WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
สนช. ผ่าน พ.ร.บ. ปิโตรเลียม และให้ตัด "การจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ" ออกชั่วคราว ความเสี่ยงต่อ PTT จึงยังมีอยู่ ขณะที่ รมว. เกษตรฯ อนุมัติให้โรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ใช้พื้นที่ สปก. เดินหน้าต่อได้ แต่ราคาหุ้นขึ้นตอบรับแล้วทั้ง EA, DEMCO แนะนำให้ switch มา GUNKUL ([email protected]) ซึ่งมี upside กว่า 20% (XD 25 เม.ย.) ขณะที่ยังชอบหุ้น BLA, BBL, CPF

(0) สนช. ให้ตัด "บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ" ชั่วคราว...PTT ยังมีความเสี่ยงอยู่
สรุปว่า ร่าง พ.ร.บ. ปิโตรเลียม และ ร่างพ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาของ ครม. และได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติครบ 3 วาระแล้วในการประชุมเมื่อวานนี้ ดังที่ได้กล่าวไปวานนี้ถึงเหตุผลของการต้องมี พ.ร.บ. นี้เพื่อรองรับการประมูลปิโตรเลี่ยมที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ๆ ในอนาคต (รวมถึงสัมปทานเดิมที่ครบกำหนด ในปี 2565 และ 2566 คือ แหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณและบงกช เป็นต้น) และ ร่าง พ.ร.บ.นี้ ได้นำระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) และสัญญาจัดจ้างบริการ (Service Contract) เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม ซึ่ง 2 ระบบใหม่นี้ มีความแตกต่างจากระบบสัมปทานที่เป็นอยู่ในปัจจุบันซึ่งมี 3 รูปแบบคือ
1) Royalty Fee หรือ ค่าภาคหลวงในอัตรา 12.5%สำหรับสัมปทานที่เกิดก่อนปี 2532 (เอราวัณ และบงกช) แต่จะจ่ายเป็นขั้นบันไดอัตรา 5-15% สำหรับผู้ที่ได้รับสัมปทานหลังปี 2532 (เช่น อ่าวไทย และ ทานตะวัน เบญจมาศ) (คำนวณบนรายได้จากการผลิตและสำรวจปิโตรเลียม หรือเป็นส่วนที่หักออกจากรายได้ สำหรับสัมปทานที่เกิดก่อนปี 2532) โดยไม่รวมภาษีนิติบุคคลอีก 20% ของกำไรก่อนภาษี
2. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (Petroleum income tax) จัดเก็บ 50% ของกำไรสุทธิ ของผู้ที่ได้รับสัมปทาน หลังหักต้นทุน และค่าใช้จ่ายจริงในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแล้ว
3. ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ คือ จัดเก็บจากผู้ได้รับสัมปทานที่มีกำไรสูงกว่าปกติ และเป็นการจัดเก็บแบบขั้นบันไดในอัตรา 0-75% ของรายได้ปิโตรเลี่ยมรายปีก่อนหักภาษี

ขณะที่ ระบบแบ่งปันผลผลิต จะมีส่วนที่เพิ่มเติมจากระบบสัมปทาน คือ
1. การยินยอมให้มีการหักคืนค่าใช้จ่าย (cost recovery) ผู้รับสัญญาสามารถหักคืนค่าใช้จ่ายได้จริงแต่ไม่เกินอัตราที่รัฐกำหนดแบบคงที่ และขั้นบันได
2. ส่วนแบ่งกำไรปิโตรเลี่ยม (Petroleum Share) เป็นส่วนแบ่งกำไรที่คิด หลังหัก Royalty Fee และ cost recovery ไปแล้ว ซึ่งมีทั้งกำหนดอัตราคงที่ และ ขั้นบันได

ทั้งนี้เพื่อให้รัฐมีกรรมสิทธิ์ในผลผลิตปิโตรเลียมที่เกิดขึ้นไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด
ขณะที่ประเด็นของมาตรา 10/1 ที่ให้มีการตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ (NOC) นั้น มีมติให้ตัดออกชั่วคราว แต่กำหนดให้ ครม. ตั้งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาภายใน 60 วัน เพื่อศึกษาผลดีและผลเสีย NOC ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี
โดยรวม การร่าง พ.ร.บ. ปิโตรเลียมฉบับนี้ แม้จะทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ โดยมีแนวคิดจะตั้งหน่วยงานใหม่ (กรมการพลังงานทหาร) เข้ามากำกับดูแลพลังงาน น่าจะทำให้เกิดความทับซ้อนกับกระทรวงพลังงาน ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนต่อผู้ประกอบการ และภาพลักษณ์ภายนอก
เชื่อว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวไม่กระทบต่อ ผู้ผลิตและสำรวจในประเทศไทย ทั้ง PTTEP (ซึ่งถือหุ้นโดย PTT 65%) และบริษัทน้ำมันต่างชาติที่ได้รับสัมปทานในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่มีอยู่แต่เดิม แต่ PTT ในฐานะเป็นผู้ผูกขาดการจัดหน่ายปิโตรเลียมรายเดียวของประเทศ (เฉพาะจากแหล่งผลิตในประเทศ) อาจต้องเผชิญกับอุปสรรคต่อการขยายตัวในการอนาคต แต่ในตลาดหุ้น PTT ยังเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเช่นเดิม

(+) EA, DEMCO ขึ้นไปแล้ว หลังรัฐให้เดินหน้าโรงไฟฟ้าในที่ สปก. ได้
ในที่สุดโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม จำนวน 17 โครงการ ใน จ.ชัยภูมิ และนครราชสีมา ที่เคยมีปัญหาฟ้องร้องว่าประกอบการบนพื้นที่เช่า ส.ป.ก. จนทำให้ผู้ประกอบการต้องหยุดดำเนินการชั่วคราวเพื่อตรวจสอบก่อนนั้น ก็สามารถดำเนินการต่อไปได้ทันทีนับจากนี้ ภายหลังการตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นการขออนุญาต ถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งนับว่าเป็น sentiment เชิงบวกต่อผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าพลังงานลม ทั้ง EA, DEMCO, EGCO และ RATCH ซึ่งมีที่โรงงานตั้งในพื้นที่ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นของบางบริษัทได้ปรับขึ้นตอบรับข่าวดีไปแล้ว ทำให้มี upside จำกัดคือ EA (FV@B28) และ DEMCO ([email protected]) จึงแนะนำให้ ขาย และสลับมาลงทุน GUNKUL (FV หลัง [email protected]) ที่คาดกำไรจะเติบโตขึ้นทำ new high ได้อย่างต่อเนื่องช่วง 3 ปีข้างหน้า ด้วย Backlog ที่มีอยู่ในมือกว่า 488 เมกะวัตต์ และการขยายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ประเมินว่าปีนี้เติบโตก้าวกระโดดกว่า 71.7%yoy ซึ่งเป็นการยกระดับกำไรสู่ฐานใหม่เกือบ 1 พันล้านบาท ราคาหุ้นปัจจุบันมี upside สูงกว่า 23% โดย Fair Value อยู่ที่ 6.6 บาท หรือเหลือ 5.73 บาท หลังขึ้น XD วันที่ 25 เม.ย. นี้ (จ่ายหุ้นปันผลอัตราส่วน 6:1 และเงินสดอีก 0.04 บาท)
ส่วน EGCO (FV@B230) และ RATCH (FV@B65) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าวน้อย เนื่องจากสัดส่วนจากโครงการพลังงานลมในพื้นที่เช่า ส.ป.ก. ไม่มีนัยฯ เมื่อเทียบกับกำลังการผลิตรวม จึงยังสามารถซื้อลงทุนได้ เนื่องจาก upside ยังเปิดกว้าง และมีเงินปันผลค่อนข้างสูง โดย RATCH มี Dividend Yield สูงถึง 4.7% ส่วน EGCO Dividend Yield อยู่ที่ 3.4%

(0) อังกฤษเดินหน้าออกจาก EU ตามแผนสะท้อนค่าเงินยูโร และปอนด์
ความคืบหน้ากระบวนการ (Brexit) ยังคงเดินหน้าตามแผนที่วางไว้ หลังจาก นายกฯอังกฤษได้ยื่นหนังสือแจ้งความจำนงเพื่อออกจากสหภาพยุโรป(EU) ต่อประธานคณะกรรมาธิการ (European council) เมื่อ 29 มี.ค. ที่ผ่านมา ประกาศใช้มาตรา 50 ของสนธิสัญญาลิสบอน อย่างเป็นทางการ หลังจากนี้อังกฤษจะต้องเริ่มเจรจาการค้าและการลงทุนกับประเทศในกลุ่ม EU ที่เหลือ 27 ประเทศจนครบ และจึงนำผลที่ได้ทั้งหมดยื่นเสนอรัฐสภาของอังกฤษอนุมัติ เช่นเดียวกับฝั่งประเทศ EU จะต้องนำผลการเจรจาดังกล่าวเสนอต่อ (European council) เพื่อขอเสียงสนับสนุน และเมื่อได้รับความเห็นชอบทั้ง 2 ฝ่าย จะต้องจัดทำร่างสนธิสัญญาใหม่ระหว่างอังกฤษกับประเทศสมาชิก EU ทั้งหมด (ประเทศสมาชิก EU ต้องลงคะแนนเสียงสนับสนุนไม่น้อยกว่า 65%ของประเทศสมาชิกทั้งหมด) เมื่อผ่านกระบวนการลงมติเสร็จสิ้นจะต้องประกาศร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่แล้วถือว่า อังกฤษได้ออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ โดยสรุปอังกฤษต้องใช้เวลา 2 ปี กว่าจะถอนตัวออกจาก EU
ผลกระทบในระยะสั้นเชื่อว่าได้สะท้อนค่าเงิน ปอนด์ และยูโร ที่อ่อนค่าราว 16.33% และอ่อนค่าราว 5.44% นับจากวันที่ 24 มิ.ย. 2559 หรือ Brexit ตามลำดับ แต่ค่าเงินยังมีแนวโน้มแกว่งตัวในทิศทางอ่อนค่าได้ หากประเทศสมาชิก UE ยังมีแนวโน้มจะออกจากยุโรป ซึ่งต้องติดตามการเลือกตั้งหลายประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี 2 รอบ โดยรอบแรก 23 เม.ย. และรอบสอง 7 พ.ค. ซึ่งผู้นำพรรคฝ่ายขวาจัด นำโดยนาง Marine Le Pen มีแนวความคิดต้องการถอนตัวอออกจากยุโรปเช่นกัน รวมทั้งมีแนวคิดที่จะให้ฝรั่งเศสกลับมาใช้สกุลฟรังก์

(+) Fund flow กระหน่ำเข้ามาในตลาดหุ้นไทยกว่า 1 หมื่นล้านบาท
วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 475 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) โดยเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ขายสุทธิราว 4 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ที่เหลืออีก 4 แห่ง ต่างชาติซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิราว 81 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 14) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 76 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว), อินโดนิเซีย 12 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 17) และไทยที่ซื้อสุทธิด้วยเม็ดเงินมาหาศาลกว่า 310 ล้านเหรียญ หรือ 1.07 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 10 โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมรวมกว่า 2.0 หมื่นล้านบาท) และเป็นการซื้อสุทธิสูงสุดในรอบ 4 ปี 4 เดือน หรือนับตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย. 2555 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามแรงซื้อดังกล่าวมีโอกาสที่จะเป็น Big Lot ในหุ้น BJC ราว 5.2 พันล้านบาท ส่วนทางด้านสถาบันฯสลับมาขายสุทธิราว 2.1 พันล้านบาท
ทั้งนี้หากศึกษาข้อมูลเชิงลึก เพื่อดูว่าต่างชาติสนใจลงทุนหุ้นอะไรมากที่สุด พบว่า มีเม็ดเงินของนักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นไทยผ่าน NVDR กว่า 6.1 พันล้านบาท ซึ่งแรงซื้อหลักๆยังคงอยู่ในหุ้นขนาดใหญ่ที่มีสภาพคล่องสูง โดยมีหุ้น 5 ลำดับแรกที่ต่างชาติซื้อสุทธิมากที่สุด คือ SCC ถูกซื้อสุทธิสูงที่สุดราว 807 ล้านบาท ตามมาด้วย PTTGC 736 ล้านบาท ,TRUE 655 ล้านบาท, SCB 569 ล้านบาท และ ADVANC 638 ล้านบาท

นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์: พาสุ ชัยหลีเจริญ
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์: ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!