- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 07 April 2017 18:07
- Hits: 2111
บล.เอเซียพลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
วันสุดท้ายของสัปดาห์และกำลังเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวเนื่องจากเทศกาลสงกรานต์ SET มีแนวโน้ม แกว่งตัวแคบ ด้วยมูลค่าซื้อขายต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท ขณะที่การต่อรองการค้าของผู้นำจีนและสหรัฐ ยังเป็นประเด็นที่สร้างแรงกดดัน แม้เชื่อว่าผลกระทบน่าจะจำกัด กลยุทธ์ระยะสั้น เลือกหุ้นที่จะให้ผลตอบแทนเด่นในเดือน เม.ย. Top picks: BDMS([email protected]), PTTEP(FV@B116)
(0) สหรัฐส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินตึงตัวต่อเนื่อง…ดอกเบี้ยขาขึ้น
มีการเปิดเผยงานประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed minute) ในรอบ 14-15 มี.ค. อย่างเป็นทางการโดยมีใจความสำคัญคือ ยังคงมีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ 2 ครั้ง เพราะเศรษฐกิจสหรัฐยังเดินหน้าแข็งแกร่ง โดยตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง (ล่าสุดยอดการจ้างงานภาคเอกชน หรือ ADP Employment เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาด คือ เพิ่มขึ้น 7.3%mom อยู่ที่ 2.63 แสนรายแตะระดับสูงสุดตั้งแต่ ม.ค.2559)
นอกจากนี้จะปรับลดขนาดงบดุล (Balance sheet) ของธนาคารกลางสหรัฐ นั่นแปลว่าจะไม่มีการต่ออายุพันธบัตรที่หมดอายุ เท่ากับเป็นการลดสภาพคล่องในตลาดไปในตัว ซึ่งเป็นการทำต่อเนื่อง หลังจากที่มีประกาศถอนเงินออกจากระบบ หรือ Tapering ตั้งแต่ปลายปี 2556 (แต่มีการถอนเงินออกจริงต้นปี 2557) ซึ่งน่าจะกดดันให้สภาพคล่องทั่วโลกลดลง ซึ่งน่าจะกดดันให้ธนาคารกลางหลายแห่งของโลกต้องทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยตาม ดังที่เห็น ธนาคารจีนขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นไปแล้ว 2 รอบ นับจากสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบหลังสุด
และวันนี้ (6-7 เม.ย.) เป็นวันสุดท้ายที่มีการเจรจาการค้าระหว่าง ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับ ประธานาธิบดีจีนคือ นายสีจิ้นผิง ซึ่งเป็นการพบกันครั้งแรกนับจากที่ทรัมป์ฯ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งตลาดน่าจะให้น้ำหนักในประเทศเด็นนี้ แม้เพราะ จีน ถือว่าได้ดุลการค้าสหรัฐมากที่สุดราว 40% ของการที่สหรัฐขาดดุลทั่วโลกทั้งหมด รองลงมาคือ เยอรมนี ญี่ปุ่น เป็นต้น ขณะที่ประเทศในภูมิภาคเอเซียน่าจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่น่าจะมีผลจำกัด
(0) ราคาน้ำมันดิบโลกฟื้นตัวต่อ..คาดหวังว่าการลดกำลังโลกยังมีอยู่ต่อเนื่อง
วานนี้สำนักงานสารสนเทศพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์สิ้นสุด 5 เมย.60 แม้ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับที่ตลาดฯคาด (เพิ่มขึ้นราว 1.6 ล้านบาร์เรล เทียบกับตลาดฯคาดว่าจะลดลง 4.3 แสนบาร์เรล) แต่เนื่องจากตลาดยังคาดหมายว่าปริมาณผลผลิตน้ำมันส่วนเกินของโลกยังมีแนวโน้มลดลง และเข้าสู่ดุลยภาพในช่วง 2H60 เพราะมีความเป็นไปได้ที่ ผู้ผลิตน้ำมันดิบทั้งในกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC จะมีการขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตหลังจากเดือน มิ.ย. 2560 หากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังโลกยังอยู่สูงกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปี ทั้งนี้การเจรจาครั้งล่าสุด ในช่วงเดือน พ.ย. 2559 ที่สรุปว่ากลุ่ม OPEC จะตัดลดกำลังการผลิตน้ำมันลงมาอยู่ที่ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่รัสเซียและกลุ่ม Non-OPEC จะตัดลดกำลังการผลิตน้ำมันลงมาอยู่ที่ 6 แสนบาร์เรลต่อวัน ให้ติดตามผลการประชุมประจำปีครั้งแรก (จาก 2 ครั้ง) ระหว่างผู้ผลิตน้ำมันดิบทั้งในกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC ในวันที่ 25 พ.ค. ซึ่งตลาดน่าจะมุ่งหวังต่อการขยายกรอบเวลาการลดกำลังการผลิต เพิ่มเติม ปัจจัยเหล่านี้หนุนราคาน้ำมันดิบในระยะสั้น ๆ สะท้อนจากราคาน้ำมันดิบดูไบที่ขยับขึ้นมาที่ 53.3 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งใกล้เคียงกับสมมติฐาน ASPS จึงยังหนุนหุ้น PTTEP (FV@B116) และ PTT (FV@B460)
(+) หุ้น ธ.พ. ได้รับความสนใจช่วงสั้น เพราะเข้าสู่การประกาศงบงวด 1Q60
ในสัปดาห์หน้าเป็นต้นไป จะเข้าสู่ช่วงประกาศผลการดำเนินงาน งวด 1Q60 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยนักวิเคราะห์ ASPS ประเมินผลการดำเนินงานของ ธ.พ. 10 แห่ง ที่ศึกษา คาดว่าทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 5.4 หมื่นล้านบาท เติบโต 5.9%qoq และ 13.6%yoy ซึ่งได้รับ แรงหนุนมาจาก 2 ส่วน คือ cost to income ratio ลดลงตามค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ลดลงหลังผ่านช่วงฤดูกาล ในงวด 4Q59 มาอยู่ที่ 38.3% จาก 41.3% และ NIM ที่ยังทรงตัวได้ในระดับสูง 3.15% ซึ่งทั้ง 2 องค์ประกอบสามารถลดผลกระทบจาก Loan Growth ที่อยู่ระดับต่ำ และค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่คาดจะเพิ่มขึ้นตาม NPL ที่เพิ่มขึ้นของ ธ.พ. ใหญ่ และรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่ลดลงหลังพ้นช่วงฤดูกาล
ทั้งนี้ ธ.พ. ที่คาดว่ากำไรเติบโตโดดเด่นใน 1Q60 3 ลำดับแรก คือ TISCO จากภาระสำรองหนี้ฯ ที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และ NIM ยังทรงตัวสูง, KTB จากภาระสำรองหนี้ฯ ที่ลดลงหลังจากที่ขึ้นไปสูงมากใน 4Q59 และ KBANK จากค่าใช้จ่ายดำเนินงานลดลงหลังพ้นช่วงฤดูกาล แม้ว่าสำรองหนี้ฯ มีโอกาสเพิ่มขึ้น ส่วนส่วน ธ.พ. ที่คาดว่ากำไรหดตัวมากสุด qoq คือ KKP จากคาดการณ์สำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้น และ TCAP คาดรายได้ค่าธรรมเนียมฯ อ่อนตัวลง
ขณะที่แนวโน้มกำไรสุทธิในปีนี้ของกลุ่ม ธ.พ. คาดว่าจะเติบโต 7.5%yoy จากการเติบโตของสินเชื่อที่เกี่ยวกับโครงการลงทุนใหญ่ของภาครัฐเป็นหลัก ขณะที่ภาระการตั้งสำรองหนี้ฯ ลดลงตามคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และแนวโน้มดอกเบี้ยตลาดที่คาดว่าจะเข้าสู่ขาในช่วงปลายปี ช่วยเพิ่ม NIM ของกลุ่มฯ มากขึ้น ซึ่งถือเป็น upside ต่อหุ้น ธ.พ. โดยเฉพาะ ธ.พ. ใหญ่ คือ KTB และ BBL ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น เพราะมีสัดส่วนดอกเบี้ยสินเชื่อลอยตัว มากกว่าต้นทุนเงินกู้ที่เป็นดอกเบี้ยลอยตัว และยังมีสถานะสุทธิเป็นผู้ให้กู้ยืมในตลาดเงินระหว่างธนาคาร จึงได้ให้น้ำหนักการลงทุน มากกว่าตลาด และเลือก SCB, BBL, TCAP เป็น top picks ของกลุ่มฯ
SCB (FV@B178) ราคาหุ้นยัง laggard เมื่อเทียบกับปัจจัยพื้นฐานมาก โดยแนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์แข็งแกร่งขึ้น ขณะที่คาดสินเชื่อสุทธิเติบโต 4-6%yoy ส่งผลให้คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2560 กลับมาเติบโต 7.0% yoy จากที่ค่อนข้างทรงตัวในปี 2559
BBL ([email protected]) ดังที่กล่าวไป BBL เป็น ธ.พ.ใหญ่ ที่จะได้รับผลบวกมากเป็นอันดับ 2 ของกลุ่มฯ (รองจาก KTB) ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ขาขึ้น เนื่องจากมีสัดส่วนของอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่เป็นสินเชื่อมากกว่าต้นทุนเงินฝาก ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันยังถูก แถมปันผลจูงใจ กว่า 4% คาดกำไรสุทธิปีนี้โต 7.8%yoy
TCAP (FV@B53) แนวโน้มการฟื้นตัวของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในปี 2560 ประกอบกับพัฒนาการบวกของธุรกิจที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของกำไรจากนี้ คาดกำไรสุทธิปีนี้โต 17%yoy และ Dividend yield ยังสูงถึงเกือบ 5%
(+) ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันทั้ง 2 วัน
วันพุธที่ผ่านมา ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องด้วยมูลค่าราว 516 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิทุกประเทศ นำโดยตลาดหุ้นไต้หวัน ซื้อสุทธิราว 418 ล้านเหรียญ (หลังจากหยุดทำการไป 2 วัน และก่อนหน้านี้ขายสุทธิ) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 38 ล้านเหรียญ และตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ซื้อสุทธิสูงสุดคือ ฟิลิปปินส์ 25 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยอินโดนิเซีย 24 ล้านเหรียญ และไทย 11 ล้านเหรียญ หรือ 370 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ตรงข้ามกับสถาบันฯในประเทศที่สลับมาขายสุทธิราว 280 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ขณะที่ด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 1.7 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 โดยมีมูลค่ารวมกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท) ซึ่งเป็นเหตุผลทำให้ yield ในประเทศปรับตัวลดลงช่วงสั้น ๆ
ส่วนวานนี้ แม้ตลาดหุ้นไทยหยุดทำการ เนื่องจากวันจักรี แต่ตลาดหุ้นอื่นยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยต่างชาติยังซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่าราว 7 ล้านเหรียญ แต่หากพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่าเริ่มมีสลับมาขายสุทธิในบางประเทศ คือเกาหลีใต้ และ ไต้หวัน ขายสุทธิราว 16 ล้านเหรียญ และ 14 ล้านเหรียญ ตามลำดับ ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 แห่งต่างชาติยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องคืออินโดนิเซีย 20 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) และฟิลิปปินส์ 16 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5)
(+) สะสมหุ้นช่วงสงกรานต์และถือถึงปลาย เม.ย. หุ้นเด่น : PTTEP, BDMS
ปกติเดือนเม.ย. เป็นช่วงที่มีวันหยุดยาว เนื่องเทศกาลสงกรานต์ ทำให้ตลาดหุ้นเงียบเหงา ดัชนีแก่งตัวและ มูลค่าการซื้อขายต่อวันที่เบาบาง แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาพฤติกรรมการลงทุนในเดือน เม.ย. พบว่าภาวะตลาดเงียบ การซื้อขายน้อย และดัชนีไม่ไปไหนจะอยู่ในช่วงก่อนสงกรานต์ แต่ ตลาดจะกลับมาสดใส แม้มูลค่าซื้อขายไม่ได้โดดเด่นมาก แต่ดัชนีกลับให้ผลตอบแทนด้านบวก
ทั้งนี้จากการศึกษาของนักวิเคราะห์เชิงปริมาณของ ASPS พบว่า สถิติการซื้อขายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2550 - 2559) แม้ เดือน เม.ย. มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน จะเบาบางต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท แต่หากพิจารณาดัชนีตลาดพบว่าสามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวก โดยเฉลี่ยสูงถึงกว่า 3% ด้วยความน่าจะเป็นกว่า 80% ส่วนหนึ่งน่าจะมีผลจากการกลับมาซื้อของนักลงทุนต่างชาติในช่วงสั้น ๆ
และหากพิจารณาหุ้นรายหุ้น ที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาดฯ ในช่วงเดือน เม.ย. ด้วยความน่าจะเป็นสูง 5 บริษัทแรก คือ PTTEP, SNC, BDMS, BTS และ SVI และ เมื่อผนวกกับมูลค่าหุ้นพื้น ฐาน และ upside จึงเลือก BDMS ([email protected]) และ PTTEP (FV@B116) เป็นหุ้นเด่น April’s Rally
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636