WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
 วันนี้ตลาดเทน้ำหนักไปที่ “การจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ” ซึ่งถูกมองว่าเป็นการจำกัดการเติบโตของ PTT หรือไม่ ส่วนการประชุม กนง. คงดอกเบี้ยฯ ตามดคาด แต่เงินเฟ้อที่ขยับขึ้นมาใกล้ดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้เชื่อว่า กนง. น่าจะมีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยปลายปี กลยุทธ์ยังเน้นหุ้นปลอดภัยจากดอกเบี้ยขาขึ้น (BLA, ROBIN, BBL, AIT) ยังชอบ CPF ([email protected]) และ BBL ([email protected])


(0) PTT กับผลกระทบของการจัดบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ
  กลับมาอีกแล้วทุกครั้งที่มีข่าวหุ้น PTT จะไปได้สวยจะต้องมีข่าวร้ายออกสกัดดาวรุ่งทุกครั้ง ในครั้งนี้มีการเสนอร่าง พ.ร.บ. ปิโตรเลียม และ ร่างพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พร้อมกับการจัดตั้ง “บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ซึ่งพ.ร.บ. นี้ได้ผ่าน การพิจารณาของ ครม. และผ่านวาระแรกในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ไปแล้ว และกำลังจะเข้าพิจารณาสภานิติบัญญัติแห่งชาติวาระ 2 และ 3 ในวันที่ 30 มี.ค. โดยเหตุผลที่รัฐต้องมี พ.ร.บ. ดังกล่าวเพื่อรองรับการประมูลปิโตรเลี่ยมที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ๆ ในอนาคต (ทั้งสัมปทานเดิมที่ครบกำหนด ในปี 2565 และ 2566 คือ แหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณและบงกช และแหล่งสำรวจปิโตรเลี่ยมใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น) พร้อมกับอาจจะมีการจัดเก็บค่าสัมปทานรูปแบบใหม่ ๆ และ ให้อยู่ภายใต้กรมการพลังงานทหาร
  ขณะที่ระบบสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศ ตลอดระยะกว่า 10 ปีที่ผ่านมา มีการประมูลผ่าน กระทรวงพลังงาน มีการจ่ายผลตอบแทนภาครัฐในรูปแบบต่าง ๆ คือ
  1. Royalty Fee หรือ ค่าภาคหลวงในอัตรา 12.5%สำหรับสัมปทานที่เกิดก่อนปี 2532 (เอราวัณ และบงกช) แต่จะจ่ายเป็นขั้นบันไดอัตรา 5-15% สำหรับผู้ที่ได้รับสัมปทานหลังปี 2532 (เช่น อ่าวไทย และ ทานตะวัน เบญจมาศ) (คำนวณบนรายได้จากการผลิตและสำรวจปิโตรเลี่ยม หรือเป็นส่วนที่หักออกจากรายได้ สำหรับสัมปทานที่เกิดก่อนปี 2532) โดยไม่รวมภาษีนิติบุคคลอีก 20% ของกำไรก่อนภาษี
  2. ภาษีเงินได้ปิโตรเลี่ยม (Petroleum income tax) จัดเก็บ 50% ของกำไรสุทธิ ของผู้ที่ได้รับสัมปทาน หลังหักต้นทุน และค่าใช้จ่ายจริงในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแล้ว
  3. ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ คือ จัดเก็บจากผู้ได้รับสัมปทานที่มีกำไรสูงกว่าปกติ และเป็นการจัดเก็บแบบขั้นบันไดในอัตรา 0-75% ของรายได้ปิโตรเลี่ยมรายปีก่อนหักภาษี
  ความกังวลของสังคมน่าจะมีหลายประเด็น เริ่มจาก กรมการพลังงานทหาร จะทำงานทับซ้อนกับ กระทรวงพลังงานเดิมหรือไม่ และ ค่าสัมปทานจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมฯ ซึ่งเข้าใจอาจจะมีวิธีการจัดเก็บแบบอื่น ๆ เพิ่มเติมจากที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ ระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) ซึ่งจะมีส่วนที่เพิ่มเติมจากระบบสัมปทาน คือ
  1. การยินยอมให้มีการหักคืนค่าใช้จ่าย (cost recovery) ผู้รับสัญญาสามารถหักคืนค่าใช้จ่ายได้จริงแต่ไม่เกินอัตราที่รัฐกำหนด แบบคงที่ และ ขั้นบันได
  2. ส่วนแบ่งกำไรปิโตรเลี่ยม (Petroleum Share) เป็นส่วนแบ่งกำไรที่คิด หลังหัก Royalty Fee และ cost recovery ไปแล้ว ซึ่งมีทั้งกำหนดอัตราคงที่ และ ขั้นบันได
  การปรับเปลี่ยนนี้รูปแบบการจัดเก็บวิธีหลังดูเหมือนมาตรฐานสากลมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะไม่กระทบต่อ ผู้ผลิตและสำรวจในประเทศไทย (PTTEP ซึ่งถือหุ้นโดย PTT 65% ) และ บริษัทน้ำมันต่างชาติ แต่อาจจะทำให้บทบาทและหน้าที่ของ PTT เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน ที่เป็นผู้ผูกขาดในบางธุรกิจ เช่น บริหารและจัดการท่อส่งก๊าซ และ โรงแยกก๊าซ เป็นต้น หรือไม่ ซึ่งจะจำกัดการเติบโตในอนาคต ซึ่งต้องติดตามในรายละเอียดต่อไป

(+) ราคาน้ำมันสูงสุด 3 สัปดาห์ หลังผลผลิตในลิเบียลดลง+สต็อกน้ำมันน้อยกว่าคาด
  วานนี้สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.14 เหรียญฯต่อบาร์เรล หรือราว 2.4% มาอยู่ที่ 49.51 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งสูงสุดในรอบเกือบ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากสำนักงานสารสนเทศพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์สิ้นสุด 29 มี.ค. 60 ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดฯคาด โดยเพิ่มขึ้นราว 8.67 แสนบาร์เรล ขณะที่ตลาดฯคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.357 ล้านบาร์เรล ส่งผลให้ปริมาณสต็อกน้ำมันดิบขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่อีกครั้ง โดยอยู่ที่ 534 ล้านบาร์เรล
  และยังมีปัจจัยหนุนจากสถานการณ์ความไม่สงบในลิเบีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ โดยทาง National Oil Corp (NOC) บริษัทน้ำมันของรัฐบาลลิเบีย รายงานว่ากลุ่มติดอาวุธปิดกั้นการผลิตที่แหล่งผลิตน้ำมันดิบ Sharara และWafa ทางตะวันตกของประเทศ ส่งผลให้กาลังผลิตลดลง 252,000 บาร์เรล หรือราว 1 ใน 3 ของปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบีย
  อีกทั้งยังมีการคาดการณ์ว่าผู้ผลิตน้ำมันดิบทั้งในกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC อาจขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตหลังจากเดือน มิ.ย. 2560 หากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังโลกยังอยู่สูงกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปี จากที่เคยทำข้อตกลงร่วมมือกันในช่วงเดือน พ.ย. 2559 ว่ากลุ่ม OPEC จะตัดลดกำลังการผลิตน้ำมันลงมาอยู่ที่ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่รัสเซียและกลุ่ม Non-OPEC จะตัดลดกำลังการผลิตน้ำมันลงมาอยู่ที่ 6 แสนบาร์เรลต่อวัน
  ทั้งความหวังที่จะขยายกรอบเวลาข้อตกลงการลดกำลังการผลิตและปัจัยจัยบวกต่างๆที่กล่าวมา น่าจะช่วยหนุนให้ราคาน้ำมันดิบโลกกลับไปยืนเหนือ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรลได้อีกครั้ง ซึ่งส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มพลังงาน อย่าง PTTEP (FV@B116) และ PTT (FV@B460)

(0) ภาพรวมต่างชาติสลับมาขายหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อย แต่ยังซื้อไทย
  วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคแล็กน้อยเพียง 6 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 4 วัน) โดยเฉพาะตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ที่ถูกต่างชาติสลับมาขายสุทธิสูงถึง 120 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง) และเกาหลีใต้ 64 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนตลาดหุ้นอีก 3 ประเทศ ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิราว 103 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 13) ตามมาด้วยอินโดนิเซีย 70 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 16) และไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 4 ล้านเหรียญ หรือ 156 ล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 9 โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมรวมกว่า 9.3 พันล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิราว 2.0 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน)
  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 6.1 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 1.9 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)

(0) กนง. ยืนดอกเบี้ยฯ พร้อมลดเป้าเงินเฟ้อปีนี้ลง
  สรุปว่าวานนี้ผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เป็นไปตามที่ตลาดคาด กล่าวคือ ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% (ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 15 ตั้งแต่ เม.ย.2558) พร้อมกับ กนง. ปรับลดคาดการณ์ เงินเฟ้อไทย ปี 2560 เหลือ 1.2%yoy จากเดิมคาดที่ 1.5% โดยการปรับลดสมมติฐานน้ำมันดิบดูไบลงเล็กน้อยเหลือ 52.3 เหรียญต่อบาร์เรล จากเดิม 53.5 เหรียญ ฯ สะท้อนว่า กนง. ไม่กังวลเรื่องเงินเฟ้อเลย นอกจากนี้ยังปรับเพิ่มสมมติฐาน การส่งออก(X) เป็น 2.2%yoy จาก 0% หลังส่งออกฟี้นตัวขึ้น และลงทุนเอกชนเพิ่มเป็น 2.4% จาก 1.6% ทำให้ปรับเพิ่ม GDP Growth ปี 2560 เป็น 3.4%yoy จากเดิม 3.2% ( ASPS คาดที่ 3.5%)
  และพิจารณาสภาพคล่องในระบบของไทยปัจจุบันที่มีอยู่ราว 6 แสนล้านบาท (เทียบกับช่วงที่มีวิกฤติหนี้สาธารณะ ปี 2552-2553 ที่สภาพคล่องในประเทศที่มีอยู่ในระดับ 1 ล้านล้านบาท) ยังนับว่าสูง (แม้ Fund Flow ที่ไหลออก ไปช่วงก่อนหน้า) แต่อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อไทยพุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยล่าสุด เดือน ก.พ.60 อยู่ที่ 1.44% จาก 1.13% ธ.ค.59 และ 0.6% เดือน พ.ย.59 ใกล้แตะดอกเบี้ยนโยบาย แต่อย่างไรก็ตามหากแนวโน้มเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปีนี้เพิ่มขึ้นเร็ว และขึ้นมาสูงกว่าดอกเบี้ย นโยบายน่าจะหนุนให้ กนง. ต้องพิจารณาขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น ดังสถิติที่ผ่านมา พบว่า กนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยหลังจากที่เงินเฟ้อปรับตัวขึ้นล่วงหน้า นานราว 6 เดือน (ปรากฎในภาพถัดไป) จึงประเมินว่า กนง. น่าจะมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในช่วง 4Q60

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!