- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 17 May 2017 19:35
- Hits: 2964
สรุปภาวะตลาดวันก่อน : SET +8.93 จุด รีบาวด์เทคนิค, น้ำมันพุ่ง 3% + $ อ่อนค่า
SET แกว่งอิงแดนบวกในกรอบ 1536-48 รีบาวด์ทางเทคนิคหลังร่วง 6 วันติด นำโดยหุ้นพลังงานและหุ้น ปิโตรเคมี ขานรับซาอุฯ และรัสเซียเห็นชอบต่ออายุสัญญาลดกำลังการผลิตน้ำมันถึง มี.ค. ปีหน้า และดอลล์อ่อนค่า ต่างชาติขายสุทธิ 92 ลบ. 2 วันติด และ Short S50 Futures 2,781 สัญญา 4 วันติด
ทิศทางตลาดวันนี้ : ไซด์เวย์ถึงไซด์เวย์อัพ คาดมีแรงซื้อคืนจากกองทุนในปท.ต่อ
หุ้นโลกเมื่อวาน (16 พ.ค.) ปิดทรงตัว +/- เล็กน้อยกระจัดกระจาย มีแรงขายทำกำไรช่วงสั้นหลังราคาหุ้นในหลายๆ ตลาดขึ้นแตะระดับสูงสุดใหม่ในระหว่างวันและการประกาศกำไรออกมาผสมผสาน ขณะที่ราคาน้ำมันย่อลงเล็กน้อย -0.4% หลังขึ้น 4 วันติด รอข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ มอง SET ยังอยู่ในช่วงของการดีดกลับทางเทคนิค จากแรงซื้อคืนของกองทุนในปท. แต่กรอบการฟื้นตัวเป็นไปอย่างจำกัด จากความกังวลกำไรหุ้นกลุ่มธนาคารถูกกดดันจากการปรับลดดบ.เงินกู้ลง (ซึ่งเรายังไม่เห็นการปรับลดดบ.เงินฝากประเภทอื่นตามมา) และยังขาดแรงส่งจากเม็ดเงินต่างชาติ แนะนำติดตามความเห็นปธ.FED 2 สาขา Cleveland และ St. Louis ในวันพฤหัส และวันศุกร์นี้ตามลำดับ เพื่อประเมินทิศทางดบ.และแนวทางการทยอยลดงบดุลที่สูงถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ลงในอนาคต แนวรับ 1540 แนวต้าน 1550, 1555
กลยุทธ์การลงทุน : Wait&See เป็นหลัก, มองเด้งเป็นจังหวะขายลดพอร์ต
ยังแนะนำ Wait&See เป็นหลัก มอง SET รีบาวด์เป็นจังหวะขายลดพอร์ต-ถือเงินสดเพิ่ม / เราจะกลับมามีมุมมองตลาดในเชิงบวกขึ้น หาก SET สามารถขึ้นมายืนเหนือ 1560 เท่านั้น จึงจะแนะนำเข้าลงทุนเทรดดิ้งสั้นรอบใหม่ เล็งเป้าขึ้นต่อที่ SET 1580 หรือมากกว่านั้น / สำหรับการเก็งกำไรระยะสั้น เหมาะสำหรับผู้รับความเสี่ยงสูงได้เท่านั้น แนะนำเลือกหุ้นที่มีสตอรี่และมีสัญญาณบวกทางเทคนิคเป็นรายตัว
- ประเด็นหุ้นน่าสนใจ Trading Pick SUPER - งบ Q1 สวย มีกำไร 504 ลบ. +27x YoY และ +5x QoQ จากการรับรู้รายได้โรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มรวมกว่า 735 MW, บ.คงเป้ารายได้ปีนี้ที่ 9 พันถึง 1 หมื่นลบ.หนุนกำไรปีนี้ขึ้นสูงสุดใหม่, จะแจก SUPER-W4 ให้แก่ผถห.ในอัตรา 5 : 1 ในราคาใบสำคัญฯ ใช้สิทธิที่ 2.5 บ. อายุ 3 ปี ขึ้น XW 3 ส.ค., Consensus ให้เป้าพื้นฐาน 1.7 บ. / เราประเมินกำไรปี 17F ของหุ้นกลุ่มแบงก์ได้รับผลเชิงลบ 5-11% จากการลดดบ. MRR 0.50% เพียงขาเดียว แต่หากมีการลดดบ.เงินฝากลงด้วย 0.25% เราคาดผลกระทบต่อกำไรจะลดลงเพียง 1-8% เท่านั้น / ผลการทบทวนดัชนี MSCI เริ่มมีผลบังคับใช้ 1 มิ.ย. - Global Standard Index ไม่มีหุ้นไทยเข้าหรือออก, Small Cap Index เข้า 5 ตัว คือ BCPG, BIG, FSMART, PTL, THANI ไม่มีหุ้นออก / รัฐทุ่ม 3 หมื่นลบ.ช่วยผู้มีรายได้น้อยเริ่ม 1 ต.ค. CPALL, MTLS, SAWAD / หุ้นรับประโยชน์ EEC - AMATA, ATP30, EASTW, ESTAR, ROJNA, TICON, WHA / หุ้นรับเหมาอิงงานประมูลรัฐ ชอบ CK, STEC, UNIQ, SEAFCO
- หุ้น Weekly GURU ซื้อ TCAP (เป้าสั้น 49 บ.) / ถือ CK (28.5 บ.), EA (28.5 บ.), TPIPP (6.9 บ.) / ขายเปลี่ยนตัว MTLS (+1.7%), UNIQ (-1.2%)
- หุ้นเด่น พ.ค. (Smart Tactics) AP, BCH, BTW, EA, MEGA, ROJNA
ปัจจัยติดตาม
วันที่ ปท. เหตุการณ์
17 พ.ค. JP, EU คำสั่งซื้อเครื่องจักรญี่ปุ่นใน มี.ค., ดัชนีราคาผู้บริโภคสหภาพยุโรปใน เม.ย. (สุดท้าย)
JP ผลผลิตภาคอุตฯ และอัตราใช้กำลังการผลิตญี่ปุ่นใน มี.ค. (สุดท้าย)
18 พ.ค. CH, US ราคาอสังหาฯ จีนใน เม.ย., ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจ (Philadelphia Fed.) สหรัฐฯ ใน พ.ค.
US ดัชนีชี้นำศก.สหรัฐฯ ใน เม.ย., ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ
ที่มา : Bloomberg, DB, TISCO Research
กระแสข่าวเด่นในประเทศ
BIZ : กำไรร้อนพุ่ง 966% ผุดโปรดักต์ใหม่โกยเงิน
BIZ โชว์ผลงาน Q1/2560 โกยกำไรสุทธิ 4.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 966.32% จากช่วงปีก่อนที่ทำได้ 0.39 ล้านบาท หลังรายได้จากการขายพุ่ง แถมบริหารต้นทุนอยู่หมัด ด้าน "สมพงษ์ ชื่นกิติญานนท์" เล็งเพิ่มโปรดักต์ใหม่โกยเงิน พร้อมเผยแผนธุรกิจจากนี้ เดินหน้าติดตั้งเครื่องฉายรังสีมะเร็งและส่งมอบงานตามแผน ตุนงานในมือกว่า 350 ล้านบาท (ทันหุ้น)
BRR : กำไรทุบสถิติสูงสุด รับราคาน้ำตาลโลกเด้ง ส่งซิกกองทุนใกล้คลอด
BRR โชว์ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/60 กำไรทะยานแรง 221% รับผลจากราคาน้ำตาลตลาดโลกพุ่งสูง เร่งเจรจาพันธมิตรสร้างโรงงานแห่งใหม่ ขณะที่กองทุนโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้า ใกล้คลอดภายในปีนี้ (ทันหุ้น)
COM7 : แตกไลน์ธุรกิจกล้อง ผนึก 'เทสโก้ โลตัส' ลุยไอที
COM7 จ่อแตกไลน์ธุรกิจกล้องถ่ายรูป เปิดช่องโกยเงินเพิ่ม คาดชัดเจนเดือนมิถุนายนนี้ แย้มมีลุ้นกวาดยอดขายทั้งปี 400 ล้านบาท แถมจับมือ "เทสโก้ โลตัส" ร่วมทำตลาดไอที บอสใหญ่ "สุระ คณิตทวีกุล" ชี้ Q2/2560 ฟอร์มแจ่มกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน การันตีรายได้ทั้งปีโตตามเป้า 10% (ทันหุ้น)
MALEE : ขายโตดี รับทรัพย์ส่งออก โรดโชว์ต่างแดน
MALEE การันตียอดขายปีนี้โต 10-15% แม้ Q1/2560 ผลงานแผ่ว รุกหนักตลาดส่งออกเดินหน้าหาลูกค้า CMG ต่อเนื่องพร้อมปั้นสินค้าใหม่ลงตลาด 8-10 SKU ปักหมุดไตรมาส 3/2560 เตรียมออกสินค้าใหม่ ในฟิลิปปินส์ หวังทำกำไรระยะยาววางแผนบินโรดโชว์มาเลเซีย หวังดึงนักลงทุนต่างชาติถือหุ้นเพิ่ม (ทันหุ้น)
ORI : กำไร Q1 พุ่งกระฉูด 95% โชว์ตุนแบ็กล็อก 1.4 หมื่นล้าน
ORI โชว์กำไรไตรมาส 1/60 พุ่ง 171.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 94.67% แย้มงบไตรมาส 2/60 โตต่อเนื่อง หลังตุนแบ็กล็อก 13,000-14,000 ล้านบาท จ่อเปิดตัวโครงการใหม่เพิ่ม 4 โครงการ มูลค่ารวม 8,000 ล้านบาท (ข่าวหุ้น)
PLANB : ฟอร์มเจ๋ง Q1 กำไร 100 ล้าน ปักธงรายได้สื่อโฆษณาปีนี้โต 25% ชูสปอร์ตมาร์เก็ตติ้งหนุน
PLANB โชว์ไตรมาส 1/60 กวาดกำไร 100 ล้านบาท พุ่งกระฉูด 67% รับผลบวกการใช้พื้นที่สื่อโฆษณาโต-บุ๊ครายได้ค่าโฆษณามากขึ้น กางแผนปี 60 รายได้สื่อโฆษณาโต 20-25% หวังมีรายได้ธุรกิจสปอร์ตมาร์เก็ตติ้งบริหารสิทธิของสมาคมฟุตบอลไทยเกิน 550 ล้านบาท (ข่าวหุ้น)
RS : ปรับโหมดธุรกิจลุยอัพคอนเทนต์ใหม่ดึงเม็ดเงินโฆษณาเพิ่ม
RS ปรับโหมดธุรกิจหันรุกด้านพาณิชย์-ค้าปลีกเต็มสูบ บิ๊ก "ดามพ์ นานา" เดินหน้าอัพฐานคอนเทนต์ใหม่ต่อเนื่อง หวังดึงดูดผู้ชมและเม็ดเงินโฆษณาให้มากยิ่งขึ้น (ทันหุ้น)
SUPER : จ่อบุ๊คโซลาร์ฟาร์มจีน-ญี่ปุ่น เดินหน้าซื้อโรงไฟฟ้าต่างประเทศ ย้ำรายได้ปีนี้หมื่นล้าน
SUPER คงเป้ารายได้ปีนี้ 9,000-10,000 ล้านบาท เดินหน้าลงทุนโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ ลุ้นไตรมาส 2-3 บุ๊คโซลาร์ฟาร์มในจีน-ญี่ปุ่น รวม 30 MW พร้อมเล็งซื้อกิจการโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ ดันกำลังการผลิตเพิ่ม มั่นใจรายได้-กำไรปีนี้นิวไฮ (ข่าวหุ้น)
กระแสข่าวเด่นต่างประเทศ
ZEW เผยดัชนีความเชื่อมั่นศก.เยอรมนีปรับตัวขึ้นในเดือนพ.ค.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป หรือ ZEW เปิดเผยว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนีเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 20.6 จุดในเดือนพ.ค. จากระดับ 19.5 จุดในเดือนเม.ย. ทั้งนี้ ดัชนีเดือนพ.ค.เป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2558 สะท้อนให้เห็นว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองทั้งในประเทศและในประเทศอื่นๆ ของยุโรป ซึ่งปกคลุมเยอรมนีในช่วงที่ผ่านมานั้นได้เริ่มเบาบางลง อย่างไรก็ดี แม้ดัชนีปรับตัวขึ้น แต่ก็ยังต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นแตะ 22.0 ขณะเดียวกัน ดัชนีประเมินภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 83.9 ในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นจากระดับ 80.1 ในเดือนเม.ย. เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 82.0 (อินโฟเควสท์)
แบงก์ชาติออสเตรเลียเผยรายงานการประชุม ชี้เงินเฟ้อและเศรษฐกิจขยายตัวตามเป้า
ธนาคารกลางออสเตรเลียได้เปิดเผยรายงานการประชุมโดยระบุว่า การขยายตัวในระดับปานกลางของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ช่วยสนับสนุนการใช้นโยบายการเงินของธนาคารกลาง อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องตำแหน่งงานและตลาดที่อยู่อาศัยยังคงเป็นประเด็นหลักที่สร้างความวิตกกังวล และต้องจับตาดูอย่างระมัดระวัง รายงานการประชุมยังระบุว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมี.ค.นั้น ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นที่ว่าการคาดการณ์เงินเฟ้อพื้นฐานจะฟื้นตัวขึ้นประมาณ 2% ในปี 2561 (อินโฟเควสท์)
เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปีในเดือนเม.ย.
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 1.0% ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2014 และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 0.3% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนมี.ค. การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่พุ่งขึ้นในเดือนเม.ย. ได้แรงหนุนจากการผลิตรถยนต์ที่ทะยานขึ้น 5.0% หลังจากร่วงลง 3.6% ในเดือนมี.ค.การผลิตภาคเหมืองแร่เพิ่มขึ้น 1.2% ในเดือนเม.ย. ขณะที่การผลิตในภาคสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้น 0.7% ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมเป็นการประเมินผลผลิตในภาคการผลิต ภาคสาธารณูปโภค และภาคเหมืองแร่ของสหรัฐ (อินโฟเควสท์)
ยูโรสแตทเผย GDP ยูโรโซนขยายตัว 0.5% ใน Q1/60 เท่ากับรายงานเบื้องต้น
สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือยูโรสแตท เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/60 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขประมาณการเบื้องต้นที่มีการเปิดเผยเมื่อต้นเดือนนี้ และสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด หากเทียบกับไตรมาสแรกของปีที่แล้ว จีดีพียูโรโซนในไตรมาสแรกปีนี้ ขยายตัว 1.7% สำหรับในไตรมาส 4 ปี 2559 จีดีพียูโรโซนขยายตัว 0.5% เมื่อเทียบรายไตรมาส และขยายตัว 1.8% เมื่อเทียบรายปี (อินโฟเควสท์)
สำนักงานสถิติอังกฤษเผยดัชนี CPI ปรับตัวขึ้น 2.7% ในเดือนเม.ย.
สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อ ปรับตัวขึ้น 2.7% ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 4 ปี เนื่องจากราคาตั๋วเครื่องบิน เสื้อผ้า และพลังงานที่แพงขึ้น ดัชนี CPI เดือนเม.ย. ปรับตัวสูงกว่าเดือนมี.ค. ที่เพิ่มขึ้น 2.3% และสูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาสินค้าที่มีความผันผวนอย่างอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.4% ในเดือนเม.ย. (อินโฟเควสท์)
อภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 18171 02-633-6467 [email protected]
ธนพล บำรุงพงศ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 46537 02-633-6471 [email protected]