- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 15 August 2014 17:52
- Hits: 3361
บล.เอเซียพลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาดว่าแรงซื้อ-ขาย ยังคงสลับหมุนเวียนรายหุ้น โดยวันนี้แนะนำหุ้น BCP(FV@B36) น่าจะได้ประโยชน์ช่วงสั้นจากค่าโรงกลั่นที่ฟื้นตัว หลังราคาน้ำมันดิบลดลงต่ำสุด เพราะลิเบียจะกลับมาเปิดท่าส่งน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอีกครั้ง ขณะที่ยังชื่นชอบหุ้น BTS, RCL จึงยังแนะนำให้ถือต่อไป
ยุโรป & เอเซีย เข้าสู่ภาวะทรงกับทรุด
ยุโรป การรายงาน GDP Growth งวด 2Q57 อยู่ที่ 0.7% yoy ลดลงเล็กน้อยจาก 0.9%yoy ในงวด 1Q57 เนื่องจากเศรษฐกิจ 3 ประเทศยักษ์ใหญ่ชะลอตัว นำโดย เยอรมัน งวด 2Q57 ชะลอตัว 0.8%yoy เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2555 เทียบกับ 2.5%yoy ในงวด 1Q57 ตามมาด้วยฝรั่งเศส เติบโตเพียง 0.1%yoy เทียบกับ 0.7%yoy ในงวด 1Q57 และ อิตาลี หดตัว 0.3% จาก -0.5% ในงวด 1Q57 แม้บางประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น เช่น เนเธอร์แลนด์ ขยายตัว 0.9%yoy (เทียบกับ 0% ในงวด 1Q57), ออสเตรีย 0.6%yoy (0.4%yoy ใน 1Q57) และ สโลวาเกีย 2.5%yoy (2.4%yoy ใน 1Q57) โดยภาพรวมทำให้ในงวด 1H57 เศรษฐกิจยุโรปเติบโตเพียง 0.8% ซึ่งในงวด 2H57 ต้องขยายตัวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.6% ต่อไตรมาส จึงจะทำให้ได้ตามเป้าของ IMF ที่ 1.2% ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ยาก ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อล่าสุดเดือน ก.ค. ยังอยู่ในระดับต่ำ 0.4% ใน ก.ค. (ห่างจากเป้าหมาย 2%) และวิกฤติระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ยังมีอยู่ ทำให้ตลาดหวังจะเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หลังจากที่ ECB ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้เมื่อ เดือน มิ.ย. ที่จะทำการซื้อ ABS (ใช้มาตรการ QE) ในราวเดือน ก.ย. ถ้าหากเศรษฐกิจในอนาคตยังเผชิญกับวิกฤติ
สหรัฐ แม้ล่าสุดจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 9 ส.ค. เพิ่มขึ้น 21,000 ราย (สู่ระดับ 311,000 ราย มากกว่าคาดที่ 295,000) มากกว่าตลาดคาด แต่คาดว่าเป็นความผันผวนระยะสั้น เท่านั้น โดยตลาดยังเชื่อว่า ตลาดแรงงานของสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง สะท้อนจากการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ในเดือน ก.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 209,000 ตำแหน่ง และการจ้างงานภาคเอกชน จาก ADP ปรับเพิ่มขึ้น 218,000 ตำแหน่ง ปัจจัยด้านแรงงานถือเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ธนาคารกลางสหรัฐ ใช้พิจารณาการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต โดยคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐน่าจะต้องการเห็น อัตราการว่างงานลดลงจากระดับ 6.2% ในเดือน ก.ค. ใกล้เคียงกับก่อนวิกฤติซับไพร์ม ซึ่งอยู่ที่ระดับ 5.5% อย่างไรก็ตามด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ดีขึ้น ตลาดยังให้น้ำหนักต่อการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ ในช่วง 1Q57-3Q57 หลังจากที่การตัดลดวงเงิน QE สิ้นสุดราวเดือน ต.ค.
อินโดนีเซีย เศรษฐกิจในฝั่งเอเซีย ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ล่าสุด อินโดนีเซีย รายงาน GDP Growth งวด 2Q57 อยู่ที่ 5.12% ต่ำกว่า งวด 1Q57 ที่ขยายตัว 5.2% เป็นผลจากธุรกิจเหมืองแร่ประสบภาวะตกต่ำ หลังรัฐบาลห้ามส่งออก (ตั้งแต่เดือนมกราคม) และ ผลกระทบจากความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ลดลง และน่าจะเป็นผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปี 2556 หากอิง IMF คาด GDP Growth อินโดนีเซียไว้ที่ 5.4% ดังนั้นในช่วง 2H57 ต้องขยายตัวไม่ต่ำกว่าไตรมาสละ 5.64% หลังจากงวด 1H57 ขยายตัว 5.16%) ด้วยเหตุนี้ทำให้ธนาคารกลางกลางอินโดนีเซีย ต้องคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 7.5% (คงที่เป็นเดือนที่ 9 หลังจากที่ในปี 2556 มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยมาทั้งหมด 5 ครั้ง เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1.75%) แม้เงินเฟ้อล่าสุดเดือน ก.ค. ได้ลดลงอยู่ที่ 4.53% (ต่ำสุดในรอบ 18 เดือน) สวนทางกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ย ไปก่อนหน้าน เช่น มาเลเซีย ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 3.25% (เป็นครั้งแรกตั้งแต่ พ.ค. 2554 หลังจากยืนดอกเบี้ยที่ 3% มานานเกือบ 3 ปี) เนื่องภาวะเงินเฟ้อที่สูงเกิน 3% นับตั้งแต่สิ้นปี 2556 และ ฟิลิปปินส์ ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 3.75% ครั้งแรกในรอบ 21 เดือน
ต่างชาติชะลอซื้อหุ้นภูมิภาค รวมถึงไทย
วานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 แต่ลดลงถึง 72% เหลือราว 221 ล้านเหรียญฯ โดยเป็นการเลือกซื้อรายประเทศ เริ่มจากเกาหลีใต้ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ราว 218 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 47% จากวันก่อนหน้า) ส่วนอินโดนีเซียซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 แต่ลดลง 38% เช่นกัน เหลือราว 21 ล้านเหรียญฯ และ ฟิลิปปินส์สลับมาซื้อสุทธิราว 9 ล้านเหรียญฯ (ขายสุทธิ 2 วันก่อนหน้า) สวนทางกับ ไทยที่สลับมาขายสุทธิเล็กน้อยราว 18 ล้านเหรียญฯ (575 ล้านบาท) เช่นเดียวกับไต้หวันที่สลับมาขายสุทธิเล็กน้อยราว 10 ล้านเหรียญฯ
ขณะที่ตลาดหุ้นไทย วานนี้นักลงทุนต่างประเทศสลับมาขายอีกครั้งเล็กน้อยซึ่งเป็นไปตามภูมิภาคที่ต่างชาติชะลอการซื้อ เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันที่สลับมาขายสุทธิราว 2.0 พันล้านบาท แต่อย่างก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าวานนี้พอร์ตโบรกเกอร์ซื้อสุทธิสูงถึง 2.9 พันล้านบาท (สูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี) โดยเป็นการซื้อติดต่อกัน 2 วัน รวม 3.5 พันล้านบาท หลังจากที่ขายติดต่อกัน 7 วันก่อนหน้า รวม 3.7 พันล้านบาท ในส่วนของตลาดตราสารหนี้ของไทย นักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิอีกครั้งราว 1.1 พันล้านบาท แต่ยังถือว่าเบาบางเมื่อเทียบกับช่วงสัปดาห์ก่อนหน้าที่ขายสุทธิติดต่อกัน 6 วันเฉลี่ยกว่า 5.0 พันล้านบาทต่อวัน
ราคาน้ำมันดิบตก หนุนค่าการกลั่นฟื้น ดีต่อ BCP/TOP
กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานยอดน้ำมันดิบคงคลังเพิ่มขึ้นราว 1.4 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 367 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 2.05 ล้านบาร์เรล เป็นผลจากการที่ลิเบียจะกลับมาเปิดท่าส่งน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอีกครั้ง ในขณะที่ฤดูกาลขับขี่ใกล้สิ้นสุดลง ทำให้เริ่มมีการลดกำลังการผลิตการกลั่น และส่งผลให้สต๊อกน้ำมันเบนซินลดลง 1.16 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 212.7 ล้านบาร์เรล ขณะที่น้ำเชื้อเพลิงอื่น ๆ (heating oil) ลดลงเช่นกันราว 2.42 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 122.5 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลงเพียง 50,000 บาร์เรล
สต๊อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมากคาด กดดันราคาน้ำมันในตลาดล่วงหน้า WTI ส่งมอบเดือน ก.ย. ร่วงลงมาต่ำกว่า 100 เหรียญฯต่อบาร์เรล อยู่ที่ 97.35 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในทิศทางเดียวกับ Brent และ ดูไบที่ราคาลดลงมาอยู่ที่ระดับ 103.42 และ 101.97 เหรียญฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามได้หนุนให้ค่าการกลั่นฟื้นตัวในระยะสั้น ๆ กล่าวคือ หากพิจารณาค่าการกลั่น ซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคาน้ำมันสำเร็จรูป กับ น้ำมันดิบ พบว่ามีแนวโน้มฟื้นตัว จากจุดต่ำสุด 3.1 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล เมื่อ 4 ส.ค. โดยเป็นการลดลงต่อเนื่อง นับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2557 ซึ่งเป็นช่วงที่ค่ากลั่นเคลื่อนไหว 6-7 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล (ในช่วง ม.ค.- เม.ย. เนื่องจากเป็นฤดูหนาว) ทั้งนี้เพราะความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปน้อยในช่วง ไตรมาส 3 และ ไตรมาส 4 ซึ่งเป็นช่วงนอกฤดูกาล
แต่อย่างไรก็ตามความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปจะสูงในไตรมาส 2 เมื่อเข้าสู่ฤดูการขับขี่รถท่องเที่ยว (Driving Season) (ยกเว้นภาวะเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว 2-3 ปีหลัง ช่วง Driving Season ไม่ค่อยหนุนค่าการกลั่นเหมือนอดีต) และ ไตรมาสแรกของทุกปี เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวนับตั้งแต่ต้นธันวาคมของทุกปี ในสถานการณ์ที่ค่าการกลั่นฟื้นตัว น่าจะดีต่อผู้ประกอบการอย่างน้อย 2 รายที่ได้มีรายได้หลักอยู่ในธุรกิจโรงกลั่นคือ BCP(ซื้อFV@B36) และ TOP(ถือ : FV@B56) ส่วน PTTGC ([email protected]) น่าจะได้ประโยชน์น้อยเพราะมีสัดส่วนน้ำมันน้อยสุด
ค่าการกลั่นฟื้น เลือก BCP เป็น Top pick
BCP (ซื้อ FV@B36) เป็นผู้ประกอบที่เน้นโรงกลั่นเป็นหลัก มีรายได้จากการกลั่นน้ำมันดิบเป็นน้ำมันสำเร็จรูป สัดส่วน 75% ของรายได้ ที่เหลือเป็น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (เตรียมขยายกำลังการผลิตเต็มที่ทั้ง 3 Phases ในงวด 2H57 เป็น 118 เมกะวัตต์ (เทียบกับ 70 เมกะวัตต์ ในปี 2556) ผลประกอบการงวด 2Q57 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเพราะมีรายได้พิเศษจากเงินประกัน 500 ล้านบาท หากตัดรายการนี้ออกจะมีกำไรปกติ 800 ล้านบาท เพราะการ shutdown 1 เดือน แต่ไตรมาส 3 จะกลับเดินเครื่องปกติ แต่เนื่องจาก GRM ต่ำสุด แต่น่าจะได้รับชดเชยจากโรงไฟฟ้า ทำให้งวด 3Q57 น่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับงวด 2Q57 และน่าจะดีขึ้นในงวด 4Q57
เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว โดยรวมแม้ผลการดำเนินงานในปี 2557 จะอ่อนตัวลงจากปีที่แล้วราว 13% แต่จะกลับมาเติบโต 16.3% ในปี 2558 เนื่องจากไม่ต้องมีการ shutdown โรงงาน รวมทั้งจากการขับเคลื่อนหลักของธุรกิจโรงไฟฟ้า ที่เดินหน้าผลิตครบ 3 เฟส ฝ่ายวิจัยยังคงคำแนะนำซื้อ จากแนวโน้มกำไรที่เติบโตต่อเนื่องและมีเสถียรภาพระยะยาว โดยมีค่า P/E 10 เท่า ในปี 2557 และจะลดเหลือ 8.6 เท่า ในปี 2558 ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ต่ำมาก ขณะที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ยสูงถึง 5% ต่อปี
TOP (ถือ FV@B56) เป็นโรงกลั่นที่มีสัดส่วนรายได้จากน้ำมัน 65% ที่เหลือเป็นปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ 25% (อีก 10% เป็นท่าเรือ เอทานอล และ โรงไฟฟ้า) ผลประกอบการงวด 2Q57 ย่ำแย่ เพราะค่าการกลั่นหดตัว 13.7% จากงวด 1Q57 แม้จะเป็นฤดู Driving Season ก็ตาม ขณะที่มีการหยุดเครื่องซ่อมบำรุงครั้งใหม่ ทั้งโรงกลั่น และ โรงอะโรเมติกส์ ทำให้การใช้กำลังการผลิตลดลง และ สุดท้ายผลกระทบจากค่าอะโรเมติกส์ที่ลดลง อันเป็นผลกระทบจากปริมาณผลผลิตอะโรเมติกส์ที่เกินความต้องการในตลาดโลก และคาดว่าแนวโน้มงวด 3Q57 ของ TOP น่าจะอ่อนตัวต่อ เพราะการปิดซ่อมบำรุงข้างต้นใช้เวลา 40 วัน น่าจะกินเวลานานมาถึงงวด 3Q57 แม้ค่าการกลั่นจะฟื้นตัวดังกล่าวข้างต้นก็ไม่น่าจะมีผลสนับสนุนกำไรมากนัก
ขณะที่ธุรกิจอะไรเมติกส์ ยังได้รับแรงกดดันจาก Supply อะโรเมติกส์ (Px) ออกมาสู่ตลาดเพิ่มเติมทำให้ปริมาณเกินความต้องการโดยรวม 2.4 ล้านต้น ทำให้กำไรสุทธิโดยรวมทั้งปีนี้หดตัว 25% แต่คาดว่าปี 2558 จะฟื้นตัวจากปี 2557 ราว 34% เนื่องจากไม่ต้องปิดโรงงาน และ คาดว่าราคาอะโรเมติกส์น่าจะทรงตัวหรือดีขึ้นจากปี 2557 เล็กน้อย หลังจากที่ตกต่ำอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้จะทำให้ค่า P/E ของ TOP ลดลงจาก 13.5 เท่าในปี 2557 เหลือ 10 เท่าในปี 2558 ระยะสั้นแม้นักวิเคราะห์ ASP จะมีคำแนะนำถือ แต่คาดว่า โอกาสที่ราคาหุ้นจะลดลงจากนี้คงน้อยแล้ว จึงแนะนำให้ทยอยสะสม หรือ ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
PTTGC (ซื้อ FV@B84) มีสัดส่วนน้ำมัน 25% อะโรเมติกส์ 25% และ โอเลฟินส์ 50% สำหรับผลประกอบการงวด 2Q57 ลดลงเล็กน้อยจากการบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษ แต่หากตัดรายการดังกล่าวออกจะมีกำไรจากการดำเนินงาน 19%qoq จากการกลับมาเดินเครื่องโรงงานโอเลฟินส์หลังจาก shutdown ไปในงวด 1Q57 รวมทั้งค่าการกลั่นสุทธิ (Net GRM) เพิ่มขึ้นถึง41.5%qoq ปัจจุบัน PTTGC ให้ความสำคัญกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ขั้นปลายชนิดพิเศษและขยายช่องทางการลงทุนใหม่ๆ ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซียเป็นหลัก เนื่องจากมีศักยภาพการเติบโตในระดับสูงได้ในระยะยาว เพราะ demand ในผลิตภัณฑ์กลุ่มปิโตรเคมีและโรงกลั่นยังมีมากกว่า Supply ที่ผลิตได้ในประเทศ ทั้งนี้ แนวโน้มธุรกิจในช่วง 2H57 ธุรกิจโอเลฟินส์ถือเป็นธุรกิจหลักที่จะผลักดันการเติบโตของ PTTGC ตาม Spread ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกทั้ง HDPE, LDPE และ LLDPE ที่ล้วนอยู่ในทิศทางขาขึ้นของอุตสาหกรรม โดยรวมแม้ปี 2557 กำไรสุทธิจะหดตัว 10% จากปี 2556 แต่คาดว่าจะกลับมาฟื้นตัว โดยเติบโต 16% จากปี 2557 ขณะที่ราคาหุ้นได้ปรับตัวลดลงสะท้อนปัจจัยลบต่างๆ ระดับหนึ่งแล้ว เห็นได้จากราคาหุ้นมี PER เพียง 9.9 เท่า ในปีนี้ และลดลงเหลือ 8.5 เท่าในปี 2558 โดยยังมี Div Yield เฉลี่ยต่อปีสูงถึง 5% จึงแนะนำซื้อลงทุนระยะยาว
หุ้นที่แนะนำใน Market talk