WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน


กลยุทธ์การลงทุน
  Fund flow กลับเข้ามาตลาด TIP เป็นเหตุการณ์ระยะสั้นๆ หลังตลาดรับรู้การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และหลายประเทศต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยตาม กลยุทธ์ให้เน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์/กระทบจากดอกเบี้ยขาขึ้นน้อย (BBL, KTB, BLA, ROBINS, TASCO, AIT, STEC, LPH, RJH) Top picks BLA(FV@B60) และ PTTGC([email protected]) ซึ่งมีหนิ้สินสุทธิต่ำมาก + P/E ต่ำ 10 เท่า และเงินปันผลสูงเกือบ 5%

 

(0) การประชุมผู้นำ G-20 กังวลนโยบายกีดกันการค้าและการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐ
  ปัจจัยต่างประเทศที่ให้น้ำหนักสัปดาห์นี้ คือ การกล่าวสุนทรพจน์ของ นางเจเน็ต เยลเลน ประธาน Fed (ที่ Washington, D.C.) 23 มี.ค. นี้ ซึ่งเชื่อว่ายังมีความเชื่อมั่นต่อ เศรษฐกิจสหรัฐ และเงินเฟ้อที่ยังพุ่งขึ้นต่อเนื่องมากกว่าที่ Fed คาด น่าหนุนให้ Fed ขึ้นดอกเบี้ยต่อในช่วงที่เหลือ (ประชุม Fed ที่เหลืออีก 6 ครั้งในปีนี้ น่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งราว 0.5% และในปี 2561 คาดว่าจะขึ้น 3 ครั้ง 0.75%) หลังขึ้นแล้ว 0.25% (เป็น 0.75-1.0%) ในการประชุมรอบที่ผ่านมา หนุนให้ค่าเงิน Dollar index ให้มีทิศทางแข็งค่าในระยะกลาง-ยาว

  ขณะที่ประเด็นการกีดกันการค้าของประธานาธิบดี ทรัมป์ ยังสร้างความกังวลต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการขึ้นภาษีสินค้านำเข้า(Import tax) หลังเตรียมจัดเก็บกับเม็กซิโกเป็นประเทศแรก (จะขึ้นภาษีนำเข้าราว 20% เพื่อนำไปสร้างกำแพงกั้นพรมแดนสหรัฐ-เม็กซิโก) และหลังจากนี้จะเลือกจัดเก็บ ประเทศที่สหรัฐได้ดุลการค้ากับสหรัฐ คือ จีน เยอรมนี และ ญี่ปุ่น เป็นต้น เห็นได้จากที่มีบางประเทศออกมามาตรการตอบโต้หากสหรัฐขึ้นภาษีนำเข้า สะท้อนได้จากการประชุมรัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 20 ชาติ หรือ (G20) ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา (ประกอบด้วย สหรัฐ เยอรมนี อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เยอรมนี รัสเซีย ออสเตรเลีย บราซิล จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก อาร์เจนตินา ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ และตุรกี เป็นต้น) ทางเยอรมนี แสดงความเห็นว่าจะฟ้องสหรัฐ (ต่อ องค์การการค้าโลก/ WTO) หากสหรัฐเรียกเก็บภาษีนำเข้า 35% กับบริษัท BMW ค่ายรถใหญ่ของเยอรมนี ตามที่ทรัมป์ หาเสียงไว้


  นอกจากนี้ ผลการประชุม G20 ส่วนใหญ่กังวลต่อ ค่าเงินโลกที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังสหรัฐนำร่องขึ้นดอกเบี้ย และดึงให้ธนาคารกลางอื่น ๆ ขึ้นดอกเบี้ยตาม สะท้อนได้จาก ธนาคารกลางโลกอีกหลายแห่ง ได้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายตามสหรัฐได้แก่ ธนาคารกลางจีน (PROC) ขึ้นดอกเบี้ย(repo 7 วัน ) ทันที 0.1% และที่เหลืออีก 4 แห่งขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เท่าๆ กันคือ ธนาคารกลางฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต และ บาห์เรน เพื่อลดผลกระทบจาก Fund Flow ไหลออก

 

(-) ผลประกอบการใน 1Q60 หุ้น Domestic Play เด่นกว่า หุ้น Global
  กำลังสิ้นสุดเดือน มี.ค. คาดการณ์ผลประกอบการงวด 1Q60 ของบริษัทจดทะเบียนเริ่มมีน้ำหนักต่อตลาด โดยหุ้นที่อิงเศรษฐกิจในประเทศน่าจะมีสัญญาณที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับงวด 4Q59 เริ่มจาก :


  กลุ่มธนาคารพาณิชย์ จะเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับความสนใจนักวิเคราะห์ เพราะสามารถอ่านงบย่อจากการรายงาน ธ.พ. 1.1. ที่รายงาน ธปท. ได้ทุกสิ้นเดือน ในเบื้องต้นจากการประเมินผลโดยการสอบถามนักวิเคราะห์กลุ่มธนาคารพาณิชย์ของ ASP สรุปว่าผลประกอบการในงวด 1Q60 น่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับจากงวด 4Q59 เพราะต้นทุนโดยรวมน่าจะลดน้อยลง ทั้งค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ลดลงตามฤดูกาล และ การตั้งสำรองฯ ที่แผ่วเบาลง จากความกังวลต่อเศรษฐกิจในประเทศที่ลดลง ขณะที่แนวโน้มดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้นน่าจะหนุน NIM ให้มีแนวโน้มทรงตัวในระยะสั้น ๆ แต่น่าจะดีขึ้นในไตรมาสถัดไป โดยเฉพาะ BBL ([email protected]) และ KTB ([email protected]) ซึ่งมีสัดส่วนดอกเบี้ยสินเชื่อลอยตัว 66% และ 74% เทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากที่ลอยตัว 54% และ 66% มี gap ที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น นอกจากนี้ทั้ง 2 แห่งยังเป็น net lender ในตลาดปล่อยกู้ระหว่างธนาคาร โดย BBL ปล่อยสินเชื่อส่วนนี้ 2 แสนล้านบาท หรือราว 10% ของสินเชื่อ และ KTB คิดเป็น 14% ส่วนธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อื่นๆ อาจจะไม่ได้ประโยชน์/เสียประโยชน์เล็กน้อยเพราะอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลอยตัวน้อยกว่าต้นทุนดอกเบี้ยเงินฝากลอยตัว แต่สามารถปรับตัวได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น SCB(FV@B178) และ KBANK ([email protected]) มีสัดส่วน สินเชื่อลอยตัว 51% และ 60% เทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากที่ลอยตัว 57% และ 72% ตามลำดับ


  และหากพิจารณาด้านความเหมาะสมของราคาหุ้นปัจจุบันถือว่า SCB น่าสนใจมากสุดทั้ง PBV และ PER ที่ต่ำเพียง 1.1 เท่า และ 10 เท่า ตามลำดับ เลือก SCB เป็น Top pick
  และกลุ่มค้าปลีก ในงวด 1Q60 คาดว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากงวด 4Q59 ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในช่วงเหตุการณ์ปลายปี 2 เดือน ปัจจัยที่สนับสนุนความเชื่อว่าจะฟื้นตัวสะท้อนได้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) ที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ต่อ 3 เดือนติดต่อกัน (ธ.ค.2559-ก.พ. 2560) โดย CCI ในเดือน ก.พ. 2560 ขยับขึ้นสูงกว่า ก.พ. 2559


  และหากพิจารณาผลประกอบการรายหุ้น คาดว่ามิได้เกิดจากยอดขายที่กระเตื้องขึ้นเป็นจากสาขาเดิม เหมือนในอดีต แต่น่าเป็นผลจากปรับกลยุทธ์การขายเป็นหลัก หนุนกำไรกลุ่มเติบโตราว 24% จากปี 2559 หลัก ๆ มาจาก BJC(FV@B57) เป็นผลจากการควบรวมกับ BIGC (BJC ถือหุ้น 98.74%) ประสิทธิภาพการทำกำไรมาจาก BIGC ซึ่งเพิ่มสินค้า house brand/private brand และยกเลิกสินค้าที่มี margin ต่ำ เช่น สุราและบุหรี่ ในรูปแบบค้าส่ง นอกเหนือจากค่าใช้ดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง หลังนำเงินเพิ่มทุนไปชำระคืนหนี้ในปีที่ผ่านมาทำให้ EPS Growth ปีนี้ 25% และ 11% ในปี 2561
  ตามมาด้วย ROBINS(FV@B79) ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำกำไร ผ่านการเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นและเด็กเป็นเป้าหมายหลัก ด้วยการกำหนดราคาขายปานกลาง แต่เน้นจัดหาสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ (Private brand และ Exclusive brand) ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มสัดส่วนจากปัจจุบัน 11% ของยอดขายรวม เป็น 15% ในปีนี้ และปรับรูปแบบการดำเนินงานสาขาจากเดิมที่เน้นพื้นที่ขาย เป็นเน้นพื้นที่เช่ามากขึ้น เพื่อรองรับ Lifestyle ของคนรุ่นใหม่ (Lifestyle mall คิดเป็น 2/3 ของพื้นที่แต่ละสาขา) ซึ่งปัจจุบันรูปแบบ Lifestyle mall ปัจจุบันมีราว 18 สาขาจากทั้งหมด 44 สาขา และปี 2560 จะเพิ่มเป็น 20 สาขา จากเป้าหมาย 47 สาขา ช่วยหนุนให้ EPS Growth ปี 2560-2561 เพิ่มเฉลี่ยราว 14.5% ต่อ และหากพิจารณาในด้าน PER มีแนวโน้มลดลงเหลือ 21 เท่าในปีนี้ และ 18.4 เท่าในปีหน้า
  HMPRO([email protected]) เน้นสินค้าที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำกำไร ผ่านการสร้างสินค้า ภายใต้ brand ของตนเอง หรือ “Private Brand” โดยสัดส่วนการซื้อสินจาก suppliers ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 18.7% ของยอดขายรวม และ ตั้งเป้าหมายเป็น 20% ในปีนี้ นอกจากนี้นำกลยุทธ์ดังกล่าวไปใช้กับบริษัทย่อย ซึ่งขายวัสดุก่อสร้างกระจายตัวทั้งในกทม. ปริมณฑล และ ตจว. คือ MegaHome (HMPRO ถือหุ้น 99.9% ) โดยรวมทำให้คาดว่า EPS Growth อยู่ที่ราว 20% ในปี 2560 และ 16% 2561
  ทั้งนี้ยกเว้น CPALL([email protected]) ที่ขายปลีก เจาะลูกค้าเป้าหมายรายย่อยหรือใกล้บ้าน ทำให้เห็นการเติบโตจากสาขาเดิม จึงมีนโยบายเติบโตจากการขยายสาขายปีละ 700 แห่ง ต่อไป โดยสิ้นปีนี้ จะมีทั้งหมด 10,242 แห่ง ปี 2559 ยอดขายจากสาขาเดิม หรือ SSSG ยังคงเป็นบวก 2.4% ในปี และคาดว่าจะอยู่ที่ 3 % ปี 2560- 2561 โดยรวม EPS growth เฉลี่ย 16% ในปี 2560-2561
ตามด้วย กลุ่มบันเทิง น่าจะมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นจากงวด 4Q59 โดยเฉพาะผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ซึ่งได้รับผลกระทบหนักสุดในเหตุการณ์ปลายปี 2559 รายได้ค่าโฆษณาชะลอตัวลง การแข่งขันที่รุนแรง หลังมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามามาก ขณะที่ต้นทุนค่าใบอนุญาตที่ตัดจ่ายในแต่ละปีสูงกว่ารูปแบบสัมปทานเดิมมาก กดดันให้ผลประกอบการกลุ่มบันเทิงโดยรวมขาดทุนในงวด 4Q59 และส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายรายเปลี่ยนจากที่เป็น net cash position เป็น Net Gearing Ratio ณ สิ้นปี 2559 อาทิ BEC และ RS
  สำหรับ 2M60 พบว่าเม็ดเงินโฆษณารวมจะหดตัวลง 4.5%yoy เนื่องจากเอเจนซี่โฆษณาส่วนใหญ่ ชะลอการเซ็นสัญญาโฆษณาล่วงหน้ากับช่องทีวีอนาล็อกไปจนถึงเดือน มี.ค. 2560 แต่อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวระยะสั้น ๆ บางในบางสื่อ เช่น สื่อภายในร้านค้า สื่อโรงภาพยนตร์ สื่อนอกบ้าน สื่อบนระบบขนส่ง และสื่อทีวีดิจิตอล และเชื่อว่าเมื่อเอเจนซี่ทยอยกลับมาเซ็นสัญญาโฆษณาในเดือน มี.ค. ดังกล่าว ก็น่าจะทำให้เม็ดเงินโฆษณารวมมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง และจะฟื้นตัวเต็มที่ใน 2Q60 แต่อย่างไรก็ตามภาพโดยรวมคาดว่าผู้ประกอบการดิจิตอล ที่จะอยู่รอดในระยะยาวมีน้อยราย คือ WORK, RS, BEC (ไม่รวมโรงภาพยนตร์ MAJORและสื่อนอกบ้าน PLANB ที่อยู่รอดได้ด้วยธุรกิจของตนเอง) จึงเลือก WORK (FV@B64) เป็น top pick กลุ่มทีวีดิจิตอล เพราะเรทติ้งพุ่งขึ้นต่อเนื่อง ทำให้มีแนวโน้มปรับค่าโฆษณาได้สูงกว่าเป้า หนุนผลประกอบการปี 2560 โตได้กว่า 1.8 เท่า ดีสุดในกลุ่ม
  ตรงกันข้ามกับกลุ่มที่อิงเศรษฐกิจภายนอก (Global Play) น่าจะมีแนวโน้มทรงตัว หรืออ่อนตัวเล็กน้อย เมื่อเทียบกับงวด 4Q59 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบโลกที่ชะลอตัวลงมาเคลื่อนไหวในกรอบ 50 เหรียญ ฯ ต่อบาร์เรล เทียบกับที่ทรงตัวในระดับ 55 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลในช่วงเดือนสุดท้ายของปี 2559 ทำให้โอกาสที่เกิด stock loss หรือหากมี stock gain ก็เพียงเล็กน้อย ขณะที่ค่าการกลั่นหลังจากผ่านช่วงฤดูหนาวไปแล้ว มีแนวโน้มอ่อนตัวลงมาแต่ก็ยังทรงตัวได้จากโรงกลั่นหลายแห่งทั่วโลกจะมีการหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมบำรุงหลังจากเดินเครื่องเต็มที่ไปแล้วในช่วงฤดูหนาว และทิศทางค่าการกลั่นในงวด 3Q60 ต่อเนื่องถึงต้นงวด 4Q60 คาดจะอ่อนตัวลงเพราะเป็นช่วง low season ของธุรกิจโรงกลั่น จึงทำให้ธุรกิจโรงกลุ่มดูไม่โดดเด่นนัก ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมี น่าจะดีกว่าโรงกลั่น โดยเฉพาะปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ทีแม้ปีนี้ยังอยู่ในสถานะ oversupply แต่ด้วย demand ที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว ทำให้ความต้องการใช้ทันกับ supply ใหม่ที่เกิดขึ้น ตรงข้ามกับสายอะโรเมติกส์จะยังถูกกดดันมากที่สุดเพราะยังคงมี supply ผลิตภัณฑ์พาราไซลีน (Px) ใหม่ทยอยเกิดขึ้นตลอดทั้งปี 2560 โดยรวมฝ่ายวิจัยยังเลือกธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์มากกว่า
  สำหรับคำแนะนำในหุ้นกลุ่ม Global Play จึงแนะนำหุ้นที่มี EPS Growth สูงหรือใกล้เคียง EPS Growth ตลาด พร้อมกับ PER ต่ำ และเงินปันผลสูง เช่น PTTGC ([email protected]) คาดกำไรสุทธิเติบโต 11.5%yoy จากการกลับมาเดินเครื่องเต็มที่ของทั้งโรงงานปิโตรเคมี และโรงกลั่น หลังจากในปี 2559 มีการหยุดเดินเครื่องทั้งที่เป็นไปตามแผน และไม่เป็นไปตามแผนค่อนข้างมาก ขณะที่เงินปันผลอยู่ในระดับสูงกว่า 4% และมี P/E ต่ำเพียง 10 เท่า และ IRPC ([email protected]) คาดกำไรปี 2560 จะเติบโตราว 5.4%yoy ซึ่งอาจจะไม่โดดเด่นมากนักเนื่องจากในปี 2560 IRPC มีแผน shutdown ในงวด 1Q60 กว่า 1 เดือน ซึ่งจะกดดันให้อัตราเดินเครื่องผลิตของทั้งปี 2560 อยู่เพียง 1.8 แสนบาร์เรลต่อวัน แต่ทั้งนี้คาดหลังจาก shutdown แล้วเสร็จโรงกลั่นจะกลับมาเดินเครื่องด้วย UHV เต็มกำลัง ซึ่งจะเป็นการยกระดับฐานกำไรสู่ฐานใหม่หลังโครงการ UHV แล้วเสร็จอย่างเต็มตัว

(+) ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคทุกประเทศ แต่น่าจะระยะสั้นเท่านั้น
  วันศุกร์ที่ผ่านมาต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ด้วยมูลค่าสูงถึง 928 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิสูงสุดในรอบ 8 เดือนที่ผ่านมา) และเป็นการซื้อสุทธิทุกประเทศ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคกว่า 472 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ 221 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 10) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 187 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 9), ฟิลิปปินส์ 3 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) และไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 45 ล้านเหรียญ หรือ 1.57 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 409 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6)
  อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเงินทุนต่างชาติอาจไหลเข้าตลาดหุ้นเอเชียเพียงระยะสั้นเท่านั้น หลังตลาดฯตอบรับประเด็น Fed ขึ้นดอกเบี้ยฯตามคาด และตราบใดที่ Fed ยังคงเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ น่าจะกดดันให้ Fund Flow กลับมาไหลออกอีกครั้ง ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 3.39 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 977 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)

(0) กลยุทธ์การลงทุนยังให้เน้นหุ้นที่มีหนี้สินสุทธิต่ำ/เงินสดสุทธิ : LPH, BLA, STEC
  เพื่อลดผลกระทบจากแนวโน้มดอกเบี้ยโลกที่กำลังปรับขึ้น แนะนำให้เลือกหุ้นที่มีหนิ้สินสุทธิต่ำๆ หรือ ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น ได้แก่ BBL, KTB, BLA, ROBINS, PTTGC, เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทที่มีฐานะเป็นเงินสดสุทธิ ซึ่งกระจายอยู่ในกลุ่มต่าง ๆ น่าจะได้ประโยชน์ได้แก่ RATCH, MCS, BH, AIT, AOT, STANLY, IRC, STEC, LPH, RJH เป็นต้น

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!