- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 25 August 2014 16:37
- Hits: 2541
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แนะนำให้ปรับลดพอร์ตหุ้นเป็นรายตัว และถือหุ้นไม่เกิน 40% โดยยังแนะนำถือหุ้นที่มีกำไรดีในงวด 2H57 (HANA(FV@B44), SRICHA([email protected]) และ GFPT(FV@B18)) และวันนี้เลือก INTUCH(FV@B100) มีกำไรเด่นในงวด 2H57 และเงินปันผลสูงสุดในกลุ่ม ICT
ผลประชุม Jackson Hole ยังหนุนการขึ้นดอกเบี้ยงวด 1H58
ผลการประชุมแจ็คสัน โฮล ในระหว่างปลายสัปดาห์ที่แล้ว (21 - 23 ส.ค.) ไม่ได้สร้างความประหลาดใจต่อตลาดมากนัก โดยธนาคารกลางแต่ละแห่ง ยังคงมุ่งให้ความสำคัญต่อความแข็งแกร่งตลาดแรงงาน ก่อนที่จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในกลางปีหน้า
สหรัฐ จากถ้อยแถลงของนางเยลเลน ที่ยังคงมีมุมมองคล้ายๆ เดิม และยังไม่มีกรอบเวลาชัดเจนของการขึ้นดอกเบี้ย ทั้งนี้ยังต้องการเห็นตลาดแรงงานฟื้นตัวกว่าในปัจจุบัน โดยประเด็นที่ยังกังวลคือ อัตราค่าจ้างยังทรงตัว การมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานต่ำ และการจ้างงาน Part-time ยังอยู่ในระดับสูง (เพราะแรงงานไม่สามารถหางานแบบ Full-time ได้) โดยจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะทำให้มีการขึ้นดอกเบี้ยน่าจะพุ่งเป้าไปที่อัตราการว่างงานต้องลดลงต่ำกว่า 6% หรือใกล้เคียงระดับก่อนเกิดวิกฤติซับไพร์ม ที่ 5.5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2% (เดือน ก.ค. อยู่ที่ 2% และ 1.4%ytd) ซึ่งทำให้การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอาจล่าช้าออกไป และยังคงใช้ดอกเบี้ยระดับต่ำ 0 - 0.25% ต่อไปอีกระยะหนึ่ง หลังจากสิ้นสุดมาตราการ QE ราวเดือน ต.ค.
ขณะที่ ประธาน FED สาขาต่างๆ (Fed Bullard, Fed St. Louis, Fed Lockhart และ Fed StanFord) แสดงความเห็นว่าต่อแนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐ น่าจะมีโอกาสปรับขึ้นเร็วกว่าตลาดคาด โดยน่าจะเกิดในช่วง 1Q58-2Q58 ซึ่งมองว่าไม่น่าจะส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจ สหรัฐ แต่ประเทศกำลังพัฒนา จะต้องปรับตัวไปตามนโยบายการเงินของสหรัฐ และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของตนเอง
อังกฤษ เช่นเดียวกัน ทางธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ที่ยังให้ความสำคัญกับตลาดแรงงานและอัตราเงินเฟ้อใกล้ชิด ถึงแม้ว่าอัตราการว่างงานเดือนล่าสุด จะลดลงมาที่ระดับ 6.97% (ต่ำกว่าเป้าหมายเบื้องต้นที่ 7%) แต่ยังสูงกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติที่ 5.2% รวมถึงยังกังวลต่อเศรษฐกิจอังกฤษ หลังจากฟื้นตัวจากครั้งวิกฤติการเงินที่ผ่านมา ดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ยจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยคาดว่าการขึ้นดอกเบี้ยน่าจะใกล้เคียงกับสหรัฐ
และเช่นเดียวกับ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะยังไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในเร็วๆนี้ เนื่องจาก ECB ต้องการใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง เพื่อดูผลของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดที่ได้ประกาศใช้ในเดือน มิ.ย. คือ การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำเป็นประวัติการณ์ ลดลง 0.1% เหลือ 0.15% และการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำระยะยาว (Target LTRO) ซึ่งประธาน ECB คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ตามที่ตั้งใจไว้ได้
เช่นเดียวกับญี่ปุ่น คาดว่าการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ จากผลกระทบของการขึ้นภาษีขายอีก 3% เมื่อเดือน เม.ย. น่าจะกดดัน GDP Growth ในช่วงที่เหลือของปีนี้ หลังจากที่มีการเร่งบริโภคในช่วง 1Q57 ขณะที่ภาวะการขาดแคลนแรงงานยังคงมีอยู่ (อัตราการเกิดอยู่ในระดับต่ำ) แม้ล่าสุดได้เปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในตลาดแรงงาน พร้อม ๆ กับแรงงานต่างชาติ เพิ่มเติม อย่างไรก็ตามคาดว่า BOJ จะยังไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น นอกจากการปรับลดภาษีนิติบุคคลที่ปัจจุบันสูงถึง 35% ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายในสิ้นปี 2557 และยังคงใช้มาตรการ QE 60-70 ล้านล้านเยนต่อปี ต่อไป
โดยสรุป ประเทศพัฒนายังคงผ่อนคลายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นเดิม และยังไม่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในเวลาอันใกล้นี้ แต่อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นโลก น่าจะตอบสนองไปค่อนข้างมากแล้ว สะท้อนจากที่ตลาดหุ้นหลักๆ ได้ฟื้นกลับมาที่เดิมเกือบทุกตลาด ทั้งสหรัฐ และเอเซีย ยกเว้น ตลาดหุ้นยุโรป เท่านั้น เชื่อว่าน่าจะมีแรงขายทำกำไรระยะสั้น ๆ ในตลาดหุ้นสหรัฐ และเอเซีย
เงินทุนต่างชาติกลับมาอีกครั้ง หลัง Jackson Hold ไม่มีอะไรใหม่
วันศุกร์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 สูงถึง 602 ล้านเหรียญฯ และเพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าจากวันก่อนหน้า ทั้งนี้ยอดซื้อหลักมาจากไต้หวัน ที่ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6 สูงถึง 484 ล้านเหรียญฯ และเพิ่มขึ้นเกือบ 7 เท่า ตามมาด้วยเกาหลีใต้ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ราว 97 ล้านเหรียญฯ และเพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่า เช่นเดียวกับไทยที่ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 ราว 21 ล้านเหรียญฯ (662 ล้านบาท, วันก่อนหน้าซื้อสุทธิเพียง 18 ล้านบาท) และอินโดนีเซียซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3 แต่ลดลง 83% จากวันก่อนหน้า เหลือราว 6 ล้านเหรียญฯ สวนทางกับฟิลิปปินส์ที่กลับมาเปิดทำการอีกครั้ง และสลับมาขายสุทธิราว 7 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 2 วันก่อนหน้า)
ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมาเข้ามาซื้ออย่างหนักอีกครั้งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ในขณะที่ผลการประชุมแจ๊คสัน โฮล ที่ออกมาไม่มีอะไรใหม่ โดยคาดว่าการขึ้นดอกเบี้ยน่าจะเกิดขึ้นในงวด 1H58 จึงน่าจะหนุนต่างชาติ สลับซื้อ-ขาย หลังจากที่ได้ชะลอการซื้อในช่วง 3 สัปดาห์ก่อนหน้านี้
ค่าการกลั่นแตะ 5 เหรียญฯ หนุน BCP ขึ้นมาใกล้ FV แล้ว
หลังจากที่ค่าการกลั่นได้เผชิญกับภาวะตกต่ำ 2-3 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ในช่วงปลายเดือน ก.ค. - ต้นเดือน ส.ค. ล่าสุดพบว่าค่าการกลั่นได้ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เวลาเพียง 1 สัปดาห์ค่าการกลั่นสามารถขยับขึ้นมาแตะ 5 เหรียญฯต่อบาร์เรล เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าส่วนสำคัญน่าจะมาจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับน้ำมันสำเร็จรูป กล่าวคือ น้ำมันดิบดูไบได้ลดลงจากระดับ 105-107 เหรียญฯ ลงมาเหลือต่ำกว่า 100 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเหตุผลหลักมาจากความกังวลว่า supply น้ำมันดิบจะกลับมาเพิ่มสูงขึ้น หลังจากที่ลิเบียได้เริ่มการส่งออกน้ำมันจากท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปี หลังผลการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มกบฎเป็นผลสำเร็จ ส่งผลให้มี supply น้ำมันโลกเพิ่มขึ้นอีกกว่า 5.6 แสนบาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่เคยต่ำกว่า 5 แสนบาร์เรลในช่วงครึ่งปีแรก นอกจากนี้ ปัจจัยด้าน demand ก็ถูกกดดันเนื่องจากฤดูกาลขับขี่ท่องเที่ยวในสหรัฐ (โดยปกติแล้วจะดำเนินไปจนถึงวันแรงงาน ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 1 ก.ย.) กำลังจะสิ้นสุดลง ซึ่งหมายความว่าความต้องการใช้น้ำมันของสหรัฐ (ซึ่งเป็นประเทศที่มีการใช้พลังงานมากที่สุดในโลก) กำลังจะอ่อนแรงลง
นอกจากนี้ คาดว่าน่าจะเป็นผลจากที่โรงกลั่นบางส่วนได้ปิดตัวลงในช่วงที่ค่าการกลั่นต่ำกว่า 3 เหรียญฯ ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าจุดคุ้มทุน ในสถานการณ์นี้นับว่าเป็นผลดีต่อ BCP (FV@B 36) ซึ่งเน้นโรงกลั่นเป็นหลัก มีสัดส่วน 75% ของรายได้ ที่เหลือเป็น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (เตรียมขยายกำลังการผลิตเต็มที่ทั้ง 3 Phases ในงวด 2H57 เป็น 118 เมกะวัตต์ (เทียบกับ 70 เมกะวัตต์ ในปี 2556) และ TOP (FV@B 56) สัดส่วนรายได้จากโรงกลั่น 65% ที่เหลือเป็นปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ 25% (อีก 10% เป็นท่าเรือ เอทานอล และโรงไฟฟ้า) แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่สังเกตว่าราคาหุ้น BCP ได้ปรับตัวขึ้นเกือบ 20% ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จนราคาตลาดใกล้เคียงกับ Fair Value หรือเหลือ upside 6% นักลงทุนที่มีหุ้นตามคำแนะนำของ ASP แนะนำให้ขายทำกำไรระยะสั้น หรือ อาจจะถือรอราคาหุ้นเข้าใกล้ Fair Value นอกจากนี้ยังมีข่าวบวกในเรื่องที่ PTT ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น BCP (27.22%) เตรียมขายหุ้นออก ซึ่งคาดว่าราคาไม่น่าจะแตกต่างจากราคาปัจจุบันมากนัก โดยน่าจะ switch จาก BCP มาเข้า TOP แม้ว่าผลประกอบการในปี 2557 จะหดตัวราว 13% (จากภาวะตกต่ำของอะโรเมติกส์ และ การปิดซ่อมบำรุงโรงงาน) แต่คาดว่าจะกลับมาเติบโต 16.3% ในปี 2558 เพราะไม่ต้องซ่อมบำรุงเหมือนในปี 2557 และคาดว่าโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะสามารถเดินหน้าผลิตครบ 3 เฟส ที่สำคัญราคาหุ้น TOP มี Expected P/E ต่ำเพียง 10 เท่า ในปี 2557 และจะลดเหลือ 8.6 เท่า ในปี 2558 ขณะที่ให้เงินปันผลเฉลี่ยสูงถึง 5%
ADVANC, INTUCH, THCOM โดดเด่น 2H57 และต่อเนื่องปีหน้า
วันนี้ขอนำเสนอหุ้นที่คาดว่าจะมีผลกำไรโดดเด่นในงวด 2H57 เมื่อเทียบกับงวด 1H57 เพิ่มเติม หลังจากที่นำเสนอหุ้นในเกษตร-อาหาร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และภาคก่อสร้าง โดยวันนี้ขอนำเสนอหุ้นสื่อสาร ซึ่งรายละเอียดแต่ละหุ้นสรุปได้ดังนี้คือ
DTAC (ซื้อ : FV@B 122) หลังจากกำไรงวด 2Q57 อ่อนตัวลง เพราะปัจจัยกดดันจากการเมืองในประเทศ และคาดว่างวด 2Q57 น่าจะเป็นจุดต่ำสุดของปีนี้แล้ว (กำไร 6M57 คิดเป็น 47% ของประมาณการทั้งปี 2557) ทั้งนี้คาดว่ากำไร 2H57 จะดีขึ้นกว่า 1H57 ตามกำลังซื้อที่ปรับตัวดีขึ้น หลังการเมืองคลี่คลาย รวมทั้งการโอนย้ายลูกค้าจาก 2G ไป 3G ปัจจุบันอยู่ที่ 68% ของฐานลูกค้าทั้งหมด จะช่วยลดสัดส่วนต้นทุนการดำเนินงานลง จากเดิม 25/30% ของรายได้ (2G) ลงเหลือ 5.25% ของรายได้ (3G) ขณะที่ผลการพิจารณาของ ปปช. ล่าสุด ไม่พบว่ามีความผิดปกติในการประมูลคลื่น 3G จึงคาดว่าการประมูล 4G (คลื่น 1800 และ 900) น่าจะเกิดขึ้นได้ภายใน 2558 แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าจะไม่กระทบต่อ DTAC เลย เพราะ DTAC ยังมีคลื่น 2100 เหลืออยู่ สามารถนำมาพัฒนา 4G ซึ่งขณะนี้ DTAC เป็นผู้พัฒนา 4G ตามหลัง TRUE โดยรวมปี 2557 DTAC มีการเติบโตของกำไรสูงถึง 25% จากฐานต้นทุนส่วนแบ่งรายได้ที่สูงสุด แต่คาดว่าจะเติบโตเหลือ 11% ในปี 2558 ความน่าสนใจจึงด้อยลงไป
ADVANC (ซื้อ: FV@B 250) เช่นเดียวกับ DTAC กำไรงวด 2Q57 อ่อนตัวลงจากงวด 1Q57 นอกจากต้นทุนโครงข่ายเพิ่มแล้ว ปัจจัยกดดันจากการเมืองในประเทศยังบั่นทอนกำลังซื้อของผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าผลกำไรจะดีขึ้นในครึ่งปีหลังของปีนับตั้งแต่งวด 3Q57 จากความสามารถโอนย้ายลูกค้าจาก 2G ไป 3G ได้ตามเป้าหมาย (อยู่ที่ 80% ของลูกค้าทั้งหมด ณ 2Q57) ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนดำเนินงานในลักษณะเดียวกับ DTAC เชื่อว่าปัจจัยกดดันจากการเลื่อนประมูล 4G ออกไป 1 ปีจากนี้ น่าจะสะท้อนในราคาหุ้นไปแล้ว และ กรณีที่เลวร้ายคาดว่าจะกระทบต่อฐานลูกค้าราว 1-2% (ทั้งหมด 42 ล้านราย) จึงกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรน้อยมาก เทียบกับปี 2557 และปี 2558 ที่คาดว่าจะกำไรได้ 3.63 หมื่นล้านบาท และ 4.23 หมื่นล้านบาท ทรงตัวจากปี 2556 และ เติบโต 15% ตามลำดับ โดยในปี 2558 ADVANC จะกลับมาเติบโตมากกว่า DTAC และเมื่อบวกกับการจ่ายเงินปันผล 6% ต่อปี ทำให้ระยะกลาง – ยาว ยังชอบ ADVANC มากกว่า DTAC
THCOM (ซื้อ : FV@B 50) หลังจากพลิกจากขาดทุนมาเป็นกำไรตั้งแต่ปลายปี 2554 พบว่ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าในช่วงที่เหลือ 6 เดือนหลังของปีนี้น่าจะสดใส เพราะสามารถยิงดาวเทียมไทยคม 6 ขึ้นสู่วงโคจรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในเช่าดาวเทียมมาให้บริการชั่วคราว) และในงวด 2H57 คาดว่าจะเริ่มบันทึกรายได้และกำไรจากดาวเทียมดวงที่ 7 ซึ่งเป็นดวงใหม่ขึ้นสู่วงโคจรแล้ว เมื่อ ส.ค. 57 (ไม่ได้ให้บริการแพร่ภาพ เหมือนดาวเทียมดวง 5 และ 6) และมียอดจองใช้งาน 50% เกินจุดคุ้มทุนแล้ว (40-45% ของกำลังการให้บริการ) โดยได้มีการย้ายลูกค้าที่ไม่ใช้บริการแพร่ภาพ จากที่ใช้บริการไทยคม 5 มาใช้ดาวเทียม 7 แทน) โดยรวมคาดว่าปีนี้จะทำกำไรสุทธิ 1.8 พันล้านบาท เติบโตมากถึง 67% และถือว่าสูงสุดในกลุ่ม ICT ส่วนในปี 2558 จะเริ่มกลับมาเติบโตในระดับปกติคือ 12.24% ขณะที่มูลค่าพื้นฐาน (อิง DCF) อยู่ที่ 50 บาท ยังมี Upside มากถึง 41% แม้ราคาปัจจุบันจะมี Expected P/E 20 เท่า แต่จะลดลงเหลือ 18 เท่าในปีหน้า ซึ่งยังนับว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 23 เท่า ของหุ้นประเภทเดียวกันในต่างประเทศ
INTUCH (ซื้อ : FV@B100) กำไรสุทธิงวด 2Q57 อ่อนตัวลงจากงวดก่อนหน้า แต่เป็นไปตามคาด โดยเป็นการลดลงตามธุรกรรมของบริษัทย่อย คือ ADVANC (ถือหุ้น 40.45%) ยกเว้น THCOM (ถือหุ้น 41.14%) ที่ผลกำไรดีขึ้นดังกล่าวข้างต้น แต่อย่างไรก็ตามคาดว่า ผลกำไรจะ ดีขึ้นในช่วง6 เดือนที่เหลือ ตามการฟื้นตัวของ ADVANC และ THCOM จากส่งดาวเทียมไทยคม 7 ซึ่งเป็นดวงใหม่ขึ้นสู่วงโคจร เมื่อ ส.ค. ที่ผ่านมา ดังกล่าวข้างต้น โดยรวมแม้ในปีนี้จะมีกำไร 1.47 หมื่นล้านบาท ทรงตัว จากปี 2556 แต่คาดว่าปีหน้าจะกลับมาเติบโตที่ 17% ทั้งนี้ประเมินมูลค่าหุ้นของ INTUCH โดยอิง NAV ตามมูลค่าพื้นฐานบริษัทย่อย (ADVANC 250 บาท และ THCOM 50 บาท) อยู่ที่ 100 บาท จะเห็นว่ามี upside สูง 41.3% แล้ว และยังจ่ายเงินปันผลสูง 6.4% สูงสุดในกลุ่ม ICT ที่ 6.4% ยังยืนยันคำแนะนำ “ซื้อ” (เพิ่งขึ้นเครื่องหมาย XD 22 ส.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเงินปันผลระหว่างกาล (เม.ย. ส.ค. 2557) หุ้นละ 2.23 บาท เทียบกับเงินปันผล 2.2 บาทในงวด ม.ค. –มี.ค. ที่ผ่านมา)
TRUE (ถือ : [email protected]) ผลประกอบการมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับในงวด 1H57 และมีแนวโน้มจะดีขึ้นต่อเนื่องในงวด 2H57 ส่วนหนึ่งเกิดจากต้นทุนการเงินที่ลดลง หลังจากประสบความสำเร็จในการเพิ่มทุน โดยได้รับการสนับสนุนจาก คือ China Mobile (ถือหุ้น 18% ของทุนเรียกชำระล่าสุด) โดยเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนราว 80% หรือ 5.2 หมื่นล้านบาท ได้นำไปจ่ายคืนเงินกู้ระยะยาวทั้งหมด ทำให้สามารถลดดอกเบี้ยจ่ายลงได้ 4.0 พันล้านบาทต่อปี และน่าจะลดชัดเจนตั้งแต่ไตรมาส 4 เป็นต้นไป นอกจากนี้ คาดว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการบันทึกค่าตัดจำหน่ายสิทธิใช้อุปกรณ์สัมปทานคลื่น 1800 (2G) จะหมดไป ตามอายุสัญญาณสัมปทาน ตั้งแต่ 15 ก.ย. 57 (ไตรมาสละ 1.6 พันล้านบาท) ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยน่าจะหนุนให้ผลประกอบการพลิกฟื้นกลับมามีกำไรปกติได้เป็นครั้งแรกในงวด 4Q57 ซึ่งเป็นผลทำให้นักวิเคราะห์ ASP ปรับเพิ่มประมาณการของ TRUE จากเดิมที่คาดว่าจะขาดทุน 8.63 พันล้านบาท เหลือ ขาดทุนปกติ 6.042 พันล้านบาท ส่วนในปี 2558 ปรับเพิ่มจากเดิม 7% เป็น 4.052 พันล้านบาท แต่เนื่องจากราคาหุ้นได้ขึ้นมาตอบรับความคาดหวังในเชิงบวก จึงปรับเพิ่ม Fair Value ขึ้นจากเดิมหุ้นละ 9 บาท เป็น 10.8 บาท แต่อย่างไรก็ตามราคาหุ้นมี Expected P/E สูงมากถึง 67 เท่า ในปี 2558 และแม้จะลดลงในปี 2559 เหลือ 36 เท่าแต่ยังแพงที่สุดในกลุ่มจึงปรับลดคำแนะนำจากเดิม ซื้อเป็นถือ
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล