- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 31 August 2017 15:42
- Hits: 1810
บล.เอเชีย เวลท์ : Daily Market Outlook
ตัวเลข GDP สหรัฐแข็งแกร่งมาก
คาดหุ้นไทยเดินหน้าวันนี้ หนุนโดยความต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกพุ่งขึ้นรับตัวเลข GDP แข็งแกร่งผิดคาดของสหรัฐ และตัวเลข PMI ของจีนที่ออกมาดีเช่นกัน รวมถึงปัจจัยภายในประเทศวันนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นบวก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยกดดันตลาดยังคงอยู่คือความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับเกาหลีเหนือ การเมืองสหรัฐที่ยังขวางการปฏิรูปภาษีของทรัมป์ และการปรับเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะสหรัฐ ตลอดจนราคาน้ำมันที่อ่อนตัวจากพายุเฮอริเคนฮาร์วี ภายในประเทศ แผนลงทุน 5 ปี ร่วมรัฐ-เอกชน 1.62 ล้านล้านบาทพร้อมจะให้ครม. อนุมัติแล้ว เม็ดเงินต่างประเทศที่ไหลเข้าล่าสุดเกิดจากปัจจัยการเมืองในประเทศลดแรงกดดันลงในขณะที่เศรษฐกิจในประเทศก็ดีขึ้นชัดเจน
หุ้นเด่นวันนี้ : BANPU (ราคาปิด 17.40 บาท; NR; Bloomberg TP Bt21.81)
ผลประกอบการของ BANPU ในปีนี้จะฟื้นตัวจากราคาถ่านหินที่ปรับขึ้นต่อเนื่องและส่วนแบ่งรายได้จากบริษัทย่อย โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าหงสาที่มีรายงานกำไรเติบโตโดดเด่น ทั้งนี้ข้อมูลประมาณการจาก BIoomberg Consensus แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มผลประกอบการของ BANPU ที่ปรับตัวดีขึ้นจากกำไรสุทธิ 1,677 ล้านบาทในปี 2559 คาดว่าจะมีกำไรเพิ่มขึ้นเป็น 8,949 ล้านบาทหรือ +433.6% ล่าสุดราคาถ่านหิน (NEX) อยู่ที่ระดับ 103.17 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในขณะที่บริษัทประเมินราคาถ่านหินเฉลี่ยทั้งปีที่ราว 80-85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เทียบกับครึ่งแรกของปีที่มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 66.6 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เพิ่มขึ้น 20%-27%
ทั้งนี้ ราคาถ่านหินที่ปรับตัวขึ้นโดดเด่นมีสาแหตุมาจากจากความต้องการบริโภคถ่านหินคุณภาพสูงจากจีนที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายควบคุมมลภาวะ และ ความต้องการบริโภคถ่านหินของจากเกาหลีใต้และไต้หวันที่เพิ่มขึ้นจากการปิดโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์และการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ในขณะที่ SuppIy ของถ่านหินกลับเพิ่มขึ้นได้จำกัดเนื่องจากผู้ผลิตถ่านหินในอินโดนีเซียกำลังเข้าสู่ฤดูฝน ขณะที่ผู้ผลิตถ่านหินในรัสเซียและทางเหนือของจีนกำลังเข้าสู่ฤดูหนาว Price Pattern ของ BANPU ยังมีคงมีแนวโน้มหลักอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จากการเกิดทั้ง DaiIy & MonthIy Buy SignaI
และหาก Price Pattern ของ BANPU สามารถปิดตลาดรายสัปดาห์นี้ได้เหนือ 17.10 บาท ก็จะทำให้กลับมาเกิด WeekIy Buy SignaI ครั้งใหม่ ซึ่งจะทำให้ Price Pattern ของ BANPU กลับมาเกิดความแข็งแกร่งครั้งใหม่จาก Buy SignaI ทั้ง 3 Time Frame เมื่อพิจารณา Price Pattern ของ BANPU มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 23.60 บาท และมีเป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ 31.50 บาท ตามลำดับ ทั้งนี้ BANPU มีจุด Stop Loss ระยะสั้นอยู่ที่ 16.70 บาท (แนวต้าน: 17.50, 17.60, 17.80; แนวรับ: 17.30, 17.20, 17.00)
ปัจจัยสำคัญ
ประเด็นในประเทศ :
บอร์ด PPP อนุมัติลงทุน 'พีพีพี' 5 ปี มูลค่า 1.6 ล้านล้าน คณะกรรมการความร่วมมือภาครัฐ-ภาคเอกชนหรือบอร์ด PPP (PubIic Private Partnership) เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน ช่วง 5 ปี คิดเป็นมูลค่าลงทุนกว่า 1.62 ล้านล้านบาท ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสาธารณะแก่ประชาชน คาดว่าจะเสนอที่ประชุม ครม. ก.ย.นี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
ธปท. เห็นว่านโยบายการเงินในปัจจุบันมีความเหมาะสม จากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้น แต่ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงินที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้ปรับลดดอกเบี้ยได้ ทำให้ ธปท. ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Bangkok Post)
ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มองเงินทุนไหลเข้าไทยเป็นบวก ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีชี้เงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นโดดเด่นได้รับปัจจัยบวกจากความตึงเครียดทางการเมืองได้คลี่คลายลงและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่เร่งตัวขึ้น (Bangkok Post)
การเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนยังเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ โดยมีเป้าหมายที่ 87% หลังจากมีการเบิกจ่ายไปแล้ว 79% ทั้งนี้กระทรวงการคลังได้กำหนดงบประมาณการลงทุนไว้ที่ 5.48 แสนล้านบาทสำหรับปีงบประมาณนื้ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย. 2560 (Bangkok Post)
ต่างประเทศ :
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อวันพุธ หลังได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจแข็งแกร่ง ทำให้มีโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. ราคาพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับตัวลง 4/32 อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ระดับ 2.15% เพิ่มขึ้นจากที่ระดับ 2.10% เมื่อวันอังคาร(Reuters)
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อวันพุธ เนื่องจากนักลงทุนเก็งกันว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อทำให้เงินยูโรอ่อนค่าอีกทั้งมีการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่ง ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ล่าสุดปรับตัวขึ้น 0.7% สู่ระดับ 92.879 หลังแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีครึ่งที่ระดับ 91.621 เมื่อวันอังคาร (Reuters)
สหรัฐ :
ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกเมื่อวันพุธ เนื่องจากตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่งกว่าที่คาดมีน้ำหนักมากกว่าความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดที่มากขึ้นระหว่างสหรัฐกับเกาหลีเหนือและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากพายุเฮอริเคนฮาร์วีย์ (Reuters)
ประมาณการ GDP สหรัฐไตรมาส 2/60 ทบทวนล่าสุดขยายตัว 3.0% YoY เป็นตัวเลขดีที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 1/58 และเพิ่มขึ้นจากตัวเลขประมาณการก่อนหน้านี้ที่ขยายตัว 2.6% โดยได้ปัจจัยหนุนจากการใช้จ่ายผู้บริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัวแข็งแกร่งขึ้น GDP ขยายตัว 1.2% ในไตรมาส 1/60 การใช้จ่ายผู้บริโภค ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 2 ใน 3 ของเศรษฐกิจสหรัฐ ขยายตัว 3.3% มากที่สุดในช่วง 1 ปี ก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์ประมาณการว่าเศรษฐกิจไตรมาส 2/60 จะขยายตัว 2.7% ส่วนไตรมาส 3/60 มีการประมาณการว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 3.4% (Reuters)
การจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐสูงกว่าประมาณการของนักวิเคราะห์ โดยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 237,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. เพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อคิดเป็นรายเดือนในรอบ 5 เดือน จากรายงานของ ADP (Reuters)
การเมืองอาจสร้างความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจสหรัฐ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์กล่าวเมื่อวันพุธว่าเขาพร้อมที่จะทำงานกับส.ส. ในการปฏิรูปภาษี อย่างไรก็ตาม มีโอกาสน้อยมากที่สภาคองเกรสสหรัฐจะผ่านก.ม.ปฏิรูปภาษีก่อนสิ้นปีนี้ เนื่องจากส.ส.พรรครีพับลิกันมีความเห็นแตกแยกกัน ยิ่งกว่านั้น บริษัททางการเงินกำลังวิตกกังวลว่าสภาคองเกรสอาจไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการขยายเพดานหนี้ภายในเดือนต.ค.นี้ (Reuters)
ยุโรป :
แรงซื้อจากนักลงทุนเริ่มกลับเข้ามาในตลาดหุ้นยุโรปวานนี้ ช่วยหนุนให้ดัชนีวิ่งบวก หลังจากที่ก่อนหน้านี้ตลาดถูกกดดันโดยความตึงเครียดในสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ (Reuters)
เอเชีย :
ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ก.ค. ลดลงเกินคาด แต่ผู้ผลิตคาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวในเดือน ส.ค. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ก.ค. ลดลง 0.8% MoM โดยเป็นการลดลงจากเครื่องจักรสำหรับผลิตเซมิคอนดักเตอร์ กังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ลดลงต่ำกว่าประมาณการของตลาดที่ 0.5% หลังจากเพิ่มขึ้น 2.2% ในเดือนมิ.ย. (Reuters)
การเติบโตของภาคการผลิตของจีนในเดือน ส.ค. คาดว่าจะเร่งตัวขึ้นสูงกว่าคาด ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 51.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคมที่ 51.4 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 51.3(Reuters)
สินค้าโภคภัณฑ์ :
ราคาน้ำมันปรับตัวลง เนื่องจากโรงกลั่นที่ปิดตัวลงจากสถานการณ์พายุเฮอริเคนฮาร์วีย์ทำให้อุปสงค์น้ำมันดิบในสหรัฐลดลง ราคาน้ำมันดิบสหรัฐปิดที่ 46.35 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ปรับตัวลง 9 เซนต์ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ลดลง 7 เซนต์อยู่ที่ 51.93 ดอลลาร์ (Reuters)
ราคาทองทรงตัว เนื่องจากดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นกดดันราคาทองให้ดิ่งลงจากจุดสูงสุดในรอบ 9 เดือนครึ่ง แต่ว่ายังสามารถยืนอยู่เหนือระดับ 1,300 ดอลลาร์เนื่องจากยังมีความกังวลปัญหาระหว่างสหรัฐและเกาหลีเหนือ ราคาทองคำตลาดจรลดลง 0.1% อยู่ที่ 1,307.51 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราคาทองล่วงหน้าปรับตัวลง 0.4% อยู่ที่ 1,314.10 ดอลลาร์ (Reuters)
Thailand Research Department
Mr. Warut Siwasariyanon (No.17923) Tel: 0-2680-5041
Mr. Krit Suwanpibul (No.17968) Tel: 0-2680-5090
Mrs. Vajiralux Sanglerdsillapachai (No. 17385) Tel: 0-2680-5077
MISS. Veeraya Rattanaworatip (No.86645) Tel: 0-2680-5042