WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AIRAบล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

ทิศทางตลาด
  ผันผวน? คาดมีโอกาสปรับขึ้นตามตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่เช้านี้ ภายใต้ปัจจัยกดดันที่ลดลงจากก่อนหน้านี้ หลังคาดการณ์ว่าสภาคองเกรสจะมีการลงมติต่อร่างกฎหมายงบประมาณ (สิ้นสุด 30/9/60) ภายในสัปดาห์นี้ และคาดได้รับปัจจัยบวกบ้างจากคาดการณ์ของเฟดสาขาแอตแลนตา ที่คาด GDP –2Q/60 จะขยายตัวแข็งแกร่ง 
  อย่างไรก็ตามอยู่ระหว่างรอผลประชุมเฟด (เช้า พฤ.ตามเวลาไทย) โดยคาดครั้งนี้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่จับตาแถลงการณ์ของเฟดหลังประชุม โดยเฉพาะการส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ส่วนประเด็นการปฏิรูปภาษี โดยเฉพาะภาษีนิติบุคคลที่ปรับลดลงจาก 35 –39.6% เป็น 15% และลดขั้นบันไดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก 7 ขั้น เหลือ 3 ขั้น คาดต้องใช้ระยะเวลาในการออกเป็นกฎหมาย ซึ่งต้องผ่านสภาคองเกรสพิจารณาต่อไป
  ขณะที่แนะติดตามการเลือกตั้งรอบ 2 ในฝรั่งเศส (7/5/60) คาดช่วยลดความกังวลต่อประเด็นฝรั่งเศสจะถอนตัวออกจาก EU หลังผลสำรวจล่าสุด พบว่า นายมาครอง มีคะแนนนำ นางเลอเปน
  ทางด้านราคาน้ำมัน ปรับลดลง คาดส่งผลต่อราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน ภายใต้ภาพรวมยังถูกกดดันจากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐฯ
  ส่วนประเด็นในประเทศ ยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ ยังอยู่ในช่วงการทยอยประกาศผลการดำเนินงาน ที่คาดมีแรงเก็งกำไรจนถึงกลางเดือนพ.ค. ขณะที่คาดยังมีความกังวลอยู่บ้าง โดยเฉพาะต่อตัวเลข NPL ของกลุ่มธนาคารที่เพิ่มขึ้น และยังแนะติดตามประเด็นที่สหรัฐฯ ระบุว่าไทยเป็น 1 ใน 16 ประเทศ ที่ทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้า ล่าสูงสุดในรอบ 3 ปี มูลค่า 18,920 ล้านUSD หรือประมาณ 650,000 ล้านบาท และคาดสหรัฐฯ อาจมีมาตรการตอบโต้ออกมา (เช่น มาตรการด้านภาษี) ภายใน 90 วัน โดยเฉพาะต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน รวมถึงประมง เป็นต้น
  ส่วนทางด้านปัจจัยกดดันจากความไม่แน่นอนในการเปิดประมูลของภาครัฐ ซึ่งส่งผลต่อหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง คาดเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น หลัง ครม. เห็นชอบประเด็นการปรับร่างทีโออาร์ใหม่สำหรับรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง และแนะให้จัดทำร่าง TOR ใหม่ เสร็จภายใน 3 เดือน คาดมีความเป็นไป ได้ที่จะเปิดประมูลในช่วง 2H/60

SET SET50 SET100
1,566.32 -0.45 993.98 -1.21 2,237.96 -2.22

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
   (-/+) ตลาดต่างประเทศ DJIA -27.05, NASDAQ +44.00, S&P +4.13 โดยตลาดหุ้นยุโรปปิดทำการ เนื่องในวันแรงงานหลังสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจอ่อนแอ (1) การใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง – มี.ค. ลดลง 0.2% อยู่ที่ 1.218 ล้านล้านUSD จากการปรับลงของการก่อสร้างโครงการที่ไม่ใช่เพื่อที่อยู่อาศัย และโครงการก่อสร้างของรัฐบาล (2) ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) - มี.ค. ลดลง 0.2%MoM ซึ่งลดลงเป็นครั้งแรกนับแต่ก.พ.’59  และลดลงมากที่สุดนับแต่ม.ค.’58 และ (3) ดัชนีภาคการผลิตของ ISM - เม.ย.อยู่ที่ 54.8 ลดลงจาก 57.2 เมื่อมี.ค. และต่ำกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ 56.4
  อย่างไรก็ตามได้รับปัจจัยหนุนเข้ามาบ้าง ภายใต้คาดการณ์ว่าสภา คองเกรสสามารถบรรลุข้อตกลงที่จะทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ มีงบประมาณบริหารประเทศจนสิ้นสุดปีงบประมาณปัจจุบันในวันที่ 30 ก.ย. โดยคาดทางสภาคองเกรสจะลงมติต่อร่างกฎหมายงบประมาณดังกล่าวสัปดาห์นี้
  ขณะที่ NASDAQ ทำสถิติปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ภายใต้การเพิ่มขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยแอปเปิล จะเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสในวันนี้ตามเวลาสหรัฐฯและอยู่ระหว่างติดตามการประชุมนโยบายการเงินของเฟด ในวันนี้เป็นวันแรก ขณะที่คาดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ พร้อมจับตาแถลงการณ์หลังการประชุมเฟด (เช้า พฤ.ตามเวลาไทย) เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้

P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
17.32 1.92 3.14

ที่มา : www.set.or.th

มูลค่าการซื้อขาย หน่วย (ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 46,059.66
สถาบัน 5,701.75
บัญชีหลักทรัพย์ -79.73
ต่างประเทศ 3,692.51
ในประเทศ -9,314.52

   ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. -US$0.49 อยู่ที่US$48.84 ต่อบาร์เรล ภายใต้ความกังวลเกี่ยวกับการที่สหรัฐฯ เพิ่มปริมาณการผลิตและการขุดเจาะน้ำมัน โดยล่าสุดจำนวนแท่นขุดเจาะที่มีการใช้งานในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 9 แท่น อยู่ที่ 697 แท่น ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่เม.ย.’58 และเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 15 ติดต่อกัน
  ขณะที่สมาชิกโอเปกจะจัดการประชุมในวันที่ 25/5/60 เพื่อตัดสินใจว่าจะขยายเวลาการปรับลดกำลังการผลิตเกินเดือนมิ.ย.หรือไม่? โดยรัสเซียจะแสดงจุดยืนเกี่ยวกับการขยายเวลาในการปรับลดการผลิตน้ำมันในวันที่ 24 พ.ค. ก่อนที่โอเปกจะประชุมกันในวันที่ 25 พ.ค.
  ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. -US$12.8 อยู่ที่ US$ 1,255.5 ต่อออนซ์ หลังเฟดแอตแลนตา คาดการณ์ GDP –2Q/60 ขยายตัว 4.3% ซึ่งจะเป็นการขยายตัวที่แข็งแกร่งที่สุดนับแต่3Q/57 ส่งผลให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย
   (+) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ +3,693 ล้านบาท สะสม YTD +8,093 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาทและ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท)

ประเด็นที่ต้องติดตาม 2 –5 พ.ค. 2560       
  2/5/60 สหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์คเดือนเม.ย.เฟด เริ่มการประชุมกำหนดนโยบายการเงินวันแรก
  3/5/60 สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐเดือนเม.ย.
  ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนเม.ย.
  ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนเม.ย.
  สต็อกน้ำมันเฟด ประกาศมติการประชุมกำหนดนโยบายการเงิน
  
  4/5/60 สหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนมี.ค.

  ข้อมูลที่มีการปรับแก้ไขของประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนแรงงานต่อหน่วยประจำไตรมาส 
  1/2017ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
  ยอดสั่งซื้อของโรงงานเดือนมี.ค.
  5/5/60 สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย.

และยังแนะจับตา   
  (1) กลุ่มอาหาร ได้รับประโยชน์จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เช่น BR และ CBG เป็นต้น
  (2) กลุ่มธนาคาร ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปี ’60 เช่น KBANK และ SCBเป็นต้น
  (3) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
  (4) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น และความต้องการในประเทศที่คาดดีขึ้น เช่น SCC
  (5) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานภาคเอกชน ที่เข้ามาต่อเนื่อง เช่น SQ เป็นต้น
  (6) กลุ่มพลังงาน เช่น PTT ได้รับประโยชน์จากธุรกิจก๊าซที่แนวโน้มกำไรเติบโตดี ขณะที่ TOP และ SPRC แนวโน้มผลการดำเนินงานดี ค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้น และ BANPU ปรับตัวขึ้นตามราคาถ่านหิน
  (7) กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ โดยบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากค่าโฆษณาที่คาดว่าจะฟื้นตัวในช่วง 1Q/60 และเรตติ้งที่อยู่ในอันดับต้นๆ เช่น WORK
  
  (8) กลุ่มขนส่ง ในส่วนของธุรกิจขนส่งทางเรือ เช่น PSL คาดได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินที่มีแนวโน้มฟื้นตัว จากการปรับตัวของอุตสาหกรรมเรือเทกอง 
  ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.04อยู่ที่ 2.33%(ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) 

  ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.71 อยู่ที่ 10.11
  หุ้นแนะนำ : หุ้นแนะนำเดือนพฤษภาคม’60
  CBG, HANA, IVL, MTLS, PLAT, SPA และ UNIQ

นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ โทร .02-684-8788

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!