WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน


กลยุทธ์การลงทุน
     คาดดัชนีหุ้นไทยยังคงแกว่งตัวในกรอบ 1,560-1,575 จุด โดยได้รับอิทธิพลต่อการรายงานงบงวด 1Q60 ของหุ้นที่มิใช่สถาบันการเงิน โดยพรุ่งนี้ 26 เม.ย. จะมีการรายงานงบ SCC ซึ่งคาดว่าจะมีกำไรโดดเด่น ขณะที่ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบแรก ลดความเสี่ยงที่จะออกจากยุโรป หนุนตลาดหุ้นโลกสดใส และน่าจะกดดันเงินทุนไหลออกจากเอเชีย กลยุทธ์เลือกรายหุ้นที่มี net cash (STEC) และกำไรโดดเด่นปีนี้ Top picks IRPC([email protected]) RS ([email protected])

นำเข้าเพิ่มเร็วจากน้ำมัน เครื่องประดับ คอมพิวเตอร์/ชิ้นส่วนฯ
      กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดการค้าระหว่างประเทศเดือน มี.ค.2560 มีสัญญาณที่ดีขึ้น โดยยอดส่งออก(X) ในรูปดอลลาร์ ขยายตัว 9.2%yoy(สูงสุดในรอบ 4 ปี) จาก -2.8yoy ในเดือน ก.พ. เกิดจากการเพิ่มขึ้นของ ยางพารา 91%yoy ผลิตภัณฑ์ยาง 61.8% เคมีภัณฑ์ 31.0% เม็ดพลาสติก 7.1% เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 13% (ยอดส่งออกรวม 5 รายการคิดเป็น 18% ของยอดส่งออกรวม)
ขณะที่การนำเข้า(M) ในเดือนเดียวกันขยายตัว 19.3% yoy หลัก ๆ เกิดจากการนำเข้าน้ำมันเพิ่ม 90% รองลงมาคือ เพชรพลอยอัญมณีเพิ่ม 43% คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ 20.3%yoy แผงวจรไฟฟ้า 19.5% (ยอดนำเข้ารวม 4 รายการคิดเป็น 23% ของยอดนำเข้ารวม) ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 23 ถือเป็นปัจจัยหนุนให้ค่าเงินบาทเทียบดอลลาร์แข็งค่าในกรอบ 34.3-34.5 ในช่วงที่ตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา
     ทั้งนี้ หากพิจารณายอดส่งออกเฉลี่ย ม.ค.-มี.ค. ขยายตัว 4.9%yoy ต่ำกว่ายอดนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 14.8% ในช่วงเดียวกัน ทั้งนี้หากในช่วงที่เหลือ 9 เดือนสุดท้ายของปีนี้ การนำเข้ายังเพิ่มในอัตราเร่งกว่าการส่งออก และทำให้ส่วนต่างของนำเข้า เพิ่มในอัตราเร่งกว่าการส่งออก อาจจะมีผลกระทบต่อประมาณการ GDP Growth ในปี 2560 ที่ ASPS ประเมินไว้ที่ 5.3% โดยกำหนดให้อัตราการส่งออก (+2%) หัก อัตราการนำเข้า (-1.5%) ต่างกันอยู่ที่ 3.5% โดยหากให้ส่วนต่างลดลงทุก 1% คาดว่าจะมีผลกระทบต่อ GDP Growth 0.15% ซึ่งไม่มากนัก แต่อย่างไรก็ตามต้องติดตามในช่วงที่เหลือของปีนี้ว่าการส่งออกจะกลับมาขยายตัวได้ในอัตราเร่งหรือไม่

ตลาดหุ้นยุโรปตอบรับด้วยหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดี
     ดังที่ได้นำเสนอไปวานนี้ถึงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบแรก ได้ผู้ที่มีคะแนนสูงสุด 2 คน เพื่อไปเลือกตั้งรอบ 2 ในวันที่ 7 พ.ค.2560 คือนาย เอ็มมานูเอล มาครง พรรคก้าวหน้า (อดีตรัฐมนตรีเศรษฐกิจรัฐบาลเดิม) มีแนวคิดที่จะอยู่ในสหภาพยุโรป ด้วยคะแนนราว 23.61% และนาง มารีน เลอแปน พรรคแนวร่วมแห่งชาติ ขวาจัด ซึ่งมีแนวคิดจะนำพาฝรั่งเศสได้คะแนนเสียงราว 21.8% และผลสำรวจล่าสุด คาดว่าการเลือกตั้งรอบ 2 นาย เอ็มมานูเอล มาครง จะชนะ นาง มารีน เลอแปน ด้วยคะแนน 60.63% ต่อ 39.37% ซึ่งได้ลดความกังวลต่อปัญหาแตกสลายของยุโรป (สอดคล้องกับ การเลือกตั้งเนเธอร์แลนด์ เมื่อ 15 มี.ค. พรรครัฐบาลได้รับชัยชนะในการเลือก ทำให้ความเสี่ยงต่อการออกจากยุโรปลดลง) หนุนเงินยูโรเทียบดอลลาร์กลับมาแข็งค่าก้าวกระโดดราว 1.39% เพียงวันเดียว และแข็งค่า 3.14% จากต้นปีจนถึงวานนี้ (ytd) หลังอ่อนค่ากว่า 6% นับจาก Brexit ใน 24 มิ.ย. 2559 เช่นเดียวกับค่าเงินปอนด์แกว่งตัวแข็งค่าราว 3.91%ytd หลังจากที่อ่อนค่ากว่า 18% นับจาก Brexit
      นอกจากนี้พบว่าตลาดหุ้นยุโรปวานนี้ปรับตัวขึ้น นำโดยตลาดหุ้นฝรั่งเศส (DAC) เพิ่มขึ้น 4.75% รองลงมาคือ อิตาลีเพิ่มขึ้น 4.25% และ สเปน 3.7% ขณะที่ อังกฤษ(FTSE) และ เยอรมัน (DAX) ปรับขึ้นในอัตราน้อยกว่าคือ 2.1% และ 1.7% ตามลำดับ และเป็นที่สังเกตว่าบางตลาดทำ new high โดยเฉพาะตลาดหลักในฝรั่งเศส และเยอรมัน
  ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียยังคงแกว่งตัวไร้ทิศทาง สวนทางกับค่าเงินที่แข็งค่า (แต่น่าจะเป็นผลจากเงินทุนไหลเข้าในตลาดตราสารหนี้เป็นหลัก) โดยพบว่าตลาดหุ้นมาเลเซีย และอินเดียปรับตัวขึ้นเกือบ 1% ในอัตราใกล้เคียงกัน ส่วนตลาด TIPs มีเพียงตลาดหุ้นอินโดนีเซียที่ปิดบวก 1.2% ตรงข้ามกับตลาดหุ้นไทยยังติดต่อเนื่องนับจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่วนตลาดฟิลิปปินส์ ทรงตัว และสุดท้ายคือตลาดหุ้นจีนที่ปรับตัวลงต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ที่ผ่ามา

ต่างชาติซื้อหุ้นในภูมิภาคทุกแห่ง รวมถึงไทย
  วานนี้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาคปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่น้อยกว่าตลาดหุ้นฝั่งยุโรปและสหรัฐ โดย Fund Flow ยังไหลเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 อีกกว่า 354 ล้านเหรียญ ( ตลาดหุ้นอินโดนีเซียหยุดทำการ) และเป็นการซื้อสุทธิทุกตลาด นำโดย เกาหลีใต้ 251 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ไต้หวัน 88 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3), ฟิลิปปินส์ 3 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 5 วัน) และไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 12 ล้านเหรียญ หรือ 409 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 5 วัน) สวนสถาบันฯในประเทศที่ขายสุทธิราว 411 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน)
  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย พบว่านักลงทุนสถาบันฯยังซื้อสุทธิราว 8.0 พันล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิราว 4.3 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3 โดยมียอดขายรวม 9.5 พันล้านบาท) หนุนให้ Bond Yield 10 ปี เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น และเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศอื่นๆทั่วโลก โดยล่าสุดอยู่ที่ 2.67% ขยับเพิ่มขึ้นมาจากจุดต่ำสุดของปี 2560 ที่ 2.59% ณ วันที่ 17 เม.ษ. 60 สาเหตุหนึ่งน่าจะเกิดจากต่างชาติปรับพอร์ตการลงทุน โดยหันลงทุนกับสินทรัพย์เสี่ยง (ตลาดทุน) มากขึ้น หลังความกังวลว่าฝรั่งเศสจะออกจากสหภาพยุโรปเริ่มผ่อนคลาย

ดัชนีน่าจะได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการหุ้นที่มิใช่สถาบันการเงิน
  สัปดาห์นี้คาดว่าจะมีหุ้น Market Cap ใหญ่ในภาค Real Sector หลายบริษัทรายงานงบฯ เช่น SCC ซึ่งคาดว่าจะรายงานพรุ่งนี้ ที่รายงานแล้ว คือ HMPRO (ซื้อ : [email protected]) งวด 1Q60 ไรสุทธิได้ตามคาดที่ 1,046 ล้านบาท ลดลง 20.7%qoq เพราะผ่านช่วงฤดูกาลแล้ว แต่เพิ่มขึ้น 20.8%yoy แม้ยอดขายสาขาเดิมลดลง แต่ได้แรงหนุนจากยอดขายสาขาใหม่และค่าเช่าพื้นที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้นจาก 25% เมื่อ 1Q59 เป็น 26% จากนโยบายเพิ่มสัดส่วนยอดขายสินค้าที่มีอัตรากำไรสูง จึงคาดว่าผลประกอบการรายไตรมาสจะยังดีขึ้นต่อเนื่องนับจาก 2Q60 โดยคาดว่ายอดขายสาขาเดิมจะค่อย ๆฟื้นตัว และ ชัดเจนขึ้นในงวด 2H60 ตามดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) ที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง (ยอดขายสาขาเดิมจะฟื้นตัวตาม 1-2 ไตรมาสถัดมา) และเมื่อบวกกับการเปิดสาขาใหม่เพิ่มอีก 10 แห่งปีนี้ (ตั้งแต่งวด 2Q60 เป็นต้นไป) รวมประสิทธิภาพการทำกำไรที่ดีขึ้น จะทำให้ กำไรทั้งปี 2560 จะเติบโตที่ 20.4%
  

ส่วนหุ้นอื่นที่นักวิเคราะห์ทยอยทำ Earnings Preview มาแล้ว เช่น กลุ่มโรงพยาบาล ได้แก่
  BDMS (ซื้อ : [email protected]) คาดกำไรสุทธิ 1Q60 เติบโตเล็กน้อย 4%yoy เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยลดลง แม้จะมีการรับรู้รายได้จาก ร.พ. ในเครือเพิ่มขึ้น แต่ถูกหักลบไปด้วยดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามมองว่าในช่วงที่เหลือของปีแนวโน้มกำไรจะค่อยๆ ดีขึ้น จากการทยอยปรับเพิ่มค่ารักษา รวมทั้งการเปิดให้บริการศูนย์บริการต่างๆ และรายได้จากการขายยาที่มีอัตรากำไรสูง จึงคาดว่ากำไรทั้งปี 2560 จะเติบโตได้ที่ 12%yoy จากนั้นในช่วงปี 2561-2562 เติบโตเฉลี่ย 9% ต่อปี เนื่องจากอยู่ในช่วงการลงทุน แต่จะเริ่มดีขึ้นอีกครั้ง หลังปี 2563 เป็นต้นไป หลังหยุดลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ และเริ่มหันมาเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างเต็มที่
  BH (Switch : FV@B188) คาดกำไรสุทธิ 1Q60 เติบโตพียง 1.5%yoy จากการลดลงของผู้ป่วยตะวันออกกลาง แต่ยังได้ผู้ป่วยชาติอื่นเพิ่มขึ้น และมีการปรับเพิ่มค่ารักษา ช่วยหนุนให้เติบโต 21%qoq อย่างไรก็ตามคาดว่า 2Q60 ยังไม่สดใสเนื่องจากจำนวนวันรอมฎอนที่มาตกในงวด 2Q60 เพิ่มขึ้น ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยชาวตะวันออกกลางน่าจะลดลง yoy แต่เชื่อว่าครึ่งปีหลังจะกลับมาเติบโตได้ดีโดยเน้นเพิ่มจำนวนผู้ป่วยชาวไทยด้วยการขยายเครือข่ายรพ.เพื่อรับส่งต่อผู้ป่วย และหันมาโฟกัสตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ จึงทำให้กำไรทั้งปีน่าจะยังเติบโตได้ 7%yoy แต่ในช่วงปี 2561-2564 การเติบโตของกำไรน่าจะยังไม่โดดเด่น โดยคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยเพียง 10% ต่อปี ซึ่งไม่เด่นนัก อีกทั้งค่า Forward PEG ปี 2560 สูงที่สุดในกลุ่มที่ 5.2 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 2.9 เท่า จึงแนะนำ Switch ไปโรงพยาบาลขนาดเล็กที่มีภาพการเติบโตที่ชัดเจนกว่า คือ LPH (FV@ Bt 12) หรือ RJH (FV@ Bt 28)
  RJH (ซื้อ : FV@B28) คาดกำไรสุทธิ 1Q60 เติบโต 15% yoy และ 30% qoq จากการปรับขึ้นค่ารักษา จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น และไม่มีค่าใช้จ่ายพิเศษเหมือนงวดที่ผ่านมา สำหรับแนวโน้มครึ่งปีหลังทางโรงพยาบาลมีแผนที่จะเพิ่มจำนวนเตียงอีก ทั้งยังมีแผนที่จะเพิ่มการรักษาในแต่ละศูนย์ให้ซับซ้อนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น หนุนให้รายได้และกำไรทั้งปีเพิ่มขึ้น 11%yoy และ 27%yoy สำหรับปี 2561-65 มีแผนการลงทุนต่อเนื่องและจะมีศูนย์เฉพาะทางมากขึ้น หนุนการเติบโตระยะยาว เฉลี่ย 9 % ต่อปี
  LPH (ซื้อ : FV@B12) คาดกำไรสุทธิ 1Q60 ทรงตัว yoy จากการบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษการตั้งสำรองรายได้ประกันสังคมที่ค้างรับ แต่เพิ่มขึ้น 30% qoq จากการเปิดศูนย์ความเป็นเลิศส่วนหนึ่งในปี 2559 และจากจำนวนผู้ประกันตนที่เพิ่มขึ้น ส่วนงวด 2Q60 จะมีการเปิดศูนย์ความเป็นเลิศเพิ่มอีก 7 ศูนย์ หนุนให้รายได้จากผู้ป่วยเงินสดเติบโตเด่นชัดต่อเนื่องตลอดครึ่งปีหลัง หนุนให้กำไรทั้งปีน่าจะเติบโตได้ถึง 48%

รวมทั้ง กลุ่มเช่าซื้อ ซึ่งน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับ เช่น
  TK (ซื้อ : [email protected]) คาดผลการดำเนินงาน 1Q60 จะแผ่วลงจากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่เพิ่มขึ้น แต่ยังเห็นการเติบโตของสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ตามยอดจดทะเบียนฯ ใหม่เดือน มี.ค.60 ขึ้นทำ new high ในรอบ 9 เดือน โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่เป็นฐานสินเชื่อใหญ่ของ TK ขณะที่คาด spread ยังสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของ yield และต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง ส่วน NPL ลดลงมาที่ 4.60% ของสินเชื่อรวม โดยรวมแนวโน้มผลการดำเนินงานในปีนี้ ด้วยศักยภาพการเติบโตเชิงรุกทำให้เห็นสัญญาณบวกของธุรกิจที่จะกลับมาเติบโตทั้งในและต่างประเทศอย่างชัดเจนตั้งแต่งวด 3Q60 เป็นต้นไป โดยปีนี้ TK เพิ่มเป้าสินเชื่อสุทธิขึ้นจากเดิมเท่าตัวเป็น 10% yoy จึงทำให้มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2560-61 ขึ้น ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันยัง laggard กลุ่มฯ และยังไม่สะท้อนจุดพลิกบวกของธุรกิจ

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!