- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 03 July 2017 17:28
- Hits: 1105
บล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
สัปดาห์นี้เข้าสู่ช่วงการทำ Earnings Preview งวด 2Q60 กลุ่ม ธ.พ. แม้ไม่สดใสแต่มีสัญญาณที่ดีขึ้นในงวด 2H60 จากความคืบหน้าการลงทุนภาครัฐ ทำให้มีความต้องการใช้เงินทุนจากสถาบันการเงิน เช่นเดียวกับหุ้นก่อสร้างที่คาดว่าจะนำตลาดในงวด 2H60 Top picks ยังชอบ CK(FV@35) ในฐานะที่เป็น Land Transport Operator และ SCB(FV@178) หุ้น The Laggards
SET Index ให้ผลตอบแทน 2.06% ในงวด 1H60 ต่ำสุดในภูมิภาค
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET Index ผันผวนทั้งวัน โดยดัชนีติดลบไปมากกว่า 10 จุดในช่วงบ่าย ก่อนที่จะค่อยๆ ฟื้นตัวจนลดช่วงลบลงเพียง 3 จุด โดยภาพรวมกลุ่มที่กดดันดัชนีที่สุด คือ กลุ่มพลังงาน ตามด้วยอสังหาฯ และบันเทิง ส่วนกลุ่มที่หนุนตลาด ยังคงเป็นกลุ่ม ธ.พ. ตามด้วยกลุ่ม ICT
เป็นที่สังเกตว่าหุ้นที่ปรับตัวขึ้นโดดเด่น คือหุ้นเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง บางแห่ง คือ ผู้ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ คือ THANI +3.5%, ASK +1.8% และ JMT รับซื้อ และบริหาร NPL + 2.9% เพราะตลาดน่าจะย่อยข่าวที่ ธปท. จะควบคุมการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคล ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งน่าจะกระทบ KTC และ AOENTS เป็นหลัก ตรงกันข้ามหุ้นที่ปรับลดลงแรง คือ BEC ปรับลดลง 7.5% เป็นการลดลงติดต่อกัน 3 วันทำการ น่าจะเป็นการขายทำกำไร หลังปรับตัวขึ้นติดต่อกัน ต้อนรับผู้บริหารชุดใหม่ ซึ่งเป็นทีมงานเดิมที่มือฝีมือดีจาก ADVANC ขณะที่ผลประกอบการยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัว
ส่วนมูลค่าการเฉลี่ยต่อวันที่ 4.42 หมื่นล้านบาท ลดลงจาก 1H59 ที่ 4.50 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 1.88% ถือว่าค่อนข้างทรงตัว เพราะไม่มีแรงหนุนจากต่างชาติ และหากพิจารณาเป็นรายกลุ่มฯ ในงวด 1H60 พบว่าที่ปรับตัวมากสุด ชิ้นส่วนยานยนต์ เพิ่มขึ้น 21.1% ตามด้วยปิโตรฯ 14.8% บันเทิง 12.1% ICT 9.7% อสังหาฯ 9.4% ขนส่ง 9.2% เป็นต้น ตรงกันข้าม กลุ่มที่ปรับลดลงมากสุด คือ โรงพยาบาล -12.7% ประกัน -10.1% ธุรกิจการเงิน -5.4% รับเหมาฯ -5.1% อาหาร -4.5% เป็นต้น
โดยภาพรวม SET Index ในช่วง 1H60 ดัชนีตลาดหุ้นไทยแทบไม่เปลี่ยนแปลง คือเพิ่มขึ้นเพียง 2.06% เท่านั้น (เทียบกับ 1H59 ดัชนีเพิ่มขึ้นถึง 8.33% และทั้งปี 2559 เพิ่มขึ้นเกือบ 20%) ถือว่าต่ำมาก เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นภูมิภาคเอเซีย อาทิ มาเลเซีย 7.43% อินโดนีเซีย 10.06% ฟิลิปปินส์ 14.66% อินเดีย 16.13% ฮ่องกง 17.11% และเกาหลีใต้ 18.14% (ยกเว้น จีน 2.86%) ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะปีที่แล้วตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนมากสุดในภูมิภาค และ EPS Growth ของไทยที่ต่ำเพียง 7.1% ในปีนี้ ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นมาเลเซียที่โต 7.7% แต่น้อยกว่าอินเดียที่เติบโต 10.2% และอินโดนีเซีย 17.8%
การขึ้นดอกเบี้ยของยุโรปและอังกฤษใน 2H60 มีน้ำหนักมากขึ้น
เชื่อว่าตลาดให้น้ำหนักธนาคารกลางหลักๆของโลก โดยเฉพาะฝั่งประเทศพัฒนาแล้วคือ อังกฤษ(BOE) และ ยุโรป(ECB) ซึ่งมีโอกาสจะหันใช้นโยบายการเงินตึงตัว หรือขึ้นดอกเบี้ยตามหลังสหรัฐ แม้ว่ายังมีความเสี่ยงทางการเมือง ดังเช่น Brexit หรือ การกีดกันการค้าจากสหรัฐ เนื่องจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยุโรปและอังกฤษฟื้นตัวชัดเจน สะท้อนจากดัชนี PMI ภาคการผลิตยุโรป เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 และตลาดแรงงานที่ดีขึ้นสะท้อนจากอัตราการว่างงานโดยรวม ลดลงที่ 9.3% (เทียบกับ ที่เคยสูงสุด 12.5% ปี 2556) หลักๆ ลดลงจากประเทศที่เป็นหัวเรือใหญ่ในยุโรป คือ อังกฤษ, เนเธอร์แลนด์, เยอรมัน, ฝรั่งเศส, อิตาลี
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยุโรป ยังมีแนวโน้มที่สูงขึ้น แม้เริ่มชะลอตัวเดือนหลัง ๆ (เดือน มิ.ย. อยู่ที่ 1.3%yoy จาก 1.4% เดือน พ.ค และ 1.9% เม.ย. 2560) แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% ตั้งแต่ มี.ค. 2559 (ECB ยังคง QE ที่เดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร (ระยะเวลา เม.ย. ถึงสิ้นปีนี้)
และเช่นเดียวกับอังกฤษ ดัชนีชี้นำภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 4 เดือน หนุนอัตราการว่างงาน ล่าสุด เดือน พ.ค. ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 4.6% (ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2518 จากระดับสูงสุด 8.5% ในปี 2554) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษ ที่พุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดดติดต่อกัน 8 เดือน คือจาก 0.9%yoy ต.ค. ขึ้นมาเป็น 2.9%yoy เดือน พ.ค. เทียบกับดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25% (ต่ำสุดในประวัติการณ์ โดยลดลง 0.25% หลัง Brexit)
โดยรวมทำให้เกิดช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยนโยบายกับอัตราเงินเฟ้อ มีแนวโน้มกว้างขึ้น เมื่อเทียบกับสหรัฐ ช่องว่างอยู่ที่ระดับ 0.75% (เงินเฟ้อ ล่าสุด 1.9%yoy จาก 2.2% เดือน เม.ย. เทียบกับดอกเบี้ยฯ ที่ 1.25%) ทำให้สหรัฐน่าจะขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยน่าจะขึ้นอีก 1 ครั้งจากการประชุมที่เหลือ 4 ครั้งในปีนี้ราว 0.25% ในช่วงปลายปี สอดคล้องกับผลสำรวจของ Bloomberg คาดโอกาสรอบรอบ ธ.ค. สูงสุด 52% (ก.ค. 0% ก.ย.และ พ.ย. 16%) โดยให้น้ำหนักวันที่ 5 ก.ค. รายงานผลประชุม Fed minute บ่งชี้ความเห็นคณะกรรมการขึ้นดอกเบี้ย
ด้วยเหตุนี้ หนุนให้ค่าเงินยูโรและปอนด์เทียบดอลลาร์สหรัฐ แกว่งตัวในทิศทางแข็งค่าราว 2.4% และ 2.6% ตามลำดับนับตั้งแต่ 18 มิ.ย.-ปัจจุบัน (และแข็งค่านับตั้งแต่ต้นปี(ytd) ราว 8.6% และ 5.5% ตามลำดับ หลังจากที่เงินยูโร และเงินปอนด์อ่อนค่าราว 0.1% และ 12.9% นับจากหลังการทำประชามติ หรือ Brexit) ตรงกันข้ามเงิน Dollar ยังแกว่งตัวในทิศทางอ่อนค่าราว 1.76% นับตั้งแต่ระดับสูงสุดวันที่ 18 มิ.ย. (หรืออ่อนค่าตั้งแต่ต้นปีราว 6.4% เทียบกับปี 2559 แข็งค่า 3.6%) ซึ่งเป็นปัจจัยกดดัน Fund Flow ไหลออก
ขณะที่ประเทศในเอเซีย เชื่อว่าจะยังใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อไป อาทิ ญี่ปุ่น หรือ BOJ ที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% ตั้งแต่ ม.ค. 2559 เนื่องจากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวล่าช้า เทียบกับอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 0.4%yoy ติดต่อกัน 2 เดือน และไทย การประชุม กนง. วันที่ 5 ก.ค. นี้ คาดยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% ตามเดิมจนถึงสิ้นปีนี้ หลังเงินเฟ้อชะลอตัว
เดือน ก.ค. ต่างชาติมีโอกาสกลับมาซื้อหุ้นไทยอีกครั้ง
วันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นอินโดนีเซียยังคงหยุดทำการ แต่จะกลับมาเปิดทำการในวันนี้ ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อยเพียง 5.4 แสนเหรียญ แต่มีอยู่ 2 ประเทศที่ยังคงซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิราว 21 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และฟิลิปปินส์ 21 ล้านเหรียญเช่นกัน ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศ ต่างชาติสลับมาขายสุทํธิ คือ เกาหลีใต้ 37 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุมธิเล็กน้อยราว 5 ล้านเหรียญ หรือ 156 ล้านบาท สวนทางกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 759 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
สรุป Fund Flow ในเดือน มิ.ย. 60 พบว่า ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเกือบทุกประเทศ ด้วยมูลค่ารวม 2.44 พันล้านบาท ยกเว้นตลาดหุ้นอินโดนีเซียที่ถูกขายสุทธิราว 325 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิเล็กน้อยราว 5 ล้านเหรียญ หรือ 162 ล้านบาท
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในเดือน ก.ค. คาดว่ากระแส Fund Flow จากต่างชาติมีโอกาสกลับมาซื้อสุทธิในหุ้นไทยอีกครั้ง จากสถิติย้อนหลัง 5 ปี นักลงทุนต่างชาติมักมีสถานะซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยในเดือน ก.ค. เฉลี่ยราว 6.5 พันล้านบาท โดยซื้อสุทธิ 4 ใน 5 ปี สวนทางกับนักลงทุนสถาบันในประเทศ ที่มักขายสุทธิในเดือน ก.ค. ด้วยมูลค่าเฉลี่ยถึง 6.9 พันล้านบาท จึงอาจทำให้การปรับขึ้นของ SET Index อยู่ในกรอบจำกัด และยังสอดคล้องกับสถิติย้อนหลัง 5 ปีในเดือนนี้ ซึ่ง SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยราว 0.53% เท่านั้น
กลยุทธ์เดือน ก.ค. เน้นหุ้น ธ.พ. หวังว่ากำไรจะดีในช่วง 2H60
จากสถิติในอดีตบ่งบอกว่า ครึ่งแรกของเดือน ก.ค. ดัชนีมีโอกาสฟื้นตัว น่าจะมาจาก 2 ปัจจัยคือ
- Fund Flow คาดมีโอกาสที่กลับมาซื้อสุทธิในหุ้นไทยอีกครั้ง พิจารณาจากสถิติย้อนหลัง 5 ปี พบว่ามักมีสถานะซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยในเดือน ก.ค. สวนทางกับนักลงทุนสถาบันในประเทศ ที่มักขายสุทธิในเดือน ก.ค. ด้วยมูลค่าเฉลี่ยสูงถึง 6.9 พันล้านบาท และเป็นการขายสุทธิ 3 ใน 5 ปี และ
- คาดหวังเกี่ยวกับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน งวด 2Q60 ซึ่งน่าจะเริ่มทยอยประกาศปลายเดือน ก.ค. เป็นต้นไป นำโดยกลุ่ม ธ.พ. ซึ่งนักวิเคราะห์กลุ่ม ธ.พ. ได้ทยอยทำ Earning Preview หุ้นในกลุ่มฯ แล้ว โดยรวมคาดว่าน่าจะอ่อนตัวจากงวด 1Q60 ซึ่งส่วนใหญ่กดดันจากหุ้นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ อันมีสาเหตุมาจาก NIM ที่อ่อนตัวจากการลดดอกเบี้ยฯ ในช่วงปลายเดือน พ.ค. 2560 การตั้งสำรองฯ ที่สูงขึ้น ตาม NPLs ที่ขยับขึ้น และรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลง (KTB, BBL, TMB, KBANK) ยกเว้นยอดการปล่อยสินเชื่อ เริ่มกระเตื้องขึ้น ทั้งนี้ยกเว้นธนาคารพาณิชย์ ขนาดกลาง และ เล็กที่ยังมีการเติบโตที่ดีขึ้น จากการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์/การตั้งสำรองฯ ที่ลดลง (BAY, TCAP, TISCO)
อย่างไรก็ตามคาดว่ากำไรของกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะกลับมาฟื้นตัวในงวด 3Q60 ซึ่งน่าจะเป็นจุดสูงสุดของปี โดยน่าจะเห็นพัฒนาการในเชิงบวกทั้งยอดสินเชื่อ รายได้ค่าธรรมเนียม และ NIM ที่ดีขึ้น และการตั้งสำรองฯ ที่ชะลอตัว ขณะที่คาดว่ากำไรสุทธิทั้งปี 2560 รวมกันน่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 7.5% และ 8.6% ในปี 2561 แม้จะใกล้เคียงกำไรสุทธิของตลาดที่ราว 7% แต่เชื่อว่ากระแสการลงทุนภาครัฐที่ชัดเจนมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนดัชนีกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในงวด 2H60 ยังคงเหลือ Top picks SCB (FV@B178) เนื่องจากหุ้นยัง laggards มากๆ รองลงมาเป็นหุ้นขนาดกลาง คือ KKP([email protected]), TCAP(FV@53)
ผลตอบแทนพอร์ตกระดาษทีม ASPS สูงถึง 12.08% VS SET เพียง 2.06%
นับจากต้นปีจนถึง 30 มิ.ย. 60 SET ให้ผลตอบแทนเป็นบวกเพียง 2.06% (ytd) แต่พอร์ตกระดาษที่บริหารโดยทีมวิจัยฯ ให้ผลตอบแทนสุทธิสูงถึง 12.08% (ytd) และมี Alpha หรือผลตอบแทนที่ชนะดัชนีตลาดสูงถึง 9.88% นอกจากนี้หากเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของกองทุนประเภทตราสารทุนที่ลงทุนภายในประเทศ พบว่า พอร์ตกระดาษของ ASPS มีผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับ 4 เมื่อเทียบกับกองทุนประเภทตราสารทุนที่ลงทุนภายในประเทศทั้งหมด 205 กองทุน (อ้างอิงข้อมูลจาก Morningstar สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิ.ย. 60 ดังภาพด้านล่างนี้) ถือว่าเป็นผลตอบแทนที่สูงและเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง
ยิ่งไปกว่านั้นหากพิจารณาผลตอบแทนเป็นรายเดือน พบว่า พอร์ตกระดาษ ASPS ให้ผลตอบแทนเป็นบวกทุกเดือน และชนะ SET Index ตลอดทั้ง 6 เดือนที่ผ่านมา (ดังภาพทางด้านล่าง)
ส่วนหุ้นในพอร์ตกระดาษที่ให้ผลตอบสูงสุดนับตั้งแต่ต้นปี 5 อันดับแรก คือ GFPT, SYNTEC, PTTGC, IRPC และ TASCO ทำให้พอร์ตมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นราว 3.5%, 2.4%, 1.7%, 1.4% และ 1.3% ตามลำดับ
ดังนั้นหากท่านเป็นลูกค้าของ ASPS และมีการติดตาม บทวิเคราะห์ถึงกลยุทธ์การลงทุนอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าท่านจะได้รับผลตอบแทนเป็นบวกตามสมควร และหวังว่าต่อจากนี้ท่านจะได้รับผลตอบแทนที่ดียิ่งขึ้นไปอีก (ติดตามรายละเอียดในรายการ Facebook Live บ่ายวันนี้โดย ภราดร เตียรณปราโมทย์ นักวิเคราะห์เชิงปริมาณฯ)
Derivative Team:
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636