- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 30 March 2017 18:01
- Hits: 1924
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
SET ยังผันผวนแม้จะทรงตัวได้ ทำให้น่ารอทยอยซื้อช่วงอ่อนตัวต่อไป
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET กลับมาแกว่งผันผวน และอ่อนตัวลงปิดด้านลบอีกครั้ง หลังยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่หนุน ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียหลายแห่งก็เริ่มอ่อนตัวลงในภาคบ่าย กดดันให้มีแรงขายในตลาดหุ้นบ้านเรา แต่กรอบลบไม่รุนแรงนัก เพราะยังมีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติและสถาบันในประเทศช่วยหนุน ส่วนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกก็เริ่มฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง ทำให้ SET ปิดเป็นลบเพียงจุดเศษเท่านั้น
แนวโน้มตลาดวันนี้ : แม้ว่า SET ยังแกว่งตัวอยู่แถวระดับสูงสุดของรอบที่บริเวณ 1580 จุด หลังสุนทรพจน์ของประธานเฟดที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ไม่ได้ส่งสัญญาณใดๆ เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งถัดไป และข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐยังแข็งแกร่ง รวมทั้งราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกก็ฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่อง จากข่าวการปิดบ่อน้ำมันที่สำคัญในประเทศลิเบียของกลุ่มกบฏติดอาวุธ และตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดจาก EIA แต่เนื่องจาก SET ขยับขึ้นมาเร็วพอควรในรอบที่ผ่านมา ขณะที่นักลงทุนบางส่วนยังต้องการรอพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หลังจากอังกฤษเริ่มต้นกระบวนการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป(EU) อย่างเป็นทางการ และจับตาดู EU ซึ่งจะเปิดเผยแนวทางในการดำเนินการ Brexit ในวันพรุ่งนี้(31 มี.ค.) อีกครั้ง ทำให้ FSS คาดว่ากรอบบวกของ SET ช่วงนี้น่าจะยังค่อนข้างจำกัด และต้องระวังการแกว่งพักตัวลงก่อนไว้เช่นเดิม
กลยุทธ์ : ดังนั้นเรายังแนะนำเลือกหุ้นทยอยซื้อเพิ่มช่วงลบต่อไปดีกว่า
แนวรับ 1573-1572 , 1568-1566 จุด
แนวต้าน 1578-1580 , 1582-1584 จุด
หุ้นเด่นทางเทคนิค : BLAND, SGP, STPI(buy back)
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคเบาบางลงเหลือ US$1ล้าน เม็ดเงินไหลเข้าไต้หวัน US$103ล้าน อินโดนีเซีย US$70ล้าน ขณะที่ไหลเข้าไทย US$5ล้าน แต่ไหลออกจากฟิลิปปินส์ US$120ล้าน กระแสเงินทุนมีทิศทางไหลเข้าแต่อาจชะลอตัวลงภายหลังจากอังกฤษได้ยื่น Article50 ถอนตัวจาก EU อย่างเป็นทางการ แต่ผลกระทบจำกัดเนื่องจากยังเหลือเวลาเตรียมตัวอีก 2 ปี
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(+) กนง.ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจ นอกจากจะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ตามคาดแล้ว ยังดูเป็นห่วงเศรษฐกิจในประเทศน้อยกว่าเดิมมาก แม้กระทั่ง NPL ที่ยังไม่ลด ก็เพราะเป็นเพียงตัวตามเศรษฐกิจ และปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ปีนี้ขึ้นจากเดิม 3.2% เป็น 3.4% และปี 2018 จาก 3.2% เป็น 3.6% หลักๆมาจากการส่งออกที่ปรับขึ้นจากเดิม -0.6% ปีนี้และ 0% ปีหน้า เป็น +2.2% และ +2.0% ตามลำดับ และคาดนำเข้ายังหดตัว ทำให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงขึ้น ฐานะการเงินที่แข็งแกร่งจึงสมควรที่ค่าเงินบาทจะแข็งค่ากว่าหลายประเทศในภูมิภาค และทำให้ตลาดหุ้นไทยเป็นหนึ่งใน safe haven ของตลาดเอเชีย
(+) การใช้จ่ายภาครัฐยังเป็นเครื่องยนต์หลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีนี้ ตามด้วยการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและส่งออก ส่วนภาคเอกชนทั้งการบริโภคและการลงทุนแม้จะฟื้นตัวช้าแต่ก็ฟื้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เรายังเชื่อว่าการจับจ่ายใช้สอยปีนี้จะฟื้นต่อเนื่องจากปีก่อนโดยเฉพาะกำลังซื้อในต่างจังหวัดที่ได้อานิสงส์จากราคาสินค้าเกษตรดีขึ้น หุ้นที่เกี่ยวข้องกับ Theme นี้และราคายัง laggard ได้แก่ GLOBAL (ราคาพื้นฐาน 21 บาท) และ ROBINS (ราคาพื้นฐาน 76 บาท)
(+) สมาคมโฆษณาดิจิตอลเผยตัวเลขโฆษณาสื่อออนไลน์ปี 2016 โต 17% และคาดปีนี้โตอีก 24% แตะ 1 หมื่นล้านบาท เป็นการเติบโตอย่างรวดเร็วตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เรายังคงชอบ WORK (ราคาพื้นฐาน 62 บาท) มากที่สุดในกลุ่มเพราะ Content ที่แตกต่างอย่างแข็งแกร่งทำให้ rating เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จึงมีความสามารถในการต่อรองปรับขึ้นค่าโฆษณาได้มากกว่าช่องอื่น และเป็นผู้ที่ใช้สื่อออนไลน์ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด แนะนำซื้อ
(+) ส.ป.ก.ไฟเขียว 16 บริษัททำโรงไฟฟ้าวินด์ฟาร์มได้ต่อ นอกจากบ.เทพสถิตที่ถูกยกเลิกการเช่าพื้นที่ไปก่อนหน้านี้แล้ว ที่เหลือทั้ง 16 บริษัทซึ่งรวมถึง RATCH, DEMCO, EGCO, EA ทำถูกต้องตามระเบียบ สามารถดำเนินกิจการต่อได้ เราแนะนำซื้อ EA ราคาพื้นฐาน 30 บาท
(-) DTAC เราคาดผลประกอบการ 1Q17 พลิกเป็นขาดทุน 125 ล้านบาท แย่ลงจาก 4Q16 ที่มีกำไรปกติ 169 ล้านบาทและแย่ลงมากจาก 1Q16 ที่มีกำไร 1,183 ล้านบาท เหตุเพราะรายได้ค่าบริการลดลงและต้นทุนและค่าการตลาดเพิ่มขึ้น ส่วนประเด็นคลื่น 2300MHz แม้ DTAC จะได้มาแต่ต้นทุนคลื่นใหม่จะกดดันผลการดำเนินงานในช่วง 2 ปีแรกเหมือนที่ ADVANC และ TRUE กำลังเผชิญอยู่ เรายังคงแนะนำขาย คงราคาพื้นฐานที่ 30 บาท
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
30 มี.ค. - ไทย:ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (ก.พ.)
- สหรัฐ: 4Q16 GDP (ตัวเลขสุดท้าย)
31 มี.ค. - ไทย:ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน ก.พ.
- จีน:Manufacturing and Non-manufacturing PMI (มี.ค.)
- ยูโรโซน:เงินเฟ้อ (มี.ค.)
3 เม.ย. - ไทย:อัตราเงินเฟ้อ (มี.ค.), ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (มี.ค.), Dเข้าเทรด (ราคา IPO 6 บาท)
- จีน:Caixin China PMI Mfg (มี.ค.)
- ญี่ปุ่น: ดัชนี Tankan 1Q17
- ยูโรโซน:Markit Eurozone Composite PMI (ก.พ.)
6 เม.ย. - สหรัฐ:คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (ม.ค.)
7 เม.ย. - ยูโรโซน:4Q16 GDP
8 เม.ย. - จีน:ดุลการค้า (ก.พ.)
- ญี่ปุ่น: 4Q16 GDP
- สหรัฐ: การจ้างงานภาคเอกชน (ก.พ.)
(-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนปิดลบเล็กน้อย โดยมีแรงกดดันจากความกังวลต่อกระบวนการถอนตัวของอังกฤษออกจากยุโรป (Brexit) ขณะที่ นักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการซื้อขายก่อนการประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ฟื้นตัวช่วยหนุนราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน
(+) ด้านตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก เนื่องจากนักลงทุนซึมซับข่าวการเริ่มต้นกระบวนการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ
(0) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดผสมลบตามทิศทางตลาดโลก
(0) ค่าเงินบาทแกว่งตัวอ่อนค่า ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 35.40-35.47 บาท/ดอลลาร์
(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน พ.ค. ปิดบวก 1.14 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 49.51 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมีแรงหนุนจากตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด และ ปัญหา Supply Disruption จากความไม่สงบที่ลิเบีย
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปิดลบ 1.90 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,253.70 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยถูกกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าจากความเห็นของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯบางสาขาที่ระบุว่าเฟดควรปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้งในปีนี้
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265 Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch