WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
  เป็นที่สังเกตว่าหุ้นที่มีแรงขายออกมามากในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับฐาน ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นที่มีค่า PER สูง ซึ่งนักลงทุนยังต้องเพิ่มความระมัดระวังในหุ้นที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ฝ่ายวิจัยพบว่า ณ ปัจจุบันยังมีหุ้นที่มีค่า PER สูงเกิน 40 เท่า (ใช้ EPS ย้อนหลัง 4 ไตรมาส) 60 บริษัทอยู่ใน SET50 จำนวน 6 บริษัท และ SET100 อีก 17 บริษัท (ที่เหลืออยู่นอก SET100) สำหรับตัวเลือกการลงทุนในช่วงนี้ให้น้ำหนักไปที่หุ้นกำไรเติบโตดี และมีค่า PER ต่ำ เลือก AIT(FV@B 31.50) และ SYNTEC(FV@B 5.50) เป็น Top Picks

 

BOE คงดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด ขณะที่ OECD ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจลง

  ผลการประชุมธนาคารธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) วานนี้เป็นไปตามที่คาด คือ ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.25% (ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์) และคงวงเงินซื้อพันธบัตรรัฐบาล (QE)ที่ระดับ 4.35 แสนล้านปอนด์ ทั้งนี้ BOE ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP Growth ปี 2560 เหลือ 1.9%yoy จากเดิมคาด 2.0% และปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อเป็น 2.7%yoy ในปีนี้ จากเดิมคาด 2.4% ทั้งนี้การปรับลดมุมมองเศรษฐกิจของธนาคารกลางอังกฤษดังกล่าว สอดคล้องกับความเห็นขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ซึ่งมีมุมมองต่ออังกฤษ จะชะลอตัวในปีนี้ จากผลกระทบ Brexit จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ค่าเงินปอนด์เทียบดอลลาร์ อ่อนค่าราว 0.6% เช่นเดียวกับเงินยูโร ที่อ่อนค่าเล็กน้อย 0.16% โดยประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามของประเทศอังกฤษระยะถัดไป คือ
วันที่ 8 มิ.ย. การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ทั้งนี้จากผลสำรวจ คาดว่านางเทเรซ่า เมย์ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งนึง หลังจากช่วงก่อนหน้า กลางเดือน เม.ย.นางเทเรซ่า เมย์ได้ยุบสภาและจัดเลือกตั้งครั้งใหม่ เนื่องจากต้องการคะแนนเสียงสนับสนุนในสภาเพื่อให้มีอำนาจในการผลักดันการออกจากสหภาพยุโรป(Brexit) ซึ่งต้องใช้เวลาราว 2 ปีนับจากนี้จะเสร็จสิ้น


  ส่วนทางด้านยุโรป วานนี้คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (EU)ได้เผยรายงานภาวะเศรษฐกิจ กล่าวคือ ปรับเพิ่ม GDP Growth ปี 2560 เป็น 1.7%yoy จากเดิมคาดที่ 1.6% และคงอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ตามเดิมที่ 1.6% ทั้งนี้มุมมองเชิงบวกของ EC สอดคล้องกับความเห็นของประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ล่าสุด ที่ออกมาให้ความเห็นว่า "ความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปได้ลดลง โดยเฉพาะประเด็นทางการเมือง อาทิ Nexit ในเนเธอแลนด์ และ Frexit ในฝรั่งเศส หลังผลการเลือกตั้งประเทศดังกล่าว ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีล้วนมีแนวคิดสายกลาง ทำให้ประเด็นที่(EU) จะล่มสลายผ่อนคลาย แต่ก็ยังคงเร็วเกินไปที่ ECB จะถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ" ทั้งนี้ทำให้เชื่อว่าภาพของการใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดในยุโรปในปีหน้าจะชัดมากขึ้น สะท้อนจาก การประชุมครั้งล่าสุด แม้ ECB ยังคงวงเงิน QE แต่เป็นการปรับลดเหลือเดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร ระยะเวลาเม.ย-ธ.ค. 2560 (เดิมอยู่ที่ 8หมื่นล้านยูโร) โดยเชื่อว่า ECB ไม่กระตุ้นเพิ่ม และอาจจะทยอยปรับลดวงเงินลง ซึ่งสอดคล้องในสหรัฐ ที่หันมาใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อเนื่อง ซึ่งตลาดคาดธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง(ราว 0.5%) จากการประชุมที่เหลือ 5 ครั้งในปีนี้ โดยคาดว่าครั้งถัดไปคือ รอบ มิ.ย. สะท้อนจากผลสำรวจของ Bloomberg คาดโอกาสรอบ มิ.ย. 100%

 

ไทยชี้แจงสหรัฐประเด็นได้ดุลการค้า น่าจะเป็นแรงหนุนหุ้นส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มชิ้นส่วนฯ
  หลังจากที่ประธานาธิบดีสหรัฐได้ลงนามในคำสั่งพิเศษเมื่อต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ให้สืบหาสาเหตุและตรวจสอบประเทศที่ทำให้สหรัฐขาดดุลการค้า โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้กำหนดให้ 13 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ดำเนินการจัดส่งคำชี้แจงภายในวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ของไทย ได้ชี้แจงถึงมูลค่าการขาดดุลของสหรัฐว่าไม่ได้มีมูลค่าสูงอย่างมีนัยฯ มีสัดส่วนเพียง 1.5% ของมูลค่าการขาดดุลการค้ารวมของสหรัฐ (ปี 2559 สหรัฐขาดดุลไทยราว 1.84 หมื่นล้านเหรียญ) แต่การส่งออกจากสหรัฐมาไทยไม่ขยายตัวมากนักเพราะสหรัฐไม่มีข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับไทย นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ทำให้มีการนำเข้าลดลง แต่การส่งออกจากไทยไปสหรัฐขยายตัว เพราะสหรัฐมีการลงทุนในไทยและส่งออกกลับไป โดยเฉพาะสินค้าขั้นกลาง รวมทั้งมีการใช้ไทยเป็นฐานส่งออกไปบริษัทสหรัฐหลายแห่งในภูมิภาค


  ทั้งนี้ จากที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้ว่า ไทยมีการส่งออกสินค้าหลักไปสหรัฐ 3 ประเภท คือ ชิ้นส่วนรถยนต์, อาหารแช่แข็งและแปรรูป และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยหากพิจารณาจากโครงสร้างการส่งออกของไทยที่กระจุกตัวในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด ซึ่งรูปแบบการผลิตสินค้าชิ้นส่วนฯ ของไทยจะเป็นขั้นต้นและขั้นกลาง และส่งออกไปต่างประเทศที่เป็นฐานการผลิตขั้นสุดท้าย โดยบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ ที่มีการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐ คือ KCE (ส่งออกไปสหรัฐ 20% ของรายได้รวม) HANA (ส่งออกไปสหรัฐ 8%ของรายได้รวม) SVI (ส่งออกไปสหรัฐ 10% ของรายได้รวม) DELTA (ส่งออกไปสหรัฐ 32% ของรายได้รวม) ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือน เม.ย. ราคาหุ้นในกลุ่มชิ้นส่วนฯ มีการเคลื่อนไหวค่อนข้างสวนทางกัน กล่าวคือ DELTA เพิ่มขึ้น 8.57% KCE เพิ่มขึ้น 6.2% ยกเว้น HANA ลดลง 5.8% และ SVI ลดลง 6.3% อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นในกลุ่มฯ นี้ ไม่มี upside แล้ว ยกเว้น SVI ([email protected]) มี upside ราว 26% จึงยังแนะนำ ซื้อ

SET ปรับฐาน ส่วนใหญ่เกิดจากหุ้นเล็ก-ราคาแพง แนะนำสลับไปหุ้นใหญ่-ปัจจัยพื้นฐานแกร่ง


  ในช่วง 4 วันที่ผ่านมา SET Index ปรับฐานลงมาแล้วกว่า 23 จุด หรือ 1.44% จนปัจจุบัน SET Index มี PER อยู่ที่ 16.89 เท่า(คำนวนจาก EPS ปี 2559 แต่หากใช้ EPS ปี 2560 PER จะอยู่ที่ 15.30 เท่า) และเป็นที่สังเกตว่าหุ้นส่วนใหญ่ที่ปรับตัวลงแรงในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นคือหุ้นที่มีค่า PER สูง โดย PER ปัจจุบันสูงเกิน 40 เท่า เช่น TNR ก่อนปรับฐานมี PER อยู่ที่ 42.88 เท่า ปรับตัวลงมาแล้วกว่า 31.89% ตามมาด้วย KWG มี PER 70.55 เท่า ปรับตัวลดลง 18.97% และ TKN มี PER 42.54 เท่า ปรับตัวลดลง 17.01% ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯจึงได้ทำการรวบรวข้อมูลหุ้นที่มี PER เกิน 40 เท่า ปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 60 ตัว ซึ่งในหุ้นทั้งหมดนี้กดดัน SET Index และปรับตัวลดลงเฉลี่ยกว่า 4.52% ในช่วง 4 วันที่ผ่านมา และแบ่งออกเป็นหุ้นที่มี PER สูงกว่า 40 เท่า ใน SET50 มี 6 บริษัท และ SET100 อีก 17 บริษัท


  สรุปช่วงตลาดหุ้นผันผวน แนะนำให้นักลงทุนระมัดระวังหุ้นที่มีราคาแพง หรือมี PER สูง หากกำไรของบริษัทไม่ได้เติบโตตามคาดก็มีโอกาสปรับฐานลงมาได้ โดยยังเน้น Selective Buy หุ้น Market Cap ใหญ่ ที่มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งรองรับ อาทิ PTTGC ([email protected]) IRPC ([email protected]) BBL ([email protected]) UNIQ (FV@B25) รวมทั้งหุ้นขนาดกลาง-เล็ก เช่น SYNTEC ([email protected]) และ AIT([email protected])

Fund Flow ยังไหลเข้าตลาดหุ้นในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง


  แม้วานนี้ตลาดหุ้นอินโดนิเซียจะหยุดทำการเนื่องจากเป็นวันวิสาขบูชา แต่ตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาคยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคกว่า 354 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) และเป็นการซื้อสุทธิทุกประเทศ นำโดยเกาหลีใต้ 150 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยไต้หวัน 109 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4), ฟิลิปปินส์ 25 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8) และสำหรับตลาดหุ้นไทยวานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิกว่า 70 ล้านเหรียญหรือประมาณ 2.4 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ในขณะที่สถาบันฯในประเทศยังคงขายสุทธิราว 1.2 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 2.8 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 807 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4)

 

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!