- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 17 August 2017 15:17
- Hits: 1486
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
กำไรตลาดงวด 1H60 เป็นไปตามคาด ขณะที่งวด 2H60 น่าจะดีกว่า 1H60 หากใช้ประมาณการ กำไรปี 9.9 แสนล้านบาท หรือหุ้นละ 101.36 บาท มี Expected P/E 15.45 เท่า เชื่อว่าเป็นจุดที่น่าสนใจ แนะนำสะสมหุ้นเติบโตเด่นปี 2560 โดยเฉพาะใน 2H60 Top picks VGI (FV@B 6.8) และ ERW (FV@B 6.5)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย สลับรายตัวตามงบ 2Q60
วานนี้แม้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตลอดทั้งวัน แต่เมื่อปิดตลาดกลับมาปิดบวกได้เล็กน้อย 0.33 จุด คิดเป็น 0.02% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 3.8 หมื่นล้านบาท ในภาพรวมยังเห็นการสลับกลุ่มการลงทุน โดยหุ้นที่ปรับขึ้นหนุนตลาดมากที่สุดคือ AOT ปรับเพิ่มขึ้น 1.93% ตามมาด้วย SCC เพิ่มขึ้น 1.22% และ PTTGC 2.11% ซึ่งหุ้นทั้งสามบริษัทเริ่มฟื้นตัวจากการปรับฐานในช่วงก่อนหน้านี้
สำหรับหุ้นที่กดดันตลาดมากที่สุดคือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ปรับลดลง 0.87% นำโดย SCB ซึ่งปรับลดลงไปกว่า 2.08% ตามมาด้วย BBL และ KBANK ปรับลดลง 1.11% และ 0.78% ตามลำดับ เนื่องจากเกิดความกังวลเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงกรณี PACE ขึ้นเครื่องหมาย SP ตั้งแต่ช่วงเปิดตลาดภาคเช้าวานนี้ เพราะตลาดหลักทรัพย์ ฯ รอให้ PACE ชี้แจงสมมติฐานในการประเมินมูลค่าเงินลงทุน (จุดชมวิวออบเซอร์เวลชั่นเด็ค ชั้น 77 โครงการมหานคร) ซึ่งเป็นที่มาของการบันทึกำไรจากเงินลงทุนดังกล่าว (ติดตามอ่านรายละเอียดใน Equity Talk วันนี้)
นอกจากนี้ยังมีหุ้นกลุ่มอื่นๆ ที่กดดันตลาดคือ หุ้น ICT พบว่า INTUCH ลดลง 2.63% กดดันตลาดไป 0.49 จุด หลังขึ้นเครื่องหมาย XD ในวานนี้ โดยจ่ายปันผลระหว่างกาล 1.25 บาท และ TRUE ที่ปรับลดลงกว่า 5.45% เพราะงวด 2Q60 ยังขาดทุนจากดำเนินงานต่อเนื่องราว 1245.4 ล้านบาท
โดยรวมตลาดฯ ยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆ ขับเคลื่อน ประกอบกับมูลค่าการซื้อขายที่ยังมีไม่มาก จึงคงแนวต้านดัชนีไว้ที่ 1570 และ 1575 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1560 และ 1554 จุด ตามลำดับ
ดอลลาร์มีแนวโน้ททรงตัวถึงแข็งค่า โอกาสขึ้นดอกเบี้ยปีนี้ลดลง
รายงานการประชุม(Fed minutes) สหรัฐวานนี้ ยังมั่นใจต่อเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่อเนื่อง แต่ ตลาดแรงงานน่าจะเข้าสู่ภาวะทรงตัว (Full employment) สะท้อนจากอัตราการว่างงานล่าสุด ที่แกว่งตัวในระดับต่ำ คือ 4.3% ต่ำสุดในรอบ 7 ปี จาก 4.4% มิ.ย. และ 4.3%พ.ค. และเงินเฟ้อที่ ต่ำกว่าเป้าหมาย 2% หลังจากเดือนล่าสุด อยู่ที่ 1.7%yoy เป็นการชะลอตัวต่อเนื่อง ติดต่อกัน 4 เดือน(ตั้งแต่เดือน ก.พ. 60) ทำให้โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้น้อยลง สอดคล้องกับความเห็นของ ASPS ที่คาด Fed น่าจะเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ย ไปเป็นปีหน้า ที่กำหนดจะขึ้น 3 ครั้ง
ขณะที่อังกฤษ เศรษฐกิจโดยรวมยังขยายตัวในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราว่างงาน ล่าสุด ลดลงอยู่ที่ 4.4%(ระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 2518) จาก 4.5% เดือน พ.ค. ขณะเงินเฟ้อล่าสุด ยังทรงตัวที่ 2.6%yoy เนื่องจากผลกระทบจากเงินปอนด์ที่อ่อนค่า 5.94% นับตั้งแต่ Brexit (ทำให้ต้นทุนผู้ผลิตและนำเข้าสูงขึ้น) แต่นับตั้งแต่ต้นปียังแข็งค่าราว 4.45% ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยหักเงินเฟ้อกว้างราว 2.35% (ดอกเบี้ยฯ 0.25%) ทำให้อังกฤษมีโอกาสที่จะขึ้นดอกเบี้ยตามสหรัฐ หนุนให้ค่าเงินมีแนวโน้มทรงตัวถึงแข็งค่าขึ้น และดึงดูด Fund Flow
ขณะที่วานนี้ ผลการประชุม กนง. ยังคงดอกเบี้ยฯที่ 1.5% ตามเดิม โดยยังมีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่ฟื้นตัวชัดเจน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อไทยยังต่ำล่าสุด 0.17%yoy (เฉลี่ย ม.ค.-ก.ค.อยู่ที่ 0.6%) ผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า 7.2% (ราคาสินค้านำเข้าถูกลงอาทิ น้ำมัน, เคมีภัณฑ์ ทำให้ต้นทุนผู้ผลิตลดลง) และผลจากราคาอาหารสดอาทิ ผักผลไม้ ที่ลดลงและฐานที่สูงจากภัยแล้งปี 2559 ทั้งนี้เงินเฟ้อที่ต่ำนี้เป็นการตอกย้ำให้ กนง. ยังคงยืนอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงปีต้นหน้า ถือเป็นการช่วยหนุนเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นตัวล่าช้าอีกประเด็นนึง และทำให้สภาพคล่องโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและน่าจะหนุนเม็ดเงินจากฝั่งนักลงทุนรายบุคคล และสถาบันเข้าตลาดหุ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้
ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค แต่ซื้อไทยเล็กน้อย
วานนี้นักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 200 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ซึ่งแรงขายหลักๆ อยู่ในตลาดหุ้นแถบเอเชียตะวันออก คือ ไต้หวัน 156 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และ เกาหลีใต้ 40 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) ส่วนตลาดหุ้นกลุ่ม TIP ต่างชาติสลับมาขายสุทธิอินโดนิเซีย 9 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนฟิลิปปินส์ยังคงซื้อสุทธิเล็กน้อยอีก 1 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7) สำหรับตลาดหุ้นไทยวานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิ 3 ล้านเหรียญ หรือ 112 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 188 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ทางด้านตราสารหนี้สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 7.6 พันล้านบาท ขณะที่ต่างชาติขายสุทธิ 7.9 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
ราคาน้ำมันย่อเป็นวันที่ 3 จากดอลลาร์แข็งค่าและการผลิตของสหรัฐเพิ่ม
วานนี้ทางสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ แม้ปรับลดลงถึง 8.95 ล้านบาร์เรล (ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 7) ขณะที่ตลาดฯคาดว่าจะลดลงเพียง 3.06 ล้านบาร์เรลเท่านั้น แต่ราคาน้ำมันดิบ WTI ยังคงปรับตัวลดลงอีก 1.62% มาอยู่ที่ 46.78 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ลดลงติดต่อเป็นวันที่ 3) เพราะได้รับแรงกดดันจากปริมาณการผลิตน้ำมันสหรัฐฯ ที่ตัวเลขล่าสุดยังคงเพิ่มขึ้นอีก 7.9 หมื่นบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 9.502 ล้านบาร์เรลต่อวัน และระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือน ก.ค. 2558 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่กลับมาแข็งค่าอีกครั้ง โดยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 0.73% มาอยู่ที่ 93.47 จุด
อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยฯยังมีมุมมองบวกต่อราคาน้ำมันในระยะยาว ยามที่ราคาหุ้นน้ำมันอย่าง PTT (FV@B460) และ PTTEP (FV@B116) ย่อตัวลงจึงเป็นโอกาสในการสะสม รวมทั้งยังชื่นชอบหุ้น BANPU(FV@B24) ซึ่งได้รับแรงหนุนจากราคาถ่านหินที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 96.22 เหรียญฯ/ตัน (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ส.ค. 60) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งปี 2559 ที่ 65.75 เหรียญฯต่อตันอยู่มาก
สิ้นสุดรายงานงบ 2Q60 ทั้งตลาดหดตัว 8.5%yoy
จนถึงเย็นวานนี้ บริษัทจดทะเบียนได้ประกาศงบงวด 2Q60 ราว 560 บริษัท รวม 2.216 แสนล้านบาท (คิดเป็น 99% ของ Market Cap ทั้งตลาดฯ) ลดลง 11% จากงวด 2Q59 (yoy) และลดลง 23.2% จากงวด 1Q60 (qoq) ทั้งนี้เป็นการลดลงเกือบทุกกลุ่ม และหากไม่รวมกลุ่มธนาคารพาณิชย์ พบว่า ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 1.649 แสนนบาท ลดลง 12%yoy และลดลง 26.2%qoq โดยกลุ่มที่ลดลงมากสุดคือ ขนส่ง (ส่วนใหญ่ทางอากาศ และทางทะเล) ลดลง 48%yoy และลดลง 86%qoq ICT ลดลง 42%yoy และลดลง 40%qoq ตามมาด้วย ปิโตรเคมีลดลง 7.5%yoy และ 42%qoq วัสดุก่อสร้างลดลง 27% และ ลดลง 30%qoq และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ลดลงอัตราเท่ากัน 29%yoy และ qoq เป็นต้น
ตรงกันข้ามกลุ่มที่เพิ่มขึ้น สวนทางมีน้อย ที่โดดเด่นคือ โรงพยาบาล เพิ่มขึ้น 67.3%yoy และเพิ่ม 44%qoq และพัฒนาอสังหาฯ เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น 38%yoy และเพิ่ม 80%qoq รองลงมาคือ พาณิชย์ 15% และ 2% ที่เหลือปรับขึ้นในอัตรา yoy แต่ลดลง qoq ได้แก่ ชิ้นส่วนยานยนต์ เพิ่ม 34%yoy แต่ลดลง 6%qoq และ ท่องเที่ยว และโรงแรม เพิ่ม 11% yoy แต่ลดลง 83%qoq
เมื่อรวมกำไรงวด 1Q60 ที่ทำกำไรสุทธิรวมกัน 2.85 แสนล้านบาท ในงวด 1H60 กำไรตลาดน่าจะทำได้ราว 5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 50% ของประมาณการกำไรปี 2560 ที่ประเมินไว้ 9.9 แสนล้านบาท แม้ยังมิได้รวมผลกระทบจากการปรับลดสมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนลดลงจากเดิม 35 บาท เหลือ 34 บาทต่อเหรียญ ในกลุ่มส่งออก ที่ทยอยปรับ หลังประกาศงบงวดนี้ แต่คาดว่าจะกระทบกำไรตลาดน้อย (กำไรกลุ่มเกษตร-อาหารและ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ปรับลดลงกลุ่มละ 5% จากประมาณการเดิม แต่กำไรทั้ง 2 กลุ่มมีสัดส่วนน้อยราว 4% ของตลาดรวม)
เชื่อว่าแรงขายรวมงบน่าจะลดลง แต่ดัชนียังมีแนวโน้มแกว่งตัวหรือซึมเพราะยังมีการประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล กลยุทธ์การลงทุนระยะกลาง-ยาว แนะนำหุ้น
หุ้นปันผลสูง (KKP, TCAP, LH)
หุ้นโดดเด่นตามฤดูกาลส่งออก/ท่องเที่ยวในงวด 3Q60-4Q60 (HANA, CPF, ERW)
หุ้นที่มีการเติบโตเด่น (COM7, BEAUTY, MTLS, VGI)
หุ้นอิงการฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก (PTTGC, IVL, IRPC)
และหุ้นธนาคารพาณิชย์ที่ราคาหุ้นลงลึกมากเกินไป จากความกังวลปัญหาหนี้เสียที่มีโอกาสเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับ EARTH (SCB, BBL) เป็นต้น
วันนี้นักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับเพิ่มประมาณการและมูลค่าหุ้น ERW จากเดิม 6 บาท เป็น 6.5 บาท โดยปรับเพิ่มประมาณการกำไรขึ้นจากเดิม 16% ในปีนี้และ 13% ในปีหน้า เนื่องจากประสิทธิภาพการทำกำไรที่ดีขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของยอดขาย อ่านรายละเอียดใน Equity Talk เช้านี้
กลยุทธ์การลงทุนหุ้นที่โดดเด่นในงวด 2H60
ผลกระทบจากการรายรับงบ 2Q60 และการขึ้น XD (XD ตั้งแต่วันที่ 17 ส.ค. 60 เป็นต้นไป ทั้งหมด 103 บริษัท และมีโอกาสกดดัน SET Index ปรับตัวลดลงอีก 4.28 จุด หรือราว 0.27%) รวมถึงแรงขายต่างชาติ กดดันดัชนี เดือน ส.ค. 60 นี้ ลดลงแล้วกว่า 8.56 จุด หรือ 0.54% (mtd)
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนยามตลาดหุ้นผันผวนเช่นนี้ แนะนำให้ลงทุนในหุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลัง โดยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณของ ASPS ได้ทำคัดกรอง และแบ่งหุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโตในช่วงครึ่งปีหลัง ตามระดับความเสี่ยงออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.ห้นที่มีความผันผวนต่ำ (Beta <1) และมี EPS เติบโตใน 2H60 (YoY) มีดังนี้
ในภาวะที่ตลาดยังซึม แนะนำหุ้นที่มีความผันผวนน้อยกว่าตลาด ถือเป็นหลุมหลบภัยที่ดี ดังปรากฏในตาราง แนะนำคือ MCS, PSH และ HANA
2. หุ้นที่มี EPS เติบโตใน 2H60 (YoY) และมีความผันผวนสูง (Beta >1) มีดังนี้
จากตารางข้างต้น สามารถแบ่งหุ้นผันผวนมากกว่าตลาดฯและน่าสนใจในการลงทุน ออกเป็น 3 กลุ่มย่อยด้วยกัน
หุ้นที่แข็งแกร่งกว่าตลาดฯ (QH,BANPU,SENA,IVL,COM7,VGI, ERW, PLANB, GUNKUL) แนะนำ ERW, VGI, BANPU
หุ้นที่ปรับตัวลงมากกว่าตลาดฯ (UNIQ, LPH,CK) แต่หากตลาดฯฟื้นตัว หุ้นกลุ่มนี้มักจะฟื้นตัวแรงกว่าตลาดฯ และยังได้รับปัจจัยหนุนจากแนวโน้มผลประกอบการที่เติบโตอย่างชัดเจนในช่วง 2H60 แนะนำ UNIQ
หุ้นที่มีแนวโน้มพลิกจากขาดทุนในช่วงครึ่งปีหลัง 2559 กลับมากำไรในครึ่งปีหลัง 2560 นี้ ได้แก่ JWD,CKP
Derivative Team:
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636