WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BLSบล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

รอบด้านตลาดหุ้น
Selective buy
  วันนี้คาด Sideways แนวต้าน 1,573 จุด แนวรับ 1,560 จุด เราพบว่าผลการดำเนินงาน 1Q17 กลุ่มที่รายงานกำไรเติบโตดี และดีกว่าคาดส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น IVL BCP PTTEP และธุรกิจห้างฯ-Life style ยังคงรายงานกำไรเติบโตดี (HMPRO SF) แต่กลุ่มที่รายงานกำไรแย่ลง พบเป็นกลุ่มโรงงานและรับจ้างในภาคการผลิต เช่น TNR TKN
  กลยุทธ์คาดว่าราคาหุ้นที่เชื่อมโยงในแต่ละกลุ่มธุรกิจ จะสะท้อนไปตามทิศทางกำไรที่ดีขึ้น หรือ แย่ลง


แนะนำ เลือกลงทุนรายตัว
  สัปดาห์นี้ คาดกรอบ 1,560-1,580 จุด คาด Risk appetite ตลาดเพิ่มขึ้น-นลท.เลือกที่จะถือหุ้นรับปัน ผล พิจารณาจากหุ้นที่ขึ้น XD รอบนี้ส่วนใหญ่จะปันผลฟรี คาดเป็นผลจากความเชื่อมั่นใน Earnings momentum-รายงานงบ 1Q17 ที่ดีกว่าคาด, การเพิ่มน้ำหนักหุ้นไทยใน MSCI รอบใหม่ กลางเดือนพ.ค. และการปรับหุ้นเข้า-ออก สำหรับปัจจัยที่ต้องตาม ได้แก่ รอดู มติ ครม. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ผ่านการจ้างงาน และ เงินสนับสนุนผู้มีรายได้น้อย หนุนให้ GDP ไทยโตเกินคาด โดย 1Q17 เราคาด GDP โต 3% และมี Upside risk ที่โตเกินคาด
  หุ้นแนะนำวันนี้ ASIAN (แนวรับ 6.45 ต้าน 7 Stop loss 6) โฆษกกระทรวงกลาโหมเผยการ
แก้ปัญหา IUU คืบหน้าไปมาก โดยได้จัดทำอณุบัญญัติไปแล้วเกือบ 99% เพื่อยื่นต่อหน่วยงาน
ตรวจสอบ ทั้งนี้ผลการตรวจสอบของคณะทำงาน EU เมื่อปลายเดือน มีค. สรุปว่าไทยจะต้องแก้ไข กม.
บางประเด็น และโดยรวมผลตรวจสอบเป็นที่พอใจ / ตลาดคาดว่าการปลด IUU น่าจะเกิดภายในกลางปี
, กลุ่มค้าปลีกคาดรับผลบวกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ROBINS (แนวรับ 63 บ. ต้าน 64 บ. Stop loss 62.5 บ.)

 

รายงานวันนี้
  (+) TCAP เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 55 บาท หนุนโดย 1) การฟื้นตัวของกำไรใน 2017
จากสินเชื่อ HP ที่ฟื้นตัว โดยเรามองว่าสินเชื่อโดยรวมในปี 2017 จะเติบโตได้ 3% (บริษัทตั้งเป้า 3-
5%) โดยเน้นไปที่การเติบโตของ HP สำหรับทั้งรถใหม่และรถเก่า หลังจากที่ยอดขายรถเติบโตกว่า
16% YoY ใน 1Q17, 2) Less risk aversion เนื่องจาก NPL ปรับตัวลงไปสู่ 2.2% ในช่วงปลายเดือน
มี.ค. อีกทั้งยังมีสัดส่วน Loan loss coverage ที่สูงราว 152% (เกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 130% สำหรับปี
2017), 3) ราคาหุ้นยังเทรดอยู่ในระดับ Valuation ที่ถูกที่ PBV เพียง 0.9 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มที่
1.2 เท่า เราเชื่อว่ามีโอกาสปรับประมาณการกำไรขึ้นในอนาคตจากการตั้งสำรองที่มีโอกาสน้อยกว่า
คาด ตามคุณภาพสินเชื่อที่ดีขึ้นและภาคการบริโภคที่ฟื้นตัวใน 2H17 หนุนให้สินเชื่อ HP เติบโตได้ดีกว่าคาด
  (+) MILL นักลงทุนในประเทศมีมุมมองเชิงบวกต่อแผนธุรกิจของ MILL โดยบริษัทจะเปลี่ยนจากผลิต
เหล็กสำหรับก่อสร้างเป็นผลิตเหล็กที่มีมูลค่ามากขึ้นซึ่งให้อัตรากำไรสูงกว่า ในการประชุมผู้ถือหุ้นใน
วันที่ 2 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้มีการอนุมัติให้มีการทำ tender offer ที่ราคา 1.80 บาท/หุ้น จำนวนไม่เกิน
29.99% เรามองว่าผู้บริหารเชื่อว่าราคาหุ้นบริษัทยังถูกกว่าราคาที่ควรจะเป็นหากเทียบกับอัตราการ
เติบโต เราคาดกำไร 1Q17 จะอยู่ที่ 120 ล้านบาท (ขาดทุน 57 ล้านบาทใน 1Q16) อีกทั้งคาดบริษัท
จะรายงานกำไรเป็นบวกทุกไตรมาสในปี 2017 MILL เทรดอยู่ในระดับ PBV ปี 2017 ที่ 1 เท่า (ต่ำกว่า
ค่าเฉลี่ยปี 2005-2016) ซึ่งใกล้เคียงกับกลุ่ม แต่ ROE อยู่ที่ 8% เทียบกลับกลุ่มซึ่งอยู่ที่ 7% ดังนั้นเรา
ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” โดยให้ราคาเป้าหมายปี 2017 ที่ 2.20 บาท อิง PBV 1.4 เท่า (+0.5 SD จาก
ค่าเฉลี่ยระยะยาว 2005-2016)

 

Earnings results
  (+) MONO รายงานกำไรสุทธิ 1Q17 ที่ 23 ล้านบาท พลิกกลับมาจากขาดทุนสุทธิ 80 ล้านบาทและ
193 ล้านบาทใน 1Q16 และ 4Q16 ตามลำดับ หากไม่รวมรายการพิเศษกำไรหลักอยู่ที่ 31 ล้านบาท
พลิกกลับมาเป็นกำไรหลักทั้ง YoY และ QoQ กำไรที่ออกมามากกว่าที่เราคาด 52% และมากกว่า
ตลาดคาด 107% จากรายได้และ GM ที่ดีกว่าคาด เรามองว่ากำไรใน 2Q17 จะเติบโตได้ต่อเนื่องจาก
การเข้าสู่ช่วง High season ของธุรกิจสื่อ และเม็ดเงินโฆษณาในดิจิตอลทีวียังคงเติบโตแข็งแกร่งตาม
เรตติ้งและฐานผู้ชมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเด็นมาตรการเยียวยาจาก 3BB โดยการให้รับชม
MONOMAXX ฟรี 1 เดือน เรามองว่าจะส่งผลบวกต่อ MONO จากคาดยอดรายได้จาก MONOMAXX จะ
ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงเป็นการขยายฐานลูกค้าของ MONOMAXX เอง ผ่านลูกค้าของ 3BB อีกด้วย เรา
ยังคงคำแนะนำ ซื้อเก็งกำไร ราคาเป้าหมาย 4.20 บาท


  (+) IVL รายงานกำไร 1Q17 ที่ 4.4 พันล้านบาท (กำไรสุทธิมากกว่าคาด 22%) เพิ่มขึ้น 8%YoY และ50%QoQ เพราะ inventory gain มากกว่าคาด; โดยกำไรหลักจากการดำเนินงานอยู่ที่ 3.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 58%YoY และ 1%QoQ กำไรหลักเป็นไปตามที่เราและตลาดคาด; เราคงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 43 บาท
  (+) BCP รายงานกำไร 1Q17 ที่ 2.1 พันล้านบาท (กำไรมากกว่าคาด) เพิ่มขึ้น 4,372% YoY และ84% QoQ โดยกำไรหลักจากการดำเนินงานอยู่ที่ 1.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 49%YoY และ357%QoQ กำไรมากกว่าที่เราและตลาดคาดเพราะ 1) ค่าการกลั่นที่สูงกว่าคาด 2) รายได้ส่วนงานmarketing ดีกว่าคาด และ 3) ค่าใช้จ่าย SG&A น้อยกว่าคาด เราปรับกำไรขึ้น 12% สะท้อนกำไรที่ดีคกว่าคาด และปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 42 บาท เราคงคำแนะนำ ซื้อ


  (+) IRPC รายงานกำไร 1Q17 ที่ 2,365 ล้านบาท ลดลง 22% YoY แต่เพิ่มขึ้น 40% กำไรมากกว่าที่เราและตลาดคาดราว 35% เพราะมีกำไรพิเศษและกำไรสต๊อกน้ำมันมากกว่าคาด สำหรับกำไรหลักที่751 ล้านบาท เป็นไปตามคาด ลดลง 76%YoY และ 55%QoQ มุมมอง 2Q17 คาดกำไรจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการกลับเดินเครื่องในช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาคาดส่งผลให้กำไรแข็งแกร่งไปตลอกช่วงที่เหลือของปี เราคงประมาณการกำไร และคงคำแนะนำ ซื้อ เลือกเป็น top pick ในกลุ่มโรงกลั่นราคาเป้าหมาย 6 บาท


  (0) SF กำไรจากการดำเนินงานหลัก 1Q17 ที่ 228 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8%YoY แต่ลดลง 2%QoQสำหรับกำไรสุทธิอยู่ที่ 248 ล้านบาท ลดลง 20%YoY แต่เพิ่มขึ้น 30%QoQ ลดลง YoY เพราะใน1Q16 มีกำไรจากการปรับมูลค่ายุติธรรมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน แต่เพิ่มขึ้นสูง QoQ เพราะใน4Q16 มีขาดทุนจากการปรับมูลค่ายุติธรรมฯ ส่วนแบ่งกำไรหลัก Mega bangna ที่ราว 118 ล้านบาทเพิ่มขึ้นราว 17%YoY และ 4%QoQ เราคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 8 บาท
  (-) AAV รายงานกำไร 1Q17 ที่ 570 ล้านบาท ลดลง 43% YoY แต่ขึ้น 1,283% QoQ กำไรหลักอยู่ที่ 427 ล้านบาท ลดลง 58% YoY แต่เพิ่มขึ้น 130% QoQ กำไรต่ำกว่าเราและตลาดคาดเพราะ SG&A มากกว่าคาด และราคาตั๋วเฉลี่ยต่ำกว่าคาด มุมมอง 2Q17 เราคาดกำไรจะอ่อนตัวลง QoQ เพราะเป็น low season แต่เพิ่มขึ้น YoY เพราะคาดจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เราปรับกำไรลง 36% เป็น 1.6 พันล้านบาท และปรับราคาเป้าหมายลงเหลือ 7.2 บาท (เดิม 8.4 บาท) คงคำแนะนำ ซื้อ จากvaluation ที่ถูกเพียง PBv 0.9 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 1 เท่า


  (-) TU รายงานกำไร 1Q17 ที่ 1.47 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 17%YoY และ 63%QoQ โดยกำไรหลักอยู่ที่ 843 ล้านบาท ลดลง 24%YoY และ 26% QoQ กำไรสุทธิสูงกว่าคาด 11% (เพราะ FX gain)
อย่างไรก็ดีกำไรหลักต่ำกว่าคาด 19% เพราะการดำเนินงานทูน่ายังคงอ่อนแอ และต้นทุนกุ้งที่ปรับตัวขึ้น เรามีแนวโน้มปรับกำไรลง
  (-) TNR รายงานกำไร 1Q17 ที่ 3.4 ล้านบาท โดยกำไรหลักอยู่ที่ 12 ล้านบาท ผลประกอบการต่ำกว่าที่เราคาดที่ราว 40 ล้านบาท โดยสาเหตุที่กำไรน้อยกว่าคาดมาจาก รายได้ที่ลดลง17%YoY และ10%QoQ เป็นเพราะกลุ่มลูกค้าหลักในธุรกิจ OEM ในหลายทวีปลดการสั่งสินค้าลง และอัตรากำไรขั้นต้นที่หดตัวลง จากผลประกอบการที่น่าผิดหวังเพราะภาพอุตสาหกรรมที่แข่งขันสูง เราคาดว่าอาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งบริษัทจึงจะกลับมามีกำไรที่เติบโตสูงได้ เราปรับกำไรลง และปรับคำแนะนำลงเป็น ขาย
  (-) TK รายงานกำไรสุทธิ 1Q17 ที่ 104 ล้านบาท ลดลง 6% YoY แต่เพิ่มขึ้น 2% QoQ กำไรที่ออกมา
ต่ำกว่าที่เราคาด 8% จาก Effective corporate tax rate ที่สูงกว่าคาด เราประเมินกำไร 2Q17 ทรงตัว
YoY ซึ่งถุกดดันจาก Tax expenses และ OPEX ที่เพิ่มขึ้น เรามองว่าภาพธุรกิจจะฟื้นตัวดีขึ้นใน 2H17
ตามการฟื้นตัวของ macro-economic แต่ภาพสินเชื่อมอเตอร์ไซด์และรถมือสองยังมีความไม่แน่นอน
และยังมีความเสี่ยงจากคู่แข่งที่มี funding cost ที่ต่ำกว่า เรายังคงคำแนะนำ ขาย
  (-) TKN รายงานกำไรสุทธิ 1Q17 ที่ 171 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 6% YoY แต่ลดลง 27% QoQ ซึ่งต่ำกว่าที่
เราประมาณการไว้ 38% โดยสาเหตุหลักมาจากยอดขายที่ปรับตัวลดลงมากกว่าที่เราคาดไว้ ยอดขาย
ในประเทศช่วง 2Q17 มีแนวโน้มขยายตัวได้ใกล้เคียงกับ 1Q17 ซึ่งเป็นทิศทางที่ต่ำกว่าที่เราได้
ประเมินไว้เดิมที่คาดว่าจะเติบโต 10% YoY ค่อนข้างมาก เนื่องจากการบริโภคในประเทศยังไม่มี
แนวโน้มฟื้นตัวอย่างชัดเจน ในขณะที่ยอดขายในต่างประเทศมีแนวโน้มเติบโตได้17% จากเดิมที่คาด
ไว้ว่าจะโต 38% เราปรับประมาณการกำไรลง 18% ตามแนวโน้มยอดขายที่ขยายตัวได้น้อยกว่าที่คาด
ไว้ ส่งผลให้ราคาเป้าหมายสิ้นปี 60 ถูกปรับลดลงเป็น 22.3 บาท จากเดิม 30.25 บาท เราปรับ
คำแนะนำเป็นขาย (จาก ซื้อ)

 

หุ้นมีข่าว/ประเด็น
  (+) CBG กระแสข่าวต่อต้านสินค้า กระทิงแดง ในต่างประเทศภายใต้ แคมเปญ “Say no to Red
Bull” ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง (ที่มาสำนักข่าว ซินหัว)
  (+) TAPAC-W3 เข้าเทรดวันนี้ (ที่มา ตลท.)

 

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
  (+) เมื่อวาน จีน รายงานส่งออกเดือน เมย. +14.3% ดีกว่าคาดที่ +11.3% และเกินดุลการค้า US$3.8
หมื่นล้าน (ที่มา ASPEN)
  (+) อังคาร เยอรมนี Industrial production มีค. คาด -0.4% จาก +2.2% m-m, เลือกตั้ง ปธน.เกาหลี
ใต้ (ที่มา Bloomberg)
  (0/+) พุธ US Import prices เมย. คาด +0.2% จาก -0.2% m-m ญี่ปุ่น Economic Coincident index
มีค. คาด 114 จาก 115.3, จีน CPI เวินเฟ้อเดือน เมย. คาด +1.1% จาก 0.9% y-y (ที่มา Bloomberg)
  (+) พฤหัส US PPI Final demand เมย. คาด +0.2% จาก -0.1% m-m ประชุมธนาคารกลางอังกฤษ
คาดคงดอกเบี้ย 0.25%, ฟิลิปปินส์ ส่งออก เดือน มีค. คาด +20% จาก +11% y-y มาเลเซีย
Industrial production มีค. คาด +3.5% จาก 4.5% y-y, ประชุมธนาคารกลางฟิลิปปินส์ และ
นิวซีแลนด์ คาดคงดอกเบี้ย 3% และ 1.75% ตามลำดับ (ที่มา Bloomberg)
  (+) ศุกร์ US Consumer prices เมย. 0.2% จาก -0.3% m-m Core CPI คาด +0.2% จาก -0.1%,
เยอรมนี GDP 1Q17 1st คาด +0.4% จาก +0.5% q-q, EU area Industrial production มีค. คาด
+0.6% จาก -0.3% m-m. ประชุมธนาคารกลางมาเลเซีย คาดคงดอกเบี้ย 3% ฮ่องกง GDP 1Q17
คาด +3.9% จาก +3.1% อินเดีย Industrial production มีค. คาด + 2.2% จาก -1.2% y-y.
(ที่มา Bloomberg)

วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!