- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 19 July 2017 15:44
- Hits: 8479
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็ว น่าจะกดดันประสิทธิภาพการทำกำไรหุ้นส่งออก (ชิ้นส่วนฯ และ เกษตร-อาหาร) และแรงขายรับงบรายหุ้นยังมีอยู่ จึงกดดันให้ SET ยังแกว่งตัวในกรอบ 1570-1585 จุด Top pick เลือก BEAUTY([email protected]) นักวิเคราะห์ ASPS ปรับเพิ่มประมาณการ หนุน กำไรปีนี้เติบโตสูง 43% และ 30% ในปีหน้า จึงเพิ่มคำแนะนำเป็นซื้อ
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย...ยังมีแรงขายรายหุ้น
ภาพรวมตลาดยังแกว่งตัวเชิงลบ ปิดตลาด SET Index ลดลงอีก -2.57 จุด เป็นการปรับลดลงติดต่อเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 3.8 หมื่นล้านบาท หุ้นลดลงแรง คือ กลุ่มที่อิงส่งออก น่าจะได้รับผลกระทบจากที่เงินบาทแข็งค่าเร็วมาก ล่าสุดอยู่ที่ 33.58 บาทต่อดอลลาร์ นำโดย STA ลดลงแรงถึง -11.41% นอกจากกระทบจากค่าเงินเป็นผลจากการเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นเดิม (5 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่) ราคาใช้สิทธิ 10 บาท คิดเป็นเงิน 2.56 พันล้านบาท แม้ช่วยทำให้ D/E ลดต่ำลง แต่ผลกระทบหุ้นเพิ่มทุน ทำให้ EPS และ ROE ลดลง ขณะที่ราคายางพาราโลกยังอ่อนตัว และหุ้น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่ลดลงแรงคือ HANA ร่วงลงหนักถึง -6.06% ตามด้วย KCE ลดลง -3.37% และ SVI ลดลง -3.28%
หุ้นชิ้นส่วนรถยนต์ AH แม้มิได้ส่งออก แต่เป็น supply chain อุตสาหกรรมส่งออกรถยนต์ ราคาปรับลงอีก 3.69% เป็นการปรับฐานต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังขึ้นมาถึง 65% จากกลางเดือน พ.ค. ทำให้ upside จำกัด แต่ราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าหุ้น 28 บาท เริ่มมี upside แนะนำสะสมลงทุน
และหุ้นกลุ่มเหล็ก อย่าง GSTEL และ GJS ยังปรับลดลงต่ออีก -0% และ 5.88% ตามลำดับ จากประเด็นการปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการเพิ่มทุนและโครงการแปลงหนี้เป็นทุน
สุดท้าย กลุ่มธนาคารพาณิชย์ คาดว่าเป็นการรายรับงบ นำโดย ธ.พ. ขนาดใหญ่ ทั้ง TMB, SCB, KTB, BBL และ KBANK ราคาหุ้นปรับลดลง 2.56%, 2.22%, 1.60%, 1.33% และ 1.25% ตามลำดับ
ตรงข้าม หุ้น Market Cap ขนาดกลาง-เล็ก กลับขึ้นสวนตลาด อาทิ ACC ปรับขึ้น 12%, ABC ปรับขึ้น 6.67%, PLE ปรับขึ้น 4.76%, SVOA ปรับขึ้น 4.43% และ MC ปรับขึ้น 4.05%
โดยรวม SET Index ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว การแกว่งซึมในกรอบทำให้ดัชนียังคงเป็นไปในลักษณะพักตัวต่อไป โดยแนวรับ 1570/1564 จุด ยังมีแนวรับสำคัญ ส่วนแนวต้านยังอยู่ที่ 1580 จุด
ค่าเงินบาทแข็งค่า สวนทาง Dollar อ่อนค่า หลังตอบรับการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว
ค่าเงินโลกยังคงผันผวน หลังจากตลาดโลกได้ตอบรับการที่ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ โดยในปีนี้คาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง จาก การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน FOMC ที่ยังเหลืออีก 4 ครั้งในปีนี้ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยฯ ณ สิ้นปีของสหรัฐอยู่ที่ระดับ 1.5% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยฯในปีหน้าคาดว่าอยู่ที่ระดับ 2.25% ประกอบกับการมผลักดันนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ดูเหมือนจะยังไม่ประสบความสำเร็จ ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบ 10 เดือน
ตรงข้ามกับทางยุโรปและอังกฤษที่มีแนวโน้มขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯในปีหน้า โดยอังกฤษมีแนวโน้มขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่า เนื่องจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจดีขึ้น เช่น อัตราการว่างงานเดือน พ.ค. ลดลงอยู่ที่ระดับ 4.5% ต่ำสุดในรอบ 42 ปี และช่องว่างของเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยกว้างกว่าราว 2.65% (เงินเฟ้อ 2.9% และดอกเบี้ย 0.25%) ขณะที่ยุโรปช่องว่างแคบกว่าราว 1.3% (เงินเฟ้อ ล่าสุด เดือน มิ.ย. ทรงตัวที่ 1.3% และดอกเบี้ย 0%)
เช่นเดียวกับเอเชียพบว่าทุกประเทศยังเผชิญกับการแข็งค่า ยกเว้นเงินเปโซของฟิลิปปินส์ ที่อ่อนค่า รายละเอียดดังภาพข้างต้น โดยล่าสุดเงินบาทแข็งค่า อยู่ที่ 33.58 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าเงินบาทเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 2560 เท่ากับ 34.3 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่ากว่าสมมติฐานค่าเงินบาทเฉลี่ยปี 2560 ที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้ที่ 35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ และหากค่าเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มผลการดำเนินงานหุ้นกลุ่มส่งออก อาทิ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มเกษตร อาหารและยางพารา ในช่วง 2Q60-3Q60 แม้ช่วง 2Q60 จะชดเชยได้จากปริมาณขายที่เพิ่มเพราะเป็นฤดูกาลส่งออก แต่น่าจะกระทบใน 3Q60 เป็นต้นไป รายละเอียดดังนี้
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
เนื่องจากมีรายได้เกือบทั้งหมดเป็นสกุลเงินต่างประเทศ แต่มีต้นทุนเป็นสกุลเงินต่างประเทศในสัดส่วนที่น้อยกว่า โดยจากการศึกษาของฝ่ายวิจัยพบว่าทุกๆ 1 บาท ที่ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าสมมติฐานค่าเงินบาทเฉลี่ยปี 2560 ที่ 35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อคาดการณ์กำไรสุทธิกลุ่มชิ้นส่วนฯให้ลดลง 5.8% จากปัจจุบัน คือ HANA (FV@B57) รายได้ 100% เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ แต่ต้นทุนเป็นสกุลดอลลาร์ 60% อีก 40% สกุลบาท ดังนั้นทุก 1 บาทที่แข็งค่าจะกระทบต่อประมาณการกำไรปี 2560 6.2%
DELTA (FV@B78) รายได้ 71% เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ 12% สกุลยูโร 11%รูปีอินเดีย และอื่นๆ 6% ขณะที่ ต้นทุนเป็นสกุลดอลลาร์ 50% และสกุลยูโร 20% อีก 30% สกุลบาท ดังนั้นทุก 1 บาทที่แข็งค่าจะกระทบต่อประมาณการกำไรปี 2560 5.7% KCE (FV@B90) รายได้ 70% เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ และ 20% สกุลยูโร และ 10% สกุลบาท ขณะที่ต้นทุนสกุลดอลลาร์ 50% และ 20% สกุลยูโร ดังนั้นทุก 1 บาทที่แข็งค่าจะกระทบต่อประมาณการกำไรปี 2560 5.5% และสุดท้าย SVI ([email protected]) รายได้ 70% เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ และ 30% สกุลยูโร ขณะที่ต้นทุนสกุลดอลลาร์ 50% และ 20% สกุลยูโรดังนั้นทุก 1 บาทที่แข็งค่าจะกระทบต่อประมาณการกำไรปี 2560 5.2%
กลุ่มเกษตรและอาหาร
การแข็งค่าของเงินบาทดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มผลการดำเนินงานกลุ่มเกษตร-อาหารในปี 2560 เนื่องจากมีสัดส่วนรายได้สกุลเงินสหรัฐฯ มากกว่าต้นทุนในการผลิต โดยต้นทุนส่วนใหญ่เป็นสกุลเงินบาท จากการศึกษาของฝ่ายวิจัยพบว่าทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่าจากสมมติฐานค่าเงินบาทเฉลี่ยปี 2560 ที่ 35 บาท/เหรียญ จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มกำไรสุทธิกลุ่มเกษตร-อาหารปี 2560 ให้ลดลง 4.4% จากคาดการณ์ปัจจุบัน โดยหุ้นที่ได้รับผลกระทบมากสุด เรียงตามลำดับ คือ STA (ทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่า กำไรสุทธิลดลง 7.2%) ตามด้วย KSL (กระทบกำไรสุทธิ 6.7%)
ส่วน TU ทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่า กำไรสุทธิลดลง 5.5% เนื่องจากมีสัดส่วนรายได้เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ราว 69% ของรายได้รวม ขณะที่มีต้นทุนการผลิตเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯราว 50% ของรายได้รวม ซึ่งต้นทุนที่แพงขึ้นไม่สามารถชดเชยด้วยการปรับขึ้นราคาขายได้ จึงกระทบกำไรสุทธิดังกล่าว
ส่วน CPF ทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่า กำไรสุทธิลดลง 4.9% อย่างไรก็ตาม สัดส่วนรายได้ที่มีจากการส่งออกของ CPF ไม่มากนัก อีกทั้งราคาหุ้นปรับลงมามากแล้ว สะท้อนประเด็นข่าวที่ CPF ต้องรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุน บ.ย่อยในฮ่องกงใน 2Q60 สาเหตุหลักมาจากปัญหาสุกรล้นตลาดในประเทศเวียดนาม รวมทั้งประเด็นการเพิ่มทุน ราคาที่ลดลงจึงถือเป็นโอกาสทยอยสะสม
ขณะที่ GFPT ได้รับผลกระทบไม่มากนัก โดยทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่า กำไรสุทธิลดลง 2.4% เช่นเดียว BR ได้รับผลกระทบไม่มากเช่นกัน โดยทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่า กำไรสุทธิลดลงเพียง 0.3% เท่านั้น
ตรงข้ามกับ TFG ได้ประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาท โดยทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่า กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 3.8% เนื่องจาก รายได้ที่มาจากการส่งออกคิดเป็น 13% ของรายได้รวมปี 2560 ขณะที่กากถั่วเหลืองที่นำเข้าจากต่างประเทศเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตอาหารสัตว์ คิดเป็น 24% ของรายได้รวมปี 2560 ดังนั้น จึงเป็นประเด็นที่สามารถนำมาเก็งกำไรช่วงสั้นได้
ปรับเพิ่มกำไร BEAUTY ปี 2560 จึงเติบโตสูง 40% และ 30% ปีหน้า
วันนี้ขอแนะนำ BEAUTY เป็น Top Pick เนื่องจากนักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 13% ในช่วง 2560-2561 โดยมีการปรับสมมติฐานสำคัญ คือ ยอขายสาขาเดิม (SSG) ตาม กำลังซื้อในประเทศที่ฟื้นตัว และ จากนักท่องเที่ยวจีน (25% ของยอดขาย) ฟื้นตัวเร็วกว่าคาด จึงปรับเพิ่มสมมติฐานอัตราการเติบโตของยอดขายสาขาเดิมในปี 2560-2561 จากเดิมปีละ 12% และ 8% เป็นปีละ 15% และ 11% ตามลำดับ หนุนกำไรปี 2560-2561 เติบโต 43% และ 30% ตามลำดับ นอกจากนี้ ในระยะยาวกระแสความนิยมรักสุขภาพและความงามยังแรงต่อเนื่องในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จึงปรับเพิ่มสมมติฐาน Terminal Growth จากเดิม 5% เป็น 5.25% ประเมินมูลค่าพื้นฐานใหม่อยู่ที่ 13.5 บาท แม้เทียบเท่า PER สูงถึง 43 เท่า แต่หากประเมินจาก PEG พบว่า BEAUTY ปัจจุบันมี PEG ถูกสุดเพียง 0.84 เท่า เทียบกับผู้ค้าปลีกรายอื่นที่ฝ่ายวิจัยดูแล อาทิ COM7 อยู่ที่ 1.22 เท่า, TNP อยู่ที่ 0.92 เท่า และ HMPRO อยู่ที่ 1.21 เท่า (อ่านรายละเอียด Equity Talk เช้านี้)
TCAP งบดีตามคาด ยังเลือกเป็น 1 ใน Top pick กลุ่ม ธพ.
วานนี้ TCAP รายงานงบ 2Q60 ออกมาตามคาด ทำกำไรสุทธิได้ 1.67 พันล้านบาท เติบโต 4.5%qoq และ 14.2%yoy หนุนด้วยรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ และ NIM ที่เติบโตจากสินเชื่อสุทธิที่กลับมาเติบโตเพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สำหรับรายได้ค่าธรรมเนียมฯ อ่อนตัวลง กดดันด้วยการลดลงของค่าธรรมเนียมฯ จากธุรกิจหลักทรัพย์ แต่ชดเชยได้จากการเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอื่นๆ ขณะที่ค่าใช้จ่ายดำเนินงานยังทรงตัว นอกจากนี้ยังได้ผลบวกจาก effective tax rate ที่ลดลงมาที่ระดับต่ำเพียง 5.4% ของกำไรก่อนหักภาษีฯ ในงวดนี้ ล้วนเป็นปัจจัยบวกที่หนุนกำไรสุทธิให้เติบโตขึ้น สำหรับคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2560-61 เติบโต 17.0% yoy และ 12.0% yoy ขับเคลื่อนด้วยการเติบโตของสินเชื่อสุทธิปี 2560 ที่ธนาคารฯ กำหนดไว้ 3-5% yoy ส่วนแนวโน้มกำไรสุทธิ 3Q60 ประเมินว่าจะเติบโตต่อเนื่องจากงวด 2Q60 หนุนด้วยรายได้จากธุรกิจหลักที่ยังเติบโตต่อเนื่อง สอดคล้องกับสถานการณ์บวกของสินเชื่อ NIM และรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่จะกลับมาเติบโต อีกทั้งยังประเมิน credit cost อ่อนตัวลง โดยรวมจึงยังเลือกเป็นหนึ่งใน top pick ของกลุ่มฯ Fair value ที่ 53 บาท พร้อมคาดหวัง Div. Yield ราว 5%
ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค แต่ยังซื้อไทย
วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 102 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 4 วัน) โดยแรงขายหลักๆ เกิดขึ้นในตลาดหุ้น 2 แห่ง คือ เกาหลีใต้ถูกสลับมาขายสุทธิ 159 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 4 วัน) และอินโดนีเซีย 80 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 11) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 แห่ง ต่างชาติซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิ 63 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 5 ล้านเหรียญ และไทยที่ถูกต่างชาติซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 69 ล้านเหรียญ หรือ 2.3 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิสูงถึง 5.3 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และเป็นการขายสุทธิสูงสุดในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 2.46 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิราว 474 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 8 วัน)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636