- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 01 June 2017 17:23
- Hits: 2043
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ทิศทางตลาด
Sideway? คาดภาพรวมตลาดยังขาดปัจจัยชี้นำทั้งต่างประเทศและในประเทศ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันที่ปรับลดลง จากความกังวลต่อปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐฯ คาดยังเป็นปัจจัยกดดันหุ้นในกลุ่มพลังงาน ขณะที่ Fund Flow ยังมีความผันผวน จากแรงซื้อขาย/สุทธิ สลับกัน โดยยังแนะติดตามค่าเงินบาท ล่าสุด 34.08 – 34.10 บาท ซี่งยังมีทิศทางแข็งค่าเมื่อเทียบกับประมาณ 34.50 บาท เมื่อช่วงต้นพ.ค. ที่ผ่านมา
พร้อมแนะติดตาม ประเด็นต่างประเทศ (1) การประชุม ECB ในวันที่ 8/6/60 ที่คาดมีส่งการสัญญาณทิศทางมาตรการ QE อย่างไรก็ตามล่าสุดประธาน ECB ระบุว่ายังมีความจำเป็นใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
(2) การเลือกตั้งในอังกฤษ วันที่ 8/6/60 และ (3) การประชุมเฟด 13 – 14/6/60 ต่อประเด็นการพิจารณาขึ้น / ไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด คาดเป็นปัจจัยที่สร้างความผันผวนให้กับภาพรวมตลาดจนถึงวันประชุม แม้เฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่จากผลสำรวจล่าสุด พบว่า มีโอกาสสูงถึง 83% ที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 13 – 14/6/60 รวมถึงประเด็นที่เฟดส่งสัญญาณทยอยลดงบดุล ปัจจุบันที่ 4.5 ล้านล้านUSD ภายในปีนี้ รวมถึงจับตาสถานการณ์เกาหลีเหนือ ที่อาจมีน้ำหนักกดดันภาพรวมตลาดมากขึ้น หลังมีการทดสอบขีปนาวุธต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังแนะติดตามประเด็นที่สหรัฐฯ ระบุว่าไทยเป็น 1 ใน 16 ประเทศ ที่ทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้า ล่าสูงสุดในรอบ 3 ปี มูลค่า 18,920 ล้านUSD หรือประมาณ 650,000 ล้านบาท และคาดสหรัฐฯ อาจมีมาตรการตอบโต้ออกมา (เช่น มาตรการด้านภาษี) ภายใน 90 วัน หรือประมาณต้น 3Q/60 โดยเฉพาะต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน รวมถึงประมง เป็นต้น
ส่วนทางด้านปัจจัยกดดันจากความไม่แน่นอนในการเปิดประมูลของภาครัฐ ซึ่งส่งผลต่อหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง คาดเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น จากการขายซองประมูลราคา โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางหัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม. มูลค่า 7,305 ล้านบาท ซึ่งกำหนดเปิดซองราคาในวันที่ 27/7/60 คาดมีแรงเก็งกำไรในกลุ่มรับเหมาก่อสร้างจนถึงวันประมูล โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ซื้อซองราคา เช่น ITD, CK, STEC, NWR, UNIQ และ PLE เป็นต้น
SET SET50 SET100
1,561.66 -6.91 986.08 -5.41 2,225.59 -11.40
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-/+) ตลาดต่างประเทศ DJIA -20.82, NASDAQ -4.67, S&P -1.11, FTSE -6.56, CAC -22.31 และ DAX +16.38
ภายใต้ปัจจัยลบ (1) หุ้นกลุ่มธนาคาร จากความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดการเงิน อาจส่งผลให้รายได้จากธุรกิจเทรดดิ้งของธนาคารลดลง (2) หุ้นกลุ่มพลังงาน จากราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ลดลง หลังการผลิตน้ำมันของลิเบียมีแนวโน้มพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี และ (3) ตัวเลขดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) ของสหรัฐฯ – เม.ย. ลดลง 1.3%MoM หลังได้รับผลกระทบจากราคาบ้านที่เพิ่มขึ้น และสต็อกบ้านในระดับต่ำ
ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจัยกดดันเพิ่ม (1) ความไม่แน่นอนทางการเมืองในอังกฤษ หลังผลการสำรวจของ YouGov ระบุว่า พรรคอนุรักษ์นิยมของนางเทเรซา เมย์ อาจสูญเสียเก้าอี้ในรัฐสภาจากเดิม 330 ที่นั่ง เหลือเพียง 310 ที่นั่ง ซึ่งทางพรรคจำเป็นต้องมี 326 ที่นั่ง เพื่อที่จะจัดตั้งรัฐบาลเอง โดยไม่ต้องอาศัยการสนับสนุนจากพรรคอื่น และ (2) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ยูโรโซน - พ.ค. อยู่ที่ 1.4% ลดลงจาก 1.9% เมื่อเม.ย.
ขณะที่ยังมีความกังวลว่ากรีซอาจผิดนัดชำระหนี้ หากเจ้าหนี้ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินครั้งใหม่ หลังรมต.คลังกลุ่มยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และรัฐบาลกรีซ ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อบรรเทาวิกฤตหนี้กรีซ ในการประชุมเมื่อ 22/5/60 ที่ผ่านมา และคาดจะเลื่อนการประชุมเพื่อตัดสินใจเรื่องดังกล่าวออกไปเป็นช่วงกลางเดือนมิ.ย.นี้ (15/6/60) และจับตาการประชุม ECB ในวันที่ 8/6/60 เพื่อหาทิศทางมาตรการ QE ในการประชุมดังกล่าว
P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
16.18 1.88 3.11
ที่มา : www.set.or.th
มูลค่าการซื้อขาย หน่วย (ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 50,316.61
สถาบัน -1,616.01
บัญชีหลักทรัพย์ +1,019.84
ต่างประเทศ -61.19
ในประเทศ +657.35
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ก.ค. -US$1.34 อยู่ที่US$48.32 ต่อบาร์เรล หลังบรรษัทน้ำมันแห่งชาติของลิเบีย ระบุว่า การผลิตน้ำมันของลิเบีย มีแนวโน้มพุ่งขึ้นแตะระดับ 800,000 บาร์เรล/วันในสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี เช่นเดียวกับการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 9.3 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งใกล้เคียงกับระดับการผลิตของซาอุดิอาระเบีย และรัสเซีย
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. +US$9.7 อยู่ที่ US$ 1,275.4 ต่อออนซ์ หลังเงินสหรัฐฯ อ่อนค่าลง รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐฯ ที่อ่อนแอ กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -61 ล้านบาท สะสม YTD +13,616 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท)
ประเด็นที่ต้องติดตาม 1 – 2 มิ.ย. 2560
1/6/60 สหรัฐฯ เปิดเผย
ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐเดือนพ.ค.
ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนพ.ค.
ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนเม.ย.
ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนพ.ค.
สต็อกน้ำมัน
2/6/60 สหรัฐฯ เปิดเผย
ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.
ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนเม.ย.
ดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์คเดือนพ.ค.
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มอาหาร ได้รับประโยชน์จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เช่น BR และ CBG เป็นต้น
(2) กลุ่มธนาคาร ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปี ’60 เช่น KBANK และ SCB เป็นต้น
(3) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
(4) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น และความต้องการในประเทศที่คาดดีขึ้น เช่น SCC
(5) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานภาคเอกชนที่เข้ามาต่อเนื่อง เช่น SQ เป็นต้น
(6) กลุ่มพลังงาน เช่น PTT ได้รับประโยชน์จากธุรกิจก๊าซที่แนวโน้มกำไรเติบโตดี ขณะที่ IRPC, TOP และ SPRC แนวโน้มผลการดำเนินงานดี ค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้น
(7) กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ โดยบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากค่าโฆษณาที่คาดว่าจะฟื้นตัวในช่วง 1Q/60 และเรตติ้งที่อยู่ในอันดับต้นๆ เช่น WORK
(8) กลุ่มขนส่ง ยังได้รับผลดีจากการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วง 2Q/60 เช่น AOT
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.02 อยู่ที่ 2.20%
(ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.03 อยู่ที่ 10.41
หุ้นแนะนำ : หุ้นแนะนำเดือนมิถุนายน’60
CK, KTC, LPH, PSL, SPALI, TOP และ WORK
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ โทร .02-684-8788