- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 11 October 2017 21:24
- Hits: 3362
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดเต็มไปด้วยความเชื่อมั่น หลัง Road Map การเลือกตั้งชัดเจน แต่ดัชนีที่ขึ้นแรงและเร็วเกินไปเชื่อว่ายังมีโอกาสปรับฐาน โดยดัชนีน่าจะแกว่งตัวในกรอบ 1710-1700 จุด กลยุทธ์ยังให้ขายหุ้นแพงมาหุ้นถูก หรือ Laggards สื่อสาร (THCOM, INTUCH) พลังงาน (PTTEP) ธนาคาร (KKP) และส่งออก (HANA, VNG) Top picks เลือก หุ้น Laggards CK(FV@B35) กำไรเด่นใน 2H60 และ PTTEP(FV@B116) ราคาหุ้นน้อยกว่าราคาน้ำมัน และได้ผลดีจากดอลล่าร์ที่อ่อนค่าช่วงสั้น
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย…ทำได้แล้ว SET Index ทะลุ 1700 จุด
วานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นโดดเด่นสุดในภูมิภาค แม้ช่วงเช้าจะเห็นแรงขายทำกำไรจนดัชนีตลาดหุ้นย่อลงไปในแดนลบ แต่ช่วงบ่ายปรับขึ้นแรงจนปิดที่ระดับ 1706.95 จุด เพิ่มขึ้นถึง 14.73 จุด หรือ 0.87% พร้อมด้วยมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 8.15 หมื่นล้านบาท โดยการปรับตัวขึ้นของดัชนีมาจากแรงหนุนเกือบทุกกลุ่ม นำโดยพลังงานและปิโตรเคมี PTT PTTEP เพิ่มขึ้น 2.39% 2.24%, PTTGC IRPC 0.30% และ 0.79% และโรงไฟฟ้า EGCO RATCH GLOW EA และ GPSC เพิ่มขึ้น 2.17%, 1.39%, 2.57%, 1.24% และ 1.45% ตามลำดับ กลุ่มค้าปลีก นำโดย CPALL, BJC เพิ่มขึ้น 2.19%, 2.90% รวมทั้ง BEAUTY และ COM7 เพิ่มขึ้นอีก 3.14% และ 2.16% ซึ่งได้ sentiment บวกจากมาตรการช็อปช่วยชาติที่จะเข้ามาช่วยหนุนหุ้นในกลุ่มให้กลับมาคึกคักอีกรอบ แม้หุ้นหลายตัวในกลุ่มจะปรับตัวขึ้นมาจนเกินมูลค่าพื้นฐาน ปี 2560 ไปแล้ว แต่ยังมี upside ที่เปิดกว้างสำหรับการเติบโตต่อเนื่องในปีหน้า คือ COM7(FV’61@B19), BEAUTY (FV’61@B20) และ BJC (FV’61@B60)
ส่วนกลุ่มที่ฟื้นตัวคือกลุ่มธนาคารพาณิชย์ นำโดย KBANK เพิ่มขึ้น 2.42% KTB เพิ่มขึ้น 0.53% BBL เพิ่มขึ้น 1.07% และ TMB เพิ่มขึ้น 2.40% และกลุ่ม ICT โดยผู้ให้บริการมือถืออย่าง ADVANC เพิ่มขึ้น 1.57% ส่วน TRUE เพิ่มขึ้น 0.81% แต่ด้วยราคาปัจจุบันของหุ้น TRUE ปรับขึ้นแรงจนเกินมูลค่าพื้นฐานปี 2560 ไปมากแล้ว จึงแนะนำให้สลับมาลงทุนในหุ้น Laggard ของกลุ่ม ICT อย่าง THCOM และ INTUCH ซึ่งยังมี upside เปิดกว้างกว่า 38.72% และ 22.71% ตามลำดับ
ส่วนหุ้นน้องใหม่ที่เข้าซื้อขายในตลาดฯ เป็นวันแรก อย่าง TOA ปิดที่ 32.50 บาท เพิ่มขึ้นร้อนแรงกว่า 35.42% จากราคา IPO ที่ 24 บาท รวมถึงหุ้นอื่นๆ ที่ปรับขึ้นแรงคือ PRM เพิ่มขึ้น 7.14% SCN 6.67% และ CBG เพิ่มขึ้นกว่า 8.67%
แนวโน้มตลาดฯ วันนี้ น่าจะขยับขึ้นได้ต่อตาม momentum เชิงบวก ประเมินแนวต้านที่ 1710-1715 จุด ส่วนแนวรับระหว่างวันอยู่ที่ 1700-1690 จุด
IMF ปรับเพิ่ม GDP Growth โลกแต่ส่วนใหญ่อยู่ในฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว
เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัว และหนุนการใช้นโยบายการเงินตึงตัว หนุน fund flow มาสู่ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการฟื้นตัวในฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับ IMF ล่าสุด ได้ปรับ GDP Growth โลกขึ้นปีละ 0.1% เป็น 3.6%yoy ในปีนี้ และ 3.7% ในปี 2561 พร้อมกับปรับเพิ่มอัตราการเติบโตด้านการค้า (Trade Growth) 0.4% เป็น 4.2%yoy ในปี 2560 และ 0.1 %เป็น 4%yoy ในปี 2561 ผ่านสมมติฐานน้ำมันดิบที่ 50.3 เหรียญฯเท่ากันในปี 2560-2561 โดยมีรายละเอียดคือ
ประเทศพัฒนาแล้วปรับเพิ่มทุกประเทศ นำโดย แคนาดา เพิ่มมากสุด คือ 0.5% เป็น 3%yoy ในปี 2560 และ 0.2% และ 2.1%yoy ในปี 2561 ตามด้วย ยุโรปปรับเพิ่มปีละ 0.2% เป็น 2.1%yoyและ 1.9% ในปี 2560-2561 (หลักๆปรับเพิ่มประเทศหัวเรือใหญ่ในยุโรปทุกประเทศ อาทิ เยอรมัน , อิตาลี , ฝรั่งเศส ) และ ญี่ปุ่นปรับเพิ่ม 0.2% เป็น 1.5%yoy ในปี 2560 และ 0.1% เป็น 0.7%yoy ในปี 2561 ขณะที่สหรัฐ ปรับเพิ่ม 0.1%เป็น 2.2%yoyในปี 2560 และ 0.2% เป็น 2.3%yoy ในปี 2561
ประเทศกำลังพัฒนา มีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยคือ
ตะวันออกกลาง (ประกอบด้วย อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน และแอฟริกาเหนือ) แม้ยังคงที่เดิม 2.6% yoy ในปี 2560 แต่ปรับเพิ่ม 0.2% เป็น 3.5% ในปี 2561
เอเซียปรับจีนขึ้นปีละ 0.1% เป็น 6.8%yoy ในปีนี้ และ 6.5% ปีหน้าเพราะงวด 1H60 เติบโต 6.9%yoy การบริโภคครัวเรือนที่ขยายตัวแข็งแกร่งและยอดส่งออกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ยกเว้น อินเดีย ปรับลด 0.5% เหลือ 6.7%yoy ในปี 2560 และลด 0.3% เหลือ 7.4%yoy ในปี 2561 ซึ่งสอดคล้องกับคาดการณ์ของธนาคารโลก ที่ปรับลด อินเดียลง 0.2% ในปีนี้และ 0.5% ปีหน้าเหลือ 7%yoy อัตราเท่ากัน 2 ปี ดังที่กล่าวไว้ใน Market Talk วานนี้
ASEAN (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม) ปรับเพิ่ม 0.1% เป็น 5.2% ปี 2560 และคงเดิม 5.2% ปี 2561 ขณะที่ไทยปรับเพิ่ม 0.7% เป็น 3.7%yoy ในปีนี้ (ทำไว้ต่ำไปในช่วงก่อนหน้า) และ 0.2% เป็น 3.5%yoy ในปี 2561 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ทำไว้เกิน 4% ในปี 2561
เลือกตั้ง พ.ย.2561 จะเกิดขึ้นได้ พ.ร.ป. 4 ฉบับหลักต้องมีผลบังคับใช้
นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. เปิดเผยว่า ช่วงเดือน มิ.ย.2561จะสามารถประกาศกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปได้ โดยคาดจะเห็นการเลือกตั้งเกิดขึ้นในช่วงเดือน พ.ย.2561 ส่วนการปลด ล็อกให้พรรคการเมืองสามารถทำกิจกรรมทางการเมืองได้จะพิจารณาหลังจากผ่านเดือน ต.ค. 2560 ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในเดือน พ.ย.2561 ขึ้นอยู่บนเงื่อนไขสำคัญก็คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) 4 ฉบับ ต้องมีผลบังคับใช้ ขณะที่ ปัจจุบันได้ประกาศบังคับใช้ไปแล้ว 2 ฉบับ คือ พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้ 8 ก.ย. 2560 และ พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ 10 ต.ค.2560
ส่วนอีก 2 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.ป. ว่าได้การได้มาซึ่ง ส.ส. และ พ.ร.ป. ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำร่างของ กรรมการร่างรัฐธรรมญู ซึ่งมีกำหนดการที่จะส่งเข้าสู่การพิจารณาของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ภายใน 28 พ.ย.2560 หลังจากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนในการพิจารณา 3 วาระ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาจนถึงราวเดือน ม.ค. – ก.พ. 2561 หลังจากนั้นหากต้องมีการแก้ไขปรับปรุง โดยการจัดตั้งกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย ก็อาจใช้เวลาเพิ่มอีกราว 1 เดือน
โดยสรุปคาดว่าร่าง พ.ร.ป. ทั้ง 2 ฉบับที่เหลือน่าจะผ่านการพิจารณาของ สนช. ประมาณเดือน มี.ค. 2561 และจะตามมาด้วยกระบวนการในการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวมาข้างต้น เป็นที่มาว่า ทำไมนายกรัฐมนตรี จึงมีกำหนดการที่จะประกาศวันเลือกตั้งในเดือน มิ.ย.2561 ส่วนวันเลือกตั้ง จะกำหนดภายใน 150 วัน หรือไม่เกิน 5 เดือน หลัง พ.ร.ป. มีผลบังคับใช้ทั้ง 4 ฉบับ ซึ่งเมื่อนับตามช่วงเวลาแล้ว ก็จะได้กำหนดการเลือกตั้งออกมาเป็นช่วงเดือน พ.ย.2561
อย่างไรก็ตามความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนหากมีก็น่าจะอยู่ที่กระบวนการพิจารณาในขั้นตอนของ ส.น.ช. ว่าจะสามารถควบคุมเวลาได้ดีเพียงใด การที่ตลาดหุ้นขึ้นมากว่า 11% ในช่วงเวลากว่า 1 เดือน อาจจะทำให้มีแรงขายทำกำไรได้ทุกเมื่อ
แรงซื้อหุ้นในภูมิภาคหนาแน่นขึ้น รวมถึงไทย
แม้วานนี้ตลาดหุ้นไต้หวันหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันชาติ แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคกว่า 760 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) โดยเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นเพียงตลาดหุ้นอินโดนีเซียที่ขายสุทธิอีก 34 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 29 วัน) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิสูงถึง 715 ล้านเหรียญ (หลังหยุดยาวถึง 1 สัปดาห์เต็ม) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 10 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) และไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิ 69 ล้านเหรียญ หรือ 2.31 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิ 1.84 พันล้านบาท
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.24 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 664 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)
ดัชนีทะลุ 1700 จุด ควรซื้อหุ้นที่ Laggards และมี upside INTUCH, CK
จนถึงวานนี้ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยราว 11% นับจากปลายปี ทำให้ตลาดหุ้นไทยไม่ Laggards อีกต่อไป และหากพิจารณา P/E พบว่าขึ้นมากที่ ราว 16.84 เท่า ปี 2560 และ 15.52 เท่าปี 2561 (อิง กำไรสุทธิต่อหุ้นหรือ EPS Growth 9% ปี 2561 และ 7% ปี 2560) ซึ่งใกล้เคียงกับตลาดหุ้นโลก (ทั้งประเทศพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนา) ยกเว้นตลาดเพื่อนบ้านบางแห่งที่มี P/E สูง เช่น อินเดีย และ ฟิลิปปินส์ 20.5 เท่า และ 20.4 เท่า ปี 2560 และ 16.4 เท่า และ 18.25 เท่า ในปี 2561 ตามลำดับ (ภายใต้สมมติฐาน กำไรสุทธิต่อหุ้น หรือ EPS Growth อินเดียจะเติบโตสูงสุด 24% ในปี 2561 จาก 4.7% ในปีนี้ ตลาดฟิลิปปินส์ เติบโต 12% ปี 2561 จาก 6.5% ในปี 2560 และอินโดนีเซีย (P/E เท่าในปี 2560 และ เท่าในปี 2561) เติบโต 13% ปี 2561 จาก 11.2% ปี 2560
แม้มองตลาดหุ้นไทยในระยะ 12เดือนข้างหน้ายังมีโอกาสขึ้นไปแตะ 1766 จุด (อิงกำไรตลาด 110.4 บาทต่อหุ้น และ P/E 16 เท่า) ด้วยแรงหนุนเศรษฐกิจไทยที่มีสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนขึ้นตามลำดับ และ fund flow ที่คาดว่าจะเข้ามาหนุนอีกครั้ง หลังจากที่ขายหุ้นไทยไปมากจนมี foreign holding limit อยู่ในระดับต่ำมากราว 31% เท่านั้น แต่ระยะสั้น ๆ เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะเผชิญกับแรงขายทำกำไรที่แนวต้านที่ 1700-1710 จุด กลยุทธ์ยังแนะนำให้ขายหุ้นที่ ที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาดหรือราคาหุ้นเกินมูลค่าพื้นฐาน อย่างเช่น กลุ่ม ท่องเที่ยว (ERW) โรงแรม ICT (DTAC, TRUE) โรงกลั่นและปิโตรเคมี (TOP, BCP, ESSO, PTTGC) และ การบิน (AOT, THAI)
และสลับไปซื้อหุ้น laggards ทั้งนี้แนะนำหุ้นที่ขึ้นน้อยกว่าตลาด และ/หรือ พร้อมกับราคาหุ้นยังมี upside ก่อสร้าง/วัสดุก่อสร้าง (UNIQ, CK, SCC, VNG) หุ้นชิ้นส่วน (HANA) สื่อสาร (INTUCH, THCOM) commerce (COM7, BJC) โรงไฟฟ้า (GUNKUL, RATCH) อสังหา (SPALI, LH) โรงพยาบาล (LPH) และ ธนาคาร (SCB, KKP) เป็นต้น
CK (FV@B35) แนวโน้มผลประกอบการ 2H60 ยังโดดเด่น แม้รายได้อาจปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับ 1H60 ที่มีการเร่งรัดงานเข้ามา โดยเชื่อว่ายังคงรักษาอัตรากำไรได้ดี เพราะ Backlog ที่มีอยู่ในมือสัดส่วนราว 55% เป็นงานในกลุ่มรถไฟฟ้าที่มี margin สูง นอกจากนี้ระดับ Backlog ยังสูงเพียงพอรองรับรายได้ช่วง 3 ปีข้างหน้า ขณะที่ส่วนแบ่งกำไรและเงินปันผลจากบริษัทลูกทุกแห่ง สร้างผลตอบแทนที่ดีทั้งในรูปส่วนแบ่งกำไรและเงินปันผล ช่วยสร้างผลตอบแทนได้อย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นองค์ประกอบที่หาได้ยากในกลุ่มรับเหมาฯ
UNIQ (FV@B25) ถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ที่รับงานภาครัฐ จากจุดเด่นเรื่องอัตราการเติบโตของกำไรที่โดดเด่นในช่วง 3 ปีข้างหน้า ระดับ 20% ต่อปี บวกกับ Valuation ของ UNIQ ที่มี PER ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับบริษัทรับเหมาก่อสร้างใหญ่รายอื่นๆ
LPH ([email protected]) แนวโน้มผลประกอบการจะเริ่มดีขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่งวด 3Q60 เป็นต้นไป จากการปรับเพิ่มเงินสมทบจากสำนักงานประกันสังคม และการเปิดตึกศูนย์ความเป็นเลิศ ขณะที่ภาพระยะยาวยังคงสดใสจากหลายแผนการลงทุนที่น่าสนใจ ที่จะส่งผลให้ PER ปี 2565 คาดว่าจะลดลงเหลือเพียง 16.3 เท่า
INTUCH ([email protected]) ได้ปัจจัยหนุนจากทั้ง ADVANC ที่ได้ synergy จากการขยายฐานลูกค้า internet ใหม่กลุ่มองค์กร และ THCOM ได้เงินสดและกำไรจากการขายเงินลงทุนเข้ามา ทั้งนี้ INTUCH ยังสามารถคาดหวังเงินปปันผลได้สูงถึง 4.5%
GUNKUL ([email protected]) เป็นหุ้นที่เติบโตสูงและต่อเนื่อง แม้ปัจจุบัน PER จะสูงกว่าค่าเฉลี่ยฯกลุ่ม แต่เพราะอยู่ระหว่างการลงทุนจาก backlogs ในมือจำนวนมาก ซึ่ง PER จะทยอยลดลงอย่างต่อเนื่องตาม COD ของโครงการใหม่ในอนาคต ราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงสะท้อนประเด็นลบไปมากแล้ว เป็นโอกาสทยอยซื้อสะสมลงทุนระยะยาว
LH ([email protected]) แนวโน้ม 2H60 คาดมีโมเมนตัมต่อจาก 1H60 แรงหนุนจากการส่งมอบคอนโดฯ ต่อเนื่อง ทั้งยังได้แรงหนุนจากผลการดำเนินงานที่โดดเด่น และยังคาดหวังเงินปันผลได้สูงถึง 7%
KKP ([email protected]) คาดการณ์ผลประกอบการ 3Q60 กำไรสุทธิจะเติบโต 9.4%qoq (แต่ลดลง 23.3%yoy) นำด้วยธุรกิจหลักที่เติบโตโดดเด่น และรายได้ค่าธรรมเนียมฯ เติบโตจากการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินสำหรับดีล IPO ของ BGRIM ขณะที่สำรองหนี้ฯ ลดระดับลง โดยรวมคาดผลประกอบการแม้ปีนี้จะทรงตัวจากปีที่แล้ว แต่ปีหน้าจะกลับมาเติบโตแรง 15.2% และยังสามารถคาดหวังผลตอบแทนเงินปันผลได้สูงถึง 8.4% ในปีนี้ และกว่า 7.2% ในปีหน้า
SCB (FV@B178) ทิศทางกำไรงวด 3Q60 ยังเดินหน้าเติบโตตามเป้าหมาย แม้หดตัวไปบ้างจากงวด 2Q60 แต่ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของรายได้พิเศษ ความต้องการสินเชื่อรายใหญ่ยังเป็นแรงส่งที่ดีต่อแนวโน้มกำไรในช่วงที่เหลือของปี ราคาหุ้นปัจจุบันยัง laggard ธ.พ.ใหญ่อื่นๆ พร้อมคาดปันผลเฉลี่ยกว่า 4%
SPALI (FV’[email protected]) งวด 3Q60 คาดยอด Presale จะสร้างจุดสูงสุดของปีตามแผนเปิดโครงการใหม่ 2H60 จำนวน 22 โครงการ มูลค่า 2.15 หมื่นล้านบาท ซึ่งกำหนดการเปิดโครงการใหม่เร็วขึ้น ทำให้มีเวลาในการทำตลาดมากขึ้น จะสนับสนุนให้ยอด Presale ทั้งปี 2560 เป็นตามเป้าได้ที่ 2.58 หมื่นล้านบาท โดยคาดทั้งปี 2560 คาดกำไรปกติ 5.54 พันล้านบาท เติบโต 14% yoy แนะนำซื้อลงทุนระยะยาว
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636