- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 16 May 2017 17:48
- Hits: 336
กลยุทธ์การลงทุน
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์อาจสร้างแรงกดดันต่อ SET Index โดยจากการศึกษาพบว่าทุก 25bps ของ NIM ที่ลดลงจะกดดันกำไรของกลุ่ม 7.1% จากนี้ไปต้องติดตามท่าทีในเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ยประเภทต่างๆ ของธนาคารพาณิชย์เฉพาะอย่างยิ่ง MLR แต่อย่างไรก็ตามภาพใหญ่ทางเศรษฐกิจที่เติบโตดีกว่าคาด และราคาน้ำมันที่ดีดตัวขึ้นน่าจะช่วยหนุนราคาหุ้น จังหวะนี้แนะนำให้สะสมหุ้น 40% ในหุ้นพื้นฐานที่มีค่า PER ต่ำ และเงินปันผลสูงยังเลือก Top picks คือ AIT(FV@B 31.50) และ THANI(FV@B 6.60)
เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไป คาดหวังการฟื้นตัวแรงในช่วงที่เหลือ
วานนี้ สภาพัฒน์ฯ รายงาน GDP Growth งวด 1Q60 ขยายตัว 3.3%yoy จาก 3.0%yoy ในงวด 4Q59 การเติบโตในงวดนี้มีแรงหนุนมาจากการลงทุนภาครัฐ, การบริโภคครัวเรือนและการส่งออก($)เป็นหลัก ขณะที่การลงทุนเอกชนยังไม่ฟื้น รายละเอียดดังนี้:
การลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น 9.7%yoyจาก 8.6% ในงวด 4Q59 หลักๆมาจากการลงทุนภาครัฐวิสาหกิจ อาทิ การก่อสร้างของบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ,โครงข่ายเคเบิลใยแก้วของบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) เป็นต้น
การบริโภคครัวเรือนเพิ่มขึ้น 3.2%yoy จาก 2.5%ในงวด 4Q59 เป็นผลจากรายได้ภาคเกษตรกรปรับตัวดีขึ้น ตามการปรับเพิ่มขึ้นในราคาและปริมาณของพืชผลทางการเกษตรเช่น ยางพารา, อ้อย ๆลๆ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) เพิ่มขึ้น 4 เดือนติดต่อกัน
และการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ($) ขยายตัว 5.1%yoy จาก 4.1%yoyในงวด 4Q59 จากการส่งออกสินค้าหลักๆ ได้แก่ ยางพาราปรับตัวเพิ่มขึ้น 78.4%yoy เคมีภัณฑ์+21.76%yoy , แผงวงจรไฟฟ้า +11.75%yoy , เม็ดพลาสติก +9.4%yoy , เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ +7.6%yoy (ซี่งสินค้าเหล่านี้รวมกันราว 30%ของยอดส่งออกทั้งหมด)
ขณะที่การลงทุนเอกชนยังไม่ฟื้นตัวคือ -1.1%yoy จาก -0.4%ในงวด 4Q59 เนื่องจากเอกชนยังไม่เชื่อมั่นและยังไม่กล้าลงทุน สะท้อนจากการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ลดลง 4.7%yoy , ก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมลดลง 11.6 %,เป็นต้น
ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยตั้งแต่งวด 2Q60 – 4Q60 คงต้องหวังการลงทุนจากภาครัฐจะดึงการลงทุนเอกชนให้กลับมา หลังจากการที่รัฐเดินหน้าประมูลลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ตามแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วนปี 2559 จำนวน 21 โครงการ วงเงินรวม 1.38 ล้านล้านบาท) ล่าสุด โครงการที่เข้าสู่ขั้นตอนของการก่อสร้างแล้ว 8 โครงการวงเงิน 3.3 แสนล้านบาท อาทิ รถไฟทางคู่ถนนจิระ-ขอนแก่น ,ท่าเทียบเรือแหลมฉบังชายฝั่ง A , มอเตอเวย์สายพัทยา–มาบตาพุดและบางใหญ่ –กาญจนบุรี เป็นต้น นอกจากนี้โครงการที่อยู่ในระหว่างการประกวดราคาและลงนามในสัญญาจำนวน 7 โครงการ วงเงิน 2.47 แสนล้านบาท นอกจากประเด็นดังกล่าวนี้รัฐยังออกมาตรการดึงดูดภาคเอกชน โดยเน้นไปในพื้นที่ (EEC) อาทิ การให้สิทธิประโยชน์ผ่านทางภาษี , การเพิ่มระยะเวลาการเช่าที่ดิน (lease hold) เป็นสูงสุด 99 ปีจากเดิม 60 ปี
ทั้งนี้ภายใต้สมมติฐาน ASPS คาด GDP Growth ปี 2560 จะขยายตัวที่ 3.5%yoy (ใกล้เคียงกับ Consensus )จาก 3.2%yoy กำหนดสมมติฐาน การบริโภคครัวเรือน (C) โต 2.7% การลงทุนรัฐ 7.9% การลงทุนเอกชน 1.8% ส่งออกโต 2% ทั้งนี้แสดงว่า 3 ไตรมาสที่เหลือจะต้องโตไม่ต่ำกว่า ไตรมาสละ 3.6% ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ยากหากเอกชนยังฟื้นตัวอย่างชัดเจนในช่วง 2H60
คลังขอให้ ธนาคารพาณิชย์ลดอกเบี้ย 0.5% กระทบกำไรไม่มาก แต่ Sentiment แรง
กระทรวงการคลังขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ไทยลดดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อย (MRR) 0.5% จากปัจจุบันเหลือ 7.125% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและ SME ซึ่งมีสัดส่วนของการกำหนดอัตราดอกเบี้ย MRR ราว 25-30% ของสินเชื่อทั้งระบบ
โดยวานนี้ ธ.พ.ใหญ่ 4 แห่ง นำด้วย KTB, KBANK, BBL, SCB นำร่องประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25-0.5% นอกจากนี้ยังมีการปรับลดดอกเบี้ย MLR และ MOR ลง โดย SCB ลด MLR ลง 0.25% และ MOR 0.25% ส่วน BBL ลด MOR ลง 0.25% ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าจะตามมาด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกกลุ่มลงเช่นเดียวกับ SCB และน่าจะตามด้วย ธ.พ.กลาง-เล็ก อื่นๆ
ทั้งนี้ธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อรายย่อย (ไม่รวมเช่าซื้อรถยนต์) บวกกับ SME สูงสูดได้แก่ SCB, KBANK KTB, BBL โดยนักวิเคราะห์ ASPS คาดว่า ผลกระทบจากการลดดอกเบี้ยที่เป็นการลดเฉพาะ MRR และ MOR ซึ่งมีสัดส่วนรวมราว 30% ของสินเชื่อรวม จะกระทบต่อ Spread ของธนาคารพาณิชย์ในปี 2560 เพียง 6 เดือน หรือ นับจากไตรมาส 3 เป็นต้นไป ราว 0.0625% หรือกระทบต่อ กำไรของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ราว 2.5% ของประมาณการเดิม (ทุก 0.25% ที่ลดลงกระทบกำไรสุทธิของกลุ่มราว 10%) ปัจจัยนี้จึงส่งผลกระทบด้านลบช่วงสั้นต่อราคาหุ้นธนาคาร โดยน่าจะมีกรอบการลดลงไม่เกิน 2.5-3% หากลดลงมากกว่านี้น่าจะเป็นโอกาสสะสม โดยฝ่ายวิจัยจึงยังคงน้ำหนักลงทุนมากกว่าตลาด เลือก SCB, TCAP เป็น top picks โดย SCB ([email protected]) ราคาหุ้นยัง laggard พื้นฐานมาก และ TCAP(FV@B53) แนวโน้มการฟื้นตัวของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในปี 2560 รวมทั้งพัฒนาการบวกของธุรกิจที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
SET ปรับฐาน แนะนำให้สะสมหุ้นพื้นฐานเด่น มีเงินปันผลรองรับ
กลยุทธ์ยังคงให้สะสมหุ้นที่มีมูลค่าถูก ไม่ว่าจะพิจารณาในด้าน P/E ต่ำสูง และ มีเงินปันผลสูง เช่น PTTGC ([email protected]) มี Expected P/E เพียง 11.3 เท่า, Div. Yield 4.4%, IRPC ([email protected]) Expected P/E เพียง 11.4 เท่า, Div. Yield 4.4% แม้ช่วงสั้นอาจจะมีประเด็นกดดันเรื่อง yield ของผลิตภัณฑ์โพรพีลีนจากโครงการ UHV ที่ต่ำกว่าเป้าหมายจากปัญหาทางเทคนิค ทำให้กระทบต่อ GIM ราว 0.3 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล แต่บริษัทอยู่ระหว่างการแก้ไข คาดว่าจะทำได้ตามแผน ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์ ASPS ยังคงประมาณการและ Fair Value (ติดตามอ่านรายละเอียดใน Equity Talk เย็นวานนี้)
หรือ หุ้นที่แนวโน้มผลการดำเนินงานแข็งแกร่ง เติบโตชัดเจน เช่น BJC (FV@B57) แม้จะมีความเสี่ยงจากประเด็นภาษีและและค่าเสื่อมราคาที่เพิ่มขึ้นจากการตีมูลค่าสินทรัพย์ถาวร BIGC ที่ยังต้องรอรายละเอียดที่ชัดเจน แต่ก็ยังเชื่อว่าผลประกอบการปีนี้จะเติบโตกว่า 50% และ UNIQ (FV@B25) คาดกำไรสุทธิปีนี้เติบโต 22% ขณะที่หุ้น Market Cap. ขนาดกลาง-เล็ก ยังมีตัวเลือกที่ดี อย่างเช่น AIT([email protected]) ครบทุกองค์ประกอบ ทั้ง Expected P/E ต่ำเพียง 9.8 เท่า, Div. Yield สูงมากถึง 6.5% และคาดกำไรสุทธิปีนี้เติบโต 25% และ SYNTEC ([email protected]) Expected P/E ต่ำเพียง 11.2 เท่า, Div. Yield เกือบ 3%
ขณะที่การรายงานงบฯ 1Q60 จะสิ้นสุดในช่วงเช้าวันนี้ จากที่ฝ่ายวิจัยรวบรวมจนถึงเย็นวานนี้ พบว่า มีบริษัทจดทะเบียนรายงานงบฯ แล้วราว 515 บริษัท คิดเป็น 95% ของ Market Cap ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 2.83 แสนล้านบาท เติบโต 21.3%yoy และ 42.7% โดยวานนี้ หุ้นที่มี Market Cap ใหญ่ รายงานกำไรสุทธิออกมาเติบโต ทั้งในส่วนของ PTT (FV@B460) กำไรสุทธิ 1Q60 อยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านบาท เติบโตถึง 95%yoy และ 142%qoq โดยธุรกิจปิโตรเลียมฟื้นตัวได้ดีขึ้นจากราคาขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเฉลี่ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันโลกแม้ปริมาณขายจะลดลง ขณะที่ต้นทุนต่อหน่วยที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ Market GRM เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยหนุนจากกำไรพิเศษที่มาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อีกทั้งในงวดนี้ไม่มีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์เช่นที่เกิดขึ้นในงวดก่อนหน้า ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีเติบโตได้ดีจาก spread ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ส่วนธุรกิจโรงกลั่นแม้ค่าการกลั่นตลาด (Market GRM) ปรับตัวลดลงตาม spread ผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปที่ปรับตัวลดลง แต่ได้กำไรพิเศษมาช่วยหนุนจากกำไรสต็อกน้ำมัน
AOT ([email protected]) กำไรสุทธิงวด 2Q60 (สิ้นสุด มี.ค. 60) เพิ่มขึ้นกว่า 18%yoy และ 27%qoq หลักๆ มาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสาร ขณะที่ค่าใช้จ่ายลดลงจากการลดลงของค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย
BANPU (FV@B24) กำไรสุทธิงวด 1Q60 ลดลง 4.9%qoq แต่หากพิจารณาเฉพาะกำไรปกติพบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 61.9%qoq ปัจจัยหนุนหลักจากราคาขายเฉลี่ยถ่านหินจากทั้งเหมืองในอินโดนีเซีย และออสเตรเลียที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
MSCI Play: ชื่นชอบ THANI, FSMART และ BCPG
เช้านี้ MSCI รายงานมีหุ้นในแถบเอเชียถูกคัดเข้าคำนวณในดัชนี MSCI Global Standard รอบ พ.ค. 60 ทั้งหมด 22 บริษัท และมีหุ้นที่ถูกคัดออกอีก 11 บริษัท อย่างไรก็ตามไม่มีหุ้นไทยถูกคัดเข้า/ออก ในดัชนีดังกล่าว
ขณะที่ดัชนี MSCI Global Small Cap รอบนี้ มีหุ้นในแถบเอเชียถูกคัดเข้าคำนวณด้วยกันทั้งหมด 120 บริษัท โดยมีหุ้นไทยที่ถูกคัดเลือกเข้าดัชนีทั้งสิ้น 5 บริษัท คือ BCPG, BIG, FSMART, PTL และ THANI ซึ่งมี Market Cap. รวมกันกว่า 8.06 หมื่นล้านบาท (คิดจาก Market Cap. สิ้นวัน 15 พ.ค. 60) ส่วนหุ้นในแถบเอเชียที่ถูกคัดออกจากดัชนีมี 100 บริษัท และไม่มีหุ้นไทยถูกคัดออก ซึ่งดัชนีดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2560 เป็นต้นไป
และจากการศึกษาข้อมูลในอดีตช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า หุ้นที่ถูกคัดเลือกเข้าคำนวณดัชนี MSCI Global Small Cap ราคาหุ้นมักจะตอบสนองเชิงบวก โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยกว่า 4.4% และมีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกสูงถึง 68% (หากซื้อในราคาเปิดของวันที่ประกาศ และขายทำกำไรในวันเข้าคำนวณ)
กลยุทธ์การลงทุน: แนะนำให้ซื้อหุ้นที่ถูกคัดเลือกเข้าคำนวณดัชนี MSCI Global Small Cap และมีพื้นฐานแข็งแกร่ง อย่าง THANI(FV@B 6.60), FSMART(FV@B 21.80) และ BCPG(FV@B 15.10) ในวันนี้ แล้วขายทำกำไรในวันที่เข้าคำนวณ มีโอกาสได้ผลตอบแทนกว่า 4.4% อีกทั้งกองทุนต่างประเทศที่ลงทุนตามดัชนี MSCI น่าจะหันมาสนใจและเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นดังกล่าวมากขึ้น ซึ่งถือเป็นตัวเลือกที่ดียามตลาดหุ้นผันผวนในเวลานี้ (ติดตามรายละเอียดฉบับเต็ม Quantitative Analysis ในวันนี้)
ภาพรวมต่างชาติเริ่มสลับมาขายหุ้นในภูมิภาค
วานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 123 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) โดยเป็นการซื้อสุทธิเพียง 2 ประเทศ คือ ไต้หวัน 6 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6) และฟิลิปปินส์ 2 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 แห่งที่ต่างชาติขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ 61 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) , อินโดนิเซีย 55 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 5 วัน) และสำหรับตลาดหุ้นไทยวานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิราว 14 ล้านเหรียญ หรือ 508 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 4 วัน) เช่นเดียวกับสถาบันฯในประเทศที่ขายสุทธิราว 510 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 916 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิราว 1 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636