- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 29 September 2017 16:49
- Hits: 1429
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนียังอยู่ในช่วงพักฐาน หลังเผชิญแนวต้าน 1675 จุด แต่โอกาสฟื้นตัวต่อ ด้วยแรงหนุนของการฟื้นตัวเศรษฐกิจในประเทศ สะท้อนจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจมีสัญญาณดีขึ้นตามลำดับ และเงินบาทอ่อนค่า หนุนหุ้นส่งออก กลยุทธ์เลือกหุ้นมีผลกำไรเด่นใน 3Q60 (HANA, GFPT, VNG, CPF, BCH, MCS, THANI) หรือหุ้นมี upside และยัง Laggards (THCOM, INTUCH, VGI, PTTEP) Top picks ยังชอบ HANA(FV@B53), GFPT([email protected]) วันนี้เพิ่ม THANI([email protected]) โดดเด่น ตามสัญญาณเศรษฐกิจประเทศที่ดีขึ้น และผลกำไรเด่นในงวด 3Q60
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย.....กลุ่มพลังงานและ ธ.พ. กดดันตลาดหุ้นไทย
วานนี้ SET Index แกว่งผันผวนในกรอบ 1660-1675 จุด โดยช่วงเช้าดัชนียังสามารถเคลื่อนไหวในแดนบวก แต่ช่วงบ่ายเห็นการปรับตัวลงลึกเกือบ 10 จุด ก่อนช่วงท้ายของตลาดจะดีดกลับขึ้นมาปิดที่ 1666.36 จุด ลดลง 3.91 จุด หรือ 0.23% มูลค่าการซื้อขาย 6.15 หมื่นล้านบาท แรงกดดันมาจากหุ้น Maket Cap. ใหญ่ในกลุ่มพลังงาน/ปิโตรเคมี คือ PTT ลดลง 0.96%, PTTEP ลดลง 0.28% PTTGC ลดลง 1.60%, IRPC ลดลง 0.80% และ IVL ลดลง 1.76% อีกกลุ่มที่ปรับลดลงต่อเนื่อง คือ ธนาคารพาณิชย์ ทั้ง KBANK BBL SCB KTB ลดลง 1.44%, 0.54%, 0.65%, 0.53% ตามลำดับ อาจเพราะ ตลาดยังกังวลต่อความสามารถในการดำรงอัตราเงินกองทุนฯ ขั้นที่ 1 ตามเกณฑ์ของ Basel III ให้ได้ 12% ในปี 2562 ซึ่งปัจจุบันทั้ง 5 ทำได้เกินเกณฑ์แล้ว (รายละเอียด Market Talk 27 ก.ย.) ขณะที่แนวโน้มการทำกำไรจะดีขึ้นตามลำดับในงวด 2H60 และ ปี 2561 ตามวงจรการลงทุนรอบใหม่ จึงให้น้ำหนักการลงทุนธนาคารพาณิชย์มากกว่าตลาด ยังเลือก SCB เป็น Top pick
อีกกลุ่มที่ปรับตัวลงคือกลุ่มโรงพยาบาลคือ BDMS ลดลง 1.45%, CHG -1.60% และ LPH -0.59% อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยยังคงแนะนำ LPH เพราะคาดตั้งแต่งวด 3Q60 เป็นต้นไป กำไรจะเติบโตแรงอย่างต่อเนื่อง จากการเปิด Excellence Center ช่วยเพิ่มสัดส่วนรายได้ผู้ป่วยเงินสด และจำนวนเตียงที่เพิ่มจากแผนซื้อโรงพยาบาลภาคตะวันออก และสร้างโรงพยาบาลลาดพร้าว ลำลูกกา จะแล้วเสร็จปี 2563 นอกจากนี้ธุรกิจห้องปฏิบัติการวิจัยก็มีแนวโน้มที่ดี ช่วยเสริมรายได้และกำไรได้เป็นอย่างดี
ส่วนกลุ่มที่ปรับตัวขึ้นสวนทางตลาด คือ กลุ่มค้าปลีก ทั้ง CPALL, BEAUTY และ MAKRO เพิ่มขึ้น 0.38% 5.26% และ 0.74% อีกกลุ่มที่ปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่องคือ กลุ่มชิ้นส่วนฯ อย่าง SPPT SMT และ HANA เพิ่มขึ้น 3.42%, 11.70% และ 3.19
ส่วนแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดยังพักฐานต่อโดยมีแนวต้านสำคัญที่ 1675 จุด และมีแนวรับ 1658 จุด
เงินเอเชียยังมีทิศทางอ่อนค่า หากประเทศพัฒนาแล้วเดินหน้าใช้นโยบายการเงินเข้ม
เชื่อว่าการใช้นโยบายการเงินในฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว มีแนวโน้มชัดเจนมากขึ้น เนื่องจาก เงินเฟ้อสูงที่สูงขึ้น และอยู่ในระดับที่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ดังเช่น อังกฤษ (เงินเฟ้อ 2.9% เทียบกับดอกเบี้ยฯ 0.25% ) และยุโรปในวันนี้ คาดรายงานอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. จะเพิ่มเป็น 1.7%yoy จาก 1.5% (เงินเฟ้อ 1.7% เทียบกับดอกเบี้ยฯ 0%) กดดันให้มีโอกาส ใช้นโยบายการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งน่าจะหนุนให้สกุลเงินประเทศเหล่านี้มีแนวโน้มแข็งค่า
ขณะที่ ญี่ปุ่น หลังจากวานนี้ นายชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ประกาศยุบสภา และคาดว่าจะจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 22 ต.ค.60 คาดว่าอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้นโยบายการเงินตึงตัวเร็วขึ้น กว่าเดิมที่ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะหันมาใช้นโยบายการเงินเข้มงวดหลัง เม.ย. ปีหน้า เมื่อนายกรัฐมนตรี ชินโสะ อาเบะ พ้นจากตำแหน่ง เมื่อครบวาระบริหาร เม.ย. 2561 เนื่องจากเงินเฟ้อเดือน ส.ค. อยู่ที่ 0.7%yoy หลังจากทรงตัวที่ 0.4% ต่อเนื่องกัน 4 เดือนก่อนหน้า เทียบกับกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดลบ 0.1% อย่างไรก็ตาม ขึ้นกับแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2561 ซึ่งมีการประเมินว่าจะชะลอตัวเหลือ 0.6%yoy จากที่เติบโต 1.3% ปีนี้
โดยภาพรวมประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มใช้นโยบายการเงินเข้มงวด ขณะที่ประเทศในแถบเอเซียที่เศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะฟื้นตัวจึงยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป ทำให้ค่าเงินเอเชียยังคงมีทิศทางอ่อนค่า ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนุนหุ้นส่งออก
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจด้านการลงทุนไทยยังฟื้นตัวต่อเนื่อง
เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง ล่าสุดนอกจากการส่งออกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง กล่าวคือ ยอดส่งออก เดือน ส.ค.ขยายตัว 13.2%yoy สูงสุดในรอบ 4 ปี 7 เดือน (เฉลี่ย ม.ค.-ส.ค. โต 8.9%) แล้ว ดัชนีชี้นำการลงทุนเอกชนที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง เห็นได้จากยอดขายปูนซิเมนต์ในประเทศ ขยายตัว 6.1%yoy (สูงสุดในรอบ 17 เดือน) และดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือนเดียวกันเพิ่ม 3.2%yoy ขยายตัว 2 เดือนติดต่อกัน สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนเดียวกันพลิกกลับมาขยายตัว 1.3%mom อยู่ที่ 85 จุด หลังจากก่อนหน้าชะลอลง 5 เดือนติดต่อ
การฟื้นตัวทั้ง 2 ส่วน น่าจะหนุนการผลิตในประเทศ ซึ่งน่าจะทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตมีแนวโน้มเพิ่มจากจากเฉลี่ย 8M60 อยู่ราว 61% ในระยะถัดไป
นอกจากนี้ แนวโน้มการลงทุนเอกชนรอบใหม่ หลังจากมีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน BOI สิ้นสุด มิ.ย. 2560 สูงถึง 3 แสนล้านบาท เพิ่มจากงวด 1Q60 ที่มียอดเพียง 6 หมื่นล้านบาท และ 46% ของยอดเงินที่ขอ BOI ทั้งหมด เป็นการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรม S curve และ New S curve ปัจจัยเหล่านี้ล้วนช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อเอกชนให้เดินหน้าลงทุน ทำให้เชื่อว่าการลงทุนภาคเอกชนนับจากนี้จะมีน้ำหนักมากขึ้น และจะเป็นเครื่องจักรหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวที่ 3 ควบคู่กับการส่งออกและการลงทุนภาครัฐ ซึ่งจะทำให้แนวโน้ม GDP Growth ปี 2560 มีโอกาสเกินระดับ 3.5%yoy เป็นไปได้สูง(1H60 โต 3.7%yoy) และปี 2561 คาดแตะ 4%yoy ซึ่งสอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และอินเดีย ยกเว้นจีน ที่เศรษฐกิจอาจจะเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวในปีหน้า
ต่างชาติขายหุ้นทุกแห่งในภูมิภาค
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 ด้วยมูลค่าราว 596 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ นำโดยไต้หวัน 284 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ 124 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วย ฟิลิปปินส์ 50 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3), อินโดนีเซีย 52 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานกว่า 21 วัน) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 86 ล้านเหรียญ หรือ 2.85 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 1.15 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน)
แม้แรงขายดังกล่าวจะส่งผลให้เดือน ก.ย. นี้ เป็นเดือนที่ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคมากที่สุด เมื่อเที่ยบกับเดือนอื่นๆที่ผ่านมา ด้วยมูลค่ารวมกว่า 3.72 พันล้านเหรียญ (mtd) ในทางกลับกันตลาดหุ้นไทยกลับได้รับความสนใจมากขึ้น และยังเป็นตลาดหุ้นแห่งเดียวในภูมิภาคที่ถูกต่างชาติซื้อสุทธิกว่า 220 ล้านเหรียญ หรือ 7.27 พันล้านบาท (mtd) รวมทั้งเดือน ก.ย. ยังเป็นเดือนที่ต่างชาติซื้อหุ้นไทยมากที่สุดในปีนี้
กลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้นส่งออก/กำไรเด่นงวด 3Q60 MCS, THANI
SET Index ยังไม่ผ่านแนวต้าน 1675/1680 จุดไปได้ และเริ่มเห็นการปรับฐาน อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวลมากนัก เนื่องจากตั้งแต่ 28 ส.ค. เป็นต้นมา ตลาดฯ ปรับขึ้นจากบริเวณ 1580 จุด ขึ้นไปทำจุดสูงสุดใกล้ๆ 1680 จุด หรือมากกว่า 6% ดังนั้น การพักฐานของดัชนีในรอบนี้น่าจะลงมาได้ถึง 1660 หรือไม่น่าต่ำกว่า 1650 จุด เพื่อเตรียมขึ้นทดสอบ 1700 จุด ในช่วงปลายปี ดังนั้น จังหวะที่ดัชนีปรับลง น่าจะโอกาสดีในการทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดี มีปัจจัยบวกสนับสนุน คือ
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท แนะนำ HANA(FV@B53), VNG (FV@B14), GFPT (FV’61@B23), CPF([email protected])
หุ้นที่แนวโน้มผลประกอบการ 3Q60 และ 2H60 เติบโตโดดเด่น THANI ([email protected]) MCS (FV@B19) LPH ([email protected]) TSTH ([email protected]) ERW ([email protected])
นอกจากนี้ ยังมีหุ้นที่แนวโน้มผลประกอบการ 3Q60 และ 2H60 เติบโตโดดเด่น รวมทั้งมี upside มากกว่า 10% และมี Beta มากกว่า 1 เพื่อคาดหวังการฟื้นตัวมากกว่าตลาดฯ หลังปรับฐานเสร็จ ดังตารางด้านล่าง
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636