WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
หลัง สนช. ชะลอการจัดตั้ง “บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ” ชั่วคราว และน้ำมันที่ฟื้นตัว ช่วยลดแรงกดดันช่วงสั้นๆ ต่อ PTT ขณะที่ตลาดถูกกดดันจากสหรัฐเตรียมออกมาตรการกีดกันการค้าประเทศที่ได้ดุลการค้า ซึ่งไทยเป็น 1 ในประเทศที่ได้ดุลการค้า แต่ผลกระทบอาจจำกัด กลยุทธ์เน้นหุ้น Domestic และปลอดภัยดอกเบี้ยขาขึ้น Top picks: GUNKUL ([email protected]), BBL([email protected])

 

(0) สหรัฐเดินหน้ากีดกันทางการค้า ไทยน่าจะได้รับผลกระทบจำกัด
  ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยังคงเดินหน้าตามแผนที่หาเสียงไว้ โดยปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ลงนามในคำสั่งเพิ่มเติม ให้เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อเพื่อตอบโต้ประเทศที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐภายใน 90 วันหลังจากนี้ และจะจัดเก็บเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 35% กับ ประเทศที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐ 16 ประเทศ นำโดย จีน ซึ่งได้ดุลการค้าสหรัฐมากที่สุดราว 40%ของการที่สหรัฐขาดดุลทั่วโลกทั้งหมด รองลงมาคือ เยอรมนี ญี่ปุ่น เม็กซิโก รายละเอียดภาพข้างต้น ซึ่งไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐแม้เพียง 1.9% แต่ก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ แต่อย่างไรก็ตาม การกีดกันทางการค้าจะมุ่งไปที่สินค้าขั้นปลายเป็นหลัก ซึ่งหากพิจารณาอุตสาหกรรมส่งออกของไทยที่อาจจะกระทบมีดังนี้
  อุตสาหกรรมยายนต์และ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จะถูกจัดเก็บภาษีการนำเข้าในอัตราสูงถึง 35% จากปัจจุบันที่จัดเก็บเพียง 2.5-10% สำหรับหมวดยานยนต์ และอัตรา 2.4-12.5% สินค้าหมวดชิ้นส่วนอิเล็ก ทรอนิกส์ ตามลำดับ
  ในส่วนของไทย มีการส่งออกสินค้าหลักไปสหรัฐ 3 ประเภท คือ ชิ้นส่วนรถยนต์, อาหารแช่แข็งและแปรรูป และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยหากพิจารณาจากโครงสร้างการส่งออกของไทยที่กระจุกตัวในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด แต่เชื่อว่าน่าจะได้รับผลกระทบจำกัด เนื่องจากรูปแบบการผลิตสินค้าชิ้นส่วนของไทยจะเป็นขั้นต้นและขั้นกลาง และส่งออกไปต่างประเทศที่เป็นฐานการผลิตขั้นสุดท้าย โดยบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ ที่มีการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐ คือ KCE (ส่งออกไปสหรัฐ 20% ของรายได้รวม) HANA (ส่งออกไปสหรัฐ 8%ของรายได้รวม) SVI (ส่งออกไปสหรัฐ 10% ของรายได้รวม) DELTA (ส่งออกไปสหรัฐ 32% ของรายได้รวม)
  อุตสาหกรรมยานยนต์ ปัจจุบันไทยเป็นฐานการผลิต และ ส่งออกรถยนต์ ให้กับค่ายรถยนต์ประเทศญี่ปุ่นเกือบทุกยี่ห้อ เพราะไทยมีความพร้อมทั้งด้าน Supply chain แต่เน้นไปที่รถยนต์ประเภท Eco car และรถกระบะ อาทิ Isuzu, Kubota, Toyota, Honda, Mazda แต่หากพิจารณามูลค่าส่งออกไปสหรัฐ คิดเป็นเพียง 8% ของยอดส่งออกรวม ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นค่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ดังกล่าว จะมีส่วนน้อยที่มาค่ายรถยนต์ของสัญชาติสหรัฐมี คือ ฟอร์ดและจีเอ็ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตและส่งออกไปยังเอเชีย และ โอเชียเนีย ทั้งนี้ ตลาดส่งออกหลักของประเทศไทย เน้นไปที่ตลาดโอเชียเนียสูงสุดราว 28% ของยอดส่งออกทั่วโลก รองลงมาคือ ตลาดเอเชีย (อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม) ราว 27% และตลาดตะวันออกกลาง 15% ผลกระทบโดยรวมจึงจำกัด
  อย่างไรก็ตาม คาดว่าผลทางอ้อม ต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยที่อยู่ภายใต้ Coverage ของฝ่ายวิจัยดูแล อาทิ AH , SAT, IRC, STANLY, IHL และ PCSGH เพราะส่วนใหญ่ทั้งหมดส่งออกชิ้นส่วนให้กับค่ายรถยนต์ประเทศญี่ปุ่น เกือบ 100%
  อุตสาหกรรมส่งออกสินค้าประมง อันได้แก่ ผลิตภัณฑ์กุ้ง (ขั้นกลาง-ปลาย) และ ทูน่า (นำเข้าทูน่าแช่แข็ง หรือ Tuna Loin ซึ่งเป็นสินค้าขั้นกลางไปบรรจุภัณฑ์ในสหรัฐ) ซึ่งล้วนเป็นสินค้าในหมวดอาหารส่งออกที่น่าได้ได้รับผลกระทบจากการกีดกันทางการค้าของสหรัฐน้อย เพราะเป็นสินค้าจำเป็นในการดำรงชีพ ขณะที่ สหรัฐมีผลผลิตในประเทศไม่เพียงพอ แต่เนื่องจากสหรัฐมีนโยบายที่จะนำเข้าสินค้าที่มีแหล่งผลิตที่ใช้ใช้แรงงานถูกต้องตามกฏหมาย ประเทศไทยจึงเข้าข่ายที่มีความเสี่ยง เพราะล่าสุด ตามรายงาน TIP Report เมื่อ 1 ก.ค. 2559 สหรัฐ ยังคงมีมาตรการติดตามเฝ้าระวังการใช้แรงงานผิดกฏหมายกับสินค้าที่ส่งออกจากประเทศไทย แม้ล่าสุดสหรัฐได้ปรับเพิ่มไทยจากระดับ 3 คือ ประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามกฏหมายคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์ ขึ้นเป็นระดับ 2 หรือ watchlish คือในขั้นเฝ้าระวัง กล่าวคือ ติดตามว่าเป็นประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์หรือไม่
  ปัจจุบันไทยส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งไปสหรัฐราว 40% ของยอดการส่งออกทั้งหมด (2.5 แสนตัน หรือ มูลค่าราว 7.5 หมื่นล้านบาท) หากแยกเป็นรายบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์พบว่า TU น่าจะส่งออกมากสุดคือราว 8 พันล้านบาท หรือราว 8% ของยอดขายรวมของ TU แต่คิดเป็น 26.6%
  ของยอดส่งออกกุ้งไปสหรัฐทั้งประเทศ ขณะที่ยอดขายที่เหลือเป็นทูน่าราว 9% ของยอดขายรวมของ TU หรือโดยรวม TU จะมีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกไปสหรัฐราว 17% ซึ่งอาจจะดูว่าพึ่งพาตลาดสหรัฐสูง
  ขณะที่ CPF ส่งออกกุ้งราว 2 พันล้านบาท แม้มีสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของรายได้รวมของ CPF แต่คิดเป็น 6.67% ของยอดส่งออกกุ้งรวมทั้งประเทศ ซึ่งถือว่ากระทบต่อฐานรายได้และกำไรของ CPF น้อย

(0) เงินเฟ้อใน มี.ค. ชะลอตัวตามทิศทางของราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลง
  ทั้งนี้นอกจากต่างประเทศในสัปดาห์นี้ ที่ตลาดมุ่งให้น้ำหนักไปที่ในวันที่ 6-7 เม.ย. การพบปะครั้งแรกของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดี สีจิ้นผิงที่รัฐ Florida หลังจากปลายสัปดาห์ที่แล้วประธานาธิบดีทรัมป์เผยว่าจะตอบโต้ประเทศที่สหรัฐได้ดุลการค้ากับสหรัฐ โดยเฉพาะ จีน ได้ดุลการค้าสหรัฐมากที่สุด รวมถึงไทยซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมแล้ว
  ส่วนไทย วันนี้ กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. ตลาดคาดที่ 1.36%yoy ลดลงจากเดือน ก.พ. ที่ 1.44%yo เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับลดลงราว 7.8%mtd แต่อย่างไรก็ตามตราบที่เงินเฟ้อยังวิ่งใกล้ดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ความเสี่ยงในการขึ้นดอกเบี้ยในปลายปีนี้ยังคงมีอยู่

 

(0) ในเดือน เม.ย. คาดแรงซื้อต่างชาติ เริ่มชะลอตัวลง
  วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 24 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า) อย่างไรก็ตามมีตลาดหุ้นอยู่ 2 ประเทศที่ต่างชาติซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิราว 46 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และฟิลิปปินส์ 9 หมื่นเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติสลับมาขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิราว 41 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิถึง 14 วัน) ตามมาด้วยอินโดนิเซีย 20 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกันนานถึง 17 วัน) และไทยที่ถูกต่างชาติสลับมาขายสุทธิราว 8 ล้านเหรียญ หรือ 287 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 10 โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมรวมกว่า 2.0 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันฯที่ขายสุทธิราว 601 ล้านบาท
  สรุป Fund flow ในเดือน มี.ค. พบว่า ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคกว่า 6.3 พันล้านเหรียญ (มากกว่ายอดซื้อสุทธิใน เดือน ก.พ. และ ม.ค. ที่ 1.7 พันล้านเหรียญ และ 3.6 พันล้านเหรียญ ตามลำดับ) และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ถูกขายสุทธิ (รายละเอียดดังตารางทางด้านล่าง) สาเหตุหนึ่งน่าจะเกิดจากผิดหวังต่อการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจของทรัมป์ฯที่ล่าช้าและไม่เป็นไปตามที่หาเสียง ส่งผลให้แรงซื้อต่างชาติกลับมาในตลาดหุ้นภูมิภาคในช่วงสั้น
  ส่วนแนวโน้ม Fund flow ในเดือน เม.ย. คาดว่าแรงซื้อหุ้นไทยจากต่างชาติน่าจะเริ่มชะลอตัวลง และไม่มากเท่าเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา สะท้อนจากจากสถิติในเดือน เม.ษ. ย้อนหลัง 10 ปี พบว่า แม้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นไทยเฉลี่ยราว 3.26 พันล้านบาท แต่เป็นการซื้อสุทธิเพียง 6 ใน 10 ปีเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในมุม ผลตอบแทนของ SET Index จากสถิตย้อนหลัง 10 ปี ในเดือน เม.ย. พบว่า SET ยังคงให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 2.99% และมีผลตอบแทนเป็นบวกถึง 8 ใน 10 ปี

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!