WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
  กนง. ยังคงดอกเบี้ยฯ เพราะเงินเฟ้อต่ำ แต่ปรับเพิ่ม GDP Growth ตามการส่งออกที่ดีขึ้น ขณะที่ยังไม่มีแรงหนุนจาก fund flow เพราะเชื่อว่าเม็ดเงินยังคงกลับไปทางฝั่งอังกฤษ/ยุโรป ซึ่งน่าจะมีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยฯ ตามหลังสหรัฐ ยังชอบ SCB(FV@178) แต่ Top pick วันนี้ SPALI([email protected]) พื้นฐานแกร่ง (PER ต่ำ 8 เท่า ปันผลสูง 4.6%) มีการกระจายธุรกิจที่ดี (แนวราบและสูงใกล้เคียงกัน) ด้วย Backlogs สูง 3.97 หมื่นล้านบาท รองรับการเติบโตต่อเนื่อง

 

ดัชนีหุ้นไทยยังแกว่งตัวในกรอบแคบ 1570-1590 จุด
  วานนี้ SET Index ปิดบวกเล็กน้อย 0.91 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายเพียง 3.4 หมื่นล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเล็กน้อย 32 ล้านบาท เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศขายสุทธิ 446 ล้านบาท โดยมีหุ้นเด่นนำตลาด คือ AOT, BDMS และหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมีและโรงกลั่น (PTTGC, TOP) ขณะที่หุ้นน้ำมันยังกดดันตลาดฯ ขณะที่หุ้น ธ.พ. ขนาดใหญ่ปรับตัวขึ้น (SCB, BBL) ส่วน KBANK ทรงตัว ตรงข้าม ธ.พ. ขนาดกลาง ปรับตัวลดลง (TCAP, KKP, TISCO)


  เป็นที่สังเกตว่าหุ้นที่ปรับตัวโดดเด่น มากกว่าการปรับขึ้นของ SET ส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดกลางและเล็ก เช่น PE และ DTC ราคาขึ้นชน ceiling ด้วยปัจจัยหนุนเฉพาะตัว โดย PE แจ้งข่าวต่อตลาดฯ ว่า คณะกรรมการบริษัทมีมติขายหุ้นในบริษัทย่อย ทำให้มีเงินสามารถนำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรมูลค่ากว่า 252 ล้านบาทต่อกรมสรรพากร ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาเมื่อกลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ขณะที่ DTC แจ้งต่อตลาดฯ ถึงความคืบหน้าของการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน 4 บริษัท ในโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รูปแบบผสม (Mixed Use Project) ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง DTC และ CPN ซึ่งจะช่วยสร้างฐานรายได้ในอนาคตจากการกระจายลงทุนใหม่ สนับสนุนฐานะการเงินของบริษัทให้ดีขึ้น


  ตามมาด้วย SAPPE ปรับขึ้นถึง 6% จากความคาดหมายผลประกอบการ 2Q60 ฟื้นตัวจากตลาดในประเทศเข้าสู่ช่วง High season ของธุรกิจเครื่องดื่ม บวกกับการทยอยเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยมุ่งตลาดต่างประเทศ มีจีน และอินโดนีเซีย รวมกัน 65% ที่เหลือ 35% เป็นในประเทศ จะช่วยผลักดันกำไรปี 2560 เติบโต 8% yoy อย่างไรก็ตาม ราคาปัจจุบันเกิน Fair Value ทั้งยังมีประเด็นความเสี่ยงจากภาษีน้ำหวาน จึงยังแนะนำให้ switch


  และ BEC วานนี้เห็นสัญญาณฟื้นตัว ปิดบวกไป 5.45% ขณะที่ TOP ขยับขึ้นได้ 3.99% สวนทางกับคาดการณ์แนวโน้มกำไรปกติงวด 2Q60 จะลดลงจากงวด 1Q60 จากทั้งในส่วนของธุรกิจโรงกลั่น และธุรกิจอะโรเมติกส์และน้ำมันหล่อลื่น โดยฝ่ายวิจัยยังแนะนำ switch เนื่องจากราคาปัจจุบันไม่เหลือ upside แล้ว
  ตรงกันข้าม RS วานนี้ราคาลดลง -4.41% หลังจากปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา เช่นเดียวกับ TISCO เห็นการปรับฐานอย่างชัดเจน โดยลดลงถึง -4% ในวันเดียว อย่างไรก็ตามราคาหุ้นยัง upside ก็จำกัดเพียง 6.25% ฝ่ายวิจัยจึงยังแนะนำ switch
  ตามด้วย MTLS ลดลง -3.60%, SIRI ลดลง -3.51%, BANPU และ BPP ลดลง -3.05% และ -2.86% ตามลำดับ
  โดยรวม ตราบใดที่ดัชนียังไม่ผ่าน 1580 จุด ซึ่งเป็นแนวต้านสำคัญไปได้ ภาพการฟื้นตัวก็ยังคงไม่ชัดเจน SET Index จึงมีลักษณะแกว่งซึมตัวไปไหนได้ไม่ไกล โดยมีแนวรับที่บริเวณ 1567 จุด

กนง. คงดอกเบี้ย เงินเฟ้อยังต่ำ แต่มีมุมมองเศรษฐกิจดีขึ้นตามการส่งออก


  ผลการประชุม กนง. วานนี้ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามที่คาด 1.5% (ติดต่อกันตั้งแต่ เม.ย. 2558) โดยยังให้น้ำหนักต่อนโยบายการกีดกันการค้าของสหรัฐ และความเสี่ยงจากภูมิรัฐศาสตร์ แต่ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทยดีขึ้น สะท้อนจากปรับเพิ่ม GDP Growth ปี 2560-61 ปีละ 0.1% เป็น 3.5%yoy (ใกล้เคียงกับ ASPS คาด) และ 3.7%yoy ในปี 2561ซึ่งมาจากการส่งออก, การบริโภคครัวเรือนที่ดีขึ้น แต่การลงทุนภาคเอกชน และลงทุนภาครัฐลดลงจากครั้งก่อนหน้า ถือเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อหุ้นอสังหาริมทรัพย์ เช่น SPALI, LH, AP เป็นต้น


  อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทที่แข็งค่าในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากมีเงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ จากเมื่อต้นปี-ปัจจุบัน YTD มีเงินทุนไหลเข้าในตลาดตราสารหนี้ราว 4.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และไทยยังเกินดุลการค้าติดต่อกัน 17 เดือน และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 184.1 พันล้านเหรียญ เดือน มิ.ย. เพิ่มจากตั้งแต่ต้นปีที่ 179.16 พันล้านเหรียญ

เงินบาทเริ่มแกว่งตัวอ่อนค่า และน่าจะยืนเหนือ 34 บาทต่อเหรียญฯ
  เป็นที่สังเกตว่าเงินบาทเริ่มแกว่งตัวในทิศทางอ่อนค่าและน่าจะยืนได้ที่ 34 บาทต่อเหรียญฯ หลังจากที่แข็งค่ามาตั้งแต่ต้นปี ytd ราว 5.6% และ Dollar index เริ่มทรงตัวที่ 96 จุด หลังจากอ่อนค่า 6.4%ytd

 ทั้งนี้ เชื่อว่ามีโอกาสที่ไทยจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วสุดคือ ต้นปี 2561 ตามหลังสหรัฐที่นำร่องขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 2 ครั้งในปีนี้ และคาดว่าจะขึ้นอีก 1 ครั้งจากการประชุมที่เหลืออีก 4 ครั้ง โอกาสขึ้นมากสุดคือ เดือน ธ.ค. ทำให้ดอกเบี้ย Fed อยู่ที่ 1.5% สิ้นปี และการลดขนาดงบดุล(Balance Sheet) ที่ Fed จะลดราว 50% จากยอดสินทรัพย์ทั้งสิ้น 4.25 ล้านล้านเหรียญฯ เพื่อดึงสภาพคล่องออกจากระบบ หลังจากได้อัดฉีดเงินเข้าระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงซับไพรม์ สอดคล้องกับรายงานผลการประชุม Fed minute เมื่อวานนี้ที่เผยออกมา กล่าวคือ ยังคงเน้นย้ำถึงการลดขนาดงบดุลที่จะเกิดขึ้นในไม่กี่เดือนข้างหน้า คาดราวงวด 3Q-4Q60 ซึ่งตลาดรับรู้ไปแล้ว

 

  เช่นเดียวกับ ยุโรป และอังกฤษจะหันใช้นโยบายการเงินตึงตัว ตามหลังสหรัฐ แม้ยังมีปัญหาทางการเมืองอย่าง Brexit แต่น่าจะนำหน้าก่อนหน้า ทั้งนี้คาดว่าอังกฤษมีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าเนื่องจากช่องว่าง (เงินเฟ้อ-อัตราดอกเบี้ย) กว้างกว่าราว 2.65% (เงินเฟ้อ ล่าสุด 2.9% และดอกเบี้ยฯ 0.25%) ขณะที่ยุโรปมีช่องว่างน้อยกว่าที่ 1.3% (เงินเฟ้อ 1.3% และดอกเบี้ยฯ 0%) ประกอบเศรษฐกิจโดยรวมในกลุ่มประเทศขนาดใหญ่ มีทั้งขยายตัวแข็งแกร่ง อาทิ เนเธอแลนด์ ,เยอรมัน , ฝรั่งเศส และประเทศที่ยังมีปัญหา กลุ่ม PIIGS อาทิ โปรตุเกส อิตาลี กรีซ เป็นต้น โดยภาพรวมทำให้ Fund Flow ไหลกลับประเทศพัฒนาแล้ว และชะลอเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาคในระยะถัดไป

 

ภาพรวมต่างชาติยังคงขายหุ้นในภูมิภาค และขายหุ้นไทยเล็กน้อย
  วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 66 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นเกาหลีใต้เพียงแห่งเดียวที่ถูกซื้อสุทธิราว 45 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ ไต้หวันถุกขายสุทธิ 80 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 22 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), ฟิลิปปินส์ 8 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยถูกต่างชาติขายสุทธิเล็กน้อย 1 ล้านเหรียญ หรือ 32 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิ 446 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 5 วัน)
  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 1.08 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิราว 1.00 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!