- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 21 March 2017 17:51
- Hits: 2110
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แม้ Fund flow ไหลเข้า เป็นเหตุการณ์ระยะสั้นๆ หลังตลาดรับรู้การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งกดดันให้ดอกเบี้ยโลกเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้นรอบใหม่ กลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้น Domestic Play ซึ่งมีสัญญาณฟื้นตัวการบริโภคในประเทศ และยังได้ประโยชน์ดอกเบี้ยขาขึ้น/Net Gearing ต่ำ (BBL, KTB, BLA, ROBINS, TASCO, AIT, STEC, LPH, RJH) Top picks BLA(FV@B60) และ ROBINS(FV@B79) น่าจะได้ประโยชน์จาก CCI ที่ฟื้นตัวชัดเจนขึ้น
(0) ค่าเงินโลกผันผวน..ตอบรับวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นรอบใหม่
หลังสหรัฐนำร่อง ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งที่ผ่านมา คือ 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 0.75-1% ได้หนุนให้ธนาคารกลางโลกในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาบางแห่ง ซึ่งพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ (เพื่อการสร้างการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ) ได้ทยอยขึ้นดอกเบี้ยนโยบายตามสหรัฐ ได้แก่ ธนาคารกลางจีน (PROC) ขึ้นดอกเบี้ย 0.1% และที่เหลืออีก 4 แห่งขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เท่าๆ กันคือ ธนาคารกลางฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต และ บาห์เรน เป็นต้น และ คาดว่าประเทศไทยน่าชะลอการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปได้ระยะหนึ่งเท่านั้น ในที่สุดก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยฯ เช่นกัน แม้ขณะนี้สภาพคล่องในการะบบการเงินของไทยจะมีกว่า 6 แสนล้านบาท ก็ตาม แต่ Loan to Deposit Ratio ทั้งระบบค่อนข้างสูงราว 95.3 (บางแห่งจะสูงกว่านี้ SCB, KBANK ยกเว้น BBL, KTB ที่เป็น net lender ในตลาดเงิน) และหากพิจารณาเงินเฟ้อในประเทศก็สูงเช่นกัน (1.44% ใน ก.พ. ชะลอตัวจาก 1.5% ในเดือน ม.ค.) และ อยู่ในระดับใกล้เคียงกับดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5%
อย่างไรก็ตามผลที่ตามคือค่าเงินมีความผันผวนสูง โดยค่าเงิน Dollar index ได้ลดการแข็งค่า และกลับอ่อนค่ามาแกว่งตัวใกล้เคียง 100 จุด แต่เชื่อว่ามีโอกาสขยับขึ้นยืนเหนือยืน 100 จุด เพราะ Fed คาดหมายโอกาสการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้รวมกันราว 0.75% และจะขึ้นอีก 3 ครั้ง 0.75% ในปี 2561 ตรงข้ามกับค่าเงินยูโร และเงินปอนด์ที่แข็งค่าช่วงสั้น หลังจากที่อ่อนค่าในช่วงก่อนหน้านี้ แต่เชื่อว่าโอกาสจะกลับมาอ่อนค่าอีกครั้งมีความเป็นไปได้สูงจากประเด็นเรื่อง Brexit และ กระแสชาตินิยมรักชาติในยุโรป ที่เพิ่มมากขึ้นทำให้มีโอกาสที่จะออกจากสหภาพยุโรปมากขึ้น เช่น ฝรั่งเศส เป็นต้น
เช่นเดียวกับค่าเงินเยนที่กลับมาอ่อนค่าอีกครั้ง ใกล้เคียงกับเงินยูโร ยกเว้นค่าเงินเอเชียที่ดูจะทรงตัว เช่นเงินรูเปียะห์ของอินโดนีเซีย และเงินเปโซของฟิลิปปินส์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ยกเว้น เงินบาทแข็งค่าราว 1.8% ตั้งแต่ 10 มี.ค. ซึ่งน่าจะเกิดจากต่างชาติสลับกลับมาซื้อตราสารหนี้ไทยติดต่อกัน 3 วันติดราว 6 พันล้านดอลลาร์และการส่งออก(X)ในรูปดอลลาร์ที่เพิ่มขึ้น 3 เดือนติดต่อกัน เช่นเดียวกับเงินรูปีอินเดีย ที่แข็งค่าราว 3% เกิดจากพรรคภราติยะชนตะของนายกรัฐมนตรี Narendra Modi’s ของอินเดียชนะการเลือกตั้งต่อเนื่อง ซึ่งเพิ่มความหวังว่าจะมีการปฏิรูปประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นเอเชียในช่วงสั้น ๆ
(-) ซูเปอร์บอร์ดจัดซื้อจัดจ้างเปลี่ยน TOR รถไฟทางคู่ 5 เส้น..กระทบกลุ่มรับเหมาจำกัด
กลุ่มรับเหมาก่อสร้างมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง โดยล่าสุดคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง (ซูเปอร์บอร์ดจัดซื้อจัดจ้าง) ให้ยกเลิก TOR เดิมสำหรับการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง (วงเงินรวมกว่า 9.77 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย 1) ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 2). หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 3). มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 4). สายลพบุรี-ปากน้ำโพ และ 5). นครปฐม-หัวหิน) หลังจากที่ก่อนหน้านี้ รฟท. ได้เลื่อนการประกวดราคาแบบ E-Auction จากเดิม 1 มี.ค. ออกไปก่อน เนื่องจากมีข้อร้องเรียนให้มีการพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอให้ครบถ้วนนั้น
ทั้งนี้เหตุผลของการยกเลิก TOR เดิม และให้ไปเริ่มกระบวนการร่าง TOR ใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะมีข้อสรุปร่วมกับ รฟท. ในวันที่ 22 มี.ค. นี้ เพราะทาง ซูเปอร์บอร์ดเห็นว่า TOR เดิม ขนาดสัญญามีขนาดใหญ่เกินไป (1 เส้นทาง คือ 1 สัญญา วงเงินประมาณ 2 หมื่นล้านบาทต่อสัญญา) จึงควรจะซอยแยกย่อยขนาดสัญญาให้เล็กลง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาราย กลาง เข้ามาร่วมประมูลได้
คาดว่าผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง TOR ใหม่ นอกจากต้องติดตามรายละเอียดที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ยังทำให้เกิดความล่าช้าในการประมูลออกไปอีก 5-6 เดือน และ อาจ กดดันให้การแข่งขันทางด้านราคามากขึ้น ซึ่งน่าจะกดดันอัตรากำไรของผู้รับเหมาในที่สุด
อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้อาจเป็นเพียงปัจจัยกดดันระยะสั้นต่อกลุ่มฯ เท่านั้น เนื่องจากรัฐบาลเตรียมผลักดันแผนปฏิบัติการลงทุนด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน ปี 60 จำนวน 36 โครงการ วงเงินกว่า 8.96 แสนล้านบาท ซึ่งน่าจะได้เห็นการเปิดประมูลโครงการอื่นๆ ตามมาในปีนี้ การล่าช้าของการประมูล โครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง จึงกระทบต่อประมาณการฯ ของบริษัทรับเหมาฯ ไม่มากนัก โดยเฉพาะผู้รับเหมารายใหญ่อย่าง ITD,CK,STEC และ UNIQ ซึ่งมีความได้เปรียบทั้งฐานเงินทุน และ ประสบการณ์ทำงาน รวมถึงความพร้อมของเครื่องจักรอุปกรณ์ โดยเลือก STEC เป็น Top pick ตามมาด้วย UNIQ มีความน่าสนใจในด้านการเติบโตเด่นสุด และราคาหุ้น Laggard มากสุด
(-) งวด 1Q60 ให้น้ำหนักต่อหุ้น Domestic Play : ธนาคาร, ประกันชีวิต และค้าปลีก
นอกจากประเด็นเรื่องดอกเบี้ยขาขึ้น จะหนุนความสามารถในการทำกำไรของหุ้นกลุ่ม กลุ่มธนาคารพาณิชย์ (ดอกเบี้ยขาขึ้นน่าจะหนุน NIM ให้มีแนวโน้มทรงตัวในระยะสั้น ๆ และน่าจะดีขึ้นในไตรมาสถัดไป โดยเฉพาะ คือ BBL ([email protected]) และ KTB ([email protected]) ซึ่งมีสัดส่วนดอกเบี้ยสินเชื่อลอยตัว 66% และ 74% เทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากที่ลอยตัว 54% และ 66% นอกจากนี้ทั้ง 2 แห่งยังเป็น net lender ในตลาดปล่อยกู้ระหว่างธนาคาร) และ ตามด้วยกลุ่มประกันชีวิต ได้ประโยชน์จาก ดอกเบี้ยขาขึ้น เพราะ ในการคำนวณมูลค่าปัจจุบันหนี้สิน (ที่เกิดจากการถือครองกรมธรรม์ระยะยาว และนำมาคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบัน) มีแนวโน้มลดลง ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายสำรองเบี้ยฯ ลดลง และมีโอกาสจะโอนกลับเงินกันสำรองเบี้ยคงเหลือได้ ดีต่อ BLA(FV@B60) มากสุด
นอกจากนี้สัญญาณบ่งชี้ถึงการบริโภคภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) ที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อกัน (ธ.ค.2559-ก.พ. 2560) โดย CCI ในเดือน ก.พ. 2560 ขยับขึ้นสูงกว่า ก.พ. 2559 และยืนยันได้จากกลุ่มสหพัฒนพิบูล ซึ่งเป็นผู้ที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของประเทศ เปิดเผยถึงความมั่นใจต่อเศรษฐกิจและกำลังซื้อในประเทศที่ดีขึ้น ในเดือน มี.ค. ซึ่งระบุว่ายอดขายในเดือน มี.ค. 2560 เพิ่มขึ้น 10% yoy เทียบกับที่เติบโต 7% ในช่วง 2M60 และ ทั้งปี 2560 น่าจะเติบโตได้ถึง 10% ตามเป้าหมายของทั้งกลุ่ม
และหากพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง CCI กับ ยอดขายของบริษัทในกลุ่มค้าปลีก พบว่าจะมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันราว 3 เดือนกล่าวคือ CCI ขยับขึ้นไป 2-4 เดือน จึงเห็นยอดขายขยับขึ้นตาม ด้วยเหตุนี้จึงคาดว่ายอดขายจากสาขาเดิม หรือ SSSG จะเห็นผลชัดเจนในช่วงปลาย 2Q60 และน่าจะโดดเด่นในช่วง 2H60 ของปีนี้ แต่การปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำไรของกลุ่มน่าจะมีบทบาทในการสร้างการเจริญเติบโตต่อกำไรของกลุ่มฯ ดังที่กล่าวไปเมื่อวานนี้ เช่น กรณีของ ROBINS(FV@B79) เน้นปรับปรุงประสิทธิภาพการทำกำไร ผ่านการเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นและเด็กเป็นเป้าหมายหลัก ด้วยการกำหนดราคาขายปานกลาง แต่เน้นจัดหาสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ (Private brand และ Exclusive brand) และเพิ่มรูปแบบให้บริการที่สาขาใหม่ โดยพื้นที่ขาย รองรับ Lifestyle คนรุ่นใหม่ (แต่ละแห่งคิดเป็น 2/3 ของพื้นที่)
เช่นเดียวกับ HMPRO([email protected]) เน้นสินค้าที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำกำไร ผ่านการสร้างสินค้า ภายใต้ brand ของตนเอง และใช้นโยบายเดียวกับบริษัทย่อย ซึ่งขายวัสดุก่อสร้าง คือ MegaHome (HMPRO ถือหุ้น 99.9% )
และสุดท้าย BJC(FV@B57) หลังควบรวมกับ BIGC (BJC ถือหุ้น 98.74%) เน้นประสิทธิภาพการทำกำไรมาจาก BIGC ด้วยการเพิ่มสินค้า house brand และยกเลิกสินค้าที่มี margin ต่ำ เช่น สุราและบุหรี่ ในรูปแบบค้าส่ง นอกเหนือจากค่าใช้ดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง หลังนำเงินเพิ่มทุนไปชำระคืนหนี้ในปีที่ผ่านมาทำให้ EPS Growth ปีนี้ 25% แต่เริ่มชะลอตัวลงเหลือ 11% ในปี 2561
โดยรวมทำให้ EPS Growth ของกลุ่มค้าปลีกเติบโตราว 24% จากปี 2559 ซึ่งนับว่าเติบโตมากสุดในตลาดเทียบกับ EPS Growth ตลาดเพียง 7% จึงยังเลือก ROBINS เป็น Top picks
(0) แรงซื้อหุ้นในภูมิภาคเริ่มชะลอตัวลง หลังซื้อติดต่อกันกว่า 6 วัน
วานนี้ แม้นักลงทุนต่างชาติจะซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 6 แต่แรงซื้อกลับลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมีมูลค่ารวมเพียง 35 ล้านเหรียญ แต่เป็นการสลับขายสุทธิบางประเทศที่ซื้อในวันก่อนหน้า คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิราว 116 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกันนานถึง 10 วัน) และฟิลิปปินส์ 18 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติยังซื้อสุทธิ คือไต้หวันถูกซื้อสุทธิราว 87 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6) ตามมาด้วยอินโดนิเซีย 62 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 10) และไทย 21 ล้านเหรียญ หรือ 736 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 540 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 2.1 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 4 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์