WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
  ดอกเบี้ยเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้น น่าจะกดดัน กนง. ขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้ ซึ่งน่าจะกดดัน fund flow ไหลออกต่อเนื่อง กลยุทธ์ให้เน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์ หรือกระทบจากดอกเบี้ยขาขึ้นน้อย (BBL, KTB, BLA, ROBINS, TASCO, AIT, STEC) Top picks ROBINS (FV@B79) และ BLA(FV@B60)

 

(0) Fed ขึ้นดอกเบี้ยตามคาด..มีโอกาสขึ้นอีก 0.75% ภายในปีนี้
  ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) วานนี้เป็นไปตามตลาดคาดคือ ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% (ที่ 0.75%) เพราะดัชนีชี้นำเศรษฐกิจทั้งภาคการผลิตและการบริโภคยังคงแข็งแกร่ง และเงินเฟ้อที่พุ่งสูงกว่าเป้าหมายที่คาดไว้ 2% โดยล่าสุดเดือน ก.พ เพิ่มขึ้นมาที่ 2.7%yoy จาก 2.5% ม.ค. และ 2.1% ธ.ค. 59 และคาดหมายว่าในการประชุม Fed ที่เหลืออีก 6 ครั้งในปีนี้ น่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งรวมทั้งปี 2560 ราว 0.75% เป็น 1.5% ณ สิ้นปี และในปี 2561 คาดว่าจะขึ้นอีก 3 ครั้งรวม 0.75% เป็น 2.25% ภายใต้สมมติฐานเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.9%yoy ปี 2560 และ 2.0% ปี 2561 ขณะที่ GDP Growth อยู่ที่ 2.1% ในปี 2560-61 และอัตรการว่างงาน อยู่ที่ 4.5% ทั้ง 2 ปี เป็นที่สังเกตว่าก่อนประกาศขึ้นดอกเบี้ยนั้น Dollar Index ได้ทยอยปรับฐานนับจากปลายเดือน ก.พ. เป็นต้นมา คือจากระดับ 103 จุด ลงมาแก่งตัวในระดับที่ใกล้ 100 จุด หรือ อ่อนค่าเกือบ 3% ตรงข้ามกับ เงินยูโร กลับมาแข็งค่ารอบใหม่ ล่าสุดอยู่ 1.0735 ยูโร ต่อ ดอลลาร์หรือ แข็งค่า 2% นับจากจุดต่ำสุดในช่วงต้นเดือน มี.ค. เป็นต้นมา ทั้งนี้นอกเหนือจากตลาดรับรู้เรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐแล้ว ประเด็น Brexit ที่ชัดเจนมากขึ้น คือ สภาสูงอังกฤษผ่านร่างกฎหมายการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป ทำให้นายกฯ อังกฤษ สามารถเข้าสู่การเจรจากับ EU ตามมาตรการ 50 ของสนธิสัญญาลิสบอน (ภายสิ้นเดือนนี้ 27-30 มี.ค. แม้ต้องใช้เวลา 2 ปี)
  ขณะที่ผลการเลือกตั้งทั่วไปที่เนเธอร์แลนด์ วานนี้ผลออกมาอย่างไม่เป็นทางการ พบว่าพรรคเสรีนิยม (VVD) ของนาย Mark Rutte นายกฯ เนเธอร์แลนด์ได้คะแนนนำคือ 31 ที่นั่งจากทั้งหมด 150 ที่นั่ง ยังห่างพรรคฝ่ายขวาจัด (PVV) นำโดยนาย Geert Wilders หัวหน้าพรรค ซี่งมีแนวความคิดจะนำเนเธอร์แลนด์ออกจากสหภาพยุโรป ซึ่งได้เก้าอี้ในสภาน้อยกว่าคาดเพียง 19 ที่นั่ง ทำให้ตลาดลดความกังวลที่เนเธอร์แลนด์จะออกจากสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตามยังคงมีความเสี่ยงจากเลือกตั้งในฝรั่งเศส ในเดือนหน้ารอบแรก 23 เม.ย. และรอบที่สอง 7 พ.ค. ซึ่ง ผู้นำพรรคฝ่ายขวาจัด (นำโดยนาง Marine Le Pen) มีแนวความคิดจะนำฝรั่งเศสอออกจากยุโรปเช่นกัน ซึ่งยังเป็นปัจจัยกดดันต่อค่าเงินยูโรให้อ่อนค่าต่อเนื่องในระยะยาว หลังจากที่อ่อนค่าแล้ว 6% ตั้งแต่เหตุการณ์ Brexit เป็นต้นมา

(-/+) ดอกเบี้ยขาขึ้นดีต่อ BBL, BLA, ROBINS, AIT, STEC
  วัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นได้เริ่มต้นแล้ว หลังจากที่สหรัฐประกาศขึ้นดอกเบี้ยไปในการประชุมรอบล่าสุด ซึ่งแน่นอนกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาที่พึ่งพาเงินทุนไหลจากต่างประเทศ ทั้งรูปการกู้ยืม และตลาดหุ้น โดยคาดว่าจะทำให้สภาพคล่องส่วนเกินที่มีอยู่ในระดับหลายแสนล้านบาท ค่อย ๆ ลดลงในช่วงที่เหลือของปีนี้ ประกอบกับปัญหาเงินเฟ้อที่สูงขึ้นทั่วโลก จากต้นทุนราคาน้ำมันดิบโลกที่กระเตื้องขึ้นจากปีที่ผ่านมาและอยู่ในระดับที่เหลือ 50 เหรียญฯ ต่อ บาร์เรล โดยเงินเฟ้อไทย เดือนก.พ. อยู่ที่ 1.44% เทียบกับ 1.55% เดือน ม.ค. ขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 1.5% ทำให้ช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยฯกับเงินเฟ้อเริ่มลดลง แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นจึงกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะผู้ที่พึ่งพาการกู้ยืม และมีต้นทุนการกู้ยืมมีสัดส่วนดอกเบี้ยลอยตัวสูง ขณะที่ผลตอบแทน / ราคาขายปรับเพิ่มไม่ได้หรือได้น้อย ได้แก่
  ธุรกิจการเงินรายย่อยในกลุ่ม leasing/hire purchase เนื่องจากมีสัดส่วนของหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะบริษัทโครงสร้างต้นทุนดอกเบี้ยเป็นอัตราลอยตัวในสัดส่วนสูง คือ S11 ต้นทุนดอกเบี้ยลอยตัว 77% รองลงมาคือ ASK และ THANI ต้นทุนดอกเบี้ยลอยตัว 35% และ 30% ตามลำดับ ขณะที่ SAWAD ได้รับผลกระทบปานกลาง เนื่องจากต้นทุนดอกเบี้ยลอยตัวอยู่ที่ 28%
  ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง/เล็ก เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวน้อยกว่าสัดส่วนต้นทุนเงินฝากที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว คือ BAY สัดส่วนสินเชื่อลอยตัวเพียง 4% ขณะที่ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายลอยตัวสูงถึง 53% ตามมาด้วย TMB สินเชื่อดอกเบี้ยลอยตัว 53% ขณะที่ต้นทุนลอยตัว 77% ถัดมาคือ KKP สินเชื่อดอกเบี้ยลอยตัว 28% ต้นทุนดอกเบี้ยลอยตัว 64% และ TISCO สินเชื่อดอกเบี้ยลอยตัวเพียง 11% ขณะที่ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายลอยตัว 38% ส่วน TCAP อาจจะกระทบปานกลางเพราะดอกเบี้ยสินเชื่อลอยตัว 38% ขณะที่ต้นทุนลอยตัว 45% แต่อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลง กระทบต่อ NIM มิใช่ปัจจัยกำหนดแนวโน้มกำไรอย่างเดียว แต่ยังขึ้นกับการปล่อยสินเชื่อของแต่ละธนาคาร ซึ่งต้องพิจารณาจากอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (Loan to Deposit Ratio) ด้วย หากการลงทุนเดินหน้าตามแผนภาครัฐ คาดว่าน่าจะมีน้ำหนักหักล้างเรื่องดอกเบี้ยได้
  กลุ่มสื่อสาร โดยเฉพาะผู้ให้บริการมือถือ คือ DTAC และ TRUE ที่มีภาระหนี้สินส่วนหนึ่งกับสถาบันการเงินที่เป็นดอกเบี้ยลอยตัว จึงอาจจะกระทบจากดอกเบี้ยที่กำลังเปลี่ยนเป็นขาขึ้น รวมทั้งสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่รุนแรง และต้นทุนทางการตลาดและต้นทุนใบอนุญาตที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้รายได้เพิ่มขึ้นไม่ทันค่าใช้จ่าย ขณะที่ THCOM และ JAS ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากภาระหนี้สินมาจากการกู้ยืมจากสถาบันการเงินซึ่งเกินกว่าครึ่งเป็นดอกเบี้ยลอยตัว
  กลุ่มสายการบิน ด้วยลักษณะของธุรกิจที่ต้องลงทุนในฝูงบิน ทำให้ภาระหนี้ที่มีดอกเบี้ยค่อนข้างสูง โดยเฉพาะ THAI ที่มี net gearing ratio 4.6 เท่า เป็นการกู้ยืมกับสถาบันการเงิน ซึ่งมีดอกเบี้ยลอยตัวราว 40% ของหนี้สินรวม 1.67 แสนล้านบาท ที่เหลือ 60% เป็นการหุ้นกู้ ซึ่งดอกเบี้ยคงที่ แต่ด้วยหนี้สินจำนวนมากภาระดอกเบี้ยจึงถือเป็นปัจจัยกดดันต่อเนื่อง
  กลุ่มบันเทิง ผู้ประกอบการกลุ่มบันเทิงที่ทำธุรกิจทีวี ทั้งดิจิตอล และ ระบบสัมปทานเดิม มี Net Gearing Ratio ณ สิ้นปี 2559 สูงขึ้นจากปี 2558 มาก เนื่องจากรายได้ค่าโฆษณาที่ไม่สามารถปรับขึ้นตามต้นทุนที่สูงจากภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง ทั้ง BEC และ RS มี Net Gearing Ratio ที่ 0.48 เท่า และ 0.32 เท่า ตามลำดับ ยกเว้น WORK มีฐานะการเงินดีที่สุดโดย Net Gearing Ratio ลดลงจากระดับ 0.50 เท่า ในปี 2558 มาอยู่ที่ 0.38 เท่าในปี 2559 ส่วนผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์อย่าง MAJOR Net Gearing Ratio เพิ่มขึ้นจาก 0.6 เท่า ในปี 2558 มาอยู่ที่ระดับ 0.70 เท่า ในปี 2559 เนื่องจากมีการขยายโรงภาพยนตร์อย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก

กลุ่มที่ได้ผลกระทบปานกลาง
  กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เพราะมี Net Gearing ค่อนข้างสูง และหนี้สินส่วนใหญ่เป็นหนี้หมุนเวียน/ระยะสั้น จึงกระทบต่อดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้นในช่วงสั้น ๆ โดยเฉพาะ ITD และ CK มี net Gearing ratio ประมาณ 2.2 และ 2 เท่า ตามลำดับ และมีสัดส่วนสินเชื่อที่มีดอกเบี้ยลอยตัวราว 61% และ 50% ตามลำดับ ซึ่งจะผันผวนตามภาวะตลาด จึงทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายแต่ละปีค่อนข้างสูง รองลงมาคือ UNIQ ยกเว้นบริษัทรับเหมาขนาดใหญ่อย่าง STEC ที่เป็น Net cash จึงได้รับผลกระทบจำกัด และปลอดภัยในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ส่วนหุ้นรับเหมาก่อสร้างขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีฐานเงินสดสุทธิเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ STPI, BJCHI, PYLON และบางบริษัทจะมี net gearing ต่ำมาก เช่น SYNTEC 0.11 เท่า และ SEAFCO 0.23 เท่า

กลุ่มที่ได้ผลกระทบน้อย
  กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ส่วนใหญ่มี Net Gearing Ratio ในระดับปานกลาง และภาระหนี้สินส่วนใหญ่เป็นดอกเบี้ยคงที่ มีลอยตัวเป็นส่วนน้อย คือ SCC, TPIPL, VNG ขณะที่ TASCO, DRT และ DCC มีภาระดอกเบี้ยจ่ายในระดับต่ำ
กลุ่มเหล็กและ ผลิตภัณฑ์เหล็ก ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนส่วนใหญ่มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง หรือมีฐานเป็นเงินสดสุทธิแทบทั้งสิ้น คือ MCS, TMT, SMIT
  กลุ่มส่งออกอาหาร แม้ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเน้นการซื้อลงทุนขยายกิจการในต่างประเทศ จึงมี net gearing ratio อยู่ในระดับปานกลาง แต่สัดส่วนหนี้สินที่เป็นดอกเบี้ยลอยตัวไม่สูงมาก จึงไม่กระทบ เช่น CPF หนี้สินราว 20% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว TU หนี้สินราว 30% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว GFPT CPF หนี้สินราว 10% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ยกเว้น TFG หนี้สินราว 80% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว จึงได้รับผลกระทบดอกเบี้ยขาขึ้น
  กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ส่วนใหญ่จะมี net gearing ratio ไม่เกิน 1 เท่า และส่วนใหญ่ก็จะกู้ยืมด้วยวิธีการออกหุ้นกู้จึงมีผลกระทบน้อย เช่น SC 1 เท่า SIRI 1.15 เท่า QH 0.99 เท่า และ SPALI 0.9 เท่า
  กลุ่มโรงพยาบาล เพราะแม้มีความต้องการลงทุนเครื่องมือและขยายกิจการสูง แต่ก็เป็นธุรกิจที่มีกระแสเงินจากการดำเนินงานสูง (CFO หรือ Cash Flow From Operation) ทำให้การก่อหนี้สินไม่สูงมาก เช่น BCH และ BDMS มี net gearing เพียง 0.56 เท่า หรือ บางบริษัทมีฐานะเป็นเงินสดสุทธิ ได้แก่ RJH, LPH, BH และ CHG
  กลุ่มค้าปลีก ดังที่กล่าวไปเมื่อวานนี้ว่า ลักษณะธุรกิจที่มีกระแสเงินจากการดำเนินงานสูง รองรับการขยายสาขาได้อย่างสบายๆ โดยไม่จำเป็นต้องกู้ยืมมาก คือ HMPRO, ROBINS และ COM7 มี net gearing ratio 0.75 เท่า, 0.06, 0.15 เท่า ตามลำดับ
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่มีฐานเป็นเงินสดสุทธิคือ DELTA, HANA, SVI จึงน่าจะได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยขาขึ้นจำกัดมาก ยกเว้น KCE แม้มี net gearing ratio อยู่ที่ 0.36 เท่า แต่ก็ถือว่าอยู่ในระดับต่ำ จึงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
  กลุ่มยานยนต์ ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีโครงสร้างการเงินปลอดภัย ส่วนใหญ่มีสถานะเป็น Net Cash คือ STANLY, IRC และ PCSGH ขณะที่ IHL, AH และ SAT แม้มีภาระหนี้สิน แต่ Net Gearing ยังอยู่ระดับต่ำที่ 0.86 , 0.34 และ 0.06 เท่าตามลำดับ
  ธุรกิจโรงกลั่น และ ปิโตรเคมี ส่วนใหญ่ Net Gearing Ratio อยู่ในระดับปานกลาง คือ น้อยกว่า 1 เท่า ยกเว้น IVL ที่สูง 1.09 เท่า เพราะนโยบายการลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะการซื้อกิจการหรือโรงงาน เพื่อขยายฐานการผลิตในต่างประเทศ โดย IRPC อยู่ที่ 0.75 เท่า ส่วน TOP และ PTTGC ต่ำเพียง 0.1 เท่า และ 0.38 เท่า ตามลำดับ และหากพิจารณาโครงสร้างสินเชื่อที่อิงกับดอกเบี้ยลอยตัวก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกับดอกเบี้ยคงที่ ยกเว้น TOP และ PTTGC ที่มีดอกเบี้ยลอยตัวน้อย ยิ่งปลอดภัยในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น
  ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการโรงไฟฟ้ามี Net Gearing ค่อนข้างต่ำ เช่น RATCH มี Net Gearing ต่ำมากเพียง 0.08 เท่า
  ตรงกันข้ามกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้นน่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ คือ BBL ([email protected]) สินเชื่อลอยตัว 66% เทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากที่ลอยตัว 54% และ KTB ([email protected]) สินเชื่อลอยตัว 74% เทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากที่ลอยตัว 66% นอกจากนี้ทั้ง 2 แห่งยังเป็น net lender ในตลาดปล่อยกู้ระหว่างธนาคาร โดย BBL ปล่อยสินเชื่อส่วนนี้ 2 แสนล้านบาท หรือราว 10% ของสินเชื่อ และ KTB คิดเป็น 14% ส่วนธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่เหลือได้ประโยชน์น้อย เพราะอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลอยตัวน้อยกว่าต้นทุนดอกเบี้ยเงินฝากลอยตัวเล็กน้อย เช่น SCB(FV@B178) มีสัดส่วน สินเชื่อลอยตัว 51% เทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากที่ลอยตัว 57% และ KBANK ([email protected]) สินเชื่อลอยตัว 60% เทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากที่ลอยตัว 72% แต่คาดว่าจะปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุลไม่ยากนัก
ตามมาด้วยประกันชีวิต น่าจะได้ประโยชน์ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น เพราะภาระหนี้สินที่เกิดจากการถือกรมธรรม์ระยะยาว ทำให้ต้องนำเงินที่ได้ดังกล่าวไปลงทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนให้คุ้มค่ากับภาระหนี้สินดังกล่าว ซึ่งตามมาตรฐานการบัญชี ภาวะดอกเบี้ยที่กำลังเปลี่ยนเป็นขาขึ้น คปภ. ได้กำหนดแนวทางในการคำนวณ มูลค่าหนี้สินที่เกิดขึ้นในอนาคต มาเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ โดยกำหนดอัตราคิดลด โดยใช้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ย้อนหลัง 8 ไตรมาส โดยยิ่ง bond yield curve ดีดตัวสูงขึ้นจะทำให้อัตราคิดลด หรือ discount rate เพิ่มขึ้น ทำให้ภาระหนี้สินลดลง และส่งผลให้ภาระค่าใช้จ่ายสำรองเบี้ยฯ ลดลง หรืออาจะมีโอกาสโอนกลับเงินสำรองเป็นรายได้ ดีต่อ BLA(FV@B60) ส่วน THREL ([email protected]) รับประกันภัยต่อแต่มีเบี้ยประกันเป็นรายปี และ BKI (FV@B400) ทำธุรกิจประกันวินาศภัย เบี้ยประกันฯ แบบปีต่อปี จึงไม่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้นเช่นกัน
  นอกจากนี้บริษัทที่มีฐานะเป็นเงินสดสุทธิ ซึ่งกระจายอยู่ในกลุ่มต่าง ๆ น่าจะ ได้ประโยชน์ได้แก่ RATCH, RJH, MCS, BH, AIT, AOT, STANLY, IRC, STEC เป็นต้นดังตารางด้านล่าง

หุ้นที่มี Upside สูง และมีสถานะเป็นเงินสดสุทธิ
(-) ต่างชาติขายหุ้นไทยสูงสุดในภูมิภาค
  วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อยราว 31 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) โดยเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิราว 91 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8) ตามมาด้วยไต้หวัน 8 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และอินโดนีเซีย 17 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติขายสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์ขายสุทธิราว 16 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และไทยที่ขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคกว่า 70 ล้านเหรียญ หรือ 2.46 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 2.81 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4)
  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯสลับมาขายสุทธิราว 134 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกันถึง 14 วัน) เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิราว 1.9 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)

(+) ราคาน้ำมันฟื้นตัว หลังสต็อกน้ำมันลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 9 สัปดาห์
  สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ฟื้นตัวเป็นครั้งแรก หลังจากปรับตัวลดลงติดกันกว่า 5 วัน โดยวานนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.14 เหรียญฯต่อบาร์เรล หรือราว 2.38% มาอยู่ที่ 48.86 เหรียญฯต่อบาร์เรล และยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในเช้านี้ หลังจากสำนักงานสารสนเทศพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์สิ้นสุด 15 มี.ค. 60 ปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 9 สัปดาห์ ราว 0.237 ล้านบาร์เรล และยังน้อยกว่าที่ตลาดฯคาดไว้มาก โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 3.713 ล้านบาร์เรล
  นอกจากนี้ยังเชื่อว่าราคาน้ำมันดิบโลก มีแนวโน้มกลับมายืนเหนือระดับ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรลได้ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการร่วมมือกันตัดลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC โดยคาดว่าทำให้ปริมาณความต้องการ และอุปทานน้ำมันเข้ามาสู่จุดสมดุลได้ในกลางปีนี้ ซึ่งสังเกตได้ว่าในเดือน ก.พ. 2560 กลุ่ม OPEC มีการลดกำลังการผลิตน้ำมันลงอีก 6.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน โดยเฉพาะซาอุดิอาระเบีย และอิรักที่ลดกำลังการผลิตลง 9.0 หมื่นบาร์เรลต่อวัน และ 5.0 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ (ทั้ง 2 ประเทศมีสัดส่วนการผลิตน้ำมันรวมกันกว่า 44.2% ของประเทศทั้งหมดในกลุ่ม OPEC) ส่งผลให้กำลังการผลิตน้ำมันในเดือน ก.พ. 2560 ลดลงมาอยู่ที่ 32.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน แม้จะปรับลดน้อยกว่าในเดือน ม.ค. ที่ 8.9 แสนบาร์เรลต่อวัน แต่ยังถือเป็น sentiment เชิงบวก และหนุนหุ้นในกลุ่มน้ำมันอย่าง PTTEP (FV@B116) และ PTT (FV@B460)

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!