- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 11 July 2017 16:30
- Hits: 1749
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีหุ้นไทยยังแกว่งตัวในกรอบ 1560-1575 จุด โดยมีแรงขับเคลื่อนจากในประเทศ โดยเฉพาะการรายงานงบงวด 2Q60 ของธนาคารพาณิชย์และการทำ earnings preview หุ้นภาคการผลิต และความคืบหน้าการลงทุนภาครัฐ และดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ ยังหนุนหุ้นอสังหาฯ Top pick คือ SPALI([email protected]) พื้นฐานแกร่ง (PER ต่ำ 8 เท่า ปันผลสูง 4.6%) มีการกระจายธุรกิจที่ดี (แนวราบและสูงใกล้เคียงกัน)
ย้อนรอยตลาดหุ้นยังคงแกว่งตัว เลือกขายทำกำไร AOT, GJS, GSTEL
วันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยปิดปรับตัวลดลงเล็กน้อย -0.20 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 3.28 หมื่นล้านบาท ตลอดวันดัชนีแกว่งผันผวนในกรอบแคบ โดยลดลงในช่วงบ่าย ก่อนที่จะฟื้นตัวได้ในช่วงท้ายของการซื้อขาย โดยหุ้นที่กดดันตลาดมากที่สุด คือ AOT ลดลง 2.51% มีผลให้ SET Index ลดลง -1.8008 จุด ตามมาด้วยหุ้นขนาดเล็ก นำโดย IT ลดลงถึง -9.09% และ GJS, FER และ GSTEL ลดลง -8.77%, 8.57% และ 7.69% ตามลำดับ
ตรงกันข้ามหุ้นที่หนุนตลาดมากที่สุด คือ PTT เพิ่มขึ้น 1.36% มีผลต่อ SET Index เพิ่มขึ้น 1.4402 จุด ตามมาด้วยหุ้นรับเหมา ที่เกี่ยวข้องกับงานฐานราก ที่เด่นคือ PYLON และ SEAFCO ปรับขึ้น 4.86% และ 4.03% ตามความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างภาครัฐ น่าจะหนุนให้ผลการดำเนินงานงวด 2Q60 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ขณะที่ COM7 ฟื้นตัว 3.60% หลังปรับฐานลงต่อเนื่อง 9 วันทำการติดต่อกัน จนทำให้ upside กลับมาเปิดกว้างอีกครั้ง ขณะที่แนวโน้มผลประกอบการ 2Q60 น่าจะเริ่มเห็นผลบวก จากการขยายธุรกิจผ่านช่องทางใหม่ เช่น BKK, การบริหารพื้นที่ขายใน Lotus และการบริหารพื้นที่ขายในทรูช็อป ซึ่งทำให้มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการและ Fair Value หลังการประกาศงบ 2Q60
เงินเฟ้อสหรัฐมีแนวโน้มชะลอตัว ตามการว่างงาน หนุน Fed ขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง
แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ คาดยังผันผวนและน่าจะให้น้ำหนักต่อการรายงานงบกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีแนวโน้มชะลอตัวจากงวด 1Q60 อ่านรายละเอียดใน Equity Talk กลุ่มธนาคารพาณิชย์ 3 มิ.ย.) หลังจากนี้ จะเป็นการรายงานของหุ้นในภาคการผลิต (Real Sector) ขณะที่ปัจจัยเรื่องแรงงานต่อการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว อาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน (สิ่งทอ เกษตร ประมง เป็นต้น) แต่คาดว่าจะเป็นผลดีในระยะยาว (รายละเอียดอ่านในย่อหน้าถัดไป)
ส่วนนักลงทุนต่างชาติน่าจะยังเป็นการซื้อสลับขาย และน่าจะรอความชัดเจนตัวเลขเศรษฐกิจและนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสหรัฐ และมาตรการกีดกันทางการค้า ทั้งนี้ล่าสุด การรายงานตัวเลขอัตราการว่างงานของสหรัฐ ซึ่งล่าสุดเปิดเผยขยับขึ้นมาอยู่ที่ 4.4% เพิ่มขึ้นจาก 4.3% ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง (non-farm payroll) และคาดว่ายังมีผู้ที่เข้ามาในตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน (ระยะสั้นยังไม่มีงานทำ อาจจะรอเวลาระหว่างการหางานทำ) ทำให้ particifation rate เพิ่มขึ้นจาก 62.7% ในเดือนก่อนหน้าเป็น 62.8%
นอกจากนี้ ในวันศุกร์นี้จะมีการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของเดือน มิ.ย. ซึ่งคาดว่าน่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากเดือน มิ.ย. ที่ 1.9% (ลดลง 2.2% เดือน เม.ย., 2.4% มี.ค. และ 2.7% ก.พ. 2560) เมื่อ เทียบกับดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25% ทำให้สหรัฐน่าจะขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยน่าจะขึ้นอีก 1 ครั้งจากการประชุมที่เหลือ 4 ครั้งในปีนี้ราว 0.25% ในช่วงปลายปีนี้
ดอกเบี้ยยังต่ำหนุนหุ้นอสังหาฯ PE ต่ำ ปันผลสูง ชอบ SPALI, LH
ในภาวะตลาดแกว่งตัวกรอบแคบ การเลือกลงทุนในหุ้นที่สามารถคาดหวังผลตอบแทนจากเงินปันผลได้ในรับสูง แต่ยังไม่แพง คือมี P/E ต่ำ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี โดยหุ้นในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นหนึ่งในตัวเลือก ในส่วนของผลประกอบการของธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อขาย คาดว่าจะเห็นการกลับมาฟื้นตัวของยอดรับรู้รายได้ในงวด 2Q60 ทั้งนี้ประเมินจากธุรกรรมการขายที่กลับมาดีขึ้นนับตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค. 2560 เฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของโครงการแนวราบ ทำให้คาดว่าจะเห็นการเพิ่มขึ้นของยอดโอนฯ จากงวด 1Q60 แต่อย่างไรก็ตามหากเทียบกับ 2Q59 ก็ยังน่าจะเห็นการอ่อนตัว เนื่องจากในงวด 2Q59 มีมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์จากภาครัฐ ซึ่งครอบคลุมอยู่จนถึงปลายเดือน เม.ย.2559 ทำให้ฐานรายได้และกำไรในงวด 2Q60 ต่ำกว่าปกติ ทั้งนี้ ณ สิ้น 1Q60 มี Backlog (ไม่รวม JV) พร้อมรับรู้รายได้ในช่วง 2Q-4Q60 ประมาณ 9.1 หมื่นล้านบาท โดยจะทยอยรับรู้ตั้งแต่ 2Q60 เป็นต้นไป และจะค่อยๆ สูงขึ้น โดย 4Q60 จะเป็นจุดสูงสุดเหมือนปกติทุกปี คาดผลักดันกำไรปกติกลุ่มฯ ปีนี้เติบโต 17.5% yoy
ขณะที่ผลกระทบจาก พ.ร.ก. แรงงานต่างด้าว คาดไม่กระทบต่อกลุ่มฯ อย่างมีนัยฯ เนื่องจากผู้พัฒนาโครงการคอนโดฯ มีการว่าจ้างผู้รับเหมารายใหญ่ในการก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่มีระบบบริหารจัดการแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ขณะที่ผู้พัฒนาโครงการแนวราบ ก็มีว่าจ้างผู้รับเหมางานก่อสร้างรายย่อยรายหลาย ซึ่งสามารถสับเปลี่ยนหมุนเวียนในงานก่อสร้าง หากผู้รับเหมารายใดรายหนึ่งมีปัญหา ขณะเดียวกันการใช้ระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในงานก่อสร้าง เช่น Precast ช่วยลดแรงงานคนได้พอสมควร
ฝ่ายวิจัยแนะนำ Selective Buy เลือกหุ้นที่มีฐานธุรกิจแข็งแกร่ง, Backlog สูง ปันผลจูงใจ และมี PER ต่ำ ได้แก่ LH ([email protected]) เนื่องจากมีโครงสร้างธุรกิจครบทุกมิติ ทั้งอสังหาฯเพื่อขายและเพื่อเช่า รวมถึงมีความสมดุลในพอร์ตสินค้าครบทุกประเภท และลูกค้าเป้าหมายทุกกลุ่ม ช่วยผลักดันให้การสร้างรายได้มีความยั่งยืน โดย LH คาดหวัง Div Yield สูงเกือบ 7% ต่อปี และมี Expected P/E เพียง 12.8 เท่า และ SPALI ([email protected]) คาดแนวโน้มผลประกอบการ 2Q-4Q60 เติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากกำหนดการส่งมอบโครงการคอนโดฯ ใหม่ใน 3 ไตรมาสที่เหลือของปี โดยทั้งปี 2560 คาดกำไรปกติเติบโต 14% yoy ขณะที่ราคาหุ้นมี Expectd P/E เพียง 8 เท่า และคาดหมาย Div Yield 4.6%
การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว กดดันอุตสาหกรรมใช้แรงงานระยะสั้น
ตามที่ฝ่ายวิจัยได้นำเสนอถึงผลกระทบจาก พรก. แรงงานต่างด้าว ปี 2560 ต่ออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน กับผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งในเบื้องต้น คาดว่าผู้ที่ได้รับกระทบมากสุด คือ บริษัทรับเหมาก่อสร้าง เพราะมีการใช้แรงงานสูงราว 20-30% ของต้นทุนรวม และ ในจำนวนนี้เป็นแรงงานต่างด้าว (เฉพาะแรงงานที่ทำงานโยธา และไม่ใช่งานฝีมือ) สูงถึง 70 - 90% จึงอาจจะเกิดผลกระทบระยะสั้นระหว่างการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว สำหรับกลุ่มที่คาดว่ากระทบรองลงมาคือ เกษตร-อาหาร เนื่องจากใช้เครื่องจักรเป็นหลัก และ ใช้แรงงานบางส่วน ในอัตราราว 10% ของต้นทุนการผลิต โดยบางบริษัทจะมีการใช้แรงงานต่างด้าวในสัดส่วนสูง เช่น TU ใช้แรงงานต่างด้าวสูง 90% ของคนงานทั้งหมด (ต้นทุนแรงงานคิดเป็น 7% ของต้นทุนทั้งหมด) แต่ TU เปิดเผยว่าได้ใช้แรงงานต่างด้าวถูกกฏหมาย ทั้งหมดแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2559 ทำให้ต้นทุนค่าแรงสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว จึงน่าจะได้รับผลกระทบจาก พ.ร.ก. แรงงานต่างด้าวฉบับใหม่จำกัด ขณะที่ CPF ใช้แรงงานต่างด้าวราว 30% ของแรงงานทั้งหมด (ต้นทุนแรงงานคิดเป็น 13% ของต้นทุนรวม) และ CPF มีการใช้แรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายอยู่แล้ว ต้นค่าแรงสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ จึงประเมินผลกระทบค่อนข้างจำกัดเช่นกัน(อ่านรายละเอียด Market Talk 5 ก.ค. 560)
สำหรับ วันนี้ จะนำเสนอผลกระทบต่อกลุ่ม/ธุรกิจอื่นๆ รายละเอียดดังนี้
ธุรกิจอสังหาฯ ประเมินต้นทุนการก่อสร้างราว 70% ซึ่งใน 100% ของต้นทุนแบ่งเป็นต้นทุนค่าแรงงาน 25% ซึ่งต้นทุนแรงงานต่างด้าว ยังไม่มีข้อมูลชัดเจน แต่ส่วนใหญ่ ขึ้นกับกลุ่มบริษัทผู้รับเหมาที่ได้ว่าจ้างในจัดการงานก่อสร้าง เนื่องจากใช้วิธีการ outsource ให้กับผู้รับเหมาฯ ดังนั้นหาก ผู้รับเหมาเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน ย่อมส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการก่อสร้างโครงการ แต่อย่างไรก็ตามระยะสั้น คาดว่ากระทบต่อกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัยน้อย เนื่องจากปัจจุบันผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ ประเภทแนวสูง หรือคอนโดมิเนียม ซึ่งมีการว่าจ้างผู้รับเหมารายใหญ่ในการก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่มีระบบบริหารจัดการแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ขณะที่ผู้พัฒนาโครงการแนวราบ ประเภทบ้านเดี่ยว และทาวน์โฮม ก็มีว่าจ้างผู้รับเหมางานก่อสร้างรายย่อยรายหลาย ซึ่งสามารถสับเปลี่ยนหมุนเวียนในงานก่อสร้าง ขณะเดียวกันการใช้ระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในงานก่อสร้าง อาทิเช่น ระบบ Precast ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดแรงงานคนได้พอสมควร นอกจากนี้การใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรการ 44 ของภาครัฐฯ ชะลอการบังคับใช้ พ.ร.ก. แรงงานต่างด้าวออกไปอีก 180 วัน (หรือจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2560) จะช่วยให้มีเวลาปรับตัวทั้งผู้ประกอบการและแรงงาน เพื่อบริหารจัดการแรงงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย ถือเป็นการเตรียมความพร้อมและลดผลกระทบเมื่อถึงเวลาที่มีผลบังคับใช้จริงในอนาคต
กลุ่มเกษตร-อาหาร ผู้ประกอบการกลุ่มเกษตร-อาหารมีการใช้แรงงานต่างด้าวในโรงงาน คือ:
GFPT (Buy FV@B21) จัดอยู่ในบริษัทที่ใช้แรงงานปานกลางเช่นเดียวกับ CPF, TU เนื่องจากมีการใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยในการตัดแต่งเนื้อไก่ ผลิตอาหารสัตว์และฟาร์มเลี้ยงไก่ โดยโดยมีต้นทุนค่าแรงราว 10% ของต้นทุนรวม ซึ่งในจำนวนนี้เป็นแรงงานต่างด้าว 30% ของคนงานทั้งหมด และเป็นแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย จึงได้รับผลกระทบค่อนข้างจำกัด
TFG (Sell [email protected]) จัดอยู่ในบริษัทที่ใช้แรงงานปานกลางเช่นกัน เนื่องจากมีการใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยในการตัดแต่งเนื้อไก่ และผลิตอาหารสัตว์ โดยโดยมีต้นทุนค่าแรงราว 10% ของต้นทุนรวม ซึ่งในจำนวนนี้เป็นแรงงานต่างด้าวราว 20% ของคนงานทั้งหมด และเป็นแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย และยังเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจเอกสารแรงงานต่างด้าวทุกวันก่อนเข้าทำงานในโรงงานอีกด้วย จึงประเมินผลกระทบค่อนข้างจำกัด
KSL (Buy FV@B6) จัดอยู่ในบริษัทที่ใช้แรงงานปานกลาง เนื่องจากมีการใช้เครื่องจักรในการหีบอ้อย ผลิตเอทานอลและไฟฟ้า โดยมีตนทุนค่าแรงเพียง 3% ของต้นทุนรวม และ KSL ไม่ได้มีการใช้แรงงานต่างด้าวอยู่แล้ว จึงไม่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ ในส่วนของเกษตรกรชาวไร่อ้อยมีการใช้แรงงานต่างด้าวอยู่บ้าง เพื่อช่วยในการดูแลและเก็บเกี่ยวอ้อย โดยชาวไร่อ้อยในภาคกลางส่วนใหญ่ใช้รถเกี่ยวอ้อย จึงใช้แรงงานค่อนข้างน้อย ส่วนชาวไร่อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ยังใช้คนตัดอ้อยอยู่ แต่โดยรวมแล้วฝ่ายวิจัยประเมินผลกระทบจะค่อนข้างจำกัด
STA (Switch FV@B16) จัดอยู่ในบริษัทที่ใช้แรงงานปานกลาง เนื่องจากมีการใช้เครื่องจักรในการแปรรูปยางพาราเป็นยางแท่งและยางแผ่น โดยโดยมีต้นทุนค่าแรงเพียง 3% ของต้นทุนรวม และปัจจุบันใช้แรงงานต่างด้าวราว 10% ของคนงานทั้งหมด โดย STA มีการใช้แรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายทั้งหมด และจ่ายค่าแรงสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว จึงประเมินผลกระทบค่อนข้างจำกัดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าชาวสวนกรีดยางในภาคใต้ และโรงงานยางแปรรูปบางแห่งในภาคใต้ (ที่ไม่ใช่ของ STA) มีการใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย อาจจะได้รับผลกระทบจากจำนวนยางที่หายไปจากตลาดบ้าง หากรัฐบาล มีการปราบปรามแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายอย่างจริงจัง แต่ก็น่าจะหนุนให้ราคายางโลกทยอยปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 2560 ส่งผลบวกโดยตรงต่อ STA
กลุ่มอาหาร – เครื่องดื่ม ต้นทุนการผลิตคิดเป็น 60% ของยอดขาย ในจำนวนนี้เป็นต้นทุนค่าแรงงาน 10% ซึ่งมีการใช้แรงงานต่างด้าวบางส่วน อย่าง ธุรกิจผลิตอาหาร (TKN) ใช้แรงงานต่างด้าวสัดส่วน 50% ของแรงงานทั้งหมด และเป็น Outsource ผ่านบริษัทรับจัดหาแรงงานต่างด้าว โดยบริษัทมีคู่สัญญาสำหรับจัดหาแรงงานประมาณ 3 – 4 บริษัท น่าจะช่วยลดความเสี่ยงในกรณีที่รายใดรายหนึ่งเกิดปัญหา กอปรกับบริษัทมีการตรวจสอบคุณสมบัติของแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในโรงงานให้เป็นไปตามกฎหมายอยู่ตลอด
ตามด้วยธุรกิจเครื่องดื่ม อย่าง OISHI, ICHI, SAPPE การผลิตเน้นใช้เครื่องจักรเป็นหลัก และใช้แรงงานเกือบทั้งหมดเป็นคนไทย ทำให้ผลกระทบจาก พ.ร.ก. แรงงานต่างด้าว ค่อนข้างจำกัด นอกจากนี้ธุรกิจร้านอาหาร เช่น M งานหน้าร้านอาหารเป็นคนไทยทั้งหมด มีการใช้แรงงานต่างด้าวเฉพาะในส่วนของงานครัว แต่เป็นสัดส่วนน้อยแทบไม่มีนัยสำคัญ
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบการกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ DELTA HANA และ KCE ไม่ได้มีการจ้างแรงงานต่างด้าว จึงไม่ได้รับผลกระทบจาก พรก. แรงงานต่างด้าวเลย ยกเว้น SVI เท่านั้นที่มีการใช้แรงงานต่างด้าว กล่าวคือ
SVI (Buy [email protected]) จัดอยู่ในกลุ่มบริษัทที่ใช้แรงงานปานกลาง โดยมีการใช้เครื่องจักรในการผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ค่อนข้างเยอะ โดยมีต้นทุนค่าแรงราว 7% ของต้นทุนรวม และปัจจุบันมีการใช้แรงงานต่างด้าวราว 25% ของคนงานทั้งหมด ซึ่งเป็นแรงงานถูกกฎหมายชาวกัมพูชา เนื่องจากปัจจุบัน SVI กำลังก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่ประเทศกัมพูชา จึงมีการนำคนงานชาวกัมพูชามาทำงานและเรียนรู้ที่โรงงานในประเทศไทย แล้วจะนำกลับไปทำงานที่โรงงานในกัมพูชาเมื่อก่อสร้างโรงงานเสร็จในปี 2561 จึงประเมินผลกระทบค่อนข้างจำกัดเช่นกัน
ธุรกิจปั๊มน้ำมัน ประเมินต้นทุนแรงงานคิดเป็นสัดส่วน 30% ของต้นทุนรวม จึงคาดว่าน่าจะได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียนแรงงานต่างด้าว แม้วันนี้เราจะไม่ทราบตัวเลขการใช้ แรงงานต่างด้าวที่แน่ก็ตาม อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับปั๊มน้ำมันแต่ละแห่งว่าจ้างแรงงานต่างด้าวมากน้อยเพียงใด หลังจากนี้คาดว่าเจ้าของสถานีบริการน้ำมัน มีแนวโน้มจะเปลี่ยนมาใช้แรงงานที่เป็นคนไทย มากขึ้น เพราะจำนวนแรงงานต่อสถานีบริการ จะขึ้นอยู่กับขนาดของสถานีบริการ ซึ่งแห่งเฉลี่ย 3-6 คน ดังนั้นจึงไม่ยากมากนักหากจะเปลี่ยนแรงงานมาเป็นคนไทย
อย่างไรก็ตามผลกระทบต่อกลุ่มพลังงานที่ฝ่ายวิจัยศึกษาที่มีรายได้จาสถานีบริการน้ำมันได้แก่ PTT พบว่า สัดส่วนรายได้ปัจจุบันจากธุรกิจปั๊มน้ำมันคิดเป็นไม่ถึง 1% ของรายได้รวมของ PTT จึงถือว่าไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด นอกจากนี้การใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรการ 44 ของภาครัฐฯ ชะลอการบังคับใช้ พ.ร.ก. แรงงานต่างด้าวออกไปอีก 180 วัน (หรือจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2560) จะช่วยให้มีเวลาปรับตัวทั้งผู้ประกอบการและแรงงาน เพื่อบริหารจัดการแรงงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย ถือเป็นการเตรียมความพร้อมและลดผลกระทบเมื่อถึงเวลาที่มีผลบังคับใช้จริงในอนาคต
กลุ่มยานยนต์ ประเมินต้นทุนแรงงานคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของต้นทุนการผลิตรวม (ต้นทุนการผลิตคิดเป็น 84% ของยอดขาย) โดยแรงงานเกือบทั้งหมดเป็นคนไทย เนื่องจากเป็นงานทีต้องใช้ทักษะสูง ผลกระทบที่เกิดจาก พ.ร.ก. แรงงานต่างด้าว จึงค่อนข้างจำกัด
Fund Flow เริ่มชะลอตัวลง และสลับมาขายหุ้นบางแห่งในภูมิภาค
วานนี้ตลาดหุ้นไทยหยุดทำการ เนื่องจากหยุดชดเชยวันอาสาฬหบูชา ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 200 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นเพียงตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ที่หลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อยเพียง 7 แสนเหรียญ (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) ส่วนตลาดหุ้นอีก 3 แห่งต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือเกาหลีใต้ 93 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน) ตามมาด้วยไต้หวัน 67 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) และอินโดนีเซีย 40 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5)
ส่วนวันศุกร์ที่ผ่านมา แม้ภาพรวมต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อยเพียง 3 ล้านเหรียญ แต่เป็นการซื้อสุทธิอยู่ประเทศเดียวเท่านั้น คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 239 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ ไต้หวัน 202 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 41 ล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ 3 ล้านเหรียญ และไทยถูกต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 7 ล้านเหรียญ หรือ 225 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิได้เพียงวันเดียว) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 137 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 1.29 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิราว 1.68 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636