WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน


กลยุทธ์การลงทุน
  เชื่อว่า ตลาดหุ้นไทยมี P/E ต่ำสุดในภูมิภาค ขณะที่เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้น จากส่งออก และการลงทุนเอกชน หนุนตลาดหุ้นกลาง-ยาว กลยุทธ์ฯ ให้ทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานแกร่ง กำไรเด่นใน 2H60 และเติบโตปีหน้า (MTLS, VGI, IRPC, JWD, ERW, GFPT, HANA) หรือปันผลสูง (MCS, KKP, LH) Top picks ERW([email protected]) และ HANA(FV@B53) น่าจะได้ประโยชน์จากเงินบาทเริ่มกลับมาอ่อนค่า


ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย...สลับมาหุ้นโรงพยาบาล แต่ BH แพงไปแล้ว
  วานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นได้ต่อเป็นวันที่ 4 ปิดที่ 1575.96 จุด เพิ่มขึ้น 2.58 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.75 หมื่นล้านบาท ตลาดฯ มีการสลับกลุ่มเล่น โดยกลุ่มโรงพยาบาลปรับขึ้นได้โดดเด่นสุด นำโดย BH ปรับขึ้นถึง 4.93% ตามด้วย BDMS บวก 3.54% โดยแนวโน้มผลประกอบการ 2H60 สดใส จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้ป่วย ตะวันออกกลางที่เพิ่มขึ้นหลังผ่านช่วงฤดูถือศีลอด ขณะที่ EBITDA Margin คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน จากผลขาดทุนของโรงพยาบาลเปิดใหม่ที่ลดลงต่อเนื่อง ในส่วนของแผนการขยายโรงพยาบาล 50 แห่งจะสิ้นสุดในปี 2563 จะทำให้ BDMS มีเครือข่ายโรงพยาบาลครอบคลุมทุกพื้นที่ สามารถรักษาโรคที่ซับซ้อนได้มาก และเข้าสู่ช่วงเก็บเกี่ยวกำไรระยะยาวตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป จึงมีความน่าสนใจสำหรับการลงทุนระยะยาว ขณะที่ BCH, CHG และ RJH ขยับขึ้น 2.80, 2.56 และ 2.05 % ตามลำดับ


  กลุ่มขนส่งก็เป็นอีกกลุ่มที่ปรับขึ้นได้ ทั้งหุ้นโลจิสติกส์อย่าง JWD บวกไป 3.88% หุ้นเดินเรือ ทั้ง ASIMAR และ PSL ปรับขึ้น 3.97 และ 1.94 % ตามลำดับ และหุ้นสายการบิน-สนามบิน อย่าง NOK, BA และ AOT ปรับขึ้น 3.76, 2.82 และ 1.44 % ตามลำดับ
  หุ้นอื่นๆ ที่ปรับขึ้นแรง คือ DIGI ราคาหุ้นขึ้นชน ceiling หลังจากเป็นขาลงมาอย่างยาวนาน จึงต้องระมัดระวังความผันผวนหลังจากนี้ ขณะที่ GRAMMY ปรับขึ้น 14.04% หลังจากแจ้งข่าวต่อตลาดฯ ถึงการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนบริษัท GMM Channel Trading (GRAMMY ถือหุ้น 100%) โดยบริษัทอเดลฟอส (เครือไทยเบฟเวอเรจของกลุ่มสิริวัฒนภักดี) จำนวน 10 ล้านหุ้น มูลค่า 1 พันล้านบาท
ตรงข้ามกับกลุ่ม ICT ขยับลง นำโดย DTAC ลงแรง 3.27% ตามด้วย SVOA ลดลง 2.75% และ ALT ลดลง 2.63% หุ้นอื่นๆ ที่ลงแรง คือ PE, ASAP และ HTECH ลดลง 8.00, 5.73 และ 5.13 % ตามลำดับ
  ทิศทางตลาดฯ วันนี้มีโอกาสพักตัว เนื่องจากเป็นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ และยังต้องติดตามผลการตัดสินคดีรับจำนำข้าวในวันนี้ โดยคาดว่า SET Index จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1570 – 1580 จุด

Jackson Hold น่าจะเน้นนโยบายการเงินตึงตัว..แต่สะท้อนในค่าเงินแล้ว
  ปัจจัยต่างประเทศน่าจะมุ่งไปที่การ ประชุมที่ Jackson Hole ระหว่าง 24-26 ส.ค. ซึ่งเป็นการประชุม ของผู้นำธนาคารกลาง (Fed, ECB, BOJ) และรัฐมนตรีคลัง สำคัญๆของโลก ซึ่งหัวข้อในการประชุมครั้ง นี้คือ “Fostering Dynamic Global Economy” จึงเชื่อว่าน่าจะให้น้ำหนักต่อการพิจารณาเรื่อง การดำเนินการนโยบายการเงิน เพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก หลังจากสหรัฐมีแนวโน้มชะลอการขึ้นดอกเบี้ยจากการประชุมที่เหลืออีก 3 ครั้งในปีนี้แต่จะไปขึ้นปีหน้า 3 ครั้ง และหลังจากนี้เชื่อว่า ยุโรปใช้นโยบายการเงินตึงตัวตามสหรัฐ จะผ่านการลด QE ที่จะสิ้นสุดโครงการปลายปีนี้ หรืออาจจะขึ้นดอกเบี้ย ก็ตาม
  หากเปรียบเทียบกับกับการประชุม Jackson Hole ในปี 2559 ซึ่งหัวข้อหลักคือ “Designing Resilient Monetary Policy Frameworks for the Future” ซึ่งมุ่งไปที่เรื่องการใช้นโยบายการเงิน เพื่อให้เศรษฐกิจมีการเติบโตแบบมั่นคง โดยประธาน Fed ได้ส่งสัญญานขึ้นดอกเบี้ย และ ได้นำร่องขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในรอบ ธ.ค. 2559 หลังจากประชุมไม่นาน นอกจากยังให้ความสำคัญกับ ผลกระทบ ของ Brexit ต่อเศรษฐกิจโลก
  ขณะที่อังกฤษ ล่าสุด GDP Growth งวด 2Q60 ขยายตัวตามคาด 1.7%yoy แต่ชะลอจาก 2.0% ในงวด1Q60 ทำให้ 1H60 GDP Growth อังกฤษที่ 1.85% (IMF คาด GDP ปี 2560 ขยายตัว 1.7%yoy มีโอกาสเป็นไปได้สูง) เนื่องจากเศรษฐกิจอังกฤษขยายตัวแข็งแกร่ง สะท้อนจาก อัตราการว่างงานที่ 4.4% ต่ำสุดในรอบ 7 ปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังทรงตัวในระดับสูงที่ 2.6%yoy ผลจากค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่า 5.94% ตั้งแต่ Brexit เทียบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ทำให้อังกฤษเป็นอีกประเทศ นอกเหนือจากสหภาพยุโรป ที่คาดว่าจะกลับมาขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า


เงินบาทกลับมาอ่อนค่า หนุนส่งออกและเศรษฐกิจในช่วง 2H60
  อย่างไรก็ตามเชื่อว่าได้สะท้อนในค่าเงินยูโรที่ฟื้นตัวไปก่อนหน้า ด้วยความคาดหวังต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ คือนับจากปลายปี 2559 จนถึงปัจจุบัน เงินยูโรแข็งค่าราว 13% (หลังจากที่อ่อนค่ากว่า 25% นับจากกลางปี 2557 จนถึงปลายปี 2559) สวนทางกับเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าราว 10% ในช่วงเดียวกัน (หลังจากที่แข็งค่าราว 30% นับจากกลางปี 2557 จนถึงปลายปี 2559 เพราะถือเป็นประเทศแรกที่ฟื้นตัวเศรษฐกิจ) และหลังจากนี้คาดว่าน่าจะเห็นการเคลื่อนของเงินทั้ง 2 สกุล กลับข้างคือ เงินยูโรจะอ่อนค่า ขณะที่เงินดอลลาร์จะกลับมาแข็งค่าอีกครั้ง


  ขณะที่เงินบาท เริ่มกลับอ่อนค่า หลังจากแข็งค่าสุดที่ 33.21 บาทต่อดอลลาร์ หรือแข็งค่า 8.8% นับจากจุดสูงสุดที่ 36.41 ต้นเดือน ต.ค. 2558 นับว่าแข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาค และ ผลจากการขาดดุลการค้าในเดือนล่าสุด เนื่องจากผู้ประกอบการเร่งนำเข้า เพื่อใช้ประโยชน์จากสินค้าราคาต่ำ เมื่อแปลงเป็นเงินบาท โดยเฉพาะทองคำ เพื่อนำมาใช้ในการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ และ เป็นผลจากที่ผู้ประกอบการนำเข้า เครื่องจักร สินค้ากึ่งวัตถุดิบ เพื่อผลิตและส่งออก แต่ถือว่าเป็นสัญญานที่ดีต่อการส่งออกและเศรษฐกิจของไทย


ล่าสุด ธนาคารโลก(World Bank) ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP Growth ไทยปี 2560-61 เป็น 3.5%yoy และ 3.6%yoy จากเดิมคาด 3.2% และ 3.3% ตามลำดับ เนื่องจากภาคส่งออกที่ขยายตัวและลงทุนเอกชนพลิกกลับมาฟื้นตัว ซึ่งเป็นระดับที่ ASPS คาดไว้อยู่แล้วในช่วงก่อนหน้า แต่อย่างไรก็ตามต้องให้น้ำหนักต่อปี 2561 ซึ่ง ASPS คาดว่าจะเติบโตในอัตรา 4% ซึ่งเป็นระดับที่น่าจะไม่แตกต่างกับเพื่อนบ้าน เนื่องจาการฟื้นตัวของภาคเอกชนที่มีสัญญานบวกจากการยอดการขอ BoI ในช่วง 2Q60 ที่ดีมาก เมื่อรวมถึง การลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะมีการประมูลอยู่ต่อเนื่องในช่วง 2H60 กว่า 2 แสนล้านบาท และ อีกกว่า 5 แสนล้านบาท สำหรับโครงการที่เตรียมขออนุมัติ ครม. และ เปิดประมูลในปี 2561 น่าจะดึงให้ fund flow กลับมาสนใจตลาดหุ้นไทยอีกครั้งหนึ่ง


แม้ต่างชาติยังขายหุ้นไทย แต่เริ่มเห็นสัญญาณบวกจากการซื้อ SET50 Futures ชัดเจนขึ้น
  วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าราว 242 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิกว่า 273 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 67 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และฟิลิปปินส์ 1 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติยังขายสุทธิ คือ อินโดนีเซีย 44 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) และ ไทยที่ต่างชาติยังคงขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ราว 54 ล้านเหรียญ หรือ 1.81 พันล้านบาท
  ทำให้เดือน ส.ค. ตลาดหุ้นไทยถูกต่างชาติขายสะสมสุทธิไปแล้วกว่า 9.1 พันล้านบาท (mtd) และเป็นยอดขายที่มากที่สุดในปีนี้เมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆที่ผ่านมา และยังกดดันให้มูลค่าซื้อขายสุทธิตั้งแต่ต้นปีพลิกกลับมาติดลบราว 2.3 พันล้านบาท (ytd) อย่างไรก็ตามวานนี้ต่างชาติยังคงเปิดสถานะ “Long” สัญญา SET50 Futures ติดต่อกันเป็นวันที่ 4 สูงถึง 2.6 หมื่นสัญญา (ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงสุดในปีนี้) รวมถึงสถาบันในประเทศที่วานนี้ซื้อสุทธิหุ้นไทยอีกกว่า 3.27 พันล้านบาท หนุนยอดซื้อสะสมสุทธิตั้งแต่ต้นปีขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ ด้วยมูลค่ากว่า 5.81 หมื่นล้านบาท (ytd)
  สรุป คือ จากสถานการณ์ที่ดังกล่าวเริ่มเห็นสัญญาณบวกจากการซื้อ SET50 Futures ชัดเจนขึ้น และคาดว่า Fund Flow มีโอกาสไหลกลับมาตลาดหุ้นไทยในช่วงสั้น หลังจากที่ชะลอตัวมาตลอดเดือน


กลยุทธ์การลงทุน เน้นหุ้นทำกำไรเด่น 2H60 และ ปี 2561
  ดังที่กล่าวไปวานนี้ว่า นับตั้งแต่ต้นปีนี้ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนที่ underperform เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นโลก โดยให้ผลตอบแทนไม่ถึง 2% ซึ่งสะท้อน EPS Growth ของตลาดหุ้นไทยที่ต่ำในปีนี้ (เทียบกับปี 2559 ที่เติบโตมากสุด) คือ เพียง 7.1% และต่ำกว่าบางตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ อินโดนีเซียสูงสุด 15.4% ตามด้วยมาเลเซีย 7.9% แต่ปัจจุบันตลาดหุ้นได้ปรับตัวขึ้นตอบรับแล้ว คือ ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ปรับขึ้นถึง 11%ytd ตลาดหุ้นมาเลเซีย ปรับขึ้น 8%ytd ขณะที่หากเปรียบเทียบในเชิง Valuation ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างถูก กล่าวคือ มีค่า Expected P/E ต่ำสุดในภูมิภาค คือ 15.5 เท่า ในปี 2560 และ จะลดลงเหลือ 14.3 เท่าในปี 2561 ต่ำกว่าตลาดหุ้นอินโดนีเซียที่มี Expected P/E ปีนี้ 16.8 เท่า ฟิลิปปินส์ 19.2 เท่า ส่วนมาเลเซียอยู่ที่ 16.4 เท่า
  ดังนั้น เชื่อว่า Momentum ในการขับเคลื่อนตลาดหุ้นไทยจะอยู่ที่ครึ่งปีหลัง โดยเน้นไปที่หุ้นในกลุ่มที่มีแนวโน้มผลประกอบการ 2H60 เติบโตโดดเด่น yoy อาทิ


กลุ่มอสังหาฯ คาดว่าเติบโต 64%yoy จากยอดโอนที่จะสูงสุดในช่วงำไตรมาส 4 หลักๆ มาจาก SENA และ SC
กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม คาดว่าเติบโต 18%yoy จากการเข้าสู่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว หลักๆ มาจาก ERW และ CENTEL
กลุ่มเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง คาดว่าเติบโต 18%yoy ตามภาสะเศรษฐิกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัว หลักๆ มาจาก MTLS และ SAWAD
กลุ่มยานยนต์ คาดว่าเติบโต 12%yoy ตามอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ฟื้นตัว หลักๆ มาจาก AH
กลุ่มโรงพยาบาล คาดว่าเติบโต 12%yoy จากการเข้าสู่ช่วงฤดูกาล หลักๆ มาจาก RJH และ LPH
กลุ่มส่งออกอาหาร คาดว่าเติบโต 8%yoy จากการเข้าสู่ช่วงฤดูกาลส่งออก หลักๆ มาจาก CPF, GFPT
อิงเศรษฐกิจภายนอก : IRPC, IVL, MCS, HANA
อิงเศรษฐกิจในประเทศ : VGI, JWD, HMPRO, COM7, BEAUTY, RS


ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!