- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 27 October 2017 16:10
- Hits: 890
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ปัจจัยแวดล้อมตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในภาวะที่เป็นบวก และน่าจะสร้าง Momentum ให้ SET Index ยืนเหนือ 1700 จุดได้อย่างมั่นคง สำหรับพอร์ตการลงทุนวันนี้ปรับเอา THCOM ออกจากความไม่ชัดเจนกรณีไทยคม 7-8 ที่เพิ่มเข้ามา และให้เพิ่ม QH (FV@B 4.20) ซึ่งคาดกำไร 3Q60 โตก้าวกระโดด และราคายังต่ำกว่าเป้าหมายมาก พร้อมเลือกเป็น Top Pick นอกจากนี้ยังคงเลือก BBL (FV@B 210) จากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เป็น Top Pick ต่อเนื่องอีกวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ปัจจัยแวดล้อมตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในภาวะที่เป็นบวก และน่าจะสร้าง Momentum ให้ SET Index ยืนเหนือ 1700 จุดได้อย่างมั่นคง สำหรับพอร์ตการลงทุนวันนี้ปรับเอา THCOM ออกจากความไม่ชัดเจนกรณีไทยคม 7-8 ที่เพิ่มเข้ามา และให้เพิ่ม QH (FV@B 4.20) ซึ่งคาดกำไร 3Q60 โตก้าวกระโดด และราคายังต่ำกว่าเป้าหมายมาก พร้อมเลือกเป็น Top Pick นอกจากนี้ยังคงเลือก BBL (FV@B 210) จากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เป็น Top Pick ต่อเนื่องอีกวัน
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …. ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นจากแรงหนุนหุ้น Mid-Small Cap
วันพุธที่ผ่านมาตลาดหุ้นในภูมิภาคปรับตัวขึ้น เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยที่ยืนแดนบวกได้ตลอดวันก่อนปิดที่ 1708.84 จุด เพิ่มขึ้น 7.03 จุด หรือ 0.41% มูลค่าการซื้อขาย 5.73 หมื่นล้านบาท กลุ่มค้าปลีกยังคงปรับตัวขึ้นนำตลาดต่อเนื่อง จากความคาดหวังของนักลงทุนที่คาดว่าผลประกอบการงวด 3Q60 จะเติบโตเด่น ตามกำลังซื้อของผู้บริโภคในงวด 2H60 ที่จะฟื้นตัว รวมถึง sentiment บวกของมาตรการช็อปช่วยชาติที่น่าจะเกิดขึ้นปลายปี โดย COM7 เพิ่มขึ้น 1.97%, BJC เพิ่มขึ้น 1.41% และ HMPRO เพิ่มขึ้นอีก 1.54% ส่วนหุ้นกลุ่มอาหาร-เครื่องดื่ม ที่ปรับขึ้นได้โดดเด่นคือ CBG เพิ่มขึ้น 7.34% SAPPE เพิ่มขึ้น 8.47% TKN เพิ่มขึ้น 5% และ MALEE เพิ่มขึ้น 1.10% และ MINT 0.61% อีกกลุ่มที่ปรับตัวขึ้นคือ สำหรับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เริ่มฟื้นตัวหลังแรงขาย sell on fact ชะลอลง โดย KBANK เพิ่มขึ้น 0.95% และ SCB เพิ่มขึ้น 1.03% ส่วน TISCO TCAP KKP เพิ่มขึ้น 4.69%, 0.93% และ 2.02% ตามลำดับ ฝ่ายวิจัยยังชื่นชอบ KKP โดยทิศทางของธุรกิจใน 2561 ยังคงเติบโตจากการลงทุนใหญ่ภายในประเทศที่ทยอยเกิดขึ้นหนุนต่อธุรกิจ ธ.พ. ของ KKP มากขึ้น Fair value ปี 2561 อยู่ที่ 91 บาท เหลือ upside อีกกว่า 20%
??ตรงข้ามกับหุ้นในปิโตรเคมี-โรงกลั่น อย่าง PTTGC และ TOP ที่ปรับตัวลงสวนทางตลาด 1.23% และ 3.21% กลุ่มโรงไฟฟ้า BPP และ GLOW ลดลง 0.83% และ 0.56% เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาราคาหุ้นปรับขึ้นไปแรงมาก จึงแนะนำขายทำกำไรหุ้นที่มี upside จำกัด
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีฯ น่าจะแกว่งตัวในกรอบ 1705-1717 จุด คาดมูลค่าการซื้อขายน่าจะเบาบาง ทำให้การปรับขึ้นของ SET Index ไม่จะขยับขึ้นไปได้มากนัก
??ตรงข้ามกับหุ้นในปิโตรเคมี-โรงกลั่น อย่าง PTTGC และ TOP ที่ปรับตัวลงสวนทางตลาด 1.23% และ 3.21% กลุ่มโรงไฟฟ้า BPP และ GLOW ลดลง 0.83% และ 0.56% เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาราคาหุ้นปรับขึ้นไปแรงมาก จึงแนะนำขายทำกำไรหุ้นที่มี upside จำกัด
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีฯ น่าจะแกว่งตัวในกรอบ 1705-1717 จุด คาดมูลค่าการซื้อขายน่าจะเบาบาง ทำให้การปรับขึ้นของ SET Index ไม่จะขยับขึ้นไปได้มากนัก
ECB ต่ออายุ QE ถึง ก.ย. ปีหน้า แต่ลดวงเงินเหลือ 3 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน
ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) วานนี้แม้ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามที่ตลาดคาดที่ 0% (ตั้งแต่ มี.ค. 2559) แต่มาตรการซื้อสินทรัพย์ (QE) จากปัจจุบันอยู่ที่ จำนวน 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน ซึ่งจะสิ้นสุดเดือนใน ธ.ค.60 ปรากฎว่า ECB ต่ออายุ QE ตามที่ตลาดคาดออกไปอีก 9 เดือนในปีหน้า (เริ่มต้น ม.ค.-ก.ย. 2561) แต่มีการปรับลดวงเงิน QE เหลือ 3 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน (ลดลงมากกว่าที่ตลาดคาดจะลดเหลือ 4 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน) เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยุโรปยังต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2% เทียบกับ เงินเฟ้อ ล่าสุดเดือน ก.ย. ยังทรงตัวที่ 1.5%yoy ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และปัญหาการเมืองของประเทศสมาชิกยุโรป อาทิ Brexit, การเลือกตั้งอิตาลีในช่วง 1Q61, การแยกตัวของแคว้นกาตาลุญญาจากสเปน โดยรวมทำให้ค่าเงินยูโรเทียบดอลลาร์อ่อนค่าราว 1.4% จากวันก่อนหน้า หนุน Dollar Index แข็งค่าราว 1.1% ส่งผลให้ค่าเงินประเทศในแถบเอเซีย โดยเฉพาะไทย คือค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องราว 0.7%นับตั้งแต่ 15 ต.ค. ดีต่อภาคการส่งออกช่วงสั้น
ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) วานนี้แม้ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามที่ตลาดคาดที่ 0% (ตั้งแต่ มี.ค. 2559) แต่มาตรการซื้อสินทรัพย์ (QE) จากปัจจุบันอยู่ที่ จำนวน 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน ซึ่งจะสิ้นสุดเดือนใน ธ.ค.60 ปรากฎว่า ECB ต่ออายุ QE ตามที่ตลาดคาดออกไปอีก 9 เดือนในปีหน้า (เริ่มต้น ม.ค.-ก.ย. 2561) แต่มีการปรับลดวงเงิน QE เหลือ 3 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน (ลดลงมากกว่าที่ตลาดคาดจะลดเหลือ 4 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน) เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยุโรปยังต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2% เทียบกับ เงินเฟ้อ ล่าสุดเดือน ก.ย. ยังทรงตัวที่ 1.5%yoy ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และปัญหาการเมืองของประเทศสมาชิกยุโรป อาทิ Brexit, การเลือกตั้งอิตาลีในช่วง 1Q61, การแยกตัวของแคว้นกาตาลุญญาจากสเปน โดยรวมทำให้ค่าเงินยูโรเทียบดอลลาร์อ่อนค่าราว 1.4% จากวันก่อนหน้า หนุน Dollar Index แข็งค่าราว 1.1% ส่งผลให้ค่าเงินประเทศในแถบเอเซีย โดยเฉพาะไทย คือค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องราว 0.7%นับตั้งแต่ 15 ต.ค. ดีต่อภาคการส่งออกช่วงสั้น
ส่งออกสดใส มีโอกาสทำให้ GDP ไทยทะลุเป้าหมาย 3.5% สูง 3.8% ในปีนี้
ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้นอกเหนือจากการลงทุนภาครัฐและเอกชน และที่สำคัญคือ ภาคส่งออกซึ่งเป็นตัวหลัก สะท้อนจากยอดส่งออกในรูปดอลลาร์ เฉลี่ย 9M2560 ขยายตัว 9.3%yoy เทียบกับ -0.6%yoy ในช่วง 9M2559 ทำให้ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ปรับเพิ่มคาดการณ์ยอดส่งออกทั้งปี 2560 ขยายตัว 8%yoy จากเดิมคาดที่ 5% เทียบกับสมมติฐานที่ ASPS คาดส่งออก 5.5% และนำเข้า 9% ทั้งนี้หากกำหนดส่วนต่างคงเดิมที่ -3.5% โดยกำหนดขยับเพิ่มส่งออกทุกๆ 0.5% จะทำให้ GDP Growth เพิ่มขึ้นราว 0.053% ซึ่งเมื่อปรับเพิ่มใกล้เคียงกับกระทรวงพาณิชย์คาด 8% จะทำให้ GDP Growth ปี 2560 คาดขยายตัว 3.8% จากเดิม 3.5% (ใกล้เคียง Consensus)
ทั้งนี้หากพิจารณาแนวโน้มการส่งออกในช่วง 4Q2560 น่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอจากงวด 3Q60 (ช่วง High season) แต่คาดขยายตัวต่อจนถึงปี 2561 เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทย อาทิ จีน ,สหรัฐ ,ยุโรป, ญี่ปุ่น ยังส่งสัญญาณฟื้นตัวต่อ สอดคล้องกับคาดการณ์ของ IMF รอบล่าสุด ที่ปรับเพิ่มอัตราการเติบโตการค้า(Trade Growth) ของโลกอีก 0.1% เป็นขยายตัว 4%yoy ในปี 2561
ขณะที่สินค้าส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีนี้ คาดยังขยายตัวต่อเนื่องส่วนใหญ่ คือสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ข้าว ,ยาง ,น้ำตาลทราย , เม็ดพลาสติก และ ไก่ ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 12 เดือน ดีต่อ GFPT(FV@B23) เนื่องจากเป็นผู้ผลิตและส่งออกไก่ ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจาก CPF แต่เนื่องจากเน้นเฉพาะสินค้าโดยเฉพาะไก่ และสินค้ารถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ พบว่ายอดส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 และขยายตัวเกือบทุกตลาดคู่ค้า ดีต่อ AH ([email protected])
ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้นอกเหนือจากการลงทุนภาครัฐและเอกชน และที่สำคัญคือ ภาคส่งออกซึ่งเป็นตัวหลัก สะท้อนจากยอดส่งออกในรูปดอลลาร์ เฉลี่ย 9M2560 ขยายตัว 9.3%yoy เทียบกับ -0.6%yoy ในช่วง 9M2559 ทำให้ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ปรับเพิ่มคาดการณ์ยอดส่งออกทั้งปี 2560 ขยายตัว 8%yoy จากเดิมคาดที่ 5% เทียบกับสมมติฐานที่ ASPS คาดส่งออก 5.5% และนำเข้า 9% ทั้งนี้หากกำหนดส่วนต่างคงเดิมที่ -3.5% โดยกำหนดขยับเพิ่มส่งออกทุกๆ 0.5% จะทำให้ GDP Growth เพิ่มขึ้นราว 0.053% ซึ่งเมื่อปรับเพิ่มใกล้เคียงกับกระทรวงพาณิชย์คาด 8% จะทำให้ GDP Growth ปี 2560 คาดขยายตัว 3.8% จากเดิม 3.5% (ใกล้เคียง Consensus)
ทั้งนี้หากพิจารณาแนวโน้มการส่งออกในช่วง 4Q2560 น่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอจากงวด 3Q60 (ช่วง High season) แต่คาดขยายตัวต่อจนถึงปี 2561 เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทย อาทิ จีน ,สหรัฐ ,ยุโรป, ญี่ปุ่น ยังส่งสัญญาณฟื้นตัวต่อ สอดคล้องกับคาดการณ์ของ IMF รอบล่าสุด ที่ปรับเพิ่มอัตราการเติบโตการค้า(Trade Growth) ของโลกอีก 0.1% เป็นขยายตัว 4%yoy ในปี 2561
ขณะที่สินค้าส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีนี้ คาดยังขยายตัวต่อเนื่องส่วนใหญ่ คือสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ข้าว ,ยาง ,น้ำตาลทราย , เม็ดพลาสติก และ ไก่ ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 12 เดือน ดีต่อ GFPT(FV@B23) เนื่องจากเป็นผู้ผลิตและส่งออกไก่ ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจาก CPF แต่เนื่องจากเน้นเฉพาะสินค้าโดยเฉพาะไก่ และสินค้ารถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ พบว่ายอดส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 และขยายตัวเกือบทุกตลาดคู่ค้า ดีต่อ AH ([email protected])
ราคาน้ำมันฟื้นตัว หลังซาอุฯสนับสนุนขยายระยะเวลาลดกำลังการผลิต
แม้วันพุธที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบโลกจะย่อตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากทางสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.86 ล้านบาร์เรล (หลังจากลดลงติต่อกัน 4 สัปดาห์) ขณะที่ตลาดฯคาดว่าลดลง 2.59 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยหนุนให้ราคาน้ำมันฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการที่ซาอุดิอาระเบียส่งสัญญาณสนับสนุนให้ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกมีการขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตราว 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่สิ้นสุดเดือน มี.ค. 2561 มีโอกาสต่อไปอีกจนถึงสิ้นปี 2561 หนุนสัญญาฟิวเจอร์น้ำมันดิบ Dubai และ Brent วานนี้ขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 2 ปี 4 เดือน มาอยู่ที่ 57.51 และ 59.47 เหรียญฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ส่วน WTI ขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 6 เดือน มาอยู่ที่ 52.41 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งประเด็นดังกล่าว นักลงทุนต้องจับตาดูในการประชุมของกลุ่มโอเปกที่จะเกิดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ณ วันที่ 30 พ.ย. 2560 นี้
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำสะสมหุ้นน้ำมัน อย่าง PTT (FV@B460) ส่วน PTTEP (FV’61@B116) แม้จะมีประเด็นกดดันจากการบันทึกด้อยค่าสินทรัพย์ในงวด 3Q60 ราว 1.85 หมื่นล้านบาท (คิดเป็นมูลค่าต่อหุ้นราว 4.7 บาทต่อหุ้น) ซึ่งราคาหุ้นที่อ่อนตัวลงน่าจะตอบรับประเด็นดังกล่าวไประดับหนึ่งแล้ว จึงแนะนำให้รอสะสมหลังรายงานงบ 3Q60 เสร็จสิ้น
แม้วันพุธที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบโลกจะย่อตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากทางสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.86 ล้านบาร์เรล (หลังจากลดลงติต่อกัน 4 สัปดาห์) ขณะที่ตลาดฯคาดว่าลดลง 2.59 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยหนุนให้ราคาน้ำมันฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการที่ซาอุดิอาระเบียส่งสัญญาณสนับสนุนให้ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกมีการขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตราว 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่สิ้นสุดเดือน มี.ค. 2561 มีโอกาสต่อไปอีกจนถึงสิ้นปี 2561 หนุนสัญญาฟิวเจอร์น้ำมันดิบ Dubai และ Brent วานนี้ขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 2 ปี 4 เดือน มาอยู่ที่ 57.51 และ 59.47 เหรียญฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ ส่วน WTI ขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 6 เดือน มาอยู่ที่ 52.41 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งประเด็นดังกล่าว นักลงทุนต้องจับตาดูในการประชุมของกลุ่มโอเปกที่จะเกิดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ณ วันที่ 30 พ.ย. 2560 นี้
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำสะสมหุ้นน้ำมัน อย่าง PTT (FV@B460) ส่วน PTTEP (FV’61@B116) แม้จะมีประเด็นกดดันจากการบันทึกด้อยค่าสินทรัพย์ในงวด 3Q60 ราว 1.85 หมื่นล้านบาท (คิดเป็นมูลค่าต่อหุ้นราว 4.7 บาทต่อหุ้น) ซึ่งราคาหุ้นที่อ่อนตัวลงน่าจะตอบรับประเด็นดังกล่าวไประดับหนึ่งแล้ว จึงแนะนำให้รอสะสมหลังรายงานงบ 3Q60 เสร็จสิ้น
กรณี ดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 เป็นความเสี่ยงรอบใหม่ที่เข้ามากดดัน
หลังปิดตลาดวันพุธที่ผ่านมา THCOM แจ้งข่าวตลาดว่า ได้รับหนังสือจากกระทรวงดิจิทัลฯ แจ้งว่า ดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 เป็นดาวเทียมภายใต้สัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายใต้สัญญาสัมปทาน ฉบับลงวันที่ 11 ก.ย. 2534 ทางกระทรวงฯ จึงต้องการให้ THCOM ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานให้ครบถ้วน อาทิ การโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบทรัพย์สิน การชำระผลตอบแทนที่ส่วนแบ่งรายได้ 22.5% และการจัดสร้างดาวเทียมสำรอง อย่างไรก็ตาม ฝ่ายกฎหมาย THCOM มีความเห็นว่า ปัจจุบันที่ดาวเทียม 2 ดวงดังกล่าวดำเนินการภายใต้กรอบของการรับใบอนุญาตจาก กสทช. ซึ่งการให้บริการบนใบอนุญาตจะเสียส่วนแบ่งรายได้ในอัตรา 4.0% (ส่วนดาวเทียมดวงอื่นๆของ THCOM คือ ไทยคม 4 5 และ 6 ปัจจุบันดำเนินการบนระบบสัมปทาน) จึงยื่นเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ โดยจะยังให้บริการไทยคม 7 และ 8 จนกว่าจะมีการชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
ประเด็นดังกล่าวถือเป็นความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซึ่งที่มีรากฐานมาจากความไม่ชัดเจนในการตีความเรื่องกฎระเบียบการดำเนินธุรกิจดาวเทียมในระยะยาว อย่างไรก็ตาม THCOM ยังมีความต้องการส่งดาวเทียมใหม่ขึ้นทดแทนดาวเทียมเดิมที่ใกล้สิ้นสุดอายุบริการ คือ ไทยคม 4 และ ไทยคม 5 ในปี 2564 เพื่อรักษาฐานลูกค้าที่ยังใช้บริการไว้ โดยในประเด็นข้างต้น ฝ่ายวิจัยได้ตั้งสมมติฐานให้ THCOM สร้างดาวเทียมทดแทน โดยยินยอมจ่ายส่วนแบ่งรายได้ภายใต้ระบบสัมปทานที่แพง 22.5% เท่ากับอัตราที่จ่ายอยู่ภายใต้สัมปทานปัจจุบันของไทยคม 4 และ 5 เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อเนื่องในระยะยาว แต่สำหรับในส่วนของดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 ซึ่งเริ่มดำเนินธุรกิจภายใต้ระบบใบอนุญาติ โดยจ่ายส่วนแบ่งรายได้ที่ 4% ของรายได้ การถูกเรียกร้องจากกระทรวงดิตจิทัลฯ ในส่วนนี้จึงถือเป็นความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจรอบใหม่ โดยหากปฏิบัติตามที่กระทรวงดิจิทัลฯ เรียกร้อง จากการศึกษา Sensitivity Analysis ของฝ่ายวิจัย โดยกำหนดให้ต้นทุนส่วนแบ่งรายได้ที่กำหนดให้เพิ่มขึ้นเป็น 22.5% ในระยะยาว คาดจะกดดันคาดการณ์กำไรระยะยาวลดลงปีละ 46.5% และมูลค่าพื้นฐานลดลงมาเหลือ 21.7 จากปัจจุบันที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้ 24 บาท และในกรณีเลวร้ายที่สุด หากต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้แพงขึ้นดังกล่าว และต้องสร้างดาวเทียมสำรองเพื่อทดแทนดาวเทียม 2 ดวงดังกล่าวด้วยสมมติฐานงบลงทุน 2 ดวงรวมกันที่ 1.0 หมื่นล้านบาท จะกดดันมูลค่าพื้นฐานเหลือราว 14.7 บาท ต่ำกว่าราคาปิดล่าสุดที่ 16 บาท ประเด็นดังกล่าวจึงอาจมีผลทำให้ราคาหุ้นปรับลดลง และอยู่ในภาวะที่ผันผวนจนกว่าจะมีความชัดเจนในทางปฎิบัติ
หลังปิดตลาดวันพุธที่ผ่านมา THCOM แจ้งข่าวตลาดว่า ได้รับหนังสือจากกระทรวงดิจิทัลฯ แจ้งว่า ดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 เป็นดาวเทียมภายใต้สัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายใต้สัญญาสัมปทาน ฉบับลงวันที่ 11 ก.ย. 2534 ทางกระทรวงฯ จึงต้องการให้ THCOM ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานให้ครบถ้วน อาทิ การโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบทรัพย์สิน การชำระผลตอบแทนที่ส่วนแบ่งรายได้ 22.5% และการจัดสร้างดาวเทียมสำรอง อย่างไรก็ตาม ฝ่ายกฎหมาย THCOM มีความเห็นว่า ปัจจุบันที่ดาวเทียม 2 ดวงดังกล่าวดำเนินการภายใต้กรอบของการรับใบอนุญาตจาก กสทช. ซึ่งการให้บริการบนใบอนุญาตจะเสียส่วนแบ่งรายได้ในอัตรา 4.0% (ส่วนดาวเทียมดวงอื่นๆของ THCOM คือ ไทยคม 4 5 และ 6 ปัจจุบันดำเนินการบนระบบสัมปทาน) จึงยื่นเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ โดยจะยังให้บริการไทยคม 7 และ 8 จนกว่าจะมีการชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
ประเด็นดังกล่าวถือเป็นความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซึ่งที่มีรากฐานมาจากความไม่ชัดเจนในการตีความเรื่องกฎระเบียบการดำเนินธุรกิจดาวเทียมในระยะยาว อย่างไรก็ตาม THCOM ยังมีความต้องการส่งดาวเทียมใหม่ขึ้นทดแทนดาวเทียมเดิมที่ใกล้สิ้นสุดอายุบริการ คือ ไทยคม 4 และ ไทยคม 5 ในปี 2564 เพื่อรักษาฐานลูกค้าที่ยังใช้บริการไว้ โดยในประเด็นข้างต้น ฝ่ายวิจัยได้ตั้งสมมติฐานให้ THCOM สร้างดาวเทียมทดแทน โดยยินยอมจ่ายส่วนแบ่งรายได้ภายใต้ระบบสัมปทานที่แพง 22.5% เท่ากับอัตราที่จ่ายอยู่ภายใต้สัมปทานปัจจุบันของไทยคม 4 และ 5 เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อเนื่องในระยะยาว แต่สำหรับในส่วนของดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 ซึ่งเริ่มดำเนินธุรกิจภายใต้ระบบใบอนุญาติ โดยจ่ายส่วนแบ่งรายได้ที่ 4% ของรายได้ การถูกเรียกร้องจากกระทรวงดิตจิทัลฯ ในส่วนนี้จึงถือเป็นความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจรอบใหม่ โดยหากปฏิบัติตามที่กระทรวงดิจิทัลฯ เรียกร้อง จากการศึกษา Sensitivity Analysis ของฝ่ายวิจัย โดยกำหนดให้ต้นทุนส่วนแบ่งรายได้ที่กำหนดให้เพิ่มขึ้นเป็น 22.5% ในระยะยาว คาดจะกดดันคาดการณ์กำไรระยะยาวลดลงปีละ 46.5% และมูลค่าพื้นฐานลดลงมาเหลือ 21.7 จากปัจจุบันที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้ 24 บาท และในกรณีเลวร้ายที่สุด หากต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้แพงขึ้นดังกล่าว และต้องสร้างดาวเทียมสำรองเพื่อทดแทนดาวเทียม 2 ดวงดังกล่าวด้วยสมมติฐานงบลงทุน 2 ดวงรวมกันที่ 1.0 หมื่นล้านบาท จะกดดันมูลค่าพื้นฐานเหลือราว 14.7 บาท ต่ำกว่าราคาปิดล่าสุดที่ 16 บาท ประเด็นดังกล่าวจึงอาจมีผลทำให้ราคาหุ้นปรับลดลง และอยู่ในภาวะที่ผันผวนจนกว่าจะมีความชัดเจนในทางปฎิบัติ
Earning Season เลือกลงทุนหุ้นที่แนวโน้มผลกำไรเติบโตทั้ง qoq และ yoy
ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป หุ้นในภาค real sector จะทยอยรายงานงบฯ ออกมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับนักลงทุนที่เลือกลงทุนตามผลประกอบการ แนะนำให้เลือกสะสมหุ้นที่แนวโน้มผลประกอบการ 3Q60 เติบโตโดดเด่นทั้ง qoq และ yoy ได้แก่
PTTGC (FV’61@98) คาดกำไรสุทธิเติบโต 47%qoq และ 56%yoy แรงหนุนมาจากธุรกิจโรงกลั่นตามค่าการกลั่นที่เพิ่มขึ้นและบันทึกสต๊อกน้ำมัน ขณะที่ธุรกิจโอเลฟินส์เติบโตตามปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นจากการกลับมาเดินเครื่องเต็มที่ของโรงงานโอเลฟินส์ ขณะที่ 4Q60 ยังอยู่ในระดับสูงจาก utilization rate ของโรงงานอะโรเมติกส์ และโอเลฟินส์ ที่คาดจะเพิ่มขึ้น และค่าการกลั่นอาจอ่อนตัวลงเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับสูงเพราะยังมีอานิสงค์จากช่วงฤดูกาลฤดูหนาวรออยู่ช่วงปลายปี โดยแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2560 เห็นการเติบโตสูงถึง 35.4%yoy
QH (FV’[email protected]) คาดกำไรสุทธิเติบโตโดดเด่นมากถึง 102.4%qoq และ 104.5%yoy โดยรายได้จากการขายอสังหาฯ เติบโต 7.3% qoq และ 5.4% yoy รวมทั้งมีการบันทึกส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม และกำไรจากเงินลงทุน ขณะที่ 4Q60 จะเป็นจุดสูงสุดของปี จากยอดโอนคอนโดฯ และแนวราบ รวมทั้งส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม หนุนกำไร QH สูงสุดใน 4Q60 แนวโน้มกำไรสุทธิทั้งปีเติบโต 27%yoy
BANPU (FV’61@B26) คาดกำไรสุทธิเติบโต 9.4%qoq และโตมากถึง 3426% จากฐานที่ต่ำในงวด 3Q59 โดยในไตรมาสนี้ธุรกิจถ่านหินโดดเด่นจากราคาขายเฉลี่ยถ่านหิน และปริมาณขายถ่านหินจากเหมืองในอินโดนีเซีย รวมทั้งในออสเตรเลีย ด้วยเหตุนี้ฝ่ายวิจัยจึงปรับประมาณการกำไรสุทธิตั้งแต่ปี 2560 ขึ้นจากราคาเฉลี่ยฐานหินที่สูงขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มกำไรปี 2560 เติบโตกว่า 4 เท่าตัวจากปี 2559 อย่างไรก็ตามการขึ้นของราคาหุ้น BANPU อาจมีกรอบจำกัดไม่เป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานที่แท้จริง เนื่องจากตลาดให้น้ำหนักไปยังความเสี่ยงของคดีหงสา ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของศาลฎีกา
IRPC (FV’[email protected]) คาดกำไรสุทธิ 3Q60 เพิ่มขึ้นถึง 157%qoq และ 141%yoy จาก Market GIM ที่ปรับเพิ่มขึ้น ตาม spread ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และปิโตรเคมีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งการบันทึกกลับเป็นกำไรจากสต๊อกน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยยังคงประมาณการปี 2560 แต่มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการปี 2561 จากทิศทางการดำเนินธุรกิจที่สดใส
BCH (FV’[email protected]) คาดกำไรสุทธิ 3Q60 ขึ้นทำ new high โดยเพิ่มขึ้น 72.3%qoq และ 21.9%yoy แรงหนุนจากลูกค้ากลุ่มประกันสังคมที่ได้รับประโยชน์จากการปรับเพิ่มค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น กลุ่มผู้ป่วยเงินสดที่คาดว่าจะเติบโตตามจำนวนโรคระบาด และ ร.พ. WMC ผลการดำเนินงานดีขึ้น ขณะที่ 4Q60 ยังคงโตได้ต่อ โดยรวมคาดกำไรสุทธิปีนี้และปีหน้าเติบโตเฉลี่ย 14%yoy
PLANB (FV’[email protected]) คาดกำไรสุทธิ 3Q60 เพิ่มขึ้น 29.7%qoq และ 28%yoy ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากการขยายเครือข่ายสื่อโฆษณา ซึ่งสื่อโฆษณานอกบ้านยังเติบโตได้ สวนทางภาพรวมอุตสาหกรรมสื่อฯที่หดตัว รวมทั้งรายได้จาก Sport Marketing โดยรวมผลประกอบการ 2560 เติบโต 59% และปี 2561 การขยายเครือข่ายสื่อโฆษณานอกบ้านของ PLANB ยังเติบโตได้อีกมาก หนุนกำไรเติบโตอีก 33%
VGI ([email protected]) คาดกำไรสุทธิ 2Q60/61 (ก.ค.-ก.ย. 60) เพิ่มขึ้น 0.7%yoy และ 13.9%qoq จากรายได้สื่อบน BTS แคมเปญ Station Sponsorship เติบโตดีขึ้น เช่นเดียวกับรายได้สื่อโฆษณากลางแจ้งจาก MACO คาดเติบโตสูงเช่นกัน ทั้งนี้ ภาพรวมธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้านยังเติบโตได้ สวนทางภาพรวมอุตสาหกรรมสื่อฯที่หดตัว โดยคาดว่าในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมหลังผ่านช่วงพระราชพิธีสำคัญ เม็ดเงินโฆษณาโดยรวมจะเริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจน คาดผลประกอบการปีนี้โต 6.4%yoy และโตแรงปี 2561 ที่ 38%yoy
ADVANC (FV’61@B230) คาดกำไร 3Q60 กลับมาเติบโต 2.5%qoq และ 13.3%yoy ตามรายได้ค่าบริการ (ไม่รวม IC) ที่เติบโตต่อ ขณะที่ต้นทุนบริการ (ไม่รวม IC) ทรงตัว qoq ส่วนกำไร 4Q60 จะเติบโตทั้ง qoq และ yoy และเพิ่มขึ้นทุกไตรมาสในปี 2561
ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป หุ้นในภาค real sector จะทยอยรายงานงบฯ ออกมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับนักลงทุนที่เลือกลงทุนตามผลประกอบการ แนะนำให้เลือกสะสมหุ้นที่แนวโน้มผลประกอบการ 3Q60 เติบโตโดดเด่นทั้ง qoq และ yoy ได้แก่
PTTGC (FV’61@98) คาดกำไรสุทธิเติบโต 47%qoq และ 56%yoy แรงหนุนมาจากธุรกิจโรงกลั่นตามค่าการกลั่นที่เพิ่มขึ้นและบันทึกสต๊อกน้ำมัน ขณะที่ธุรกิจโอเลฟินส์เติบโตตามปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นจากการกลับมาเดินเครื่องเต็มที่ของโรงงานโอเลฟินส์ ขณะที่ 4Q60 ยังอยู่ในระดับสูงจาก utilization rate ของโรงงานอะโรเมติกส์ และโอเลฟินส์ ที่คาดจะเพิ่มขึ้น และค่าการกลั่นอาจอ่อนตัวลงเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับสูงเพราะยังมีอานิสงค์จากช่วงฤดูกาลฤดูหนาวรออยู่ช่วงปลายปี โดยแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2560 เห็นการเติบโตสูงถึง 35.4%yoy
QH (FV’[email protected]) คาดกำไรสุทธิเติบโตโดดเด่นมากถึง 102.4%qoq และ 104.5%yoy โดยรายได้จากการขายอสังหาฯ เติบโต 7.3% qoq และ 5.4% yoy รวมทั้งมีการบันทึกส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม และกำไรจากเงินลงทุน ขณะที่ 4Q60 จะเป็นจุดสูงสุดของปี จากยอดโอนคอนโดฯ และแนวราบ รวมทั้งส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม หนุนกำไร QH สูงสุดใน 4Q60 แนวโน้มกำไรสุทธิทั้งปีเติบโต 27%yoy
BANPU (FV’61@B26) คาดกำไรสุทธิเติบโต 9.4%qoq และโตมากถึง 3426% จากฐานที่ต่ำในงวด 3Q59 โดยในไตรมาสนี้ธุรกิจถ่านหินโดดเด่นจากราคาขายเฉลี่ยถ่านหิน และปริมาณขายถ่านหินจากเหมืองในอินโดนีเซีย รวมทั้งในออสเตรเลีย ด้วยเหตุนี้ฝ่ายวิจัยจึงปรับประมาณการกำไรสุทธิตั้งแต่ปี 2560 ขึ้นจากราคาเฉลี่ยฐานหินที่สูงขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มกำไรปี 2560 เติบโตกว่า 4 เท่าตัวจากปี 2559 อย่างไรก็ตามการขึ้นของราคาหุ้น BANPU อาจมีกรอบจำกัดไม่เป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานที่แท้จริง เนื่องจากตลาดให้น้ำหนักไปยังความเสี่ยงของคดีหงสา ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของศาลฎีกา
IRPC (FV’[email protected]) คาดกำไรสุทธิ 3Q60 เพิ่มขึ้นถึง 157%qoq และ 141%yoy จาก Market GIM ที่ปรับเพิ่มขึ้น ตาม spread ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และปิโตรเคมีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งการบันทึกกลับเป็นกำไรจากสต๊อกน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยยังคงประมาณการปี 2560 แต่มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการปี 2561 จากทิศทางการดำเนินธุรกิจที่สดใส
BCH (FV’[email protected]) คาดกำไรสุทธิ 3Q60 ขึ้นทำ new high โดยเพิ่มขึ้น 72.3%qoq และ 21.9%yoy แรงหนุนจากลูกค้ากลุ่มประกันสังคมที่ได้รับประโยชน์จากการปรับเพิ่มค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น กลุ่มผู้ป่วยเงินสดที่คาดว่าจะเติบโตตามจำนวนโรคระบาด และ ร.พ. WMC ผลการดำเนินงานดีขึ้น ขณะที่ 4Q60 ยังคงโตได้ต่อ โดยรวมคาดกำไรสุทธิปีนี้และปีหน้าเติบโตเฉลี่ย 14%yoy
PLANB (FV’[email protected]) คาดกำไรสุทธิ 3Q60 เพิ่มขึ้น 29.7%qoq และ 28%yoy ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากการขยายเครือข่ายสื่อโฆษณา ซึ่งสื่อโฆษณานอกบ้านยังเติบโตได้ สวนทางภาพรวมอุตสาหกรรมสื่อฯที่หดตัว รวมทั้งรายได้จาก Sport Marketing โดยรวมผลประกอบการ 2560 เติบโต 59% และปี 2561 การขยายเครือข่ายสื่อโฆษณานอกบ้านของ PLANB ยังเติบโตได้อีกมาก หนุนกำไรเติบโตอีก 33%
VGI ([email protected]) คาดกำไรสุทธิ 2Q60/61 (ก.ค.-ก.ย. 60) เพิ่มขึ้น 0.7%yoy และ 13.9%qoq จากรายได้สื่อบน BTS แคมเปญ Station Sponsorship เติบโตดีขึ้น เช่นเดียวกับรายได้สื่อโฆษณากลางแจ้งจาก MACO คาดเติบโตสูงเช่นกัน ทั้งนี้ ภาพรวมธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้านยังเติบโตได้ สวนทางภาพรวมอุตสาหกรรมสื่อฯที่หดตัว โดยคาดว่าในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมหลังผ่านช่วงพระราชพิธีสำคัญ เม็ดเงินโฆษณาโดยรวมจะเริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจน คาดผลประกอบการปีนี้โต 6.4%yoy และโตแรงปี 2561 ที่ 38%yoy
ADVANC (FV’61@B230) คาดกำไร 3Q60 กลับมาเติบโต 2.5%qoq และ 13.3%yoy ตามรายได้ค่าบริการ (ไม่รวม IC) ที่เติบโตต่อ ขณะที่ต้นทุนบริการ (ไม่รวม IC) ทรงตัว qoq ส่วนกำไร 4Q60 จะเติบโตทั้ง qoq และ yoy และเพิ่มขึ้นทุกไตรมาสในปี 2561
ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค รวมถึงไทย
แม้วานนี้ตลาดหุ้นไทยจะหยุดทำการ แต่ตลาดหุ้นอีก 4 แห่งที่เหลือยังเปิดทำการปกติ ซึ่งนักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 59 ล้านเหรียญ โดยเป็นแรงขายสุทธิใน 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ 80 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยอินโดนิเซีย 21 ล้านเหรียญและฟิลิปปินส์ 16 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นไต้หวันต่างชาติซื้อสุทธิ 58 ล้านเหรียญ
ส่วนวันพุธที่ผ่านมา ต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อยราว 16 ล้านเหรียญ นำโดยตลาดหุ้นเกาหลีใต้ 79 ล้านเหรียญและอินโดนิเซีย 10 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 แห่งที่ต่างชาติขายสุทธิคือ ไต้หวัน 6 ล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ 13 ล้านเหรียญ และตลาดหุ้นไทยถูกสลับมาขายสุทธิมูลค่าราว 52 ล้านเหรียญ หรือ 1.7 พันล้านบาท ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศยังคงซื้อสุทธิราว 1.4 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทยวันพุธที่ผ่านมา สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.97 หมื่นล้านบาท ส่วนต่างชาติยังขายสุทธิต่อเนื่องอีก 3.74 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4)
แม้วานนี้ตลาดหุ้นไทยจะหยุดทำการ แต่ตลาดหุ้นอีก 4 แห่งที่เหลือยังเปิดทำการปกติ ซึ่งนักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 59 ล้านเหรียญ โดยเป็นแรงขายสุทธิใน 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ 80 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยอินโดนิเซีย 21 ล้านเหรียญและฟิลิปปินส์ 16 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นไต้หวันต่างชาติซื้อสุทธิ 58 ล้านเหรียญ
ส่วนวันพุธที่ผ่านมา ต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อยราว 16 ล้านเหรียญ นำโดยตลาดหุ้นเกาหลีใต้ 79 ล้านเหรียญและอินโดนิเซีย 10 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 แห่งที่ต่างชาติขายสุทธิคือ ไต้หวัน 6 ล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ 13 ล้านเหรียญ และตลาดหุ้นไทยถูกสลับมาขายสุทธิมูลค่าราว 52 ล้านเหรียญ หรือ 1.7 พันล้านบาท ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศยังคงซื้อสุทธิราว 1.4 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทยวันพุธที่ผ่านมา สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.97 หมื่นล้านบาท ส่วนต่างชาติยังขายสุทธิต่อเนื่องอีก 3.74 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
OO1656
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
OO1656