- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 08 June 2017 17:16
- Hits: 3793
บล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
รอบด้านตลาดหุ้น
ได้เวลา 'SuperSub' ลงสนาม
เมื่อวานหุ้น Domestic play หันมาเล่นขึ้นในกลุ่มอสังหาฯ LPN AP CPN ฯลฯ ตามที่เราคาด โดยหุ้น
ตัวนำของแต่ละกลุ่ม...โรงพยาบาล ค้าปลีก เช่าซื้อ ขึ้นมาแล้วตามคาด คาดว่าวันนี้ ตลาดจะเริ่มหมุน
มาเล่นหุ้น Local play ตัวรอง-หุ้นที่ยังไม่ขึ้น ของแต่ละกลุ่มที่ขึ้นนำไปแล้ว
ปัจจัยที่ต้องตาม (0) ประชุมเฟด 14-15 มิย. คาดขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% เป็น 1%-1.25%, (+) เมื่อ
วานประชุม ECB ปรับลดกรอบเงินเฟ้อลง ส่งสัญญาณผ่อนคลายมากกว่าตลาดคาด (-) ราคาน้ำมันดิบ
ดิ่งแรงต่อ -5% นอกจากความไม่แน่นอนของมติโอเปก จากความสั่นคลอนในชาติอาหรับ เมื่อ
วานดอลล์ที่แข็งค่า เทียบยูโร เป็นอีกปัจจัยที่กดดันราคาสินค้าโภภัณฑ์
แนวโน้มสัปดาห์นี้ คาดเริ่มรีบาวด์-ผันผวนน้อยลง แต่ Upside ดัชนีฯคาดยังติดแถว 1,575/1,580 จุด
อย่างไรก็ตาม...คาดมีโอกาส ที่ดัชนีฯ จะผ่านแนวต้านนี้ขึ้นไปได้ เพื่อเปลี่ยนแนวโน้มไปเล่นเหนือ
1,600 จุด Timing คาดเกิดภายในครึ่งแรกของเดือนนี้...
โดยฝากความหวังไว้กับกลุ่ม ที่ Laggard เช่น สถาบันการเงิน (แนะนำ แบงก์เช่าซื้อ, สินเชื่อบุคคล,
ธูรกิจให้เช่า เช่นให้เช่ารถยนต์, เช่า-ขายผ่อน สินค้า IT เพราะได้ประโยชน์จากต้นทุนทางการเงินที่ถูก
ไปอีกนานจากดอกเบี้ยในประเทศที่คาดคงไปถึงกลางปีหน้า หลังเงินเฟ้อล่าสุดยังพลาดเป้าไปมาก
กลุ่ม Laggard play แนะ อสังหาฯ ค้าปลีก โรงพยาบาล และกลุ่มได้ประโยชน์จากน้ำมันลง
หุ้นแนะนำวันนี้ SGP รับ 14.8 บ. ต้าน 15.5 บ. Stop loss 14 (แนวโน้มผลการดำเนินงาน 2Q17
คาดไม่แย่อย่างที่ตลาดกังวล เพราะจะได้ประโยชน์จาก ค่าเงินบาทที่แข็งค่าช่วยลดต้นทุนการ
นำเข้าก๊าซ บวกกับต้นทุนบางส่วนถูกกว่าการซื้อจากแหล่งก๊าซในประเทศ และ คุณภาพก๊าซที่ดีขึ้น
จากการนำเข้า พบตรงตามความต้องการของลูกค้า และลูกค้ามีความต้องการสินค้าของ SGP
เพิ่มขึ้น), ASAP รับ 5.4 บ. ต้าน 5.8/6 บ. Stop loss 5.1 เล่น Theme ดอกเบี้ยในประเทศต่ำไปถึง
กลางปีหน้าหนุน ส่วนต่างกำไรจากการซื้อ Fleets รถเพื่อปล่อยเช่า (FYI. ASAP เป็นหุ้นน้องใหม่ที่
เพิ่งเข้าคำนวณ FTSE Fledgling Index ครั้งแรก คาดมีผลต่อกองทุนที่อิงกับ FTSE เพิ่มหุ้นเข้าพอร์ต
ขณะที่โรดโชว์ ตปท.จะเริ่มต้นเดือนหน้า) / Laggard ในกลุ่มอสังหาฯ แนะ PSH รับ 21.8 บ. ต้าน
23 บ. Stop loss 21
รายงานวันนี้
(+) กลุ่มอสังหาฯ เรามองว่าตอนนี้ถึงเวลาที่เราจะกลับมาให้ความสนใจกลุ่มนี้อีกครั้ง เรามีการปรับ
คำแนะนำของกลุ่มจาก NEUTRAL เป็น OVERWEIGHT โดยมีปัจจัยหนุนดังนี้ 1) ข่าวร้ายได้
สะท้อนไปในราคาหุ้นมากแล้ว จากกำไรใน 1Q17 ที่เป็นจุดที่แย่ที่สุดสำหรับปี เราคาดจะเริ่มเห็น
การฟื้นตัวของกำไรใน 2Q17 และเติบโตอย่างแข็งแกร่ง YoY และ QoQ ใน 3Q17 รวมถึงยังมีการ
ประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาลหลังจากงบ 2Q17 ประกาศ, 2) Presales กลับมาน่าตื่นเต้น โดยยอด
การเปิดฌครงการใหม่จะเร่งตัวขึ้นกว่า 2 เท่าใน 2Q17 เป็น 7.7 หมื่นล้านบาท (+82% YoY และ
เพิ่มขึ้นจาก 1Q17 ซึ่งอยู่ที่ 3.9 หมื่นล้านบาท) และปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องใน 3Q17-4Q17 โดย
ANAN และ AP คาดจะเป็นผู้นำการเติบโตของ Presales ใน 2Q17, SPALI สำหรับ 3Q17 และ
SIRI สำหรับ 4Q17, 3) Earnings visibility เริ่มปรับตัวสูงขึ้น โดย backlog ณ ตอนนี้การันตีรายได้
สำหรับปี 2017 ถึง 50% เพิ่มขึ้นจาก 31% ในช่วงปลายปี 2016 และ 4) Valuation ยังถูก เทรดอยู่
ที่ PER 8.4 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ 10.9 เท่า
โดยรวมเราเลือก 2 ธีมในการลงทุน 1) กลุ่มผู้นำการเติบโตของผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย
ANAN, AP, SPALI และ SIRI และ 2) กลุ่ม Laggard สำหรับเก็งกำไร ประกอบด้วย LPN (ราคา
ปรับตัวลงมากสุด YTD) และ PSH (PER ต่ำที่สุด ปรับคำแนะนำขึ้นจาก ถือ เป็น ซื้อเก็งกำไร)
(+) TKN และ BEAUTY ในช่วงที่ผ่านมาที่หลายบริษัทที่ต้องพบกับความล้มเหลวในการรุกตลาด
ประเทศจีน แต่เรามองว่า TKN และ BEAUTY เป็น 2 บริษัทที่แตกต่าง เนื่องจากตัวแบรนด์สินค้า
เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยอยู่แล้ว ทำให้เกิดเป็นการรับรู้ โดย
สินค้าจะเป็นตัวที่ขายตัวมันเองในการรุกตลาดเข้าไป
BEAUTY มีแผนที่จะเริ่มทำตลาดและส่งออกไปในประเทศจีนอย่างเป็นทางการใน 1H18 หลังจากที่
สินค้าได้รับการรับรองจาก CFDA เราประเมินการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของยอดขายจะเกิดขึ้นใน
2H18 เรายังชอบในการเติบโตของ BEAUTY แม้จะไม่รวมสตอรี่ของจีนข้างต้น โดยคาดกำไรจะ
เติบโตอย่างแข็งแกร่ง 43% ในปี 2017 Valuation ยังน่าสนใจเทรดที่ระดับ PEG ต่ำที่สุดในกลุ่ม
ยังคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 12.80 บาท
TKN มีแผนที่จะขยายฐานในจีนโดยจะเพิ่ม Distributor รายที่ 3 ในปีนี้ และเพิ่มสินค้าใหม่ Roasted
seaweed ในช่วงกลางปี รวมถึงขยายธุรกิจ E-biz จากแผนงานข้างต้นเรามีการปรับประมาณการ
รายได้ของยอดขายในจีนปี 2018 ขึ้น 11% และปี 2019 ขึ้น 26% ปรับประมาณการกำไรปี 2018-
19 ขึ้น 13% และ 22% ตามลำดับ และปรับราคาเป้าหมายขึ้นจาก 24.80 บาท เป็น 30.50 บาท
หุ้นมีข่าว/ประเด็น
(*) พรบ.สรรพสามิตใหม่ จะบังคับใช้ 16 กย.นี้ โดยประกาศแนบท้าย กม.ระบุ เพิ่มเพดานค่าธรรมเนียม
ใบอนุญาต จำหน่ายสุราสูงกว่าเดิม 10-15 เท่า อาจกระทบต้นทุนผู้ประกอบการ (ที่มา เดลินิวส์) / คาด
หุ้นที่คาบเกี่ยวได้แก่ CPALL BJC (BIGC) ซึ่งผลกระทบยังไม่ชัด แต่คาดว่าไม่มีนัยยะต่อผลการ
ดำเนินงาน อย่างไรก็ดีข่าวแบบนี้กระทบจิตวิทยาราคาหุ้นเพราะกังวลต้นทุน
(0/+) PTTEP รมว.พลังงาน อนันตพร คาด 1-2 วันนี้ ปัญหา สปก.แหล่งก๊าซ ปตท สพ. จะจบได้
(ที่มา ผู้จัดการรายวัน)
(-) EARTH ผิดนัดชำระหนี้ตั๋ว BE 40 ลบ.หลังขาดสภาพคล่อง (ที่มา อินโฟเควส)
(+) FTSE Index ประกาศหุ้นเข้าคำรนวณดัชนีรอบใหม่ มีผล 19 มิย.นี้ หุ้น FTSE Large Cap ไม่มีการ
เปลี่ยนแปลง ส่วน Mid Cap มี BPP EA KSL TPIPP VNT WHAUP เข้าคำนวณ
FTSE Small Cap index เข้า ORI CMR SQ LANNA TNR FN GLAND UTP MACO CTW TKS ออก
VNT Chukai PRIN ABC SOLAR MAX metal
FTSE Fledgling Index: Amata Summit Growth Freehold and Leasehold REIT, Mahachai
Hospital, ASAP, MODERN, RPH, Chukai, PRIN, ABC, SOLAR, MAX, APX (ที่มา FTSE)
(+/-) Opportunity day และการประชุมนักวิเคราะห์: คาดหุ้นที่กำไรออกมาดีในไตรมาสแรก และ
Consensus จะมีโอกาสปรับประมาณการณ์ขึ้นได้หลังประชุมกับผู้บริหารคาดจะเป็นหุ้นที่ Outperform
ตลาด
พุธ 7 มิย. INET ANAN SEAFCO ETE BTS SGP / พฤหัส 8 มิย. DRT EPG WICE AIT TKT / ศุกร์ 9
มิย. SAWAD MM COL ASN / อังคาร 13 มิย. PJW NVD ECF / พุธ 14 มิย. ASIAN / พฤหัส 15 มิย.
TCJ SCN / ศุกร์ 16 มิย. AOT CHEWA
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
(*) เกิดความสั่นคลอนขึ้นในชาติอาหรับ หลัง UAE, อียิปต์ เยเมน ลิเบีย มัลดีฟส์ ตัดสัมพันธ์การฑูต
กับ กาตาร์ โดยให้หตุผลว่ากาตาร์ให้การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย และ อิหร่าน กระทบจิตวิทยาตลาด
น้ำมัน “มติโอเปก” ที่เพิ่งให้มีการคงกำลังการผลิต...จะยังศักดิ์สิทธิ์อยู่หรือไม่
(0/-) พฤหัส ประชุมธนาคารกลาง ยุโรป ECB คาด คงดอกเบี้ย -0.4% (deposit rate) และ คง QE 6
หมื่นล้านยูโร, เยอรมนี Industrial production เมย. คาด +0.5% จาก -0.4% m-m. เลือกตั้ง อังกฤษ,
ญี่ปุ่น รายงาน GDP 1Q17 2nd คาด +2.3% จาก 1.4% q-q. saar. จีนรายงานส่งออกเดือน พค. คาด
+7% จาก 8% จีนรายงาน Trade balance พค.คาดเกินดุล 47.4 จาก 38 US$bn (ที่มา Bloomberg)
(0/+) ศุกร์ US Wholesale inventories คาด 0.3% จาก -0.3% m-m. UK Industrial production
เมย. คาด +0.8% จาก -0.5%, ฟิลิปปินส์ ส่งออกเดือน เมย. คาด +19% จาก21% y-y. จีน รายงาน
เงินเฟ้อ CPI พค. คาด 1.5% y-y. จาก +1.2% y-y. มาเลเซีย Industrial production เมย.คาด
+4.6% คงที่ (y-y.)
(ที่มา Bloomberg)
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค