WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Mayบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

ตลาดหุ้นไทยวานนี้
      SET INDEX วานนี้กลับมาแกว่งในกรอบแคบๆ อีกครั้ง 1,565-1,570 จุด หุ้นขนาดกลางขยับขึ้นเด่น จากแรงเก็งกำไรต่อผลการดำเนินงาน เช่น BANPU / BCPG/ PTTGC เป็นต้น ปิด ณ สิ้นวันที่ 1,566.77 จุด ลบเพียง 0.70 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายเพียง 32,625 ล้านบาท
    ทั้งนี้ ต่างชาติคงการขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 2 เพียง 609 ล้านบาท แต่ Long สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 2 อีก 1,487 สัญญา และขายสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ 1,794 ล้านบาท

ปัจจัยสำคัญวันนี้
- ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือนมี.ค. วันนี้
- วันหยุดยาวของตลาดหุ้นไทย วันจันทร์ที่ 1 พ.ค.

ปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า
- ติดตามการประชุมครม.อาจพิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลือง
- ติดตามการประชุม FOMC วันที่ 3 พ.ค.
- ติดตามรายงานงบการเงิน 1Q60
- ติดตามโพลล์การเลือกตั้งรอบที่ 2 ของฝรั่งเศส

มุมมองต่อตลาดวันนี้: กลาง (วันที่ 16)
หุ้นหลักที่ประกาศกำไรออกมาดีกว่าคาดต่อเนื่อง ตั้งแต่ SCC/ PTTEP / ADVANC ช่วยจำกัด Downside risk ของ SET INDEX และสอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจใน 1Q60 ของไทยขยายตัวในเกณฑ์ที่แข็งแกร่งเช่นกัน แม้ว่ากระแสเงินทุนต่างชาติจะยังไร้ทิศทางก็ตาม
และปัจจัยต่างประเทศในสัปดาห์หน้า ทั้งการประชุม FOMC ที่คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ย แต่สิ่งที่ต้องติดตามคือความเห็นต่อเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทำให้เฟดยืนยันลดขนาดงบดุลในปลายปีนี้หรือไม่ รวมถึงความเสี่ยงทางการเมืองในฝรั่งเศสกับการเลือกตั้งในสัปดาห์หน้า ทำให้การเคลื่อนไหวของสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งตลาดหุ้น / สินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าจะแกว่งในกรอบแคบๆ
ดังนั้น SET INDEX จึงหนีไม่พ้นที่จะยังแกว่งในกรอบแคบระหว่าง 1,560-1,575 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย 4.0 หมื่นล้านบาท/วัน ภายใต้ความระมัดระวังของนักลงทุนต่อประเด็น "Sell in May and Go Away"
ดังนั้นกลยุทธ์หลัก เรายังคงแนะนำ "เก็งกำไร" ต่อหุ้นเป้าหมายที่ผลการดำเนินงานใน 1Q60 เติบโตเด่น yoy และ/หรือ qoq

Daily Pick
1. สะสม BANPU : ราคาปิด 19.50 บาท ราคาเหมาะสม 22.20 บาท
a) ราคาหุ้น BANPU ปรับฐานลง 5.34% สวนทางกับกลุ่มพลังงานที่ +0.34% ในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมา เชื่อว่าสะท้อนถึงกำไรสุทธิใน 1Q60 อาจมีแรงกดดันจากการขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ ทำให้กำไรสุทธิอยู่ในระดับ 1.0-1.5 พันล้านบาท เทียบกับที่ตลาดคาดการณ์ระดับ 2.0-2.5 พันล้านบาท
b) แต่เราเชื่อว่ากำไรจากการดำเนินงานใน 1Q60 ของ BANPU จะยังเติบโต yoy และ qoq จากราคาขายถ่านหินเฉลี่ยที่ฟื้นตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่กลางปี 2559 ที่ผ่านมา
c) ทิศทางผลประกอบการปี 2560 คาดว่ากำไรสุทธิจะเติบโตสูงถึง+309% yoy เป็น 9,116 ล้านบาท จากราคาถ่านหินเฉลี่ยในปี 2560 ที่เพิ่มขึ้น ราว 10-15% yoy เป็น US$75.00/ตัน และได้ทำสัญญาซื้อขายถ่านหินของอินโดนีเซียในปี 2560 ไปแล้ว 61% จึงมี Downside Risk ของประมาณการกำไรที่จำกัด

Fund Flow Analysis

Fund Flow in Emerging Markets
ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6 อีก US$120 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$803 ล้าน
ทั้งนี้ตลาดหุ้น PSE - SET ถูกขายสุทธิพร้อมกันอีกครั้ง

Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติเลือกที่จะ Long ใน SET50 Index Futures แทนเข้าซื้อหุ้นรายตัวต่อเนื่อง
นักลงทุนต่างชาติคงการขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 2 เพียง 609 ล้านบาท รวม 2 วันทำการขายสุทธิ 1,684 ล้านบาท ทำให้ YTD นักลงทุนกลุ่มนี้ซื้อสุทธิลดลงเหลือ 4,401 ล้านบาท
SET50 Index futures นักลงทุนกลุ่มนี้คงการ Long สุทธิเป็นวันที่ 2 ลดลงเหลือ 1,487 สัญญา รวม 2 วันทำการ Long สุทธิ 11,236 สัญญา คาดเป็นการเพิ่มสถานะ Long ผลักดันให้ S50M17 กลับมาปิดสูงกว่า SET50 Index เท่ากับ 0.91 จุด จากวันก่อนหน้า Discount เท่ากับ 0.33 จุด ส่งผลให้ 2Q60 มีสถานะ Long สุทธิเพิ่มเป็น 33,740 สัญญา
และตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนต่างชาติคงการขายสุทธิเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ 1,794 ล้านบาท เทียบกับ 2 วันทำการก่อนหน้าซื้อสุทธิ 3,484 ล้านบาท แม้ว่าราคาพันธบัตรไทยฟื้นตัวเป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี ลดลง 0.76bps จากวันก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 2.29bps ปิดที่ 2.771%

Short-Selling วานนี้
เท่ากับ 439 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 900 ล้านบาท ด้วยจำนวนหุ้น 45 หลักทรัพย์ จากวันก่อนหน้า 49 หลักทรัพย์

NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 กลับมาเน้นกลุ่ม Global Play เพื่อเก็งกำไรผลการดำเนินงาน
การซื้อขายผ่าน NVDR ซื้อสุทธิเร่งขึ้นเป็น 931 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิเพียง 97 ล้านบาท รวม 4 วันทำการซื้อสุทธิ 2,657 ล้านบาท โดยสะสมกลุ่มพลังงานสูงสุด 329 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มปิโตรเคมี 176 ล้านบาท และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง 128 ล้านบาท แต่ขายสุทธิกลุ่มไฟแนนซ์สูงสุดเพียง 45 ล้านบาท

ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค

สหรัฐอเมริกา
Trump จะยังไม่ถอนตัวออกจาก NAFTA: ประธานาธิบดี Trump กล่าวกับผู้นำแคนาดาและเม็กซิโกว่า สหรัฐฯ จะยังไม่ถอนตัวออกจาก NAFTA ณ ขณะนี้ แต่จะเร่งเรื่องในการเปิดเจรจากับ 2 ประเทศ ซึ่งผู้นำทั้ง 2 ประเทศก็เห็นด้วยกับการเปิดเจรจาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกประเทศ

ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาเป็นกลาง
- ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 0.7% mom ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาด 1.1% mom และเดือนก่อนหน้าที่ 2.3% mom หากไม่รวมคำสั่งซื้อเครื่องบิน ยอดคำสั่งซื้อดังกล่าวจะหดตัว 0.2% mom สวนทางกับ Bloomberg consensus คาด 0.4% mom
- ดุลการค้าเดือนมี.ค. ขาดดุล US$6.48 หมื่นล้าน ดีกว่า Bloomberg consensus คาดขาดดุล US$6.53 หมื่นล้าน แต่ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ US$6.39 หมื่นล้าน โดยการส่งออกหดตัว 1.7% mom จากเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 0.4% mom การส่งออกทั้งสินค้าเพื่อการอุปโภค และยานยนต์หดตัวลงแรง แต่การนำเข้าลดลงเพียง 0.7% mom
- ยอดขายบ้านรอปิดการขาย เดือนมี.ค. หดตัว 0.8% mom ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาดลดลง 0.5% mom และเดือนก่อนหน้าที่เติบโต 5.5% mom

ยุโรป
ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจในอียูทำระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี: เดือนเม.ย.ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจของภาคเอกชนและประชาชนอยู่ที่ระดับ 109.6 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนมี.ค.ที่ 108.0 จุด และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2550
ECB คงนโยบายการเงินตามคาด: อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% และคงวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE) เท่ากับ 6.0 หมื่นล้านยูโร/เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนเม.ย. จนถึงสิ้นปี 2560 ภายใต้เป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2.0% เช่นเดิม อย่างไรก็ตามความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจชะลอตัวลง หลังตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมี.ค.ยืนยันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในทิศทางที่แข็งแกร่ง

จีน
กำไรของภาคอุตฯ เดือนมี.ค.เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด: เท่ากับ 23.8% yoy เป็น 6.887 แสนล้านหยวน ส่งผลให้กำไรของภาคอุตฯ ใน 1Q60 เพิ่มขึ้นถึง 28.3% yoy เป็น 1.7 ล้านล้านหยวน แม้ว่าจะชะลอตัวลงจาก 2M60 ที่เติบโต 31.5% ก็ตาม
ทางการจีนผ่อนคลายหลักเกณฑ์การจัดลำดับขั้นหนี้เสีย: แหล่งข่าวระดับสูงให้ความเห็นว่า ทางการจีนได้ผ่อนคลายหลักเกณฑ์การจัดหนี้เสีย NPLs โดยเปิดให้สถาบันการเงินขายหนี้เสียออกได้เร็วขึ้น เพื่อการบริหารจัดการที่รวดเร็ว

เอเชียแปซิฟิก
ผลการประชุม BoJ คงนโยบาย แต่สัญญาณด้านเศรษฐกิจดีขึ้น: BoJ คงนโยบายการเงินเช่นเดิม ทั้งอัตราดอกเบี้ยนโยบาย -0.10% และตั้งเป้าผลตอบแทนพันธบัตรญี่ปุ่นอายุ 10 ปีที่ 0.0% ภายรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวในระดับปานกลางถึงดีเล็กน้อย เป็นมุมมองที่ดีขึ้นกว่าการประชุมครั้งก่อนหน้า แต่ปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อ ณ สิ้นปีงบประมาณเดือนมี.ค. 2561 เท่ากับ 1.4% จาก 1.5% ทั้งนี้แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังไม่เห็นภาพที่ชัดเจนในการฟื้นตัว แม้ว่าจะยังคงเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2.0%

ไทย
สศค.คงคาดการณ์ GDP ปีนี้โต 3.6%: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แถลงประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2560 คงคาดการณ์เดิมที่ 3.6% จากช่วงคาดการณ์ที่ 3.3-3.9% เร่งตัวขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัว 3.2% แม้ปรับตัวเลขการส่งออกในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 3.3% จากประมาณการในครั้งก่อนที่ 2.5% เนื่องจากมองว่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นนั้นยังไม่ได้เป็นนัยสำคัญที่จะทำให้ต้องมีการปรับ GDP เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะจากการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2560 จำนวน 1.9 แสนล้านบาท และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนาดใหญ่ อาทิ โครงการรถไฟทางคู่และรถไฟฟ้าในเขตเมือง โครงการมอเตอร์เวย์ และโครงการพัฒนาท่าอากาศยาน

Strategist Team
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Krittapol Itthithumsakul Assistant Analyst

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!