WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน


กลยุทธ์การลงทุน
  ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไทยพื้นตัวเป็นเดือนที่ 2 บวกต่อเศรษฐกิจในประเทศ และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ฟื้น ทั้งน้ำมัน (บวกหุ้นปิโตรเลี่ยม) และทองแดง (กดดัน KCE) หนุนดัชนีแกว่งตัวเชิงบวก แต่ยังเผชิญแนวต้าน 1700 จุด กลยุทธ์ให้ปรับพอร์ตขายหุ้นเกินพื้นฐานเช่น BCP, ESSO, TOP, AOT แต่ให้สะสมหุ้น laggards โรงพยาบาล (LPH) ค้าปลีก ( BJC) สื่อสาร (THCOM, INTUCH) สื่อนอกบ้าน (VGI) พลังงาน (PTTEP) และส่งออก (HANA, GFPT, VNG) Top picks COM7([email protected]) กำไรโดดเด่นงวด 2H60 และ INTUCH([email protected]) มี upside 25.91%


ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย.....กลุ่ม ICT หนุนตลาดปิดบวก
  วานนี้ SET Index แม้จะแกว่งตัวในกรอบแคบๆ แต่ก็สามารถประคองตัวแดนบวกและปิด 1690.87 จุด เพิ่มขึ้น 3.10 จุด หรือ 0.18% แต่มูลค่าการซื้อขายชะลอตัวเหลือ 5.1 หมื่นล้านบาท โดยภาพรวมของตลาดยังเป็นการหมุนเวียนรายกลุ่ม มายังหุ้น Laggard โดยเฉพาะหุ้น ICT ในกลุ่มผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ทั้ง TRUE ADVANC และ DTAC เพิ่มขึ้น 0.81% 1.05% และ 1.31% ตามลำดับ เช่นเดียวกับ INTUCH และ THCOM เพิ่มขึ้น 0.88% และ 2.37% โดย 2 หุ้นหลัง ถือว่า laggard มาก เพราะตลาดน่าจะรับรู้ผลประกอบการใน 3Q60 ชะลอตัวจากการเลิกใช้งานของ NBN และ TOT บนดาวเทียม iPSTAR แต่อย่างไรก็ตามด้วยพัฒนาการเชิงบวกจากฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ คือ กลุ่ม Axiata ที่จะใช้งานในอินโดนีเซีย จะเข้ามาหนุนนับจากงวด 4Q60 เป็นต้นไป รวมถึงกำลังเจรจาขาย iPSTAR ล็อตใหญ่ที่ฟิลิปปินส์ปีนี้ หนุนการเติบโตของบริษัทได้ในระยะยาว โดย Fair value ปี 2560 อยู่ที่ 24 บาท กับ upside ที่เปิดกว้างกว่า 40%
  กลุ่มอื่นๆ ที่ปรับขึ้นคือ กลุ่มขนส่ง นำโดยหุ้นเดินเรือ TTA เพิ่มขึ้น 2.54%, RCL เพิ่มขึ้น 3.18%, PSL เพิ่มขึ้น 4.35% และ PRM เพิ่มขึ้น 5.61% สายการบิน THAI และ NOK เพิ่มขึ้น 1.09, 2.31% และ สนามบิน AOT เพิ่มขึ้น 0.43% และสุดท้ายคือ หุ้นกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ บางตัวกลับมาฟื้น คือ PTTEP เพิ่มขึ้น 0.56%, PTTGC 1.58% TOP 0.53% และ IRPC เพิ่มขึ้น 1.60% นอกจากนี้ยังมีหุ้นน้องใหม่ในตลาด MAI ที่เพิ่งเข้าซื้อขายเป็นวันแรกอย่าง CRD ปิดที่ 1.59 บาท เพิ่มขึ้น 10.41% จากราคา IPO 1.44 บาท
  ตรงข้ามกับกลุ่มฯ ที่ปรับลง คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เช่น SCB ลดลง 0.65% และ TCAP ลดลง 1.51%
  แนวโน้มตลาดวันนี้ SET Index น่าจะแกว่งขึ้นไปทดสอบแนวต้าน 1700 จุด แต่หากมูลค่าการซื้อขายไม่หนาแน่นมากพอ คงต้องระวังแรงขายที่เกิดขึ้นตามมา โดยมีแนวรับระหว่างวันที่ 1680 จุด


ตลาดแรงงานสหรัฐน่าจะอ่อนตัวจากผลกระทบพายุเฮอริเคน
  ปัจจัยต่างประเทศ ในวันนี้ เชื่อว่าตลาดให้น้ำหนักการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ ด้านตลาดแรงงาน คือ ยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน ก.ย. ตลาดคาด เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว 8.3 หมื่นราย ลดลงจาก 1.65 แสนรายในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผลกระทบของพายุเฮอริเคนในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้อัตราการว่างงานในเดือนเดียวกันยังทรงตัวที่ 4.4% ซึ่งระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี และน่าจะเป็นระดับที่ถือว่ามีการจ้างงานเต็มที่ (Full employment) เพราะอัตราว่างงานแกว่งตัวอยู่ราว 4.3-4.4% มาประมาณ 5 เดือนแล้ว


  และมีกระแสข่าวเรื่องพายุโซนร้อนลูกใหม่ที่จะเข้าสหรัฐเป็นลูกที่ 4 คือ พายุโซนร้อน Nate ปัจจุบันอยู่ทางตอนใต้ของเม็กซิโก (และจะเพิ่มความรุนแรงเป็นพายุเฮอริเคนในช่วงสุดสัปดาห์นี้) โดยคาดว่าจะเคลื่อนผ่านกลางอ่าวเม็กซิโก ทำให้ล่าสุด บริษัท Chevron, Exxon Mobil, Royal Dutch Shell Plc เริ่มอพยพพนักงานออกจากแท่นขุดเจาะ และเตรียมปิดแท่นขุดเจาะบางแห่ง หลังจากในช่วง ปลายเดือน ส.ค.- ก.ย.2560 สหรัฐได้เผชิญความเสียหายจากพายุ 3 ลูกคือ พายุ Harvey , Irma , Maria ซึ่งสร้างผลกระทบและความเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐ ทำให้โรงงานและโรงกลั่นน้ำมันหยุดทำการราว 6 วัน โดยประเมินความเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐราว 2.2 แสนล้านเหรียญ ซึ่งมีผลทำให้ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวรอบใหม่ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบฟื้นตัวมาที่ 55.15 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลวานนี้ และน่าจะมีแนวโน้มกลับขึ้นไปแตะจุดสูงเดิมที่ 57 เหรียญฯ ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ล่าสุด


สินค้าโภคภัณฑ์ฟื้นทั้ง น้ำมัน ทองแดง แต่ราคาไก่ หมู ทรงกับลง
  นอกจากราคาน้ำมันที่ฟื้นตัวแล้ว พบว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆยังฟื้นตัว คือ ราคาทองแดง และ น้ำตาล กล่าวคือ
ราคาทองแดง วานนี้ฟื้นตัวแรงกว่า 2.7% ล่าสุดอยู่ที่ 6.7 พันเหรียญ/ตัน จากวันก่อนหน้าที่ 6.5 พันเหรียญ/ตัน ขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบกว่า 3 สัปดาห์ ส่งผลให้ราคาเฉลี่ยทองแดงเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 2560 อยู่ที่ราว 5.9 พันเหรียญ/ตัน (สูงกว่าสมมติฐานฝ่ายวิจัยที่ 5.8 พันเหรียญ/ตัน) และเพิ่มขึ้นกว่า 24% จากช่วงเดียวกันของปี 2559 จากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว หนุนปริมาณการใช้ทองแดง ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในสินค้า Consumer goods อาทิ สายไฟ และ แผ่น PCB นอกจากนี้ ปริมาณสต็อกทองแดงโลกล่าสุดอยู่ที่ 2.96 แสนตัน ลดลงจากช่วงปลายเดือน ก.ย. 60 ที่ระดับ 3.13 แสนตัน ซึ่งต่ำกว่าปริมาณสต็อกทองแดงเฉลี่ย 7 ปีย้อนหลังที่ 3.39 แสนตัน สอดคล้องกับทิศทางราคาทองแดงที่ฟื้นตัวขึ้น ประเด็นดังกล่าวกดดันต่อ KCE(FV@B85) ที่มีต้นทุนวัตถุดิบทองแดงราว 10% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด โดยจะกดดันแนวโน้มประสิทธิภาพการทำกำไรของ KCE ในงวด 2H60 จึงยังแนะนำ ขาย และสลับมายัง HANA(FV@B53) ที่กระทบน้อย และ ราคาหุ้นยังมี upside


  ราคาน้ำตาล วานนี้ฟื้นตัวขึ้นมาที่ 14.25 เซ็นต์ต่อปอนด์ เพราะฝนตกชุกในประเทศบราซิล ทำให้เกษตรกรออกไปเก็บเกี่ยวอ้อยได้ลดชั่วคราว หนุนราคาน้ำตาลปรับเพิ่มขึ้นตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้แม้ภาพรวมธุรกิจน้ำตาลในปี 2560/61 ที่สถาบันวิจัยน้ำตาลชั้นนำของโลกหลายแห่งประเมินว่าส่วนเกินผลผลิตน้ำตาลปี 2560/61 จะอยู่ที่ 5-6 ล้านตัน หลังจากที่ขาดดุลน้ำตาลโลกมา 2 ปี จึงเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำตาลโลกระยะกลางและยาว อย่างไรก็ตาม ปริมาณสต็อก น้ำตาลโลกยังอยู่ในระดับต่ำในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จึงอาจจะช่วยหนุนราคาน้ำมันตาลฟื้นตัว แต่น่าจะไม่อาจหักล้างผลผลิตน้ำตาลส่วนเกินดังกล่าวได้ จึงถือเป็นปัจจัยกดดันต่อ KSL(FV@B 5.93) แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณอ้อยที่เพิ่มขึ้น จะหนุนธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ซึ่งใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต ขณะที่คาดว่าต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง น่าจะช่วยให้ KSL ประมูลขายไฟฟ้า SPP Hybrid Firm จำนวน 2 โรง ได้ในราคาต่ำกว่าคู่แข่ง จึงเป็นปัจจัยที่ช่วยลดแรงกดดันเรื่องราคาน้ำตาลที่ยังอยู่ในระดับต่ำไปได้


  ตรงข้ามราคาสินค้าเนื้อสัตว์ในประเทศมีแนวโน้มอ่อนตัว เพราะนอกจากเป็นสู่ฤดูฝนแล้ว ยังเข้าสู่ฤดูการกินเจในอีก 1 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งน่าทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์โดยรวมลดลง แต่ก็เป็นผลกระทบสั้น ๆ ตามผลของฤดกาลเท่านั้น กล่าวคือ
  ราคาเนื้อหมู เดือน ต.ค. อ่อนตัวอีกรอบ หลังจากที่ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2560 โดยขึ้นมาที่ระดับ 60 บาทต่อ กก. เดือน ก.ย. (ราคาหมูที่อ่อนตัวช่วงที่ผ่านมา เพราะ ผลของปริมาณหมูที่เกินความต้องการในประเทศเวียดนาม) โดยล่าสุดราคาหมูได้อ่อนตัวลงมาเหลือ 55 บาทต่อ กก. แต่อย่างไรก็ตามราคาหมูจากต้นปีจนถึงปัจจุบันเฉลี่ย 60 บาทต่อ กก. ยังต่ำกว่าสมมติฐานของ ASPS ที่ 62 บาท ต่อ กก. ไม่มากนัก คาดว่าราคาหมูน่าจะกระเตื้องในช่วงที่เหลืออีก 2 เดือน ตรงนี้ถือว่ากระทบต่อ CPF, TFG ช่วงสั้น ๆ แต่ยังคงประมาณการและคำแนะนำซื้อ


  ราคาเนื้อไก่ เดือน ต.ค. อ่อนตัวลงมาเหลือ 38 บาทต่อ กก. จากที่ 40 กก. ในเดือน ก.ย. และ 39 บาท ในเดือน ส.ค. ทำให้ราคาเฉลี่ยจากต้นปีจนถึงปัจจุบันยังอยู่ 39.9 บาทต่อ กก. ซึ่งสูงกว่าสมมติฐานของ ASPS ที่ 39 บาทเล็กน้อย ถือว่ายังดีต่อ GFPT จึงยังแนะนำซื้อ
และเมื่อพิจารณาค่าเงินที่กลับมาอยู่ในทิศทางอ่อนค่าอีกครั้ง ถือว่าเป็นปัจจัยหนุนหุ้นส่งออก และงวด 3Q60 เข้าสู่ช่วง high season เมื่อพิจารณาราคาไก่ที่มีเสถียรภาพมากกว่าหมู จึงเลือก GFPT เป็น Top pick ของกลุ่ม


ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคดีขึ้นหนุนค่าปลีก BJC, ROBINS, COM7
  ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค(CCI) เดือน ก.ย.2560 (โดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย) เพิ่มขึ้น 0.67%mom ซึ่งถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ( 0.8% ในเดือน ส.ค.2560) ซึ่งเป็นผลจากสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น โดยเฉพาะภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศได้แก่ การส่งออก เดือน ส.ค เพิ่มขึ้น 13.23%yoy สูงสุดในรอบ 55 เดือน ,การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา และประชาชนคลายความกังวลสถานการณ์การเมือง


  การฟื้นตัวของดัชนีความเชื่อมั่น นับว่าสอดคล้องกับการฟื้นตัวของผู้ประกอบการในกลุ่มค้าปลีก-ค้าส่ง ซึ่งจากการสอบถามผู้ประกอบการถึงการเติบโตยอดขายสาขาเดิม (SSSG)ในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. มีแนวโน้มที่ดีขึ้น เช่น BJC เดือน ก.ค. (SSSG) เพิ่มขึ้น 6% และเพิ่มขึ้นเดือน 10% ใน ส.ค. และ ก.ย. ทำให้งวด 3Q60 SSSG เติบโตเฉลี่ย 8-9% YoY เทียบกับที่หดตัว 15.2%YoY ใน 2Q60 ตามด้วย HMPRO คาด SSSG ในเดือน 3Q60 จะเพิ่มขึ้น 1-2%YoY จากหดลง 4.7% ใน 2Q60 CPALL เพิ่มขึ้น 1-2%YoY จากหดตัว 1%YoY ใน 2Q60 และ TNP คาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 1-2%YoY จากเพิ่มขึ้น 0.1%YoY ใน 2Q60


  และ ที่มีการเติบโตของ SSSG โดดเด่นและต่อเนื่อง คือ BEAUTY ซึ่งคาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 10-15%YoY จากเพิ่มขึ้น 20.8%YoY ใน 2Q60 และ COM7 คาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 10%-15%YoY จากเพิ่มขึ้นราว 12%YoY ใน 2Q60
  อย่างไรก็ตาม อาจจะยังมีบางรายที่ฟื้นตัวช้ากว่ากลุ่ม อาทิ MAKRO และ ROBINS น่าจะมียอดขายสาขาเดิมหดตัวเท่าๆกันที่ราว 1%YoY แต่เป็นอัตราที่น้อยลงจากงวด 2Q60 คือ MAKRO ลดลง 1.4%YoY และ ROBINS ลดลง 2%YoY


CCI ถือเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสำคัญ
  ประการหนึ่ง ซึ่งน่าจะหนุนให้ยอดขายสาขาเดิมยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องในงวด 4Q60 เป็นไตรมาสที่ 2 ต่อเนื่องจากไตรมาส 3 ที่ฟื้นตัวดังกล่าวข้างต้น ด้วยเหตุนี้จึงชอบหุ้นที่มี SSSG กลับมาเติบโตเร็วกว่าผู้ประกอบการในกลุ่มเดียวกัน และกำไรที่ยังเติบโตโดดเด่นในปี 2560 ต่อเนื่องถึง 2561 แต่เนื่องจากราคาหุ้นส่วนใหญ่เกิน Fair Value ปี 2560 จึงให้มองข้ามไปใช้ปี 2561 อาทิ BEAUTY([email protected] ปี 2561 FV@B20), BJC(FV@B50, ปี2561 FV@B60), COM7 ([email protected] ปี2561 FV@B19) และเลือกเป็น Top picks


ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาค แต่ขายกลุ่ม TIP
  วานนี้ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ยังคงหยุดทำการ (เปิดทำการวันที่ 10 ต.ค. 60) แต่ตลาดหุ้นอื่นๆ ยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า แม้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 43 ล้านเหรียญ แต่เป็นการซื้อสุทธิอยู่ประเทศเดียว คือ ไต้หวันซื้อสุทธิ 104 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิวันเดียว) ส่วนตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ถูกขายสุทธิทุกประเทศ นำโดยอินโดนีเซียขายสุทธิ 33 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 26 วัน), ฟิลิปปินส์ 1 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) และไทย 27 ล้านเหรียญ หรือ 905 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ต่างกับสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 408 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศสลับมาซื้อสุทธิ 1.16 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 2.93 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 8 วัน)

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!