- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 14 June 2017 16:40
- Hits: 1263
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การการลงทุน
จีนกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง ผ่านการลดภาษีทั้งระบบ หลังจากที่เพิ่งขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ตามหลังสหรัฐในรอบที่ผ่านมา น่าจะเป็น sentiment เชิงบวกต่อตลาด เพราะอาจจะดึง fund flow เข้ามาในเอเชีย แม้ไทยอาจจะไม่ใช่เป้าหมายหลัก แต่น่าจะได้อานิสงค์ไปด้วย กลยุทธ์ยังแนะขายหุ้นที่ upside จำกัด (TPIPP, EA, GFPT, HANA, DTAC, TISCO) สลับมาหุ้นใหญ่ที่ Laggard (SCB, ITD, CK, PTT, TCAP, UNIQ) Top picks UNIQ([email protected]) และ SCB(FV@B178)
ตลาดหุ้นสหรัฐน่าจะสะท้อนการลดภาษีทั้งระบบ และขึ้นดอกเบี้ย 0.25%
ในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) 13-14 มิ.ย. นี้ ซึ่งจะทราบผลในวันพรุ่งนี้ เชื่อว่าจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% อยู่ที่ 1.25% ตามตลาดคาด จากแรงหนุนเงินเฟ้อที่สูง 2.2% และ ตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง สะท้อนจากอัตราการว่างงานลดลงเหลือ 4.3% (ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2550 และต่ำกว่าเป้าที่ Fed วางไว้ที่ 4.5%) นอกจากนี้ยังต้องติดตามนโยบายการคลัง ผ่านการลดภาษีทั้งระบบตามที่นายทรัมป์ฯ เคยหาเสียงไว้ ล่าสุดดูเหมือนว่าการผลักดันน่าจะเกิดเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ-ปานกลาง ซึ่งอาจจะทำให้ตลาดผิดหวัง ประกอบกับตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวขึ้นสะท้อนปัจจัยนี้ไปแล้ว สะท้อนจากตลาดหุ้นสหรัฐทำ New high (NASDAQ เพิ่ม, 14%ytd, S&P500 +7.5%, และ DJIA +7%ytd) ขณะที่มีค่า Expected P/E ปีนี้สูง 18 เท่า ขณะที่ EPS Growth ตลาดอยู่ที่ 10% ทำให้โอกาสจะขยับขึ้นต่อจากนี้น่าจะเริ่มมี upside จำกัด
ขณะที่ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วในกลุ่มยุโรป พบว่ามีค่า Expected P/E ที่ต่ำกว่าตลาดหุ้นสหรัฐคือไม่เกิน 15 เท่า (อังกฤษ เยอรมัน และ ฝรั่งเศส) เทียบกับ EPS Growth ที่ระดับสูงกว่าหรือใกล้เคียงตลาดหุ้นสหรัฐ ทำให้เชื่อว่าเม็ดเงินลงทุนน่าจะสลับมายังหุ้นยุโรปมากขึ้น
ขณะที่ในฝั่งของตลาดหุ้นกลุ่มประเทศ Emerging Market นั้น มีเพียงตลาดหุ้นอินโดนีเซียที่ขึ้นทำ New High ไปแล้วก่อนหน้า สะท้อนคาดการณ์การเติบโตในปีนี้ที่ 17.4% ขณะที่การเติบโตของตลาดหุ้นอื่นๆ ไม่ได้อยู่ในระดับที่น่าประทับใจมากนัก อาทิ ตลาดหุ้นไทย คาดว่าโตเพียง 7.1% จีน คาดโต 7% มาเลเซียโต 6.2% ฟิลิปปินส์ โต 5.4% และที่สำคัญ Expected P/E ค่อนข้างสูง โดยฟิลิปปินส์สูงถึง 19.3 เท่า ตามด้วยมาเลเซีย 16.8 เท่า อินโดนีเซีย 16 เท่า และตลาดหุ้นไทย 15.5 เท่า
และหากเทียบเป็นอัตราส่วน P/E ต่อ Growth (PEG Ratio) ของปี 2560 นี้ พบว่า ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว ยังมีความน่าสนใจมากกว่าตลาดหุ้นกำลังพัฒนา กล่าวคือ PEG Ratio ของตลาดพัฒนาแล้วอยู่ในระดับต่ำกว่า คือ ประมาณ 1-1.2 เฉพาะตลาดหุ้นยุโรป (ยกเว้นตลาดหุ้นสหรัฐที่ 1.9) ค่าเฉลี่ยตลาดหุ้นกำลังพัฒนาสูงเกิน 2 เท่า ทั้งสิ้น คือ ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์สูงถึง 3.6 มาเลเซีย 2.7 ส่วนตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 2.2 ตามด้วยตลาดหุ้นจีน ที่ 1.92 และอินโดนีเซีย อยู่ที่ 0.9
จีนกระตุ้นเศรษฐกิจโดยลดภาษีทั้งระบบ น่าจะดึง fund flow เข้าเอเชีย
หลังจากที่ก่อนหน้าธนาคารกลางจีนหรือ PBOC ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามสหรัฐ 2 ครั้ง (ต้นเดือน เม.ย. ขึ้นเฉพาะดอกเบี้ยระยะสั้น (SLF) 0.1-0.2% ขึ้นกับระยะเวลาเวลา(ข้ามคืนขึ้น 0.2% เป็น 3.3%, 7 วัน และ 1 เดือน ขึ้น 0.1 % เป็น 3.45% และ 3.80% ตามลำดับ ขณะที่ จากขึ้นครั้งแรกในวันที่ 16 มี.ค. ได้ปรับขึ้นตามการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed 0.1%) ทำให้ล่าสุดดอกเบี้ยนโยบายจีนอยู่ที่ 4.45% เทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 1.2% และเชื่อว่าว่า ธนาคารกลางจีน(PBOC) มีโอกาสขึ้น ขึ้นดอกเบี้ยตามสหรับในการขึ้นดอกเบี้ยฯ ที่เหลือของปีนี้ ซึ่งนับว่านำร่องนโยบายการเงินตึงตัวประเทศเอเซีย
อย่างไรก็ตามในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้กระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังอีกครั้ง โดย ปฎิรูปภาษีครั้งใหญ่ มีผลบังคับใช้ 1 ก.ค. 2560
จะเห็นว่าการดำเนินโยบายของจีนมีความขัดแย้งระหว่าง นโยบายการเงินและการคลัง แต่โดยรวมน่าจะดึงเงินทุนไหลเข้า และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และทำให้เศรษฐกิจน่าสนใจสอดคล้องกับ คาดการณ์ของ IMF เม.ย.2560 ได้ปรับเพิ่มอัตราการเติบโตเศรษฐกิจจีน (GDP Growth) ปี 2560 ปรับเพิ่มจีน 0.4% เป็น 6.6% เนื่องจากเดิมทำต่ำไป
ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 3
นักลงทุนต่างชาติเฝ้ารอดูผลการประชุม Fed ในคืนนี้ ส่งผลให้ Fund Flow ในตลาดหุ้นภูมิภาคยังคงชะลอตัว สังเกตได้จากวานนี้ ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าราว 359 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เพียงแห่งเดียวที่ถูกซื้อสุทธิ 13 ล้านเหรียญ (หลังจากหยุดทำการในวันก่อนหน้า) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 แห่ง ยังคงขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิ 281 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3), เกาหลีใต้ 33 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), อินโดนีเซีย 13 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และไทย 45 ล้านเหรียญ หรือ 1.53 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิสูงถึง 2.04 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯสลับมาซื้อสุทธิราว 1.38 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิราว 4.69 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิมา 4 วัน)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636