WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
          ดัชนีหุ้นไทยยังคงแกว่งตัวต่ำกว่า 1700 จุดอีกครั้ง เนื่องจากการย่อยข่าวงบ 3Q60 และดูเหมือนกำไรงวด 9M60 ต่ำกว่าประมาณการ ขณะที่ขาดแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันทั้งไทยและต่างชาติ แต่ถือว่าโอกาสสะสมหุ้นที่มีผลกำไรโดดเด่นต่อในปี 2561 และราคาหุ้นยังมี upside Top picks ยังชอบ WORK (FV@B135) และ COM7 (FV@B21) และเพิ่ม SCB(FV@B174) เพราะราคามี upside 18% และราคาหุ้นตอบรับข่าวร้ายของ PACE แล้ว   
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ... พลังงาน-ปิโตร และ ธ.พ. กดดันตลาดปรับตัวลง
  วานนี้ตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแดนลบตลอดวัน ปิดที่ 1690.26 จุด ลดลงแรงกว่า 12.37 จุด หรือ 0.73% มูลค่าการซื้อขาย 6.1 หมื่นล้านบาท แรงขายหลักมาจากหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะ PTT และ PTTEP ลดลง 1.44% และ 1.34% ตามลำดับ ผลจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงต่อเนื่องจากต้นสัปดาห์ที่แล้ว ตามด้วยกลุ่มปิโตรฯ คือ IVL ลดลงแรงกว่า 5.26% และ PTTGC ลดลง 0.94% เช่นเดียวกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่เผชิญกับแรงขาย ทั้ง KBANK ลดลง 1.79% SCB ลดลง 1.99% และ KTB ลดลง 1.09% อีกกลุ่มที่ปรับลดลงคือกลุ่ม อาหาร-เครื่องดื่ม CPF ลดลง 2.40% ICHI ลดลง 2.42% และ CBG ลดลงแรง 4.15% สวนาทงกับ BR เพิ่มขึ้น 1.85% หลังรายงานงบ 3Q60 มีกำไรสุทธิ 155 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.6% qoq และ 126.5% yoy หนุนจากธุรกิจเป็ดในเนเธอร์แลนด์ฟื้นตัวเด่นหลังการแข่งขันด้านราคาในทวีปยุโรปลดลง ส่วนใน 4Q60 คาดว่าเติบโตจากช่วง high season ของการบริโภคเนื้อเป็ดในประเทศเนเธอร์แลนด์ เพราะมีเทศกาลวันหยุดยาวในช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ โดย Fair value ปี 2561 อยู่ที่ 10 บาท มี upside อีก 21.21%
  ส่วนกลุ่มที่ยังปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องคือ กลุ่มค้าปลีก โดย CPALL, BEAUTY, HMPRO เพิ่มขึ้น 0.35%, 2.56% และ 0.78% ตามลำดับ ส่วน BJC เพิ่มขึ้นแรงกว่า 5.34% หลังรายงานงบ 3Q60 มีกำไรสุทธิ 1,387 ล้านบาท หดตัว 13.7% yoy แต่หากไม่รวมกำไรสุทธิหลังหักภาษีจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลงถึง 99.4% yoy ที่ได้จากเงินสกุลยูโรที่กู้มาซื้อ BIGC พบว่า BJC มีกำไรปกติ 1.39 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 161.8% yoy  ส่วนแนวโน้มใน 4Q60 คาดว่าจะเติบโตโดดเด่นจากยอดขายสาขาเดิมของธุรกิจ BIGC ที่ยังมีแนวโน้มเติบโตสูงจากกำลังซื้อผู้บริโภคฟื้นและมาตรการกระตุ้นการบริโภคบวกกับกลยุทธ์การพัฒนาอาหารสด รวมถึงยังเห็น Synergies ต่อเนื่อง จากธุรกิจดั้งเดิมของ BJC ช่วยพัฒนาสินค้า House brands เข้ามาขายใน BIGC
  แนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดการปรับฐานยังดำเนินต่อไปโดยมีแนวรับอยู่ที่ 1688 จุด ส่วนแนวต้าน 1700 จุด
 
ให้น้ำหนักต่อนโยบายแจกซิมกระทบ Operator จำกัด
  ต่างประเทศยังไม่มีประเด็นใหม่ที่เหนือความคาดหมาย โดยวานนี้สหรัฐ รายงานอัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. เป็นไปตามที่ตลาดคาด คือ 2.0%yoy ชะลอจาก 2.2% ในเดือน ก.ย. เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินที่ชะลอตัวลง 2% หลังจากที่พุ่งแรง 13% ในเดือน ก.ย.จากผลกระทบพายุเฮอริเคน เทียบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25% ทำให้ตลาดคาดว่าสหรัฐจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในรอบการประชุม ธ.ค. สะท้อนจากผลสำรวจการขึ้นดอกเบี้ยของ Bloomberg คาดโอกาสสูงราว 93% และปีหน้าคาดขึ้นอีก 3 ครั้ง  ทำให้ดอกเบี้ยสิ้นปีนี้อยู่ที่ 1.5% และ 2.25%ในปีหน้า
  ขณะที่ฝั่งเอเซีย คือ ญี่ปุ่น เศรษฐกิจยังฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป สะท้อนจาก GDP Growth งวด 3Q60 ขยายตัว  0.3%qoq  ใกล้เคียงที่ตลาดคาด หรือขยาย 1.4%yoy ปัจจัยหนุนยังมาจาก ส่งออกยังขยายตัว 6.0% ยกเว้นการบริโภคครัวเรือน ยังหดตัว 1.8% ทั้งนี้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ปรับขึ้นราว 16.06%ytd  เทียบกับปี  2559 เพิ่มขึ้นเพียง  0.4% เนื่องจากตอบรับประเด็นที่นายชินโสะ อาเบะยังชนะการเลือกตั้งและได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อเป็นสมัยที่ 3 เนื่องจากอาเบะมีแนวคิดเรื่องการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นต่อไป    
  และไทย รัฐมีแผนเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่องโดยเฉพาะการทำผ่านประชาชนรากหญ้า ในต้นปี 2561 กล่าวคือ เตรียมพิจารณาการแจกซิมโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้าอินเทอร์เน็ตฟรี (โดยมีข้อจำกัดคือ จำกัดให้ดูแต่ข้อมูลที่มีความรู้), ค่าบริการรายเดือน(อยู่ในช่วงพิจารณาจะให้เดือนละเท่าไหร่) และอาจจะให้ Smart Phone ด้วย เบื้องต้นคาดใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตของทีโอที  ซึ่งมุ่งไปที่ผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนทั้งหมด  11.7 ล้านคน  (เกณฑ์ของผู้มีรายได้น้อย คือ ว่างงาน และมีรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปี และมีสินทรัพย์ทางการเงิน อาทิ เงินฝากธนาคาร ไม่เกิน 1 แสนบาท เป็นต้น)
  คาดว่าผลกระทบต่อผู้ให้บริการมือถือ หรือ Operator ทั้ง 3 จำกัด เพราะนอกจากกำหนดเงื่อนไขให้ โครงข่ายของ TOT ซึ่งมีประสิทธิภาพน้อยกว่าภาคเอกชนแล้ว ยังจำกัดการเข้าไปค้นหาเฉพาะข้อมูลเพื่อการศึกษาหาความรู้เท่านั้น ขณะที่ผู้ใช้บริการในกลุ่มนี้น่าจะมีการใช้โทรศัพท์มือถืออยู่แล้ว แต่เป็นกลุ่มที่ใช้บัตรเติมเงิน (Prepiad) ซึ่งมีอยู่ในระบบประมาณ 80-85% ของผู้ใช้ทั้งประเทศ (70 ล้านราย) และมีการจ่ายรายเดือนราว 100-150 บาทต่อเดือน อย่างไรก็ตามหากประเมินผลกระทบในกรณีเลวร้ายที่สุด ซึ่งเกิดขึ้นได้ยาก โดยกำหนดผู้ใช้บริการ 11 ล้านรายยกเลิกการใช้กับ Operator ทั้ง 3 ราย  คาดว่าจะกระทบต่อกำไรตามส่วนแบ่งการตลาด คือ  ADVANC ราว 50% ของผู้ใช้ 11 ราย หรือ  5.5 ล้านราว  TRUE 3 ล้านราย และ DTAC 2.7  ล้านราย โดยกำหนดให้แต่ละรายมีการใช้จ่ายราวเดือน ๆ ละ 100 ล้านบาท คาดว่าจะกระทบต่อประมาณการกำไรในปี 2561 ราว  14%,  45% และ 58%  และกระทบต่อ Fair Value ราว 9% 18% และ 3%  ตามลำดับ  จะเห็นว่าผลกระทบต่อ TRUE และ DTAC แรง เพราะฐานกำไรเดิมต่ำมาก อย่างไรก็ตามเชื่อว่ากระทบน้อย และยังชอบ ADVANC ที่ยังเป็นผู้นำและเป็นผู้อยู่รอดในธุรกิจในระยะยาว 
 
กำไรตลาดงวด 9M60 ต่ำกว่าคาด แต่เป็นหุ้นนอก coverage
  ภาพรวมผลประกอบการ 3Q60 มี บจ. รายงานงบฯ 587 บริษัท คิดเป็น 99% ของ Market Cap. ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 2.07 แสนล้านบาท ลดลงจากงวด 3Q59 ที่ทำกำไรสุทธิได้ 2.14 แสนล้านบาท หรือลดลง 3.4%yoy และลดลงจาก 2Q60 ที่ทำกำไรสุทธิได้ 2.2 แสนล้านบาท หรือลดลง 6.4%qoq และกำไรสุทธิรวมงวด 9M60 อยู่ที่ 6.95 แสนล้านบาท ใกล้เคียงกับ 9M59 ที่ทำได้ 7.01 แสนล้านบาท
สำหรับผลประกอบการรายกลุ่มนั้น กลุ่มฯ ที่สามารถเติบโตได้ทั้ง yoy และ qoq คือ
  กลุ่มปิโตรเคมี หลักๆ มาจาก PTTGC และ IVL
  กลุ่ม ICT จาก ADVANC และ INTUCH
  กลุ่มท่องเที่ยว จาก ERW และ CENTEL
  กลุ่มขนส่ง จาก BEM และ BTS
ตรงข้ามกับกลุ่มที่ชะลอตัวทั้ง yoy และ qoq คือ
  กลุ่มบันเทิง งวดนี้พลิกเป็นขาดทุน สาเหตุจากการขาดทุนหนักของ NMG และ GRAMMY สวนทางกับ WORK, VGI และ PLANB ที่กำไรเติบโตทั้ง yoy และ qoq
  กลุ่มวัสดุก่อสร้าง จากกำไรสุทธิที่ลดลงของ SCC
  เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง เกิดจากขาดทุนหนักของ GL 
  กลุ่มประกันฯ จาก BLA และ THRE ที่ขาดทุน
  โดยรวม กำไรสุทธิ 9M60 ที่ทำได้ 6.95 แสนล้านบาท คิดเป็น 70% ของประมาณการกำไรตลาดฯ ทั้งปีที่ 9.9 แสนล้านบาท ซึ่งฝ่ายวิจัยอยู่ในระหว่างทบทวนประมาณการกำไรปีนี้
สำหรับหุ้นที่มีการปรับประมาณการขึ้น ที่โดดเด่น ฝ่ายวิจัยแนะนำ
  ERW ([email protected]) ปรับประมาณการฯ ปีนี้และปีหน้าขึ้นอีก 1.1% และ 7.8% ตามลำดับ สะท้อนการรวมโรงแรมใหม่ 4 แห่ง รวมทั้งโรงแรมเดิมที่ยังได้แรงขับเคลื่อนจากภาคท่องเที่ยวสดใสจากการเข้าสู่ช่วงฤดูกาล High Season แม้ภาพรวมกำไรปี 2560 ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยฯ แต่จะสะท้อนในประมาณการกำไรตั้งแต่ปี 2561-2566 โดยประเมินกำไรปี 2560 เติบโต 39% yoy และต่อเนื่อง 22% ในปี 2561 ภายใต้ประมาณการใหม่ Fair Value ปี 2561 เพิ่มเป็น 8.80 บาท (เดิม 7.50 บาท) มี upside 18% จึงยังแนะนำซื้อ
  และ RS (FV@B29) ปรับประมาณการฯ ปีนี้และปีหน้าขึ้นอีก 22.9% และ 80.6% ตามลำดับ สะท้อนผลการดำเนินที่แข็งแกร่ง ทั้งธุรกิจสุขภาพและความงามที่ทำยอดขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกไตรมาส และธุรกิจสื่อ ช่อง 8 ที่ถึงจุดคุ้มทุนเร็วกว่าที่คาด จากเรตติ้งที่ดีขึ้นส่งผลให้แนวโน้มการปรับขึ้นของค่าโฆษณาสูงกว่าที่คาดเดิม คาดกำไรสุทธิปี 2560 พลิกกลับมา turnaround และจะโตแรง 154% ในปี 2561 ประเมิน Fair Value ปี 2561 ใหม่ ที่ 29 บาท มี Upside 18% แนะนำ’’หาจังหวะซื้อ’’
ราคาน้ำมันดิบปรับฐาน จากการปรับเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตของสหรัฐฯ
  ราคาน้ำมันดิบโลกเริ่มปรับฐานช่วงสั้น หลังจากช่วงต้นเดือน พ.ย. ได้ทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง โดยวานนี้ราคาน้ำมันดิบ WTI ยังคงลดลงอีก 0.66% มาอยู่ที่ 55.33 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งมีประเด็นกดดันหลักๆ คือ
  วานนี้ทางสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานทั้งตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุดปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด อยู่ที่ 1.85 ล้านบาร์เรล (ตลาดฯคาดว่าจะลดลง 2.20 ล้านบาร์เรล) และเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 2
  รวมทั้งปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น และสร้างจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องที่ 9.65 ล้านบาร์เรลต่อวัน (เพิ่มขึ้นราว 11%yoy) สาเหตุหลักๆเกิดจากกำลังการผลิตน้ามันดิบจากชั้นหินดินดาน (Shale oil) ที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
  ทางสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของอุปสงค์น้ำมันลงเล็กน้อยราว 100,000 บาร์เรล/วันในปีนี้ และปีหน้า สู่ระดับ 1.5 ล้านบาร์เรล/วัน และ 1.3 ล้านบาร์เรล/วัน เนื่องจากสภาพอากาศที่อบอุ่นขึ้น รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอกว่าคาด ส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้เชื้อเพลิงลดลง
  ทั้งนี้เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความกังวลต่อส่วนเกินผลผลิตน้ำมันมีโอกาสกลับมาล้นตลาดอีกครั้ง แต่อาจถูกหักล้างจากประเด็นบวก คือการที่ซาอุดิอาระเบียและรัซเซียยังเป็นหัวเรือหลักในการสนับสนุนยืดระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบราว 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่สิ้นสุดเดือน มี.ค. 2561 ขยายออกไปอีกจนถึงสิ้นปี 2561ในการประชุมที่จะเกิดขึ้น ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย วันที่ 30 พ.ย. 2560 นี้ และยังไม่มีประเทศใดออกมาคัดค้านข้อตกลงนี้
  ส่วนวันนี้หุ้นน้ำมันอาจจะถูกกดดัน แต่อาจเป็นจังหวะสะสม โดยเฉพาะ PTTEP(FV’61@B116) เพราะหากพิจารณาราคาน้ำมันดิบ Dubai ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่าปรับขึ้นมาแล้ว 10.4% (ytd) แต่ราคาหุ้น   PTTEP ลดลงจากต้นปีราว 4.4% (ytd) จึงถือได้ว่าราคาหุ้น  Laggard
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นในภูมิภาคและไทย
  วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคมูลค่ากว่า 416 ล้านเหรียญ โดยเป็นการขายสุทธิเกือบทุกแห่งในภูมิภาค ยกเว้นตลาดหุ้นเกาหลีใต้ซึ่งต่างชาติซื้อต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ราว 126 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นอีก 4 แห่งที่เหลือถูกขายสุทธิ นำโดย ไต้หวัน ถูกขายสุทธิสูงกว่า 414 ล้านเหรียญ (หลังซื้อสุทธิติดต่อกัน 3 วัน) ตามด้วยอินโดนิเซีย 71 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6), ฟิลิปปินส์ถูกสลับมาขายมูลค่าราว 13 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติยังคงขายสุทธิอีก 45 ล้านเหรียญ หรือ 1.48 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5 มีมูลค่ารวมกว่า 8.87 พันล้านบาท)  เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิเล็กน้อย 67 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน)
  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 4.13 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิ 4.76 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า)
 
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

OO2442

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!