- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 17 July 2017 17:13
- Hits: 1645
บล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ภาวะตลาดหุ้นรายวัน 17-7-17
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังผันผวน มีซื้อ-ขายรายหุ้น ที่ราคาหุ้นขึ้นเกิน Fair Value และปรับขึ้นก่อนการประกาศงบ 2Q60 (DTAC, INTUCH) และกลุ่ม ธ.พ. อยู่ระหว่างการรายงานงบงวด 2Q60 จนถึงสัปดาห์หน้า จึงคาดว่า SET ยังแกว่งตัวในกรอบ 1570-1585 จุด Top picks ยังชอบ JWD(FV@B11) และเพิ่ม GFPT(FV@B21) หลังราคาหุ้นปรับฐานระยะหนึ่ง มีโอกาสฟื้นตัวต่อ เพราะนักวิเคราะห์ ASPS คาดกำไรงวด 2Q60 โดดเด่น 14%qoq และ 21%yoy
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย...แกว่งสลับขายทำกำไร
วันศุกร์ที่แล้ว SET Index ปรับลดลง 1.62 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายลดลงมาเหลือเพียง 3.47 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการสลับขายหุ้นที่ฟื้นตัวต่อเนื่องมานาน 1-2 เดือน นำโดยหุ้นอาหารและโรงแรม คือ ERW และ CENTEL ลดลง 2.75% และ 1.83% ตามลำดับ และตามด้วยกลุ่ม ICT นำโดย DTAC ลดลง 1.35% หลังจากทีขึ้นไปกว่า 30% จากจุดต่ำสุด เมื่อกลางเดือน พ.ค. ซึ่งได้รับแรงหนุนจากที่ ได้คลื่น 2300MHz จาก TOT ขนาด 60 MHz สามารถทดแทนคลื่นที่กำลังจะหมดสัมปทานในจำนวนใกล้เคียงกัน และเป็นการขายรับงบ 2Q60 ที่ออกมาดีกว่าคาดมาก เพราะลดต้นทุนการตลาดไป
ทั้งนี้ นับว่าสวนทาง ADVANC และ INTUCH ที่วานนี้บวก 1.34% และ 1.27% ตามลำดับ. เนื่องจากปรับตัวขึ้นน้อยกว่า DTAC คือ ราว 11% เท่ากันในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แต่คาดว่าน่าจะมีการขายทำกำไรเมื่อมีการรายงบใน 27 ก.ค. และ 8 ส.ค. ตามลำดับ
ตรงข้ามหุ้นที่ฟื้นตัว ส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่เคยถูกขายหนักในช่วงก่อนหน้า นำโดย CBG ฟื้นตัว มากถึง 4.91% ในวันเดียว (ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลกระทบจากจัดเก็บภาษีน้ำตาลในเครื่องดื่ม) ตามด้วย KSL และ CPF เพิ่มขึ้น 2.67% และ 1.23% ตามลำดับ (ราคา KSL ลดลงกว่า 20% ในช่วง 1 เดือนก่อนหน้า เพราะปัญหา oversupply น้ำตาลในตลาดโลก ส่วน CPF ราคาหุ้นแกว่งตัวแคบ 26-24 บาท เพราะผลกระทบหุ้นเพิ่มทุน 5:1 ราคาหุ้นละ 25 บาท แต่ผ่านการชำระเงินฯแล้ว 24 พ.ค. 2560)
ภาพรวมตลาดสัปดาห์พบว่า SET Index บวกขึ้นเล็กน้อย 0.53% (SET50 และ SSET Index ปรับเพิ่มขึ้น 0.65% และ 0.56% ตามลำดับ) หุ้นกลุ่มที่นำตลาดมากที่สุดคือ ICT (3.28%) กลุ่มเกษตร (2.74%) และกลุ่มธุรกิจการเงิน (2.17%) ส่วนหุ้นลดลงมากที่สุดคือกลุ่มโรงพยาบาล (-2.19%) บันเทิง (-1.17%) และอสังหาฯ (-1.14%) โดยภาพรวมการที่ดัชนีปิดติดลบ แต่ด้วยมูลค่าการซื้อขายไม่มาก และดัชนีลงมาแนวรับเส้นค่าเฉลี่ย 10 วันที่ 1575 จุด สามารถดีดขึ้นทันที ทำให้การเคลื่อนไหวในวันนี้น่าจะเป็นการสร้างฐานเพื่อกลับไปทดสอบแนวต้าน 1585 จุด อีกครั้ง
ยุโรปมีสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย..หนุนยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวระยะสั้นๆ สะท้อนจากอัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย เพิ่มขึ้นเป็น 4.4% จาก 4.3% ในเดือน พ.ค. เนื่องจากยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตรต่ำกว่าที่คาด และเช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อ ในเดือนเดียวกัน ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 อยู่ระดับ 1.6%yoy จาก 1.9%yoy ในเดือน พ.ค. ซึ่งเกิดจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ซึ่งทำให้ตลาดเริ่มคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยฯ ที่ล่าช้าลง จากที่ Fed กำหนดเป้าหมาย จะขึ้นได้อีก 1 ครั้งจากการประชุมที่เหลือ 4 ครั้งในปีนี้ ( สิ้นปีอยู่ที่ 1.5%) ประกอบการไม่สามารถผลักดันนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ ล่าสุด กฎหมายประกันสุขภาพ (American Health care ) ที่ยังไม่ผ่านวุฒิสภา และมาตรการปรับลดภาษีที่ยังไม่ชัดเจน กดดันให้ค่าเงินดอลลาร์ยังคงอยู่ในทิศทางอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน ที่ 94.5 จุด หรืออ่อนค่าราว 6.97%ytd
ด้วยเหตุนี้จึงหนุนให้เงินยูโร และเงินปอนด์ เทียบดอลลาร์ ยังแข็งค่าต่อเนื่อง ราว 9.1%ytd และ 6.2% ytd โดยเชื่อว่าธนาคารกลางทั้ง 2 แห่ง น่าจะกลับมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวตามสหรัฐในช่วงต้นปีหน้า 2561 แม้ว่ายังมีความเสี่ยงทางการเมือง ดังเช่น Brexit เนื่องจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยุโรปและอังกฤษฟื้นตัวชัดเจน สะท้อนจากตลาดแรงงงานที่แข็งแกร่งคือ อัตราการว่างงานโดยรวม ล่าสุด ลดลงมาอยู่ที่ 9.3% (ระดับต่ำสุดตั้งแต่ วิกฤตซับไพรม์ มิ.ย. 2552) หลักๆ ลดลงจากประเทศที่เป็นหัวเรือใหญ่ในยุโรป คือ อังกฤษ, เนเธอร์แลนด์, เยอรมัน, ฝรั่งเศส, อิตาลี และอัตราเงินเฟ้อยังคงทรงตัวในระดับสูง แม้ เดือน มิ.ย. แม้ชะลอลงเล็กน้อย คือเงินเฟ้อของยุโรป อยู่ที่ 1.3%yoy จาก 1.4% เดือน พ.ค. ยังอยู่ในระดับสูง
เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% ทั้งนี้ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่จะถึงในวันที่ 20 ก.ค. ซึ่งตลาดคาดว่าจะยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง โดยน่าจะยืนดอกเบี้ยฯ ที่ 0% และคง QE ที่เดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร (ระยะเวลา เม.ย. ถึงสิ้นปีนี้) แต่ให้น้ำหนักไปที่การประชุมรอบถัดไป ก.ย. สะท้อนจากผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกส่วนใหญ่คาดว่าจะมีประกาศถอนเงินออกจากระบบ (Tapering)
ขณะที่เอเซีย 19-20 ก.ค. ประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดว่ายังคงยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% ตั้งแต่ ม.ค. 2559 เทียบกับอัตราเงินเฟ้อ ล่าสุด อยู่ที่ 0.4%yoy ติดต่อกัน 2 เดือน (และ คงวงเงิน QQE ที่ปีละ 80 ล้านล้านเยนตั้งแต่ พ.ย. 2557 ควบคู่กับการรักษาเส้น Yield Curve) เนื่องจากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวล่าช้า สถานการณ์นี้คาดว่ายังทำให้ fund flow ไหลออกจากเอเชียไปยังยุโรปและสหรัฐ
ตลาดหุ้นทั่วโลกอยู่ในช่วงรายงานงบ 2Q60 มีแรงซื้อสลับขาย
คาดวันนี้ SET Index อาจได้ sentiment เชิงบวกตามตลาดต่างประเทศ หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐสามารถทำ new high อีกครั้ง โดยมีปัจจัยหนุนจากความคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐอาจจะถูกเลื่อนออกไป เพราะดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่ชะลอดังกล่าวข้างต้น และน่าจะมาจากผลประกอบการ 2Q60 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น S&P 500 ที่ออกมาดีกว่าคาดด้วย โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเป็นการรายงานงบฯ ของกลุ่มสถาบันการเงิน (เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทย) ล้วนมีผลประกอบการที่ดีกว่าคาด อาทิ JP Morgan กำไรสุทธิอยู่ที่ 6.16 พันล้านเหรียญ (ดีกว่าคาดที่ 5.70 พันล้านเหรียญ หรือ 8.1%), Citigroup กำไรสุทธิอยู่ที่ 3.55 พันล้านเหรียญ (ดีกว่าคาดที่ 3.34 พันล้านเหรียญ หรือ 6.4%) และ Wells Fargo กำไรสุทธิอยู่ที่ 5.28 พันล้านเหรียญ (ดีกว่าคาดที่ 5.09 พันล้านเหรียญ หรือ 3.7%) ทั้งนี้ คาดว่ากำไรสุทธิ 2Q60 จะเติบโต 8%yoy จึงทำให้นักวิเคราะห์สหรัฐ ได้ปรับประมาณการกำไรตลาดหุ้น S&P 500 ขึ้นสู่ 130.39 เหรียญต่อหุ้น จากปลายเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 129.97 เหรียญต่อหุ้น
ขณะที่ปัจจัยในประเทศ น่าจะได้แรงหนุนจากความชัดเจนของการจัดตั้งกองทุน Thailand Future Fund หลังจากที่ช่วงก่อนหน้านี้ ( 6 ก.ค.) มีกระแสข่าวว่าถูกเลื่อนออกไปเป็นต้นปี 2561 จากเดิมที่คาดจะเริ่มทยอยขายได้ในช่วง 2H60 เนื่องจากติดปัญหาในขั้นตอนการทำงาน โดยเฉพาะการโอนกรรมสิทธิในกระแสเงินสดของ 2 เส้นทางหลัก คือ ทางด่วนพิเศษฉลองรัฐ (รามอินทรา-อาจณรงค์) และ บูรพาวิธี (บางนา-ชลบุรี) ให้กับกองทุน TFF (45% ของเงินที่เก็บได้ เป็นเวลา 30 ปี) เพื่อนำเงินไปลงทุนในการก่อสร้าง ทางด่วน 2 เส้นทางใหม่คือ ทางด่วนพิเศษพระราม 3 (ดาวคะนอง วงแหวนรอบนอก) 3 หมื่นล้านบาท และทางด่วนขั้น 3 เกษตรนวมินทร์ – มอเตอร์เวย์ 1.4 หมื่นล้านบาท
ล่าสุด กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้ข้อสรุปกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ในการโอนกรรมสิทธิในกระแสเงินสดของ 2 เส้นทางหลักดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว จากนั้น กทพ.จะเสนอให้คณะกรรมการ กทพ.เห็นชอบในสัปดาห์นี้ ซึ่งกระทรวงการคลังก็จะต้องเร่งกระบวนการต่างๆ เพื่อให้เร็วขึ้นและพร้อมขายหน่วยลงทุนตามแผนเดิม ก.ย.นี้
นับเป็นประเด็นบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจประเทศ เพราะไม่ต้องมีภาระหนี้ ในการจัดหาแหล่งเงินทุน ขณะที่เป็นบวกต่อบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะ KKP ([email protected]) เนื่องจากถือหุ้นใหญ่ในหลักทรัพย์ภัทร ที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งนักวิเคราะห์ ASPS ยังไม่ได้รวมไว้ในประมาณการ อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นได้ขึ้นมาตอบรับประเด็นบวกดังกล่าวจนทำให้มี upside เหลือน้อย แต่ยังสามารถคาดหวังเงินปันผลที่ให้ yield สูงถึงกว่า 8% จึงแนะนำถือต่อเพื่อรับปันผล
Fund Flow หนุนตลาดหุ้นเกาหลีใต้ทำ New High และยังคงซื้อไทย
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่าราว 83 ล้านเหรียญ แต่เป็นที่สังเกตว่ายังคงขายสุทธิถึง 3 ประเทศ คือ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิอีกกว่า 73 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9) ตามมาด้วยไต้หวัน 36 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน) และฟิลิปปินส์ 15 ล้านเหรียญ
ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 197 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 4) หนุนให้ดัชนี KOSPI ขึ้นทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2,414.63 จุด ส่วนตลาดหุ้นไทยถูกต่างชาติซื้อสุทธิเช่นเดียวกันราว 11 ล้านเหรียญ หรือ 386 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิ 492 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 1.20 หมื่นล้านบาท ตรงข้ามต่างชาติยังขายสุทธิอีก 2.90 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7 โดยมีมูลค่ารวม 1.49 หมื่นล้านบาท)
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค