- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 09 June 2017 16:18
- Hits: 1147
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
เงินบาทเริ่มยืน 34 บาทตามคาด และถือว่าตลาดรับรู้ผลประชุม ECB ที่ยังคงนโยบายการเงินผ่อนคลาย และการเลือกตั้งนายกฯ ของอังกฤษฯ เป็นไปตามโพลฯ ขณะที่ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในประเทศส่งสัญญาณขัดแย้ง คือ ยอดขายรถยนต์ฟื้นใน 4M60 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค กลับอ่อนตัวครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ยังกดดัน SET จึงยังแกว่งตัว 1560-1574 จุด Top picks ยังชอบหุ้นที่มีปัจจัยหนุนเฉพาะตัวคือ KKP([email protected]) และ MAJOR(FV@B38)
ต่างประเทศมุ่งไปที่เสถียรภาพการเมืองในสหรัฐ กดดัน Dollar อ่อนค่า
ผลการประชุม ECB และเลือกตั้งนายกฯ ในอังกฤษ สรุปว่าเป็นไปตามตลาดคาด คือ
ผลประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0% (ติดต่อจาก มี.ค. 2559 รวมถึงคงดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ -0.4%) และคง QE ที่เดือนละ 6 หมื่นล้านยูโรจนถึงสิ้นปีนี้ (รวม 34 เดือน มี.ค. 2558–ธ.ค. 2560 เม็ดเงินรวม 2.29 ล้านล้านยูโร หรือคิดเป็น 65.4% ของวงเงิน QE สหรัฐ)
นอกจากนี้ ECB ยังได้ปรับมุมมองเศรษฐกิจยุโรปดีขึ้น โดยได้ปรับเพิ่ม GDP Growth ปี 2560-2561 ขึ้นปีละ 0.1% เป็น 1.9%ในปี 2560 (สูงกว่า IMF ที่ 1.7%) และขึ้นมาอยู่ที่ 1.8% ในปี 2561 แต่ปรับลดเงินเฟ้อปี 2560 ลง 0.2% เหลือ 1.5%yoy และปี 2561 ลง 0.3% เหลือ 1.3% เนื่องจากคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนว่าการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายน่าจะยังคงดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่ง
และ ผลการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีอังกฤษ วานนี้ ผลการนับคะแนนเบื้องต้น (Exit poll) พบว่าพรรคอนุรักษ์นิยมของ นางเทเรซ่า เมย์ฯ ได้คะแนนเสียง 314 ที่นั่ง เมื่อเทียบกับพรรคแรงงาน คู่แข่งสำคัญที่ได้ 266 ที่นั่ง ชนะไม่ขาดลอยหรือได้คะแนนเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่งราว 326 ที่นั่งจาก 650 ที่นั่งทั้งหมดในสภา ทำให้ต้องมีการจัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งทำให้อำนาจในการเดินหน้ามาตรการต่างๆไม่เด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่ากระบวนการ Brexit จะเดินหน้าต่อไปได้ คาดว่าเสร็จสิ้นกระบวนการอย่างน้อย 2 ปีนับจากนี้
ด้วยผลสรุปทั้ง 2 ประเด็นถือว่าตลาดได้รับรู้แล้ว และกดดันให้ค่าเงินโลกกลับข้างอีกครั้ง กล่าวคือ ดอลลาร์กลับมาแข็งค่า ขณะที่เงินปอนด์ และยูโร กลับมาอ่อนค่า โดยเงินปอนด์ เมื่อเทียบกับดอลลาร์ กลับมาอ่อนค่า 1.5% วานนี้เพียงวันเดียว ขณะที่เงินยูโรอ่อนค่าเล็กน้อย 0.2% แต่ถือว่าเงินยูโรอ่อนมา 3-4 วันแล้ว โดยรวมอ่อนค่าราว 0.5% ทั้งนี้ภายหลังจากที่ทั้ง 2 สกุลแข็งค่าอย่างต่อเนื่องนับจากต้นปี 2560 (เงินยูโร และเงินปอนด์ แข็งค่าแล้ว 7.6%ytd และ 4.6%ytd เทียบกับปี 2559 ทั้ง 2 สกุลอ่อนค่า 3.2% และ 16.3% หลังจากการทำประชามติออกจากสหภาพยุโรปเมื่อ 24 มิ.ย. 2559 ดังภาพ) เช่นเดียวกันเงินเอเซียแข็งค่า ส่วนใหญ่เริ่มชะลอการแข็งค่า และเริ่มอ่อนค่า โดยเฉพาะเงินบาทนับจากต้นปีจนปัจจุบันพบว่ราแข็งค่ากว่า 5.5% และเงินบาทที่ 34 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดในรอบ 2 ปี จึงสามารถยืนได้อย่างมั่นคง ในสถานการณ์นี้ถือว่าดีต่อภาคส่งอกของไทย
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอ่อนค่าอีกครั้งในรอบ 6 เดือน จากปัญหาระเบิด
ม.หอการค้าไทยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค(CCI) เดือน พ.ค.60 ลดลงเป็นครั้งแรกอยู่ที่ 76 จุดหลังจากที่เพิ่มขึ้น 6 เดือนติดในช่วงก่อนหน้า เนื่องจากประชาชนกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ระเบิดโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2560 และราคาพืชผลเกษตรโดยส่วนใหญ่ทรงตัวในระดับต่ำ ทั้งนี้ ดัชนี CCI ถือเป็นดัชนีชี้นำยอดขายสาขาเดิมของกลุ่มค้าปลีก ( ยอดขายสาขาเดิม มีแนวโน้มจะฟื้นตัวในระยะ 3-6 เดือน หลังจาก CCI ฟื้นตัว) การที่ CCI อ่อนตัวครั้งนี้อาจจะเป็นเหตุการณ์ช่วงสั้น ซึ่งอาจจะมีผลทำให้การใช้จ่ายสะดุดบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม เกิดเหตุการณ์ฝนตกในช่วงปลายไตรมาส 2 ซึ่งเร็วกว่าปกติ (ปี 2559 ตกตั้งแต่ในช่วง 3Q59) ซึ่ง น่าจะกดดันยอดขายค้าปลีกในช่วง 2Q60 ให้อ่อนตัวกว่าที่คาด โดยคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวต่อตั้งแต่ 3Q60-4Q60 เป็นต้นไป โดยภาพรวมคาดว่ากำไรของหุ้นค้าปลีก (EPS Growth) จะเติบโต 22% นำโดย BJC (FV@B50) 50% (รวมงบกับ BIGC) รองลงมาเป็นหุ้นขนาดเล็กคือ TNP(FV@B3) เติบโต 34% และ BEAUTY([email protected]) 30% แต่หากพิจารณาราคาหุ้นพบว่าเริ่มมี upside จำกัดราว 7.53%, 7.9% และ 1.8% ที่เหลือเติบโตในระดับรองลงมาคือ CPALL([email protected]) 23% COMM7(FV@B14) 23% และ HMPRO([email protected]) 20% ซึ่งยังมี upside 12.4%, 19.6% และ 20%
หากพิจารณาองค์ประกอบด้านพื้นฐานและ upside ชื่นชอบ HMPRO ([email protected]) จากการปรับปรุงสินค้า Private Brand โดยเพิ่มสัดส่วนสินค้าที่มีคุณภาพและอัตรากำไรสูงกว่าค่าเฉลี่ย ราคาตลาดมี upside 20% และ COM7(FV@B14) กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจใหม่ ๆ และการซื้อกิจการ (BKK จำหน่ายมือถือจับตลาดระดับกลาง) นอกเหนือจากร่วมเป็นพันธมิตรกับ TRUE ซึ่งสามารถรับรู้ส่วนแบ่งรายได้ตั้งแต่ 2Q59 ช่วยหนุนการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
BR ร่วมทุน BTS เข้าสู่ธุรกิจภัตตาคารจีน แต่ยังไม่มีผลต่อกำไรในระยะสั้น
BR เริ่มเข้าสู่ธุรกิจปลายน้ำมากขึ้น โดยการร่วมลงทุนกับ BTS และนายไว ยิน มาน (เชฟแมน) จัดตั้งบริษัท แมน ฟู้ด โฮลดิ้ง จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจผลิตอาหาร และภัตตาคาร Chef Man ซึ่งเดิมภัตตาคารดังกล่าวกล่าว ถือหุ้นโดย BTS และ นายไว ยิน มาน ในสัดส่วน 70% และ 30% ตามลำดับ แต่ภายหลัง BR เข้าร่วมทุน โครงสร้างในบริษัทร่วมทุนใหม่เป็นดังนี้ เป็น BTS ถือ 41%, BR ถือ 41% และนายไว ยิน มาน ถือ 18%
บริษัทร่วมทุนจะเรียกทุนชำระเบื้องต้น 800 ล้านบาท โดย BR ลงทุนตามสัดส่วนการถือหุ้น 329 ล้านบาท (และหากบริษัท แมน ฟู้ด โฮลดิ้ง จำกัด ต้องการเพิ่มทุนอีกในอนาคตเป็นครั้งที่ 2 ทั้ง BR และ BTS จะเป็นผู้จ่ายเงินเพิ่มทุนอีกฝ่ายละไม่เกิน 71 ล้านบาท โดยภายหลังการเพิ่มทุนครั้งที่ 2 BR และ BTS จะถือหุ้นในบริษัท แมน ฟู้ด โฮลดิ้ง จำกัด เพิ่มขึ้นเป็นฝ่ายละ 42.5% ส่วนนายไว ยิน มาน จะลดลงเหลือ 15%) ซึ่งแหล่งเงินทุนของ BR จะมาจากการกู้ยืมทั้งหมด แม้จะทำให้ภาระดอกเบี้ยที่มีหนี้สินต่อทุน (Interest Bearing Debt) ณ สิ้นปี เพิ่มขึ้นเป็น 0.7 เท่า แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในระดับไม่สูง BR จึงมีความพร้อมในการลงทุนดังกล่าวโดยไม่กระทบการจ่ายเงินปันผลต่อผู้ถือหุ้นในอนาคตข้างหน้า
ทั้งนี้ คาดว่า BR จะบันทึกกำไรฯ เข้ามาในช่วง 2H60 เป็นต้นไป โดยผลการดำเนินงานของบริษัท แมน ฟู้ด โฮลดิ้ง จำกัด ฝ่ายวิจัยคาดการณ์กำไรสุทธิในช่วงปี 2H60 เท่ากับ 15 ล้านบาท และ BR จะบันทึกเป็นส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเข้ามา 6 ล้านบาท (ถือหุ้น 41.0%) อย่างไรก็ตาม ประเมินว่า BR จะมีภาระดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้น 6 ล้านบาท จากการกู้เงิน 329 ล้านบาท ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2560 (สมมติฐานอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 4.0%) เพื่อมาชำระเงินลงทุนข้างต้น ทำให้โดยรวมแล้ว ฝ่ายวิจัยประเมินว่าการลงทุนดังกล่าวจะไม่ส่งผลบวกต่อคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2560 ของ BR ทำให้ฝ่ายวิจัยยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2560-61 ไว้เช่นเดิม Fair Value อยู่ที่ 8 บาท
แม้ระยะสั้นจะยังไม่สามารถจะช่วยเพิ่มกำไรสุทธิให้กับ BR แต่เป็นการช่วยต่อยอดธุรกิจในระยะยาว จากการที่ Chefman มีการขยายสาขามากขึ้น BR ก็จะได้อานิสงค์จากการจำหน่ายเป็ดได้มากขึ้นตามไปด้วย โดยปัจจุบัน Chefman ก็สั่งซื้อเป็ดส่วนใหญ่จาก BR อยู่แล้ว
แม้ภาพรวมต่างชาติซื้อหุ้นในภูมิภาค แต่แรงซื้อหุ้นไทยยังแผ่ว
วานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 378 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นเพียงตลาดหุ้นอินโดนีเซียยังคงถูกขายสุทธิอย่างต่อเนื่องอีกราว 3 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 9 วัน) ส่วนตลาดหุ้นอีก 4 แห่ง ยังคงซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิกว่า 308 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วยไต้หวัน 6 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6), ฟิลิปปินส์ 15 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 9) และไทยซื้อสุทธิเล็กน้อย 6 ล้านเหรียญ หรือ 216 ล้านบาท (หลังขายสุทธิในวันก่อนหน้า) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิราว 674 ล้านบาท
และหากพิจารณาตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย. จนถึงปัจจุบัน พบว่า แม้เงินทุนต่างชาติจะไหลเข้าตลาดภูมิภาคกว่า 1.59 พันล้านเหรียญ (mtd) แต่ยังมีอยู่ 2 ประเทศที่ถูกขายสุทธิ คือ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิมากสุดในภูมิภาคราว 84 ล้านเหรียญ (mtd) และไทยที่ต่างชาติสับซื้อสลับขาย โดยมียอดขายสุทธิรวม 12 ล้านเหรียญ หรือ 407 ล้านบาท (mtd) สรุปคือ แม้ภาพรวมต่างชาติซื้อหุ้นในภูมิภาค แต่แรงซื้อหุ้นไทยยังแผ่วเบา และไม่มากพอที่จะช่วยผลักดันตลาดฯได้
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯสลับมาขายสุทธิราว 359 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 9.27 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636