- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 29 August 2017 15:41
- Hits: 1576
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยดูดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการลงทุนเอกชนที่กลับมาอีกครั้ง หนุน GDP Growth ปี 2561 แตะ 4% ขณะที่ต่างชาติกลับมาโหมซื้อ SET50 Futures ต่อเนื่องตลอด 6 วัน หนุนตลาดหุ้นแตะ 1600 จุดอีกครั้ง ให้น้ำหนักลงทุนเป็น 50% ของเงินลงทุน กลยุทธ์ฯ สะสมหุ้นพื้นฐานแกร่ง กำไรเด่น 2H60 และเติบโตปี 2561 (MTLS, VGI, GFPT) หรือปันผลสูง (MCS, KKP, LH, HANA) Top picks BANPU(FV@B24) ราคาหุ้น laggard สวนทางราคาถ่านหินที่ทำ New High และเพิ่ม THANI([email protected]) เติบโตตามภาคก่อสร้างและส่งออก
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ตลาดฟื้นตามความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
หลังจากแกว่งตัว sideway มานาน วานนี้ SET Index ปรับขึ้นแรงถึง 9.94 จุด ปิดที่ 1585.79 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายราว 3.92 หมื่นล้านบาท ซึ่งหากอธิบายในเชิงเทคนิคจะได้ว่าจังหวะ Breakout เหนือแนวต้าน 1580 จุดขึ้นมาได้ ทำให้ดัชนีมี momentum ที่ดีขึ้น ขณะที่ในเชิงปัจจัยพื้นฐาน น่าจะได้แรงหนุนมาจากภาพรวมเศรษฐกิจไทยดูดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
สำหรับหุ้นกลุ่ม Market Cap ขนาดใหญ่ขับเคลื่อนตลาดฯ เริ่มจากกลุ่ม ICT นำโดยหุ้นในกลุ่มบริษัทสามารถ ได้แก่ SAMART, SAMTEL และ SIM ปรับขึ้น 4.65, 4.00 และ 2.20 % ตามลำดับ ตามด้วยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ คือ TISCO และ KBANK ปรับขึ้น 1.37 และ 1.27 % ตามลำดับ ถัดมาคือ กลุ่มค้าปลีก นำโดย BIG, GLOBAL BJC และ COM7 ปรับขึ้น 5.84, 4.55, 4.42 และ 2.46% ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มพลังงานปรับขึ้นแรงเช่นกัน คือ EA ปรับขึ้นถึง 3.57% ส่วน IRPC ปรับขึ้น 3.51% ปิดท้ายด้วยกลุ่มเหล็ก คือ MCS ปรับขึ้นโดดเด่น 1.96% และ TMT ปรับขึ้น 1.95%
ขณะที่หุ้นที่ปรับลงแรงๆ มีไม่มากนัก เช่น MAJOR ลดลง 4% แต่ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากการขึ้น XD จ่ายปันผลที่ 0.18 บาทต่อหุ้น ส่วน IHL ลดลง 2.68% และ GRAMMY ยังไม่ฟื้น ลดลงต่ออีก 2.46%
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ การเบรคผ่านแนวต้าน 1580 จุด ช่วยปลดล็อคความอึดอัดและทำให้ภาพรวมดัชนีดูดีขึ้นตามลำดับ โดยแนวต้านถัดจากนี้จะไปดูกันที่ 1590 จุด ซึ่งยังต้องลุ้นกันต่อเนื่องจากมูลค่าการซื้อขายวานนี้ที่ยังค่อนข้างน้อย ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1577 จุด
เม็ดเงินที่น่ามีการหมุนเวียนมาเอเชีย เมื่อตลาดสหรัฐคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว
หลังการประชุมที่ Jackson Hole เมื่อปลายสัปดาห์ก่อนหน้า พบว่าประธานธนาคารกลางหลักๆของโลก ไม่ได้ส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินไปในทิศทางใด แต่เน้นไปที่การประคองเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ตอกย้ำความเชื่อที่ Fed น่าจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ขึ้น ในการประชุมที่เหลืออีก 3 ครั้งในปีนี้ สอดคล้องกับผลสำรวจของ Bloomberg ล่าสุด (28 ส.ค.) พบว่าโอกาสที่ Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยลดลงทุกรอบเหลือ 1.1% , 3.9% ในเดือน ก.ย. พ.ย. จากวันก่อนหน้าที่ 5.6%, 8.3% ตามลำดับ และรอบ ธ.ค. ปลายปี ซึ่งมีโอกาสมากสุดลดเหลือ 27.5% จากเดิม 37.4% เป็นปัจจัยกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าต่อเนื่อง ราว 9.74 %นับตั้งแต่ต้นปี อยู่ที่ 92.19 จุด
สวนทางกับค่าเงินเอเซียเกือบทุกสกุลที่กลับมาแข็งค่าอีกครั้ง คือ เงินบาทแข็งค่า 7.88% นับตั้งแต่ต้นปี, เงินเยน 7.56%, วอน 7.1%, รูปีอินเดีย 6.27%, ริงกิตมาเลเซีย 5.09% เป็นปัจจัยกดดันภาคการส่งออกในช่วงสั้น แต่สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและน่าดึงดูดให้ Fund Flow ไหลกลับเข้ามาในเอเซีย โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทยยังค่อนข้างถูกที่สุดในภูมิภาค หากเปรียบเทียบในเชิง Valuation กล่าวคือ มีค่า Expected P/E ต่ำสุดในภูมิภาค คือ 15.5 เท่า ในปี 2560 ต่ำกว่าตลาดหุ้นอินโดนีเซียที่มี Expected P/E ปีนี้ 16.8 เท่า ฟิลิปปินส์ 19.2 เท่า และ มาเลเซียอยู่ที่ 16.4 เท่า แม้จะเป็นรองเพียงจีนที่ต่ำราว 14.5 เท่า
ขณะที่ประเด็นที่กดดันตลาดระยะสั้นๆ คือ สถานการณ์ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในคาบสมุทรเกาหลี หลังจากช่วงเช้าวันนี้ เวลา 5.58 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) เกาหลีเหนือได้ยิงขีปนาวุธตกลงบริเวณนอกชายฝั่งเกาะฮอกไกโด ของญี่ปุ่น แต่เชื่อว่าประเด็นดังกล่าวน่าจะไม่สถานการณ์บานปลาย ส่งผลให้ตลาดกังวลช่วงสั้น ทำให้เงินไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย สะท้อนจากราคาสินทรัพย์ อาทิ ราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้น 0.59%จากวันก่อนหน้า, Bond Yield สหรัฐ 10 ปีลดลง 1.46% อยู่ที่ระดับ 2.13% (ระดับต่ำสุดตั้งแต่ มิ.ย. 2560)
แม้ต่างชาติขายหุ้นไทย แต่ยังคงเดินหน้าซื้อ SET50 Futures ต่อเนื่อง
วานนี้ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์หยุดทำการ เนื่องจากเป็นวัน “National Heroes Day” ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 157 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน) และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นเพียงอินโดนีเซียที่สลับมาซื้อสุทธิ 6 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศถูกขายสุทธิ คือ ไต้หวัน 80 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 4 วัน) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 26 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน) และไทยที่ต่างชาติยังคงขายสุทธิ 58 ล้านเหรียญ หรือ 1.92 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6)
อย่างไรก็ตามต่างชาติยังคงเดินหน้าซื้อสุทธิสัญญา SET50 Futures อีกกว่า 1.70 หมื่นสัญญา และเป็นการซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 6 โดยมีมูลค่ารวมสูงถึง 8.19 หมื่นสัญญา รวมถึงสถาบันในประเทศที่วานนี้ยังคงซื้อสุทธิหุ้นไทยอีก 453 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6) ช่วยหนุนดัชนีในระยะสั้น
ส่วนทางด้านตราสารหนี้สถาบันในประเทศซื้อสุทธิกว่า 1.24 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 1.53 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4)
กลยุทธ์ฯ เพิ่มน้ำหนักในหุ้น 50% Top picks: วันนี้เลือก THANI, BANPU
ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโลก มีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจน โดยเฉพาะทางฝั่งสหรัฐ และยุโรป ขณะที่ฝั่งเอเชีย การฟื้นตัวแบบค่อยไปค่อยไป ตามภาคการส่งออกที่ดีขึ้น และ นโยบายกระตุ้นการลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทย ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ ทยอยปรับเพิ่ม GDP Growth เป็น 3.5% (ล่าสุดคือ World Bank) ซึ่งสอดคล้องกับ ASPS และคาดว่าปีหน้าจะขยับขึ้นเป็น 4% โดยคาดหวังการลงทุนเอกชนจะฟื้นตัวชัดเจน หลังจากที่การลงทุนภาครัฐได้นำร่องกระตุ้นการลงทุนนับจากปีที่ผ่านมา และ การส่งออกที่มีสัญญาณที่ดีขึ้นดังกล่าวข้างต้น
ขณะที่ตลาดหุ้นไทยปี 2560 ถือว่า underperform เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นโลก อาจจะเป็นเพราะปี 2559 ให้ผลตอบแทนสูงเกือบ 20% ชนะตลาดหุ้นทั่วโลก และน่าจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งคือ กำไรตลาดหุ้นไทยที่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าคือ ปีนี้ EPS Growth 7.1% ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านบางแห่ง โดยเฉพาะอินโดนีเซีย สูงสุด 15.4% มาเลเซีย 7.9% แต่ปัจจุบันตลาดหุ้นเพื่อนบ้านได้ปรับตัวขึ้นตอบรับแล้ว (อินโดนีเซีย ปรับขึ้นถึง 11%ytd ตลาดหุ้นมาเลเซีย ปรับขึ้น 8%ytd)
ขณะเดียวกันหากเปรียบเทียบในเชิงความถูกแพงของตลาดหุ้นในภูมิภาค พบว่าตลาดหุ้นไทยเริ่มถูก กล่าวคือ มีค่า Expected P/E ต่ำสุดในภูมิภาค คือ 15.5 เท่า ในปี 2560 และจะลดลงเหลือ 14.3 เท่าในปี 2561 ต่ำกว่าตลาดหุ้นอินโดนีเซียที่มี Expected P/E ปีนี้ 16.8 เท่า ฟิลิปปินส์ 19.2 เท่า ส่วนมาเลเซียอยู่ที่ 16.4 เท่า ซึ่งน่าจะเป็นจุดที่ทำให้เริ่มได้รับความสนใจของนักลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิหุ้นไทยตลอดปี 2560 ด้วยเหตุผลทั้งหมดเชื่อว่า ตลาดหุ้นมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ จึงให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นจากเดิม 40% ของเงินลงทุนเป็น 50%
ทั้งนี้ให้เน้นหุ้นที่เติบโตจากเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนภาคก่อสร้างและภาคส่งออกที่ดีขึ้น และ containers ซึ่งในสถานการณ์นี้น่าจะดีต่อ THANI([email protected]) ซึ่งจากงานบริษัทจดทะเบียนพบนักลงทุนวานนี้ทำให้เชื่อมั่นว่าความต้องการใช้สินเชื่อเพื่อเช่าซื้อรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีแนวโน้มสดใส จากที่ในช่วง 1H60 สินเชื่อเติบโต 17%yoy เกินกว่าเป้าหมายที่ทำไว้ที่ 15% (ปี 2561 ในอัตราเดียวกัน) ซึ่งหากสถานการณ์ยังพัฒนานเชิงบวกต่อไปคาดว่านักวิเคราะห์ ASPS มีโอกาสปรับยอดสินเชื่อปีนี้ขึ้น รวมถึงประมาณการกำไรปี 2560 ที่ทำไว้ที่ 0.43 บาทต่อหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 0.36 บาท และจะเพิ่มเป็น 0.48 บาท หรือเพิ่มขึ้น 19.4% และ 12% ตามลำดับ ราคาหุ้นขณะนี้ซื้อขายด้วย P/E 13.4 เท่า และจะเพิ่มเป็น 12 เท่าในปี 2561 พร้อมกับคาดหวังเงินปันผลที่ 4.5% ในปีนี้และ 5% ในปีหน้า จึงเลือกเป็นหุ้น Top pick ในกลุ่ม Domestic Play
ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่แนะนำให้สะสม แยกตามกลุ่มดังนี้ :
Domestic Play
กลุ่มก่อสร้าง : UNIQ, STEC
กลุ่มอสังหาฯ SENA และ SC
กลุ่มเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง MTLS, THANI
กลุ่มยานยนต์ AH
กลุ่มโรงพยาบาล LPH
กลุ่มส่งออกอาหาร – ชิ้นส่วน CPF, GFPT, HANA
กลุ่มค้าปลีก : BJC, HMPRO, COM7, BEAUTY
สื่อโฆษณา : VGI
ธนาคารพาณิชย์ SCB, KKP, TCAP
Global Play
กลุ่ม พลังงาน และปิโตรเคมี IRPC, IVL, BANPU
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636