- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 10 March 2017 17:30
- Hits: 3092
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
Fund Flow ไหลออกตามความคาดหวัง Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์หน้า กระทบตลาดหุ้นโลก รวมถึงไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่พึ่งพาเงินกู้ดอกเบี้ยลอยตัว กลยุทธ์เลือกหุ้นที่มี net gearing ratio ต่ำ/เงินสดสุทธิ ราคาหุ้นมี upside สูง (ROBINS, AIT, TASCO, STEC, SYNTEC) เลือก ROBINS (FV@B79), AIT([email protected]) เป็น Top picks
(0) สหรัฐขึ้นดอกเบี้ย ขณะยุโรปชะลอการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายลง
ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) วานนี้เป็นไปตามตลาดคาด คือ คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% (ติดต่อกันนานตั้งแต่ มี.ค.2559) และวงเงิน QE ที่ลดเหลือเดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร มีผลตั้งแต่ เม.ย. 2560 (จาก 8 หมื่นล้านยูโร รวมระยะเวลาโครงการ QE ทั้งสิ้น 34 เดือน มี.ค. 2558–ธ.ค.2560 คาดเม็ดเงินรวม 2.29 ล้านล้านยูโร หรือคิดเป็น 65.4% ของวงเงิน QE สหรัฐ เพิ่มจากเดิมที่คาดว่าจะใช้เงินเพียง 1.75 ล้านล้านยูโร (คิดเป็น 50% ของวงเงิน QE สหรัฐ)
ทั้งนี้ประธาน ECB เผยว่า เศรษฐกิจโดยรวมของยุโรปยังมีทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนได้จากดัชนีฝั่งภาคการผลิตขยายตัวต่อเนื่อง กล่าวคือ PMI ภาคการผลิต เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 หนุนการจ้างงานดีขึ้นสะท้อนจาก อัตราการว่างงาน ล่าสุดลดลงมาอยู่ที่ 9.8% (ระดับต่ำสุดตั้งแต่ ก.ค. 2552) และเงินเฟ้อพุ่งขึ้นมาที่ 2% เดือน ก.พ. (จาก 1.8% ม.ค. และ 1.0% ธ.ค.59) ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบ แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงยังมีอยู่ โดยเฉพาะการที่ประเทศสมาชิกบางแห่ง เตรียมถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป เช่นเดียวกับอังกฤษ (เนเธอร์แลนด์ และ ฝรั่งเศส) ทำให้เชื่อว่าการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของยุโรปยังมี แต่เริ่มลดน้อยลง
อย่างไรก็ตามเชื่อว่าหลังจากนี้ตลาดน่าจะมุ่งให้น้ำหนักไปที่การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) ที่จะมีขึ้นต้นสัปดาห์หน้า 14-15 มี.ค. สะท้อนจากยิ่งใกล้วันประชุมความคาดหวังของตลาดต่อการขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ล่าสุด ผลสำรวจของ Bloomberg คาดโอกาสขึ้นดอกเบี้ย 100% หนุนค่าเงินดอลลาร์อยู่ในทิศทางแข็งค่า กดดันสกุลเงินในภูมิภาคกลับมาอ่อนค่า โดยเฉพาะเงินบาทอ่อนค่าราว 1.5%WTD รองลงมาคือรูเปียะห์ อ่อนค่าราว 0.7% ริงกิต 0.5% และเปโซทรงตัว เป็นปัจจัยกดดัน Fund Flow ไหลออกจากภูมิภาค
(-) เดือน มี.ค. ต่างชาติขายหุ้นไทยทุกวัน
วานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อยราว 22 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) โดยแรงซื้อหลักๆกระจุกตัวอยู่ในตลาดหุ้นเกาหลีใต้กว่า 390 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 วัน) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 12 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 แห่ง ต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ ไต้หวันขายสุทธิราว 368 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 1 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 2) และไทยที่ยังขายสุทธิราว 9 ล้านเหรียญ หรือ 329 ล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 9) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิเล็กน้อยราว 17 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 8 วัน)
ความกังวลว่า Fed มีโอกาสสูงที่จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนนี้ กดดันให้ Fund Flow ไหลออกตลาดหุ้นไทย สังเกตได้จากต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิหุ้นใทยในเดือน มี.ค. ทุกวัน โดยมียอดขายรวมกว่า 9.3 พันล้านบาท (mtd) และยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดตราสารหนี้ที่ถูกขายสุทธิกว่า 2.1 หมื่นล้านบาท (mtd) ส่งผลให้ Bond Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 13.6 bps. (mtd) โดยล่าสุดอยู่ที่ 2.81% ทั้งแรงขายหุ้นและตราสารหนี้ไทย ยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่กดดันให้บาทอ่อนค่าลงกว่า 1.49% (mtd) โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.40 บาท/ดอลลาร์
(-) ดอกเบี้ยขาขึ้น กับผลกระทบหุ้นรับเหมา บันเทิง ชิ้นส่วนฯ
ก่อนที่เราจะทราบผลว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบถัดไปคือ ในกลางสัปดาห์หน้าตามที่นักเศรษฐศาสตร์ที่สำรวจโดย Bloomberg ได้มีความเห็นตรงกันว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอย่างแน่นอนในการประชุมรอบนี้ ซึ่งแน่นอนว่าตลาดหุ้นโลกต้องให้น้ำหนักประเด็นนี้ไปอีกระยะหนึ่ง เพราะแม้ กนง. จะไม่ได้รีบร้อนขึ้นดอกเบี้ย แต่สภาพคล่องในระบบการเงินจะค่อย ๆ ลดลง จาก fund flow ที่ไหลออก ผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนที่มีภาระหนี้สูงดังที่ได้นำเสนอใน market talk เช่น ลิสซิ่ง หรือ ตรงกันข้าม ธนาคารพาณิชย์บางแห่ง อาจจะได้ประโยชน์ในสถาการณ์นี้ หรือ กลุ่มที่ Net cash หรือ มีเงินสดสุทธิน่าจะได้ประโยชน์
วันนี้เรามา update เพิ่มเติมในหลายกลุ่มที่ยังไม่ได้พูดถึง เช่น กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เกษตรและอาหารเป็นต้น
กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง น่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างสูง เพราะมี Net Gearing สูง และหนี้สินส่วนใหญ่เป็นหนี้หมุนเวียน/ระยะสั้น จึงกระทบต่อดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้นในช่วงสั้น ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทรับเหมาขนาดใหญ่เช่น ITD, CK มี net Gearing ratio ประมาณ 2.2 และ 2 เท่า ตามลำดับ และ พบว่ามีสัดส่วนสินเชื่อที่มีดอกเบี้ยลอยตัวราว 61% และ 50% ซึ่งจะผันผวนตามภาวะตลาด จึงทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายแต่ละปีค่อนข้างสูง 2477 ล้านบาท และ 1565 ล้านบาทตามลำดับ หรือ หากพิจารณาอัตราส่วนดอกเบี้ยจ่ายต่อ กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ของ ITD อยู่ที่ 0.77 เท่า สูงกว่า CK อยู่ที่ 0.41 เท่า ทางด้าน ITD จึงดูน่าจะเป็นห่วงมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากทั้ง 2 มีการลงทุนในธุรกิจที่ต่อเนื่อง เช่น CK ลงทุน BEM, CKP, TTW ขณะที่ ITD ลงทุนในเหมืองโปแตซอุดรธานี และ โครงการทวายในพม่า จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ต้องมีการกู้ยืมสูง
บริษัทที่รองลงมาคือ UNIQ โดยมี net gearing ratio ราว 0.68 เท่า และแม้มีสัดส่วนสินเชื่อดอกเบี้ยลอยตัว 73% ของสินเชื่อรวม แต่ไม่น่าเป็นห่วง เพราะยอดสินเชื่อไม่สูง และ ดอกเบี้ยจ่ายคิดเป็น 0.22 เท่า ของ EBIT จึงไม่น่ากังวล
ทั้งนี้ยกเว้นบริษัทรับเหมาขนาดใหญ่อย่าง STEC ที่ยังเป็น Net cash อยู่ จึงได้รับผลกระทบจำกัด จึงน่าจะเป็นบริษัทที่ปลอดภัยในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น
ส่วนหุ้นรับเหมาก่อสร้างขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีฐานเงินสดสุทธิเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ STPI, BJCHI, PYLON ทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายต่อ EBIT อยู่ในระดังต่ำมาก หรือ เข้าใกล้ศูนย์ หรือบางบริษัทจะมี net gearing แต่ต่ำมาก เช่น SYNTEC 0.11 เท่า และ SEAFCO 0.23 เท่า จึงมีอัตราส่วนดอกเบี้ยจ่ายต่อ EBIT ราว 0.11 เท่า และ 0.56 เท่า ตามลำดับ
ขณะที่ NWR เป็นผู้รับเหมารายเล็กที่มี net gearing ratio ค่อนข้างสูงคือ 0.981 เท่า จึงมีอัตราส่วนดอกเบี้ยจ่ายต่อ EBIT 0.56 เท่า
กลุ่มเกษตร-อาหาร ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเน้นการซื้อลงทุนขยายกิจการในต่างประเทศ จึงมี net gearing ratio อยู่ในระดับสูง-ปานกลาง ได้แก่ CPF, TU, BR ดังนี้
CPF ([email protected]) มี net gearing ratio อยู่ที่ 1.40 เท่า ถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง ยังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ โดยภาระหนี้สินส่วนใหญ่เป็นหุ้นกู้ที่ออกมาเพื่อซื้อกิจการในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และหนี้สินส่วนใหญ่ราว 80% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ และอีก 20% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ทั้งนี้ หากอัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น 0.25% จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2560 ของ CPF เท่ากับ 156 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพียง 1.1% ของคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2560 และไม่กระทบ Fair value ปี 2560
TU (FV@B23) มี net gearing ratio อยู่ที่ 1.37 เท่า ถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง ยังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ โดยภาระหนี้สินส่วนใหญ่เป็นหุ้นกู้ที่ออกมาเพื่อซื้อกิจการในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และหนี้สินส่วนใหญ่ราว 70% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ และอีก 30% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ทั้งนี้ หากอัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น 0.25% จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2560 ของ TU เท่ากับ 49 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพียง 0.8% ของคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2560 และกระทบ Fair value ปี 2560 เพียง 1.0%
TFG ([email protected]) มี net gearing ratio อยู่ที่ 1.11 เท่า โดยมีสัดส่วนหนี้สินราว 20% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ และอีก 80% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ทั้งนี้ หากอัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น 0.25% จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2560 ของ TFG เท่ากับ 14 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพียง 0.7% ของคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2560 และกระทบ Fair value ปี 2560 เพียง 0.9%
และ BR (FV@B8) มี net gearing ratio ต่ำราว 0.64 เท่า โดยมีสัดส่วนหนี้สินราว 60% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ และอีก 40% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ทั้งนี้ หากอัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น 0.25% จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2560 ของ BR เท่ากับ 3 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพียง 0.8% ของคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2560 และกระทบ Fair value ปี 2560 เพียง 1.2% จึงประเมินว่า BR จะได้รับผลกระทบจำกัด
ยกเว้น GFPT (FV@B19) มี net gearing ratio อยู่ที่ 0.32 เท่า ถือว่าอยู่ในระดับต่ำ โดย มีสัดส่วนหนี้สินราว 90% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ และอีก 10% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ทั้งนี้ หากอัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น 0.25% จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2560 ของ GFPT เท่ากับ 1 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพียง 0.1% ของคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2560 และไม่กระทบ Fair value ปี 2560 ของ GFPT เลย
STA (FV@B30) มี net gearing ratio อยู่ที่ 1.51 เท่า STA มีสัดส่วนหนี้สินเพียง 15% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ และอีก 85% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ทั้งนี้ หากอัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น 0.25% จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2560 ของ STA เท่ากับ 67 ล้านบาท หรือคิดเป็น 5.4% ของคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2560 และกระทบ Fair value ปี 2560 เท่ากับ 0.2%
KSL ([email protected]) มี net gearing ratio อยู่ที่ 1.12 เท่า โดยหนี้สินราว 60% เป็นหนี้สินระยะยาวจากการออกหุ้นกู้ เพื่อใช้ก่อสร้างโรงงานน้ำตาลครบวงจรที่ อ. บ่อพลอย จ. กาญจนบุรี เมื่อปี 2552 และโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าที่ อ. วังสะพุง จ. เลย เมื่อปี 2554 ทั้งนี้ KSL มีสัดส่วนหนี้สินราว 70% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ และอีก 30% เป็นหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ทั้งนี้ หากอัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น 0.25% จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2560 ของ KSL เท่ากับ 14 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพียง 1.1% ของคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2560 และไม่กระทบ Fair value ปี 2560
ขณะที่กลุ่มอื่นๆ ที่เหลือดูเหมือนจะกระทบต่อทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นน้อย โดยเฉพาะกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่วนใหญ่มีฐานเป็นเงินสดสุทธิคือ DELTA, HANA, SVI จึงน่าจะได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยขาขึ้นจำกัดมาก เช่น SVI ([email protected]) มีสถานะเป็น Net Cash จ่ายปันผลได้สม่ำเสมอ ทั้งยังมี P/E ราว 13.5 เท่า และ upside ราว 19% ขณะที่ผลการดำเนินงานคาดกำไรปกติปีนี้ จะเติบโตสูง 60% จากการได้ลูกค้าใหม่ 4 ราย และลูกค้าเก่าเพิ่มคำสั่งซื้อมากขึ้น บวกกับ Synergy ที่เกิดขึ้นจากการเข้าซื้อกิจการในทวีปยุโรปเมื่อต้นปี 2559 ที่ผ่านมา ช่วยหนุนผลประกอบการให้ดีขึ้น
ยกเว้น KCE แม้มี net gearing ratio อยู่ที่ 0.36 เท่า แต่ก็ถือว่าอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ หากอัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น 0.25% จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2560 ของ KCE เท่ากับ 11 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพียง 0.3% ของคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2560 และกระทบ Fair value ปี 2560 เพียง 0.4%
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์