- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 02 June 2017 17:12
- Hits: 26584
บล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
เริ่มฟื้นจากแนวรับ (ไม่หลุด 1,557)
วันนี้คาด ดัชนีฯเริ่มฟื้นตัวหลังพักตัวลงสะท้อนข่าวลบไปมาก ขณะที่การ Rotation ยังมีอยู่ สังเกตุได้จากรอบนี้-เมื่อวาน หุ้น AOT, แบงก์, อสังหาฯ, ยานยนต์, CPN TU ฯลฯ กลับมา Outperform ท่ามกลางแรงขายหุ้นน้ำมัน พลังงาน ด้วยภาวะการลงทุนแบบ Rotation นี้ เราคาดว่า Downside ดัชนีฯจะไม่หลุดลงไปต่ำกว่าแนวรับที่ประเมิน คาดกรอบวันนี้ 1,557-1,570 จุด
ถ้าสัปดาห์นี้ แนวรับ 1,557 จุด...รับอยู่? คาดแนวโน้มสัปดาห์หน้าเริ่มรีบาวด์ แต่ Upside ดัชนีฯคาดติดแถว 1,575/1,580 จุด คาดจะไม่มีข่าวลบในประเทศใหม่ๆ เข้ามากระทบตลาด ส่วนปัจจัยในต่างประเทศคาดส่งผลลบต่อจิตวิทยาสั้นๆ ได้แก่ เฟดขึ้นดอกเบี้ยกลางเดือนนี้, ประชุม ECB ส่งสัญญาณปรับลด QE, เลือกตั้งอังกฤษ...ซึ่งคาดว่าตลาดสะท้อนไปหมดแล้ว
ประเด็นการลงทุนโฟกัสไปที่ Events play: (1) หุ้นที่มีจัดประชุมนักวิเคราะห์หรือ Opportunity day (2) หุ้นคาดติด SET50 รอบใหม่ (3) หุ้นที่มีดีล M&A หนุนการปรับกำไรขึ้น (4) หุ้นได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยไทยทรงตัวในระดับต่ำอีกนาน หลังตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดต่ำกว่าเป้าหมายแบงก์ชาติไปเยอะ แนะนำ แบงก์เช่าซื้อ, สินเชื่อบุคคล, ธุรกิจปล่อยเช่า เช่น ให้เช่ารถยนต์, ให้เช่าอุปกรณ์ IT เป็นต้น
หุ้นแนะนำวันนี้ ธุรกิจเช่าซื้อ แนะนำ ECL (แนวรับ 3.04 บ. ต้าน 3.16 บ. Stop loss 3 บ.) คาดได้ประโยชน์จากแนวโน้มการคงดอกเบี้ยนโยบาย 1.5% ต่อไปถึงกลางปีหน้า หลังจากเมื่อวานเงินเฟ้อไทย เดือน มค.-พค.(YTD) ขยายตัวไปแค่ 0.9% y-y (เดือน พค.ติดลบไป -0.04%) ต่ำกว่าเป้าหมายแบงก์ชาติที่ 1.4% คาดโบรกต่างชาติและนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จะเริ่มปรับลดเป้าหมายดอกเบี้ยไทยลงตาม
Morgan Stanley,
ธุรกิจปล่อยเช่าแนะนำ ASAP (แนวรับ 5.45 ต้าน 5.85 Stop loss 5 บ.) ปัจจุบันพอร์ตให้เช่ารถยนต์ใหญ่กว่า KCAR แล้ว โดยพอร์ตรถยนต์ ASAP มีราว 9,000 คัน จากทิศทางดอกเบี้ยในประเทศคงไม่ขึ้นอีกนาน คาด ASAP ได้ประโยชน์จากการเช่าซื้อรถยนต์ด้วยต้นทุนดอกเบี้ยคงที่ในระดับต่ำไปอีกนาน หนุนส่วนต่างกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น
รายงานวันนี้
(+) หุ้นเข้า SET50 รอบใหม่ คาด BJC EA MTLS RATCH SAWAD TISCO JAS ส่วนหุ้นออกคาดได้แก่ BA BCP PTG THAI TPIPL WHA PSH
(0) CPALL ราคาหุ้นปรับตัวน้อยกว่าตลาดประมาณ 4.7% ตั้งแต่มีการประกาศงบ 1Q17 ออกมา ซึ่งเรามองว่าเป็นผลมาจากการคาดการณ์ว่าผลประกอบการใน 2Q17 จะชะลอตัว SSSG ทั้ง 7-11 และ Makro คาดจะลอตัวใน 2Q17 จากฐานที่สูงในปีที่แล้ว แต่ก็เป็นเรื่องที่รับรู้กันหมดแล้ว โดยใน 2Q16 SSSG ของ 7-11 เติบโตถึง 5% เนื่องจากอากาศที่ร้อนหนุนยอดขายเครื่องดื่มเย็น แต่ในปีนี้อุณหภมิต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในปีที่แล้วราว 2.4 ฐC และยังมีฝนตกในเดือน พ.ค. ทำให้จำนวน Traffic ลดลง สำหรับ Marko ในปีที่แล้วมีการจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย ทำให้ SSSG เติบโต 6% เราคาด SSSG ปีนี้จะทรงตัว/ติดลบเล็กน้อยแต่อัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้นเนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายจากการจัดโปรโมชั่น โดยรวมเรามองกำไรจะยังคงเติบโต 12% YoY ใน 2Q17 และคาดจะเป็นการเติบโตที่แย่ที่สุดของปี และจะเริ่มฟื้นตัวใน 3Q17 ก่อนที่จะเติบโตแรงใน 4Q17 (ฐานต่ำ) เราคิดว่าถึงเวลาที่จะมองข้ามภาพระยะสั้นใน 2Q17 และมองกันที่การเติบโตระยะยาวของบริษัท ซึ่งยังแข็งแกร่งจากการขยายตัวในอนาคตที่ยังทำได้อีกมาก เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 76 บาท
(-) กลุ่มน้ำตาล ราคาน้ำตาลในตลาดโลกปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องและลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำสุดในรอบ 13 เดือน ที่ US$14.86 cents/lb เนื่องจากความกังวลต่อ Surplus ที่จะเกิดขึ้นราว 2-8 ล้านตันสำหรับงวด 2017/18 ซึ่งมีปัจจัยหนุนมาจากกำลังการผลิตที่เพ่มขึ้นของอินเดีย, EU, ไทย และจีน ในรายงานล่าสุดยังบ่งชี้ว่าการผลิตของบราซิลในช่วงครึ่งแรกของเดือน พ.ค. ออกมาดีกว่าที่คาด และยังมีประเด็นTariff สำหรับ การนำเข้าแบบ non-quota ของจีน โดยรวม USDA ประเมินการผลิตของโลกจะเพิ่มขึ้น 5% ในงวด 2017/18 แต่มองว่า Ending stock จะลดลง 2% เราเชื่อว่าปัจจัยลบต่างๆได้สะท้อนไปในราคาน้ำตาลที่ปรับตัวลดลงแล้ว และราคาที่ปรับตัวลดลงจะกระทบต่อราคาส่งออกและกำไรในปี 2018 แต่คาดกำไรในปี 2017 จะยังคงเติบโตได้แข็งแกร่งสำหรับผู้ประกอบการน้ำตาลในประเทศ เรายังคงชอบ KSL และ BRR
(+) WHA เรากลับมาให้คำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 3.76 บาท (+1 SD PBV) โดยมีประเด็นบวกดังนี้ 1) รายได้จาก Industrial estate มีการโอนแค่ประมาณ 500 ไร่ในปีที่แล้ว แต่เราคาดจะมีการโอนในปีนี้ถึง 1100 ไร่ อีกทั้งจากภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวยังเป็นตัวช่วยหนุนราคาที่ดินให้ปรับตัวสูงขึ้น, 2) ส่วนแบ่งกำไรที่เติบโตจาก WHAUP จากโรงไฟฟ้าใหม่ที่จะเข้ามาหนุนกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 54% และยังหนุนให้รายได้จากการขายน้ำปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย, 3) ภาระดอกเบี้ยของ WHAUP ลดลงจากการนำเงิน IPO ชำระคืนหนี้และมีการ refinance อัตราดอกเบี้ย, 4) โอกาสจากการปรับประมาณการกำไรขั้นตามนโยบาย Thailand 4.0 และ EEC ซึ่งที่ดินและคลังของ WHA อยู่ในพื้นที่ EEC กว่า 85% จากการผลักดันของภาครัฐที่จะหนุนให้โครงการเกิดขึ้นจะเป็นปัจจัยบวกให้มูลค่าที่ดินของบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะในอนาคต โดยรวมหากเราพิจารณามูลค่าตลาดที่ดินในมือราว 8800 ไร่ของ WHA มูลค่า NAV จะอยู่ที่ 54387 ล้านหรือ 3.76 บาท/หุ้น ซึ่งราคาหุ้นปิดที่ 3.18 บาทวานนี้ ยังคงมีอัพไซด์ที่น่าสนใจ
หุ้นมีข่าว/ประเด็น
(*) WHAUP ตลท.เรียกชี้แจง ประเด็นแตกพาร์หลังเข้าตลาดมาได้แค่ 2 เดือน โดยเรียกให้ข้อมูลเพิ่ม ภายในวันที่ 5 มิย. นี้ (ที่มา ตลท.)
(-) หุ้นน้ำมัน-โกล์ดแมนแซค ปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันลงตาม MS: โกล์ดแมนปรับ เบรนท์ปีนี้ลงเหลือ 55.39 จาก 56.76 (ที่มา ASPEN)
(+/-) Opportunity day และการประชุมนักวิเคราะห์: คาดหุ้นที่กำไรออกมาดีในไตรมาสแรก และ Consensus จะมีโอกาสปรับประมาณการณ์ขึ้นได้หลังประชุมกับผู้บริหารคาดจะเป็นหุ้นที่ Outperform ตลาด
พฤ 1 มิย. S BM KTIS EA SAT IMPACT / ประชุมนักวิเคราะห์ BCH EPG
ศ 2 มิย. LHK TM THANA TRC BJC BIGC / ประชุมนักวิเคราะห์ BTS
จันทร์ 5 มิย. MEGA TMILL SENA COMAN NDR
อังคาร 6 มิย. SQ TPCH TSC PYLON
พุธ 7 มิย. INET ANAN SEAFCO ETE BTS SGP
พฤหัส 8 มิย. DRT EPG WICE AIT TKT
ศุกร์ 9 มิย. SAWAD MM COL ASN
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
(0) พาณิชย์รายงานเงินเฟ้อ CPI เดือน พ.ค.หดตัว -0.04% จากคาด +0.2% เดือนก่อน +0.4% โดยเงินเฟ้อต่ำไปจากเป้าหมายของ ธปท.อย่างมีนัยยะ (เงินเฟ้อ เดือน ม.ค.-พ.ค.(YTD) ขยายตัวไปแค่ 0.9% y-y ต่ำกว่าเป้าหมายแบงก์ชาติที่ 1.4%) (ที่มา Bloomberg)
(+/-) ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน เม.ย. พบดุลการค้าเกินดุล US$1.45 พันล้าน และ เกินดุลบัญชีเดินสะพัด US$3.12 พันล้าน ตัวเลขสูงกว่าที่ตลาดคาดไปมาก (Vs. คาด Current account balance เม.ย. เกินดุล 1.0 จาก 2.6 US$bn) และ ธปท. คงมุมมองเชิงบวกต่อการขยายตัวเศรษฐกิจไทย ใน 2Q17
(0/+) เยอรมนี PMI ภาคการผลิต พ.ค. +59.5 จากเดือนก่อน 58.2แกร่งสุดในรอบ 6 ปี ส่วน PMI EU area 57 จุด ตามคาด (ที่มา Bloomberg)
(0/+) ศุกร์ US Nonfarm payrolls พ.ค. คาด 176k จาก 211k, US unemployment rate พ.ค. คาด +4.4% จาก 4.4%, ญี่ปุ่น Consumer confidence พค. เกาหลีใต้ GPD 1Q17 คาด 2.7% อินโดนีเซีย CPI พค. คาด +4.3% จาก 4.2% y-y. (ที่มา Bloomberg)
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค