- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 21 August 2014 18:17
- Hits: 1616
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
คาด SET ผันผวนเพื่อสร้างฐานสำหรับการขยับบวกต่อเนื่องในเร็วๆ นี้...
กลยุทธ์ : คาดว่า SET แกว่งตัวผันผวนช่วงนี้เพื่อสร้างฐานสำหรับการกลับไปแกว่งบวกต่อเนื่องอีกครั้งในช่วงถัดไป ซึ่งมีเป้าหมายที่จะทำจุดสูงสุดใหม่แถว 1600 จุด(+/-) ได้ ดังนั้นช่วงนี้เราจึงยังแนะนำให้เลือกหุ้นเข้าซื้อในช่วงตลาดลบ แล้วเน้นถือต่อเนื่องไว้จนกว่าดัชนีจะขยับเข้าใกล้ 1600 จุดหรือสูงกว่าขึ้นไป จึงจะพิจารณาหาจังหวะขายทำกำไรอีกครั้ง
หุ้นเด่นทางเทคนิค : THREL, BECL, TPIPL(buy back)
แนวโน้ม : แม้ว่าดัชนีหุ้นไทยจะยังแกว่งตัวผันผวนในกรอบจำกัด แต่ก็มีจังหวะบวกต่อเนื่อง โดยคาดว่าแรงซื้อส่วนหนึ่งมาจากการเก็งกำไรเพื่อลุ้นผลประชุมของ สนช. ในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีของไทยในวันนี้ รวมทั้งรอติดตามผลการนัดเจรจาระหว่างประธานาธิบดีรัสเซียและยูเครนในช่วงต้นสัปดาห์หน้าด้วย (26 ส.ค.) ขณะที่เช้านี้ยังพอที่จะมีแรงหนุนจากการที่ตลาดหุ้นเอเชียหลายแห่งยังมีจังหวะแกว่งบวกต่อเนื่อง หลังเมื่อคืนนี้ตลาดหุ้นสหรัฐสามารถขยับขึ้นปิดเป็นบวกได้อีก แม้ว่าจะได้รับแรงกดดันจากรายงานการประชุมของเฟดที่ระบุว่ามีเจ้าหน้าที่เฟดบางคนได้เสนอให้มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ก็ตาม จึงทำให้ FSS คาดว่าSET ยังมีแนวโน้มที่จะขยับบวกต่อเนื่องได้ แต่ก็มีสิทธิที่จะแกว่งตัวผันผวนพอควรด้วยเช่นกัน เพื่อรอติดตามการประชุมประจำปีของเฟด ที่เมืองแจ็คสัน โฮล ช่วง 21-23 ส.ค.นี้อีกครั้งว่าจะมีมุมมองเศรษฐกิจในทิศทางใด อย่างไรก็ตามเรายังคาดว่า SET จะพักตัวในกรอบจำกัด และสุดท้ายยังมีแนวโน้มที่จะกลับไปแกว่งตัวบวกขึ้นต่อเนื่องได้อีก
แนวรับ 1550-1548 , 1546-1542 จุด แนวต้าน 1553-1556 , 1560-1564 จุด
Fund Flow วานนี้ไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคเกือบทุกตลาดในปริมาณค่อนข้างหนาแน่น โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในเกาหลีใต้ US$232.2 ล้าน ไต้หวัน US$178.8 ล้าน อินโดนีเซีย US$44.1 ล้าน ไทย US$15.1 ล้าน ฟิลิปปินส์ US$8.3 ล้าน แต่ขายเวียดนาม US$3.1 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้อ่อนค่าเล็กน้อยจากรายงานการประชุม Fed ครั้งที่ผ่านมีมุมมองในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจมากขึ้นส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าต่อเนื่อง แนวโน้ม Flow น่าจะเบาบาง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) ดอลลาร์แข็งค่าหลังรายงานการประชุม Fed โทนของรายงานการประชุม FOMC ครั้งที่ผ่านมาดูตึง (hawkish) ขึ้นกว่าครั้งก่อนๆ และมากกว่าที่ตลาดคาด โดยเจ้าหน้าที่ Fed หลายรายเชื่อว่า QE อาจจบเร็วกว่าคาด สะท้อนถึงอัตราดอกเบี้ยที่อาจปรับเร็วขึ้น มุมมองนี้ทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับแทบทุกสกุล เราเชื่อว่า Fed จะส่งสัญญาณมากขึ้นก่อนจะเปลี่ยนทิศทางดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้า 17-18 ก.ย. จึงอาจส่งผลให้กระแสเงินทุนจากต่างชาติในช่วงนี้เป็นไปอย่างระมัดระวัง ทั้งนี้ ตลาดยังจับตาคำแถลงของ Yellen เพิ่มเติมในการสัมมนาวิชาการประจำปีที่เมืองแจ็คสันโฮลศุกร์นี้
(+) เลือกตัวนายกรัฐมนตรีวันนี้ มีความเป็นไปได้สูงที่พล.อ.ประยุทธ์จะถูกเสนอชื่อให้เป็นนายกฯ นั่งควบตำแหน่งหัวหน้าคสช. การจั้งตั้งรัฐบาลได้เร็ว (คาดอย่างช้าต้นเดือน ก.ย.) จะเป็นผลดีต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
(+) สินเชื่อของแบงก์ใหญ่ส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยสินเชื่อเดือน ก.ค. ของ BAYและ KTBเพิ่ม 0.6% M-M โดย TMB มีสินเชื่อขยายตัวสูงที่สุด ขณะที่แบงก์เช่าซื้อยังเห็นการหดตัวของสินเชื่อ โดย TISCO, TCAP, KKP มีสินเชื่อหดตัว 0.5% M-M โดย KKP หดตัวมากสุด -0.9% M-M เราคงคาดการณ์การเติบโตของสินเชื่อทั้งปี 2014 ที่ 6.7% (7M14 +1.5%YTD) และปี 2015 ที่ 11.6% Top pick คือ KBANK (ราคาเป้าหมายปี 2015 ที่ 255 บาท) และ KTB (ราคาเป้าหมายปี 2015 ที่ 26 บาท)
(+) CK เราปรับเพิ่มกำไรปกติปี 2014-15 ขึ้น 9-10% เป็นเติบโต 11% Y-Y และ 2% Y-Y ตามลำดับ จากการรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนของบ.ไซยะบุรีพาวเวอร์ลดลง เพราะนำรายจ่ายก่อสร้าง มาบันทึกเป็นต้นทุนโครงการได้ แต่ยังคงเป้าหมายปี 2015 ที่ 30 บาทเพราะการปรับประมาณการมีผลต่อมูลค่าทางบัญชีของธุรกิจก่อสร้างน้อยมาก ยังแนะนำซื้อ เพราะ Backlog มีถึง 1 แสนล้านบาท และมีงานรอเซ็นสัญญาอีก 2.48 หมื่นล้านบาท ระยะสั้น กำไรสุทธิใน 3Q14 จะดีขึ้นเพราะมีกำไรจากการขาย BMCL กว่า 800 ล้านบาท
(0) BGH ยังเดินหน้าขยายเครือข่ายโรงพยาบาลในเชิงรุกเพื่อบรรลุเป้าโรงพยาบาล 50 แห่งใน 2 ปีข้างหน้า แนวโน้มผลประกอบการเริ่มดีขึ้นหลังการเมืองนิ่ง เราคงประมาณการกำไรปกติปี 2014-15 โตโดดเด่น 21% Y-Y และ 20% Y-Y ตามลำดับ แต่ราคาหุ้นสะท้อนปัจจัยพื้นฐานไปแล้วจนมี PE ปี 2015 ที่ 31.8 เท่า แพงใกล้เคียงกับโรงพยาบาลอื่น จึงแนะนำเพียงถือ หรือซื้อเพิ่มเมื่ออ่อนตัว ราคาเป้าหมายปี 2015 ที่ 20 บาท
(0) ยอดผลิตรถ ก.ค. ยังทรุด 5% M-M และ 25% Y-Y แต่การติดลบ Y-Y เริ่มน้อยลง ยอดผลิตรถเดือน ก.ค. ลด 25% Y-Y ดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือน มิ.ย. ที่ลดลง 26% Y-Y โดยมาจากยอดขายในประเทศที่ลดลงถึง 30% Y-Y เหลือเพียง 6.9 หมื่นคัน ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน สวนทางกับยอดส่งออกที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 อีก 9% Y-Y เราคาดยอดผลิตรถทั้งปี 2014 ลดลง 19% Y-Y เรายังให้น้ำหนัก Neutral กลุ่มยานยนต์แม้ผลประกอบการจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วใน 2Q14 แต่การฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ระยะสั้นไม่มีปัจจัยกระตุ้น หุ้นส่วนใหญ่ในกลุ่ม (AH, SAT, TKT) เราแนะนำในลักษณะทยอยซื้อแบบไม่รีบร้อน ส่วน Top pick คือ FPI (ราคาเป้าหมายปี 2015 ที่ 13 บาท)
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมายังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ต่อหลังรายงานการประชุม FED ระบุว่าเจ้าหน้าที่บางส่วนต้องการให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแต่ส่วนใหญ่ยังมองว่าจำเป็นที่จะต้องดูตัวเลขเศรษฐกิจเพื่อยืนยันทิศทางการฟื้นตัวอีกซักระยะ
ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนส่วนใหญ่ปิดในแดนลบโดยมีแรงขายทำกำไรออกมาเพื่อรอดูรายงานการประชุมของ FED ซึ่งถูกประกาศออกมาหลังจากตลาดปิดทำการไปแล้ว
ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวในแดนบวกได้ แต่อย่างไรก็ตามกรอบการขึ้นคาดว่าจำกัดเนื่องจากนักลงทุนจับตาดูตัวเลข PMI จีนเช้านี้รวมถึงการแถลงของ FED ที่ Jackson Hole คืนนี้
ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงต่อ โดยล่าสุดมาแกว่งตัวในกรอบ 31.96-32.10 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบในตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน ก.ย. เพิ่มขึ้น 1.59 ดอลลาร์/บาร์เรล มาปิดที่ 96.07 ดอลลาร์/บาร์เรล หลัง EIA เปิดเผยตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบออกมาลดลงมากกว่าที่ตลาดคาดซึ่งแสดงให้เห็นถึงอุปสงค์ที่ยังคงแข็งแกร่ง
ราคาทองคำในตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค. ลดลง 1.50 ดอลลาร์/ออนซ์ มาปิดที่ 1,295.20 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นหลังมีข้อบ่งชี้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED อาจเกิดขึ้นเร็วกว่าคาด
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
21 ส.ค. - ไทย: สนช.ประชุมเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี
- จีน: HSBC China Manufacturing PMI (ส.ค.)
- ฟิลิปปินส์: ตลาดหุ้นปิดทำการ วัน Ninoy Aquino Day
- สหรัฐ: รายงานการประชุม FOMC วันที่ 29-30 ก.ค., ยอดขายบ้านเก่า (ก.ค.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Manufacturing PMI (ส.ค.), ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ส.ค.)
22 ส.ค. - สหรัฐ: Yellen แถลงในการประชุมประจำปีที่เมืองแจ็คสันโฮล
25 ส.ค. - ไทย: XO เข้าเทรดวันแรก (ราคา IPO 2.20 บาท), ดุลการค้า (ก.ค.)
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านใหม่ (ก.ค.)
26 ส.ค. - สหรัฐ: ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน (ก.ค.), S&P/CaseShiller Home Price Index (มิ.ย.)
28 ส.ค. - ไทย: ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (ก.ค.)
- ฟิลิปปินส์: 2Q14 GDP
Contact person : Somchai Anektaweepon
Research Dept. Tel: 02-646-9967, 02-646-9852