720 จุด
 
ตลาดหุ้นจีนตกหนัก หลังธนาคารกลางฯ สั่งระงับใบอนุญาต Micro-lenders 
  ธนาคารกลางจีนประกาศให้ยกเลิกการให้ใบอนุญาตรายใหม่ แก่ผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อยแบบ Online (Micro-lenders) หลังจากที่ยอดการปล่อยสินเชื่อรายย่อยประเภศนี้ได้ขยับขึ้นไปสูงถึง  224.76 ล้านเหรียญฯ ในช่วง 9M60  หรือเพิ่มขึ้น  80% จาก 9M59  และยอดเงินดังกล่าวสูงถึง 2% ของ GDP  ของจีน เมื่อปี 2559 แต่คิดเป็น 1.2% ของสินเชื่อทั้งระบบ สิ้นสุด 9Q60  ทั้งนี้เห็นว่าการปล่อยสินเชื่อในลักษณะดังกล่าวขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่บริการ ผู้กู้เข้าถึงได้ง่าย  และสินเชื่อดังกล่าวเข้าข่ายเป็นธนาคารเงา หรือ shadow banking ซึ่งเป็นเหตุผลผลทำให้ NPLs ของจีนทั้งระบบที่ช่วงที่ผ่านมาสูงมาก (ล่าสุด  NPLs ระบบ อยู่ที่ 2.2% ของ GDP  แหล่งข่าวจาก Bloomberg)
  จากประเด็นดังกล่าวได้กดดันให้หุ้นของจีน ปรับตัวลดลงอย่างมาก 2.7% เพียงวันเดียว  และทำให้ผลตอบแทนตลาดหุ้นจีน นับจากต้นปีจนถึงปัจจุบันเฉลี่ยเพียง  8%  ถือว่าเป็นตลาดที่ underperform ตลาดเพื่อนบ้าน  โดยเฉพาะหุ้นอินเดีย ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย  26% ytd  ตามมาด้วตลาดหุ้นฟิลิปปินส์  เฉลี่ย  22% ytd  อินโดนีเซียเฉลี่ย  15% ytd และไทย เฉลี่ย  10%
  เช่นเดียวกับตลาดหุ้นสหรัฐ ให้ผลตอบแทนที่สูงเช่นกัน  คือ  DJIA ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย  19%  และ  S&P500 16% ส่วนฝั่งยุโรปพบว่า เยอรมัน ให้ผลตอบแทนสูงสุด 13% รองลงมาคือ ฝรั่งเศส 11%  ยกเว้น อังกฤษ 2%  เท่านั้น น่าจะเป็นผลกระทบจาก Brexit   ส่วน  แคนาดาให้ผลตอบแทนน้อยเพียง  5%  เพราะตลาดหุ้นเพิ่งมาขึ้นใน 2 เดือนหลัง  แต่ในช่วง 9 เดือนแรกแกว่งตัวลง  น่าจะเป็นเพราะมีการขึ้นดอกเบี้ยฯ ไปแล้ว 2 ครั้ง 
 
แรงซื้อหุ้นในภูมิภาคเบาลง และสลับมาขายสุทธิหลายประเทศรวมถึงไทย
  แม้วานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 แต่แรงซื้อเริ่มเบาลง โดยมีมูลค่ารวม 87 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิเพียง 2 ประเทศเท่านั้น คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิ 60 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และอินโดนีเซีย 57 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 13 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 8 วัน) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 4 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 14 ล้านเหรียญ หรือ 455 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย 79 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน)
  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.60 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 4.04 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7 มูลค่ารวมกันกว่า 5.53 หมื่นล้านบาท)
 
เตรียมปรับลด EPS ตลาดปีนี้ แต่ 2561 จะเพิ่มขึ้นโดดเด่น
  ผลประกอบการ 9M60 ตามที่ฝ่ายวิจัยรวบรวม ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 7.08 แสนล้านบาท (แบ่งเป็น1Q60 กำไรสุทธิ 2.81 แสนล้านบาท 2Q60 กำไรสุทธิ 2.20 แสนล้านบาท และ 3Q60 กำไรสุทธิ 2.07 แสนล้านบาท)  ซึ่งคิดเป็น 71.5% ของประมาณการฯ เดิม ทั้งปีที่ 9.9 แสนล้านบาท ทั้งนี้หากพิจารณาผลประกอบการรายกลุ่มฯ นั้น โดยพบว่ากลุ่มฯ ที่มีกำไรฯ ดีกว่าคาด และทำให้นักวิเคราะห์ ASPS ต้องปรับเพิ่มประมาณการฯ ปี 2560-61  คือ
  กลุ่มยานยนต์  จาก AH และ SAT
  กลุ่มอาหาร  จาก OISHI และ TFG
  กลุ่มค้าปลีก  จาก COM7, ROBINS, และ BEAUTY
  กลุ่มท่องเที่ยว  จาก ERW, CENTEL
  และกลุ่มพลังงาน  จาก BGRIM, BCP EGCO และ  LANNA
 
ตรงกันข้ามกับกลุ่มฯ ที่ผลประกอบการฯ ต่ำกว่าคาด และนำไปสู่การปรับลดประมาณการฯ ปี 2560-61 คือ
  กลุ่มธนาคารพาณิชย์  จาก KBANK ผลกำไรฯ ต่ำกว่าคาดเพราะมีการตั้งสำรองฯ เพิ่มมากขึ้นเพื่อบริหารจัดการ NPL และ KTB จากการตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้น และรายได้ดอกเบี้ยรับลดลงตามสินเชื่อที่ลดลง)
  กลุ่มวัสดุก่อสร้าง  จาก TASCO ที่ผลประกอบการอ่อนแอจากต้นทุนน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าราคายางมะตอย,  DCC จากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ชะลอตัวกดดันยอดขาย และต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้น, TPIPL จากความต้องการใช้ปูนยังซบเซาทำให้ปรับราคาได้จำกัด ทั้งยังได้รับผลกระทบจากต้นทุนถ่านหินที่เพิ่มขึ้น, VNG จากต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากกว่าการฟื้นตัวของกำไร)
  กลุ่มรับเหมาฯ   หลักจาก CK  เกิดจากการปรับลดสมมติฐานมูลค่าการรับงานใหม่ลดลง และปรับค่าใช้จ่ายขึ้น, ITD จากการปรับลดสมมติฐานมูลค่าการรับงานใหม่และปรับค่าใช้จ่ายขึ้นเช่นกัน, STEC จากต้นทุนวัสดุก่อสร้างหลายรายการที่เพิ่มขึ้นกดดันกำไร,  BJCHI จากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ส่วน Backlog เหลือน้อย, STPI จากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ส่วน Backlog เหลือน้อยเช่นกัน, TTCL จากการรับงานใหม่ที่ล่าช้า ทำให้การรับรู้รายได้ช้าตามไปด้วย)
  กลุ่ม ETRON  หลัก ๆ จาก  KCE  รายได้ลดลงและราคาทองแดงปรับขึ้น และ SVI จากราคาต้นทุนวัตถุดิบที่สูงกว่าคาดมาก 
  และกลุ่มขนส่ง   มาจาก BA ผลประกอบการฯ แย่กว่าคาด เพราะขาดทุนงวด 3Q60 จากรายการพิเศษ ทั้งค่าธรรมเนียมช่องทางขายย้อนหลัง และขาดทุน FX รวมทั้งยังมีค่าเช่าเครื่องบินสูงกว่าปกติ เนื่องจากต้องมีการเหมาเช่าเครื่องมาทดแทนเครื่องบินบางส่วนที่นำไปซ่อมบำรุง และ THAI มาจากรายการพิเศษ คือ ขาดทุน FX การด้อยค่าทรัพย์สินและเครื่องบิน
อีกกลุ่มฯ แม้ปรับลดประมาณการฯ ในปี 2560 แต่ปรับเพิ่มประมาณการฯ ปี 2561  คือ
  กลุ่ม ICT จาก JAS มีการเลื่อนรับรู้กำไรจากการขายทรัพย์สิน จากเดิมที่รวมในปี 2560 ไปอยู่ในปี 2561 และ TRUE จากค่าเช่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นในปี 2560 แต่ได้กำไรพิเศษจากการขายทรัพย์สินในปี 2561
  ในเบื้องต้น คาดว่าจะทำให้ประมาณการใหม่ของกำไรสุทธิตลาดฯ ปี 2560  ลดลงจากเดิมราว  1.4% จากเดิมมาอยู่ที่ 9.76 แสนล้านบาท หรือ คิดเป็น EPS 99.3 บาท เติบโต 4.9%  แต่ในปี 2561 จะเพิ่มขึ้นจากเดิม  2.8% มาที่ 1.1 ล้านล้านบาท คิดเป็น EPS 113.5 บาท เติบโต 14.4%  อย่างไรก็ตามตัวเลขมีโอกาสเปลี่ยนแปลง จนกว่าการปรับประมาณการจะเสร็จสิ้น ซึ่งจะนำเสนอ EPS ใหม่ ปี 2560 และ 2561 อีกครั้ง พร้อมกับดัชนีเป้าหมายในปี 2561  ในสัปดาห์หน้า
  กลยุทธ์การลงทุนยังให้ถือหุ้น 60% ของเงินลงทุน และ ทยอยขายทำกำไรรายหุ้นที่ราคาตลาดเกินจากมูลค่าหุ้น หรือมี upside จำกัด ขณะที่ผลกำไรอาจจะเติบโตตามไม่ทัน เช่น ROBINS, ASAP, PCSGH, TVO, SAPPE, TKN ตรงกันข้ามแนะนำให้หุ้นที่ราคาหุ้นยัง Laggards เช่น  และ SCB (FV@174), PTTEP (FV@118) และ BANPU (FV@B26) เป็นต้น รวมทั้งแนะนำสะสมหุ้น Growth Stock ที่แนวโน้มผลประกอบการโดดเด่นปีนี้และปีหน้า คือ BEAUTY (FV@B25) และ COM7 (FV@B21) และหุ้นที่แนวโน้มผลประกอบการ 4Q60 ต่อเนื่องถึง 2561 เติบโต รายละเอียดดังตารางด้านล่าง
 
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
OO2806

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!