- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 08 August 2017 19:44
- Hits: 1207
บล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
Dollar มีแนวโน้มฟื้นตัว Fed มีแนวโน้มชะลอขึ้นดอกเบี้ย หากเงินเฟ้อยังต่ำกว่าเป้าหมาย ทำให้เงินบาทชะลอการแข็งค่า หนุนหุ้นส่งออกฟื้นตัวช่วงสั้น หลังราคาหุ้นสะท้อนเงินบาทที่แข็งเกินไป และทำให้ ASPS ทยอยเตรียมปรับลดสมมติฐาน FX จาก 35 บาท เหลือ 34 บาท แต่ถือว่าสะท้อนในราคาหุ้นแล้ว กลยุทธ์เลือกรายหุ้นที่มี upside สูง และ P/E ต่ำ รวมถึงหุ้นปันผลเฉพาะกาลเด่น (KKP, TCAP, LH) Top picks เลือก HANA(FV@B53) และเพิ่ม CPF([email protected]) เชื่อว่าสะท้อนปัจจัยลบหมดแล้ว ทั้งราคาหมูที่ผ่านจุดต่ำสุด และเพิ่มทุนน้อยกว่าคาด
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …ปรับฐานจากการขึ้น XD หุ้น ADVANC, SCC
การขึ้น XD ของ ADVANC และ SCC รวมทั้งแรงกดดันต่อหุ้นในกลุ่ม ธ.พ. ส่งผลให้ SET Index วานนี้ปรับลดลง 4.59 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.32 หมื่นล้านบาท ดัชนียืนอยู่ในแดนบวกในช่วงเช้าได้เพียงระยะสั้นๆ ก่อนจะถูกกดลงสู่แดนลบตลอดทั้งวัน และแทบจะไม่มีกลุ่มใดที่ขยับขึ้นได้มากนัก มีเพียงหุ้นเดินเรือและโลจิสติกส์ที่ยังปรับขึ้นได้ต่อ นำโดย JUTHA เพิ่มขึ้นแรงถึง 9.23% และ ASIMAR เพิ่มขึ้น 3.91% ขณะที่หุ้นสนามบินอย่าง AOT ปรับขึ้นเล็กน้อย 1.41% พร้อมทั้งเดินหน้าทำ new high ต่อเนื่อง ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่ปรับขึ้นล้วนแต่เป็นหุ้นขนาดเล็ก อาทิ PLE ฟื้นตัวขึ้นมา 6.06% AMANAH ปรับขึ้น 4.91% IT ปรับขึ้น 4.72% เป็นต้น
เป็นที่สังเกตว่าหุ้นที่ปรับลดต่อเนื่อง ยังคงเป็นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยทั้ง KTB และ SCB วานนี้ลดลง 1.69% และ 1.05% คาดว่าน่าจะกังวลต่อปัญหา NPL และแนวโน้มสินเชื่อที่อาจเติบโตต่ำกว่าที่คาด
และ ตามด้วยกลุ่ม ICT นำโดย ADVANC ลดลงจากผลของ XD ดังกล่าว และ THCOM ลดลงแรง 2.48% หลังรายงานงบฯ 2Q60 ย่ำแย่ กำไรสุทธิลดลง 16.1%qoq (ขณะที่ผลการดำเนินงานปกติทำได้เพียงคุ้มทุน) เหตุจากอัตราใช้งานดาวเทียม iPSTAR ลดลงมีนัยฯ ทั้งจากการยกเลิกการใช้งานก่อนสัญญาของ NBN และ TOT ลดการใช้งานลง ตั้งแต่ มิ.ย. ที่ผ่านมา ขณะที่ 3Q60 คาดจะพลิกขาดทุนจากการรับรู้ผลกระทบ TOT เต็มไตรมาส และฟื้นตัวมามีกำไรเล็กน้อยใน 4Q60 จากการเริ่มใช้งานของลูกค้าในแอฟริกาและลาว อย่างไรก็ตาม กำไรปกติ 1H60 เป็นเพียง 16% ของประมาณการ ส่งผลให้ฝ่ายวิจัยมีแนวโน้มปรับลดกำไรลงหลังการประชุม 10 ส.ค. นี้ ประกอบกับยังมีความเสี่ยงกฎเกณฑ์ของภาครัฐฯยังไม่ชัดเจน กระทบธุรกิจระยะยาว จึงทำให้เกิดแรงขายหนักดังกล่าว
โดยภาพรวม SET Index ยังอยู่ในภาวะที่ต้องเผชิญกับแรงกดดันทั้ง sell on fact นับการประกาศงบฯ การขึ้นเครื่องหมาย XD กดดันดัชนีลงมา รวมทั้งปัจจัยทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ ที่ค่อนข้างตึงเครียด ทำให้ดัชนีอาจต้องกลับมาสร้างฐานกันอีกครั้งที่บริเวณ 1570 จุด ส่วนแนวต้าน 1585 จุด ยังเป็นแนวที่แข็งแกร่งและมีนัยสำคัญ
ดอลล่าร์มีแนวโน้มทรงตัว โอกาส Fed ขึ้นดอกเบี้ยน้อยลง
เชื่อว่าสัปดาห์นี้ตลาดให้น้ำหนักปัจจัยต่างประเทศ 7-8 ส.ค.60 การประชุมฉุกเฉินเพิ่มเติมของผู้ผลิตน้ำมันในกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC ณ เมืองอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และ11 ส.ค. วันศุกร์นี้รายงานเงินเฟ้อสหรัฐ เดือน ก.ค. คาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.8%yoy จาก 1.6%yoy (ตามราคาน้ำมันดิบในเดือน ก.ค. ที่ฟื้นตัวราว 3.5%mom หรือ 6.1%mtd) แต่เป็นที่สังเกตว่าเงินเฟ้อสหรัฐยังต่ำกว่าเป้าหมายที่ Fed คาดที่ 2% หลังจากช่วงก่อนหน้าเงินเฟ้อชะลอ 4 เดือนติด คือ มิ.ย.อยู่ที่ 1.6%yoy จาก 1.9% เดือน พ.ค. จาก 2.2% เม.ย. จาก 2.6% มี.ค. เทียบกับอัตราดอกเบี้ยฯ ที่ 1.25% ทำให้ช่องว่างดอกเบี้ยหักเงินเฟ้อแคบลง ซึ่งเชื่อว่าโอกาสที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้ลดลงน้อยลงหรืออาจจะไม่ขึ้นในปีนี้ แต่ไปขึ้นในปีหน้าอีก 3 ครั้ง
ด้วยเหตุนี้จึงกดดันให้เงินดอลล่าร์เริ่มทรงตัว หรือชะลอการอ่อนค่าช่วงสั้น หรือเริ่ม U-Turn ราว 0.84% ในวันเดียวกันนับตั้งแต่วันศุกร์ หลังจากที่อ่อนค่าราว 8.58% ตั้งแต่ต้นปี สวนทางกับค่าเงินในภูมิภาคเอเซียโอกาสอ่อนค่าลงในเชิงเปรียบเทียบ อาทิ เงินบาท เป็นต้น
เงินดอลลาร์ที่เริ่มทรงตัว สวนทางกับเงินบาทที่เริ่มชะลอการแข็งค่า โดยล่าสุดอยู่ที่ 33.26 บาทต่อเหรียญ ขณะที่เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 2560 อยู่ที่ 34.60 บาทต่อเหรียญ หากประเมินว่าค่าเงินบาทในช่วงที่เหลือของปี 2560 จะทรงตัวใกล้เคียงปัจจุบันที่ระดับ 33.30 บาทต่อเหรียญ ทำให้ค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปี 2560 จะอยู่ที่ 34 บาทต่อเหรียญ ซึ่งแข็งค่ากว่าสมมติฐานที่ ASPS กำหนดไว้ที่ 35 บาทต่อเหรียญ ในปี 2560 และ 2561 จึงทำให้นักวิเคราะห์ ASPS ทยอยปรับลดสมมติฐานค่าเงินบาทลง โดยวันนี้เริ่ม เฉลี่ยปี 2560-61 เหลือ 34 บาทต่อเหรียญ ซึ่งจะกระทบต่อหุ้นส่งออกเกือบทุกกลุ่ม ทั้งอาหาร และชิ้นส่วนฯ
เงินบาทเริ่มทรงตัว-อ่อนค่า หนุนส่งออกที่มี upside HANA, CPF
วันนี้นักวิเคราะห์ ASPS ได้ออกบทวิเคราะห์ CPF (Equity Talk) เป็นหุ้นอาหารส่งออก น่าจะได้รับการปรับลดสมมติฐานอัตราแลกเปลียนข้างต้นสุทธิราว 4.9% (ผลกระทบด้านลบต่อยอดขาย แต่บวกจากผลกระทบจากหนี้สินต่างประเทศ) ขณะที่ผลกระทบจากการเพิ่มทุนครั้งล่าสุด (อัตราส่วน 5 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ราคาหุ้นเละ 25) สามารถขายได้บางส่วน คือเพียง 868 ล้านหุ้น หรือ 56% ของแผนการเพิ่มทุน ทำให้ผลกระทบจาก dilution effect อาจจะไม่มากอย่างที่คาดไว้แต่เดิม โดยเมื่อรวมผลกระทบ 2 ปัจจัย ทำให้นักวิเคราห์ ASPS ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2560-61 ลงจากเดิมเฉลี่ย 4.4% ต่อปี โดยทำให้กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ในปี 2560 จะเพิ่มขึ้นจากเดิมที่คำนึงถึงผลกระทบเพิ่มทุนหมดที่หุ้น 1.88 บาท เป็น 1.95 บาท (ลดลงเล็กน้อยเมือเทียบกับปี 2559 1.99 บาท) และปี 2561 จากเดิม 2.25 บาท เป็น 2.33 บาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 3.55%
สำหรับ Fair value ใหม่ปี 2560 ของ CPF จะลดลงเล็กน้อยมาที่ 29.40 บาท จากเดิม 30 บาท ซึ่ง อิง PBV 1.5 เท่า เป็นเพราะมูลค่าตามบัญชี (BV) ลดลงเมื่อไม่สามารถระดมทุนทั้งหมด (ทำให้แผนการนำเงินไปชำระหนี้บรรลุเป้าหมายบางส่วน และ ทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายบางส่วนยังมากกว่าที่เคยคาดไว้เดิม) แต่อย่างไรก็ตามถือว่าราคาหุ้นปัจจุบันสะท้อนข่าวลบไปทั้งหมด ขณะที่แนวโน้มผลกำไรในงวด 3Q60 น่าจะเป็นจุดสูงสุด นอกจากผลของฤดูกาลแล้ว ราคาหมูในเวียดนามได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้วในช่วง 2Q60
และ TU รายงานกำไรสุทธิงวด 2Q60 สูงกว่าคาด แม้ลดลง 3.9% qoq แต่เพิ่มขึ้น 7.6% yoy เนื่องจากมีการปรับลดค่าใช้จ่ายดำเนินงาน (ส่วนใหญ่จากค่าใช้จ่ายพนักงาน) สะท้อนได้จากสัดส่วนค่าใช้จ่าย SG&A/Sale ลดลงเหลือ 8.7% จาก 11.0% ในงวด 1Q60 และอัตราภาษีเงินได้เฉลี่ยในงวด 2Q60 ลดลงเหลือเพียง 1.4% จาก 17.6% ในงวด 1Q60 เนื่องจากในงวดนี้มีการตัดจำหน่ายด้อยค่านิยม (goodwill) ของธุรกิจ Red Lobster ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี โดยรวมทำให้ gross margin ปรับตัวดีขึ้น จาก 13.4% ในงวด 1Q60 จากผลกระทบจากราคาวัตถุดิบทูน่าเฉลี่ยที่สูงขึ้น ในงวด 2Q60 ที่สูงขึ้น 8.0% qoq และ 17.3% yoy ไปได้ทั้งหมด โดยรวมแล้วกำไรสุทธิงวด 1H60 คิดเป็น 54% ของประมาณการกำไรสุทธิปี 2560 ที่ประเมินไว้
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าขึ้นสูงกว่าสมมติฐานของฝ่ายวิจัย ASPS ดังกล่าวข้างต้น ทำให้นักวิเคราะห์มีแนวโน้มที่จะปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2560-61 ของ TU ลงเฉลี่ยราว 6% ต่อปี ภายหลังเข้าประชุมนักวิเคราะห์ในวันนี้ โดยภายหลังปรับปรุงประมาณการ คาดกำไรสุทธิปี 2560 จะลดลงจากเดิมราว 3.5% yoy โดยคาด Fair value ภายหลังปรับปรุงประมาณการจะลดลงเหลือ 19.50 บาท (เดิม FV เท่ากับ 21 บาท) จึงยังคงแนะนำ switch ไปลงทุน GFPT (FV@B21) แทน จากทิศทางอุตสาหกรรมส่งออกไก่สดใสในปี 2560
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ วานนี้ได้นำเสนอไปแล้ว ถึงผลกระทบจากการอัตราแลกเปลี่ยน โดยคาดว่า กำไรสุทธิของทั้งกลุ่มฯ จะหายไป 5.8% คาดว่าจะปรับประมาณการหลังประกาศงบในสัปดาห์นี้ โดยยังแนะนำขาย DELTA, KCE ยกเว้น HANA ที่ยังแนะนำ ซื้อ เนื่องจากแนวโน้มผลการดำเนินงานของ HANA (ที่มีรายได้เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ 100% และมีต้นทุนเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯราว 60% ของรายได้รวม) หลังการปรับสมมติฐานเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1 บาท แม้จะทำให้กำไรสุทธิปี 2560 ของ HANA ลดลง 6% และ FV ลดลง 6.6% จากเดิม โดยภายหลังปรับปรุงประมาณการ คาดกำไรสุทธิปี 2560 จะยังเติบโตถึง 32% yoy และจะทรงตัวสูงต่อเนื่องในปี 2561 ส่วนแนวโน้มกำไรจากการดำเนินงาน (ตัดรายการพิเศษออก)ปี 2560-61 จะยังเติบโตถึง 24% yoy และ 9% yoy โดย Fair Value ภายหลังปรับปรุงประมาณการจะเท่ากับ 53 บาท ยังมี upside จากราคาปัจจุบันถึง 22% ราคาหุ้นได้สะท้อนค่าเงินบาทที่แข็งค่าไปมากแล้ว เลือกเป็น Top pick
ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อย แต่ยังขาย TIP
แม้วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค แต่แรงซื้อยังคงแผ่วเบา ด้วยมูลค่าเพียง 50 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) อีกทั้งแรงซื้อหลักๆ ยังอยู่ในตลาดหุ้นแถบเอเชียตะวันออก อย่างเกาหลีใต้และไต้หวันที่ถูกซื้อสุทธิ 91 ล้านเหรียญ 8 ล้านเหรียญ ตามลำดับ ส่วนตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ยังขายสุทธิ เริ่มจาก อินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 26 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 1 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 22 ล้านเหรียญ หรือ 724 ล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 9 โดยมีมูลค่ารวมกว่า 1.75 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิ 401 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
ทางด้านตราสารหนี้สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 5.79 พันล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิเล็กน้อย 85 ล้านบาท หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 6 วัน โดยมีมูลค่ารวม 3.89 หมื่นล้านบาท)
มูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636