- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 24 October 2017 16:55
- Hits: 1468
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 24-10-17
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นไทยอาจได้อานิสงค์จากการฟื้นตัวของตลาดเพื่อนบ้าน ซึ่งตอบรับเชิงบวกต่อการชนะเลือกตั้งของนายอาเบะฯ ในฐานะนายกฯ ของญี่ปุ่น ที่คาดว่าจะใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง แต่คาดว่า SET ยังเผชิญแนวต้าน 1700 จุด กลยุทธ์ยังให้เลือกขายเป็นรายหุ้น และแนะนำสะสมหุ้นที่มีแนวโน้มสดใสปี 2561 รองรับเศรษฐกิจ และวัฏจักรการลงทุนรอบใหม่ ธนาคาร (BBL) นิคม (WHA) โฆษณานอกบ้าน (VGI) และหุ้น
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นไทยอาจได้อานิสงค์จากการฟื้นตัวของตลาดเพื่อนบ้าน ซึ่งตอบรับเชิงบวกต่อการชนะเลือกตั้งของนายอาเบะฯ ในฐานะนายกฯ ของญี่ปุ่น ที่คาดว่าจะใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง แต่คาดว่า SET ยังเผชิญแนวต้าน 1700 จุด กลยุทธ์ยังให้เลือกขายเป็นรายหุ้น และแนะนำสะสมหุ้นที่มีแนวโน้มสดใสปี 2561 รองรับเศรษฐกิจ และวัฏจักรการลงทุนรอบใหม่ ธนาคาร (BBL) นิคม (WHA) โฆษณานอกบ้าน (VGI) และหุ้น
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET ฟื้นตัวช่วงสั้น แต่ยังไม่ผ่าน 1,700 จุด
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET กลับมาฟื้นตัวก่อนช่วงหยุดยาว 3 วัน แม้ช่วงเช้ามีแรงขายทำกดดันดัชนีร่วงไปกว่า 10 จุด แต่ในช่วงบ่ายกลับมายืนได้ในแดนบวกจนปิดตลาดที่ 1692.58 จุด เพิ่มขึ้น 9.15 จุด หรือ 0.54% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 6.88 หมื่นล้านบาท มีแรงหนุนจากหุ้นในกลุ่มค้าปลีกปรับตัวขึ้นโดดเด่นรับผลประกอบการใน 3Q60 โดย HMPRO ปรับขึ้นกว่า 4.20% โดยงวด 3Q60 คาดมีแนวโน้มเติบโตได้โดดเด่น จากการฟื้นตัวของยอดขายสาขาเดิมและสาขาใหม่ รวมถึงกลยุทธ์การปรับปรุงประสิทธิภาพทำกำไรหนุนกำไรเติบโตอีกไตรมาส นอกจากนี้ยังได้ sentiment บวกจากมาตรการช็อปช่วยชาติ ที่น่าจะคลอดในงวด 4Q60 ซึ่งหนุนหุ้นอื่นๆ ในกลุ่มคือ BJC, BEAUTY และ COM7 ปรับเพิ่มขึ้น 2.39%, 2.44% และ 2.07% รวมถึง CPALL ฟื้นตัว 1.47%
ส่วนหุ้นในกลุ่มขนส่งปรับเพิ่มขึ้นจากหุ้น Big Cap ของกลุ่มอย่าง AOT 1.30% กลุ่มเดินเรือ TTA เพิ่มขึ้น 2% PSL เพิ่มขึ้น 4.27% และกลุ่มสายการบิน AAV และ NOK เพิ่มขึ้น 0.79% และ 0.60% เช่นเดียวกับหุ้น ธ.พ. โดย TMB ที่ฟื้นตัว 2.38% KBANK เพิ่มขึ้น 0.47% BBL เพิ่มขึ้น 1.58% BAY เพิ่มขึ้น 2.60% ส่วนหุ้นเล็กในกลุ่มอย่าง KKP เพิ่มขึ้นโดดเด่น 3.42% รับผลประกอบ 3Q60 เติบโตกว่าที่ตลาดคาด โดยมีกำไรสุทธิที่ 1,723 บาท เพิ่มขึ้น 45% qoq และ 2% yoy ส่วน TCAP และ TISCO เพิ่มขึ้น 0.49% และ 1.20%
ส่วนหุ้นปิโตรเลี่ยม PTTEP ลดลง 4.43% ตอบรับประเด็นการบันทึกด้อยค่าสินทรัพย์ (impairment charge) โครงการ Mariana Oil Sands ประเทศแคนาดา ซึ่ง PTTEP ถือหุ้น 100% เป็นจำนวน 550 ล้านเหรียญฯ หรือราว 1.85 หมื่นล้านบาท คิดเป็นมูลค่าต่อหุ้น PTTEP ที่ราว 4.7 บาทต่อหุ้น ส่งผลให้ผลการดำเนินงานงวด 3Q60 มีโอกาสขาดทุนสุทธิ และส่งผลกระทบมายังราคาหุ้น PTT (ถือหุ้น PTTEP 65.29%) ให้ลดลง 1.44%
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ มีโอกาสฟื้นตัวตามตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน ประเมินแนวต้านที่ 1700 จุด แนวรับ 1682 จุด
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET กลับมาฟื้นตัวก่อนช่วงหยุดยาว 3 วัน แม้ช่วงเช้ามีแรงขายทำกดดันดัชนีร่วงไปกว่า 10 จุด แต่ในช่วงบ่ายกลับมายืนได้ในแดนบวกจนปิดตลาดที่ 1692.58 จุด เพิ่มขึ้น 9.15 จุด หรือ 0.54% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 6.88 หมื่นล้านบาท มีแรงหนุนจากหุ้นในกลุ่มค้าปลีกปรับตัวขึ้นโดดเด่นรับผลประกอบการใน 3Q60 โดย HMPRO ปรับขึ้นกว่า 4.20% โดยงวด 3Q60 คาดมีแนวโน้มเติบโตได้โดดเด่น จากการฟื้นตัวของยอดขายสาขาเดิมและสาขาใหม่ รวมถึงกลยุทธ์การปรับปรุงประสิทธิภาพทำกำไรหนุนกำไรเติบโตอีกไตรมาส นอกจากนี้ยังได้ sentiment บวกจากมาตรการช็อปช่วยชาติ ที่น่าจะคลอดในงวด 4Q60 ซึ่งหนุนหุ้นอื่นๆ ในกลุ่มคือ BJC, BEAUTY และ COM7 ปรับเพิ่มขึ้น 2.39%, 2.44% และ 2.07% รวมถึง CPALL ฟื้นตัว 1.47%
ส่วนหุ้นในกลุ่มขนส่งปรับเพิ่มขึ้นจากหุ้น Big Cap ของกลุ่มอย่าง AOT 1.30% กลุ่มเดินเรือ TTA เพิ่มขึ้น 2% PSL เพิ่มขึ้น 4.27% และกลุ่มสายการบิน AAV และ NOK เพิ่มขึ้น 0.79% และ 0.60% เช่นเดียวกับหุ้น ธ.พ. โดย TMB ที่ฟื้นตัว 2.38% KBANK เพิ่มขึ้น 0.47% BBL เพิ่มขึ้น 1.58% BAY เพิ่มขึ้น 2.60% ส่วนหุ้นเล็กในกลุ่มอย่าง KKP เพิ่มขึ้นโดดเด่น 3.42% รับผลประกอบ 3Q60 เติบโตกว่าที่ตลาดคาด โดยมีกำไรสุทธิที่ 1,723 บาท เพิ่มขึ้น 45% qoq และ 2% yoy ส่วน TCAP และ TISCO เพิ่มขึ้น 0.49% และ 1.20%
ส่วนหุ้นปิโตรเลี่ยม PTTEP ลดลง 4.43% ตอบรับประเด็นการบันทึกด้อยค่าสินทรัพย์ (impairment charge) โครงการ Mariana Oil Sands ประเทศแคนาดา ซึ่ง PTTEP ถือหุ้น 100% เป็นจำนวน 550 ล้านเหรียญฯ หรือราว 1.85 หมื่นล้านบาท คิดเป็นมูลค่าต่อหุ้น PTTEP ที่ราว 4.7 บาทต่อหุ้น ส่งผลให้ผลการดำเนินงานงวด 3Q60 มีโอกาสขาดทุนสุทธิ และส่งผลกระทบมายังราคาหุ้น PTT (ถือหุ้น PTTEP 65.29%) ให้ลดลง 1.44%
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ มีโอกาสฟื้นตัวตามตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน ประเมินแนวต้านที่ 1700 จุด แนวรับ 1682 จุด
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น & ยุโรป ได้ผลบวก ….เพราะยังใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อ
ผลการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นไปตามที่ตลาดคาด กล่าวคือพรรคเสรีประชาธิปไตย(LDP) ของ นายชินโสะ อาเบะ ได้คะแนนเสียงสูงสุดราว 283 ที่นั่งจาก 465 ที่นั่ง(หรือราว 61%) และเมื่อรวมคะแนนจากพรรคร่วมรัฐบาลอีก 32 ที่นั่ง ทำให้พรรค LDP ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสม มีคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในสภาราว 68% ชนะพรรคฝ่ายค้านขาดลอย ส่งผลให้นาย อาเบะฯ กลับมารับตำแหน่งนายก ฯ เป็นสมัยที่ 3 และติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี (ตั้งแต่ ธ.ค. 2555) ทำให้ยังคงเดินหน้าใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย ทั้งคงดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1%(ตั้งแต่ ม.ค. 2559 vs เงินเฟ้อทรงตัวระดับต่ำ 0.4%) และคงวงเงิน QQE ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี (ตั้งแต่ พ.ย. 2557) ซึ่งนับว่าสวนทางกับประเทศฝั่งพัฒนาแล้ว ที่เตรียมเดินหน้าใช้นโยบายการเงินตึงตัวตามหลังสหรัฐ ซึ่งขึ้นดอกเบี้ยแล้ว 4 ครั้ง ตั้งแต่ พ.ย. 2558 และแคนาดาขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้ง
ส่วนยุโรป การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ใน 26 ต.ค. นี้ ตลาดคาดแม้ยังคงดอกเบี้ยนโยบายตามเดิมที่ 0%(ตั้งแต่ มี.ค. 2559) ทั้ง ๆ ที่เงินเฟ้อยังสูงกว่าดอกเบี้ยมาก (เงินเฟ้อ 1.3% vs ดอกเบี้ย 0%) และยังคงวงเงินซื้อสินทรัพย์(QE) ที่เดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร จนถึง ธ.ค. 2560 แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดคาดว่าจะต่ออายุอีกออกไป 6-9 เดือน แต่จะลดวงเงินเหลือเดือนละ 4 หมื่นล้านยูโร โดยสรุป ยุโรปยังคงใช้นโยบายการเงินผ่านคลายไปถึงกลางปี 2561 และน่าจะเริ่มขยับขึ้นดอกเบี้ยใน 2H60 ทั้งนี้แม้ว่าเงินเฟ้อ มีแนวโน้มสูงก็ตาม แต่น่าจะเกิดจากความกังวลต่อปัญหา การเมืองในยุโรป อาทิ Brexit, การเลือกตั้งอิตาลีในช่วง 1Q2561
การใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายถึงว่าเป็น ปัจจัยหนุนตลาดหุ้นทั้ง 2 และน่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นเอเชีย รวมถึงไทย
ส่วนยุโรป การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ใน 26 ต.ค. นี้ ตลาดคาดแม้ยังคงดอกเบี้ยนโยบายตามเดิมที่ 0%(ตั้งแต่ มี.ค. 2559) ทั้ง ๆ ที่เงินเฟ้อยังสูงกว่าดอกเบี้ยมาก (เงินเฟ้อ 1.3% vs ดอกเบี้ย 0%) และยังคงวงเงินซื้อสินทรัพย์(QE) ที่เดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร จนถึง ธ.ค. 2560 แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดคาดว่าจะต่ออายุอีกออกไป 6-9 เดือน แต่จะลดวงเงินเหลือเดือนละ 4 หมื่นล้านยูโร โดยสรุป ยุโรปยังคงใช้นโยบายการเงินผ่านคลายไปถึงกลางปี 2561 และน่าจะเริ่มขยับขึ้นดอกเบี้ยใน 2H60 ทั้งนี้แม้ว่าเงินเฟ้อ มีแนวโน้มสูงก็ตาม แต่น่าจะเกิดจากความกังวลต่อปัญหา การเมืองในยุโรป อาทิ Brexit, การเลือกตั้งอิตาลีในช่วง 1Q2561
การใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายถึงว่าเป็น ปัจจัยหนุนตลาดหุ้นทั้ง 2 และน่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นเอเชีย รวมถึงไทย
แม้วานนี้ตลาดหุ้นไทยหยุด แต่ต่างชาติซื้อหุ้นตลาดอื่นๆทุกแห่งในภูมิภาค
แม้วานนี้ตลาดหุ้นไทยจะหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันปิยมหาราช แต่ตลาดหุ้นอื่นยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยรวมต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 10 ด้วยมูลค่า 453 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิทุกประเทศ นำโดยคือ เกาหลีใต้ 250 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 147 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน), ไต้หวัน 28 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 11) และอินโดนีเซีย 28 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนวันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 139 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ 250 ล้านเหรียญ, ไต้หวัน 99 ล้านเหรียญ และอินโดนีเซีย 28 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 ประเทศ ขายสุทธิคือ ฟิลิปปินส์ 38 ล้านเหรียญ และไทย 99 ล้านเหรียญ หรือ 3.28 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ขณะที่สถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 313 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 8.89 พันล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 4.65 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนวันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 139 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ 250 ล้านเหรียญ, ไต้หวัน 99 ล้านเหรียญ และอินโดนีเซีย 28 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 ประเทศ ขายสุทธิคือ ฟิลิปปินส์ 38 ล้านเหรียญ และไทย 99 ล้านเหรียญ หรือ 3.28 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ขณะที่สถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 313 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 8.89 พันล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 4.65 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
หุ้นธนาคารน่าจะลดแรงขายรับงบ จากนี้มุ่งไปที่หุ้น real sector
กลุ่ม ธ.พ. รายงานงบฯ 3Q60 เสร็จสิ้นแล้ว โดยปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา KBANK (FV’61@B243) รายงานกำไรสุทธิ 3Q60 ดีกว่าคาด เติบโต 5.4% qoq (ลดลง 12.7% yoy) การเติบโตหลักๆ ยังคงมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมฯ จากธุรกรรมด้านการโอนเงิน และธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อ ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิเติบโตเช่นกัน แม้ภาพรวมสินเชื่อสุทธิยังค่อนข้างทรงตัว ขณะที่ NIM ดีกว่าคาด จาก yield ที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง ทางด้านสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมเริ่มทรงตัวได้ อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิ 9M60 คิดเป็นเพียง 67% ของประมาณการฯ เดิมทั้งปี จึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2560-61 ลง 16.5% และ 10.6% ตามลำดับ โดยคาดปี 2560-61 ผลประกอบการลดลง 11.3% yoy ก่อนจะกลับมาเติบโต 11.3% yoy โดย Fair Value ปี 2561 หลังปรับประมาณการฯ อยู่ที่ 243 บาท มี upside ราว 13.8%
ตามด้วย KTB (FV’61@B18) กำไรสุทธิงวด 3Q60 ต่ำกว่าคาด แม้เพิ่ม 82.2%qoq แต่ลดลง 32%yoy จากการบันทึกค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้นรองรับหลักเกณฑ์ IFRS 9 ขณะที่ผลการดำเนินงานหลักเป็นไปตามคาด โดยรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิหดตัวตามภาวะสินเชื่อ และ NIM ที่อ่อนตัว ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ค่อนข้างทรงตัว ขณะที่แนวโน้มผลการดำเนินงาน 4Q60 คาด ทรงตัวจาก 3Q60 จึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2560-61 ลง 12.4% และ 4.2% จากเดิม ทำให้แนวโน้มกำไรสุทธิปี 2560 ลดลงถึง 26%yoy ก่อนที่จะกลับมาเติบโต 32%yoy ในปี 2561 Fair Value ปี 2561 หลังปรับประมาณการฯ อยู่ที่ 18 บาท ไม่เหลือ upside จึงแนะนำ switch
และ KKP (FV’61@B91) กำไรสุทธิงวด 3Q60 สูงกว่าคาด เติบโตถึง 45.4% qoq และ 1.9% yoy หลักๆ มาจากการลดลงของ NPL ของสินเชื่ออสังหาฯ และสินเชื่อ SME ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิเติบโตตามสินเชื่อ เช่นเดียวกับรายได้ค่าธรรมเนียมฯ กำไรสุทธิ 9M60 คิดเป็น 81% ของประมาณการฯ เดิมทั้งปี จึงปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2560-61 ขึ้น 9.9% และ 4.3% จากเดิม หลังจาก กำไรสุทธิปีนี้และปีหน้าจะ เติบโต 9.1%yoy และ 9.3% ตามลำดับ Fair Value ปี 2561 หลังปรับประมาณการฯ อยู่ที่ 91 บาท มี upside ถึง 20.5% ประกอบกับคาดหวัง div.yield ปีนี้สูงถึง 7.9% แนะนำทยอยซื้อสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว
โดยรวมผลประกอบการ 3Q60 ของกลุ่ม ธ.พ.ทำกำไรสุทธิรวมกันที่ 4.74 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าที่ฝ่ายวิจัยคาดที่ 4.9 หมื่นล้านบาทราว 3.4% โดยหดตัวลง 8.6%yoy แต่เติบโต 4.5%qoq โดย ธ.พ. ที่เติบโตโดดเด่นสุด คือ TISCO และ TCAP ตรงข้ามกับที่หดตัว yoy คือ KTB, KBANK และ SCB ทั้งนี้ top pick ของกลุ่ม ธ.พ. เลือก BBL (FV’61@B 210) ที่ได้ประโยชน์จากวัฏจักรการลงทุนรอบใหม่ และรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นจากการเป็นพันธมิตรกับ AIA รวมทั้งคาดหวังเงินปันผลได้ในระดับสูง (คาดจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการ 2H60 ที่ 5 บาทต่อหุ้น) รวมทั้ง KKP (คาดจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการ 2H60 ที่ 4 บาทต่อหุ้น)
กลุ่ม ธ.พ. รายงานงบฯ 3Q60 เสร็จสิ้นแล้ว โดยปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา KBANK (FV’61@B243) รายงานกำไรสุทธิ 3Q60 ดีกว่าคาด เติบโต 5.4% qoq (ลดลง 12.7% yoy) การเติบโตหลักๆ ยังคงมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมฯ จากธุรกรรมด้านการโอนเงิน และธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อ ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิเติบโตเช่นกัน แม้ภาพรวมสินเชื่อสุทธิยังค่อนข้างทรงตัว ขณะที่ NIM ดีกว่าคาด จาก yield ที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง ทางด้านสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมเริ่มทรงตัวได้ อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิ 9M60 คิดเป็นเพียง 67% ของประมาณการฯ เดิมทั้งปี จึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2560-61 ลง 16.5% และ 10.6% ตามลำดับ โดยคาดปี 2560-61 ผลประกอบการลดลง 11.3% yoy ก่อนจะกลับมาเติบโต 11.3% yoy โดย Fair Value ปี 2561 หลังปรับประมาณการฯ อยู่ที่ 243 บาท มี upside ราว 13.8%
ตามด้วย KTB (FV’61@B18) กำไรสุทธิงวด 3Q60 ต่ำกว่าคาด แม้เพิ่ม 82.2%qoq แต่ลดลง 32%yoy จากการบันทึกค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้นรองรับหลักเกณฑ์ IFRS 9 ขณะที่ผลการดำเนินงานหลักเป็นไปตามคาด โดยรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิหดตัวตามภาวะสินเชื่อ และ NIM ที่อ่อนตัว ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ค่อนข้างทรงตัว ขณะที่แนวโน้มผลการดำเนินงาน 4Q60 คาด ทรงตัวจาก 3Q60 จึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2560-61 ลง 12.4% และ 4.2% จากเดิม ทำให้แนวโน้มกำไรสุทธิปี 2560 ลดลงถึง 26%yoy ก่อนที่จะกลับมาเติบโต 32%yoy ในปี 2561 Fair Value ปี 2561 หลังปรับประมาณการฯ อยู่ที่ 18 บาท ไม่เหลือ upside จึงแนะนำ switch
และ KKP (FV’61@B91) กำไรสุทธิงวด 3Q60 สูงกว่าคาด เติบโตถึง 45.4% qoq และ 1.9% yoy หลักๆ มาจากการลดลงของ NPL ของสินเชื่ออสังหาฯ และสินเชื่อ SME ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิเติบโตตามสินเชื่อ เช่นเดียวกับรายได้ค่าธรรมเนียมฯ กำไรสุทธิ 9M60 คิดเป็น 81% ของประมาณการฯ เดิมทั้งปี จึงปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2560-61 ขึ้น 9.9% และ 4.3% จากเดิม หลังจาก กำไรสุทธิปีนี้และปีหน้าจะ เติบโต 9.1%yoy และ 9.3% ตามลำดับ Fair Value ปี 2561 หลังปรับประมาณการฯ อยู่ที่ 91 บาท มี upside ถึง 20.5% ประกอบกับคาดหวัง div.yield ปีนี้สูงถึง 7.9% แนะนำทยอยซื้อสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว
โดยรวมผลประกอบการ 3Q60 ของกลุ่ม ธ.พ.ทำกำไรสุทธิรวมกันที่ 4.74 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าที่ฝ่ายวิจัยคาดที่ 4.9 หมื่นล้านบาทราว 3.4% โดยหดตัวลง 8.6%yoy แต่เติบโต 4.5%qoq โดย ธ.พ. ที่เติบโตโดดเด่นสุด คือ TISCO และ TCAP ตรงข้ามกับที่หดตัว yoy คือ KTB, KBANK และ SCB ทั้งนี้ top pick ของกลุ่ม ธ.พ. เลือก BBL (FV’61@B 210) ที่ได้ประโยชน์จากวัฏจักรการลงทุนรอบใหม่ และรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นจากการเป็นพันธมิตรกับ AIA รวมทั้งคาดหวังเงินปันผลได้ในระดับสูง (คาดจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการ 2H60 ที่ 5 บาทต่อหุ้น) รวมทั้ง KKP (คาดจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการ 2H60 ที่ 4 บาทต่อหุ้น)
หุ้น real sector คาดกลุ่มรับเหมายังกดดันจากความล่าช้างานรัฐ
ส่วนภาคที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ นักวิเคราะห์ ASPS ได้ทยอยทำบ้างแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มรับเหมาฯ ตามที่ได้สรุปไว้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ถึงผลกระทบจากการประมูลงานภาครัฐ ล่าช้ากว่าแผน โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม, ชมพู, เหลือง ซึ่งปัญหาจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้าโดยเฉพาะส่วนของ กทม. ขณะที่ความหวังต่องานประมูลใน 4Q60 ก็ดูเหมือนจะล่าช้า ออกไปเป็นปลายปี 2560 หรือ ต้นปี 2561 ซึ่งถือเป็น sentiment ลบช่วงสั้นต่อกลุ่มฯ และทำให้นักวิเคราะห์ ASPS ต้องกลับมาทบทวนประมาณการหุ้นในกลุ่มรับเหมาฯ รายใหญ่
เริ่มจาก UNIQ (FV’61@B24) ปรับลดประมาณการรายได้ปี 2560-61 ลง 20% และ 16% ตามลำดับ และปรับลดประมาณการกำไรปี 2560-61 ลง 20% และ 23% ตามลำดับ จากโครงการขนาดใหญ่บางแห่ง เริ่มงานก่อสร้างล่าช้า ขณะที่คาดการณ์กำไร 3Q60 หดตัว 19%yoy จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ล่าช้า อย่างไรก็ตาม ยังคงเชื่อมั่นต่อศักยภาพการประมูลงานและการทำกำไรในระยะยาว ซึ่งเป็นวัฏจักรการลงทุนรอบใหญ่ ที่จะเกิดขึ้นนับจากจากนี้ไป ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญต่อ UNIQ ที่เป็นผู้รับเหมางานรัฐรายใหญ่ Fair Value ปี 2561 ภายหลังปรับประมาณการอยู่ที่ 24 บาท
ส่วนหุ้นรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่อื่นๆ ทั้ง CK, STEC และ ITD อยู่ระหว่างการทบทวนปรับลด ประมาณการฯ โดย STEC มีโอกาสปรับลดมากสุด เนื่องจากกำไร 1H60 ที่ทำได้เพียง 31% ของประมาณการกำไรทั้งปี และเช่นเดียวกับ ITD ที่กำไร 1H60 คิดเป็นสัดส่วนเพียง 23% จากประมาณการกำไรทั้งปี ขณะที่ CK ที่มีฐานกำไรกว่า 50% มาจากบริษัทย่อยอย่าง TTW, CKP และ BEM ทำกำไรได้ค่อนข้างมั่นคง แม้งวด 1H60 ทำกำไรได้ 48% ของประมาณการทั้งปี แต่ผลกระทบน้อยสุด
ส่วนภาคที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ นักวิเคราะห์ ASPS ได้ทยอยทำบ้างแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มรับเหมาฯ ตามที่ได้สรุปไว้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ถึงผลกระทบจากการประมูลงานภาครัฐ ล่าช้ากว่าแผน โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม, ชมพู, เหลือง ซึ่งปัญหาจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้าโดยเฉพาะส่วนของ กทม. ขณะที่ความหวังต่องานประมูลใน 4Q60 ก็ดูเหมือนจะล่าช้า ออกไปเป็นปลายปี 2560 หรือ ต้นปี 2561 ซึ่งถือเป็น sentiment ลบช่วงสั้นต่อกลุ่มฯ และทำให้นักวิเคราะห์ ASPS ต้องกลับมาทบทวนประมาณการหุ้นในกลุ่มรับเหมาฯ รายใหญ่
เริ่มจาก UNIQ (FV’61@B24) ปรับลดประมาณการรายได้ปี 2560-61 ลง 20% และ 16% ตามลำดับ และปรับลดประมาณการกำไรปี 2560-61 ลง 20% และ 23% ตามลำดับ จากโครงการขนาดใหญ่บางแห่ง เริ่มงานก่อสร้างล่าช้า ขณะที่คาดการณ์กำไร 3Q60 หดตัว 19%yoy จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ล่าช้า อย่างไรก็ตาม ยังคงเชื่อมั่นต่อศักยภาพการประมูลงานและการทำกำไรในระยะยาว ซึ่งเป็นวัฏจักรการลงทุนรอบใหญ่ ที่จะเกิดขึ้นนับจากจากนี้ไป ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญต่อ UNIQ ที่เป็นผู้รับเหมางานรัฐรายใหญ่ Fair Value ปี 2561 ภายหลังปรับประมาณการอยู่ที่ 24 บาท
ส่วนหุ้นรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่อื่นๆ ทั้ง CK, STEC และ ITD อยู่ระหว่างการทบทวนปรับลด ประมาณการฯ โดย STEC มีโอกาสปรับลดมากสุด เนื่องจากกำไร 1H60 ที่ทำได้เพียง 31% ของประมาณการกำไรทั้งปี และเช่นเดียวกับ ITD ที่กำไร 1H60 คิดเป็นสัดส่วนเพียง 23% จากประมาณการกำไรทั้งปี ขณะที่ CK ที่มีฐานกำไรกว่า 50% มาจากบริษัทย่อยอย่าง TTW, CKP และ BEM ทำกำไรได้ค่อนข้างมั่นคง แม้งวด 1H60 ทำกำไรได้ 48% ของประมาณการทั้งปี แต่ผลกระทบน้อยสุด
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
OO1570
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
OO1570