WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
  แม้ตลาดหุ้นไทยยังคงเงียบเหงา เนื่องจากใกล้เทศกาลวันหยุดยาว แต่ผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมืองของสหรัฐ-ซีเรีย ได้ขยายมายังคาบสมุทรเกาหลี ได้หนุนราคาน้ำมันฟื้นตัวต่อเนื่อง ซึ่งสองคล้องกับกลยุทธ์การลงทุนในเดือน เม.ย. ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่หุ้นที่ชนะตลาดจะเป็นหุ้น Domestic Play และหุ้นน้ำมัน เลือก BDMS([email protected]) และ PTTEP(FV@B116) เป็น Top picks

(-) ประธาน Fed ส่งสัญญาณการใช้นโยบายการเงินเข้มงวดต่อเนื่อง
  การแถลงสุนทรพจน์ของประธาน Fed นางเจเน็ต เยลเลนที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนวานนี้ ยังคงมีมุมมองต่อการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ 2 ครั้งราว 0.5% จากการประชุมที่เหลืออีก 6 ครั้งตามมติของคณะกรรมการ Fed ส่วนใหญ่ที่คาดไว้ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง โดยเฉพาะตลาดแรงงานสะท้อนจากอัตราว่างงานล่าสุด มี.ค. 2560 อยู่ที่ระดับ 4.5% (ต่ำสุดตั้งแต่ ธ.ค.2550 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตซับไพรม์) และอัตราเงินเฟ้อที่ Fed ให้น้ำหนัก ล่าสุดเดือน ก.พ.อยู่ที่ระดับ 2.7%yoy จาก 2.5% เดือน ม.ค. จาก 2.1%เดือน ธ.ค.2559 (แต่ถ้าไม่รวมอาหารสดและพลังงาน เงินเฟ้อจะอยู่ที่ระดับ 2.2%yoy จาก 2.3% เดือน ม.ค. และ 2.1% เดือนพ.ย.-ธ.ค. 2559) และ ยังต้องการลดปริมาณเงินในระบบ (ลดขนาดงบดุล หรือ Balance sheetของธนาคารกลางสหรัฐในปีนี้) โดย จะไม่ rollover พันธบัตรที่หมดอายุ (เป็นการทำต่อเนื่อง หลังจากที่มีประกาศถอนเงินออกจากระบบ หรือ Tapering ตั้งแต่ปลายปี 2556 แต่มีการถอนเงินออกจริงต้นปี 2557)
  ด้วยเหตุนี้จึงคาดว่าน่าจะกดดันให้ธนาคารกลางหลายแห่งของโลกต้องทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยตามโดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ ดังที่เห็นธนาคารกลางในเอเซีย อาทิ ธนาคารกลางอินเดีย(RBI) ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารพาณิชย์กับธนาคารกลาง(Reverse repo rate) 0.25% , ธนาคารจีน(PBOC)ขึ้นดอกเบี้ยทุกประเภทๆละ 0.1% และธนาคารกลางฮ่องกงนำร่องขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ตาม Fed เช่นเดียวกับธนาคารกลางในตะวันออกกลาง อาทิ คูเวต บาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายประเทศละ 0.1% เช่นกัน

(-) สหรัฐ เริ่มกีดกันการนำเข้ากุ้งจากทั่วโลกแล้ว
  ตามที่สหรัฐมีแผนตอบโต้การค้า 16 ประเทศที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐ ซึ่งพบว่าจีนเป็นประเทศที่ได้ดุลการค้าสหรัฐมากที่สุดราว 40% โดยสินค้าที่สหรัฐนำเข้าหลักจากจีน คือคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนเครื่องมือสื่อสารสูงสุด 48% รองลงมา สินค้าเบ็ดเตล็ด 16% เสื้อผ้าและสิ่งทอ 9% เหล็ก 5.28% รองเท้า 4.35% พลาสติกและยาง 4.03% อื่นๆ 13.61% ตามลำดับ และ ภายหลังการเจรจาระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีสิ จิ้นผิง เมื่อ 6-7 เม.ย. ที่ผ่านมา จีน และ สหรัฐ จะทำการเจรจาการค้าแบบทวิภาคี (Bilateral trade) ภายใน 100 วัน พร้อมกับจีนยินดีจะลดการเกินดุลกับสหรัฐ ซึ่งน่าจะกระทบต่อเนื่องประเทศคู่ค้าจีนในเอเชีย ได้แก่ ฮ่องกง 24%, ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ 19% เท่ากัน มาเลเซีย 7% เวียดนาม 6%, สิงคโปร์ และ ไทย 5% เท่ากัน ประเทศเหล่านี้จึงน่าถูกผลกระทบทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกเหนือจากผลกระทบโดยตรง จากการค้ากับสหรัฐ
  ปัจจุบันไทยส่งออกไปสหรัฐราว 9% ของยอดส่งออกรวม และได้ดุลการค้ากับสหรัฐเพียง 1.9% (ลำดับที่ 12 จาก 16 ประเทศ) ล่าสุดสหรัฐมีนโยบายตอบโต้กุ้งแช่แข็งนำเข้าแล้ว โดยให้มีการวางเงินประกัน (C-Bond) กับผู้นำเข้าของสหรัฐ 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้นำเข้ารายใหม่ และ ผู้นำเข้าเดิมที่ถูกตรวจสอบว่าเคยเลี่ยงภาษี (Anti-Dumping ประเทศส่งออกมีขายสินค้าต่ำกว่าทุน) และ Countervailing duties (ภาษีเก็บจากการอุดหนุนสินค้าส่งออก) จึงทำให้ผู้นำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ อาจเรียกร้องให้ผู้ส่งออก
  ร่วมรับภาระการวางเงินประกันด้วย ซึ่งจะทราบรายละเอียดราว 8 ก.ค. 60 นี้ ซึ่งไทยเป็น 1 ในผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ในสหรัฐ (รายอื่นๆ คือ เอกวาดอร์ อินเดีย และเวียดนาม) จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบได้
  ประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะหากพิจารณาข้อมูลในอดีตพบว่าไทยเคยส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งไปสหรัฐสูงสุด 2 แสนตัน จากยอดส่งออกรวม 4.2 แสนต้นในปี 2553 (ตลาดส่งออกอื่น ๆ คือ ญี่ปุ่นและ ยุโรป) เพิ่มจากปี 2546 ที่เคยส่งออกราว1.3 แสนตัน จึงทำให้สหรัฐได้ตอบโต้การค้ากับไทย โดยเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้ากุ้งจากไทยในครั้งนั้นที่อัตรา 5.29-6.82% และกำหนดให้ผู้นำเข้าสหรัฐ ต้องวางประกัน 2 ส่วน คือ 1) เงินสดเท่ากับจำนวนภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดในแต่ละ Shipment และ 2) วางพันธบัตร เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเป็นมูลค่าไม่เกิน 10% ของภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดทั้งหมดที่เกิดขึ้นในปีก่อนหน้า แต่ไม่เกิน 5 หมื่นดอลลาร์สหรัฐฯ
  ในปี 2560 มีการประเมินว่ายอดส่งออกกุ้งไทยจะอยู่ที่ 2.5 แสนต้น เพิ่มจาก 2 แสนต้นในปี 2559 ซึ่งในจำนวนนี้ส่งออกไปสหรัฐ 1 แสนตัน หรือ 40% ของยอดส่งออกจากไทย (คิดเป็น 15% ของยอดนำเข้าของสหรัฐ ที่เหลือเป็นตลาดญี่ปุ่น และยุโรป ปี 2559) และ หากพิจารณาผู้ส่งออกกุ้งแช่แข็งหลัก ๆ ของไทย คือ TU และ CPF คาดว่าน่าจะได้รับผลกระทบจำกัด เนื่องจาก นอกจากนี้ สัดส่วนรายได้จากการส่งออกกุ้งไปสหรัฐฯ ปี 2559 ของ TU และ CPF ค่อนข้างจำกัด คือ ราว 4% ของรายได้รวม และ ต่ำเพียง 0.2% ตามลำดับ ทั้งนี้ยกเว้น CFRESH ที่สัดส่วนรายได้จากการส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐฯ สูงสุดถึง 15% ของรายได้รวม ขณะที่สถานการณ์ส่งออกไก่ของไทยมีแนวโน้มสดใสจากตลาดส่งออกที่เปิดกว้างขึ้น หลังเกิดไข้หวัดนกในหลายประเทศ จึงเป็นโอกาสให้ซื้อสะสมทั้ง CPF([email protected]) และ TU(FV@B23)

(-) ต่างชาติสลับมาขายหุ้นในเอเชียบางประเทศ รวมถึงไทย
  วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่า 34 ล้านเหรียญ แม้มีอยู่ 2 ประเทศที่ยังคงซื้อสุทธิ คือ อินโดนีเซีย 67 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6) และฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ 92 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยไต้หวัน 15 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิเล็กน้อยราว 4 ล้านเหรียญ หรือ 128 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน) ต่างกับสถาบันฯในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 776 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 3.30 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 1.70 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่งผลให้ Bond Yield 10 ปี เริ่มขยับตัวขึ้นมา หลังปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นเดือน มี.ค. ลงมาต่ำสุดที่ 2.62% ในวันที่ 5 เม.ย. 60 และเริ่มฟื้นตัวขึ้นจนล่าสุดอยู่ที่ 2.67%

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!