- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 10 March 2017 17:25
- Hits: 1743
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
แม้ SET ยังผันผวน แต่ก็ลุ้นทรงตัวและดีดขึ้นได้ ดังนั้นซื้อลบแล้วเน้นถือ
ตลาดหุ้นวานนี้ : ถึงแม้ว่า SET จะแกว่งตัวด้านลบทั้งวัน แต่ก็เริ่มมีลักษณะทรงตัวได้ดีขึ้นบ้าง หลังจากวันก่อนหน้าดัชนีปรับตัวลงแรง แล้วยังมีแรงซื้อกลับเข้ามาพยุงตลาด โดยคาดว่า SET ตอบรับเชิงลบกับโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐในการประชุมเฟด 14-15 มี.ค.นี้ไปพอควรแล้ว ทำให้นักลงทุนบางส่วนเริ่มกลับมาเลือกหุ้นซื้ออีกครั้ง อย่างไรก็ตามคาดว่านักลงทุนส่วนใหญ่คงยังรอติดตามตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในค่ำวันที่ 10 มี.ค.นี้อีกครั้ง
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เมื่อคืนนี้ตลาดหุ้นสหรัฐยังคงไหลลงอีกเกือบ 100 จุดในช่วงแรก ซึ่งคาดว่ามาจากความกังวลเกี่ยวกับโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยจากที่ประชุมเฟดกลางสัปดาห์หน้า รวมทั้งแรงกดดันจากการปรับตัวลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอีก 2% หลังนักลงทุนยังวิตกเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐ อย่างไรก็ตามในช่วงท้ายตลาด ดัชนีดาวโจนส์ยังสามารถฟื้นตัวขึ้นมาปิดบวกเล็กน้อยได้ ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปส่วนใหญ่ก็ฟื้นตัวบ้าง จากผลประชุม ECB ที่ยังคงนโยบายทางการเงิน พร้อมส่งสัญญาณเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป ทำให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่ยังเปิดมาในลักษณะแกว่งทรงตัวบวก-ลบแคบๆ เช่นเดิม ซึ่ง FSS คาดว่า SET ก็ยังมีลุ้นแกว่งทรงตัวได้ดีขึ้น และใกล้ที่จะมีจังหวะขยับบวกตามมาในช่วงถัดไปตามคาดได้
กลยุทธ์ : ดังนั้น FSS ยังแนะนำให้เลือกหุ้นทยอยซื้อช่วงลบต่อไป แล้วเน้นถือเพื่อรอรอบบวกของตลาดในช่วงถัดไป เพื่อลุ้นดัชนีขึ้นหาเป้า 1650 จุดตามคาด
แนวรับ 1548-1544 , 1540-1535 จุด
แนวต้าน 1552-1554 , 1557-1560 จุด
หุ้นเด่นทางเทคนิค : LH, GFPT, TISCO(short)
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$20ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้าเกาหลีใต้ US$390 ขณะที่ไหลออกจากไต้หวัน US$368ล้าน และไทย US$9ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางชะลอตัวเพื่อรอผลการประชุม Fed ในกลางเดือนนี้
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) ทั่วโลกคาดเฟดขึ้นดอกเบี้ยสัปดาห์หน้า ยังมีตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรคืนนี้ที่ต้องจับตา โดยตลาดคาดเพิ่ม 2 แสนตำแหน่ง แม้ตลาดจะคาดไปแล้วว่าเฟดขึ้นดอกเบี้ย แต่ก็รอสัญญาณว่าการขึ้นดอกเบี้ยจะถี่และชันขนาดไหน วานนี้ต่างชาติยังคงขายทั้ง 3 ตลาดทั้งหุ้น ฟิวเจอร์ส และพันธบัตร ดอลลาร์แข็งค่าต่อ กดดันหุ้นและ commodity
(-) Commodity ร่วง ราคาน้ำมันปรับลงต่อท่ามกลางสต็อกน้ำมันดิบที่เพิ่มมากในสหรัฐ ซึ่งเพิ่มติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 9 ประกอบกับค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า ซึ่งกดดันราคา Commodity อื่น โดยเฉพาะราคายาง น้ำตาล ถั่วเหลือง ทองแดง กดดันกลุ่มพลังงานและหุ้นที่เกี่ยวข้อง แต่เป็น sentiment บวกกับ EPG, TASCO และ VNG แต่สำหรับ KCE กำไรยังไม่ดีทันทีใน 1Q17 เพราะบริษัทได้ซื้อล่วงหน้าในช่วงที่ทองแดงแพงไปแล้ว
(+) WORK เราปรับกำไรปกติปี 2017-18 ขึ้น 30-38% เป็นเติบโตสูง 135% และ 33% ตามลำดับ จาก Content ที่โดดเด่นโดยเฉพาะ “The Mask Singer” ที่สร้าง Rating ได้ระดับ 8.4 แซงช่อง 3 ที่เคยเป็นอันดับ 2 และหนุนจำนวนผู้ชมใน Digital Media ด้วย ส่วนรายการอื่นก็ rating ดี ทำให้ขึ้นค่าโฆษณาใน 1Q17 ได้ถึง 30-35% Y-Y เป็น 6.0-6.2 หมื่นบาทต่อนาที กำไรคาดฟื้นแรงใน 1Q17 และดีต่อใน 2Q17 ที่เป็น high season ปรับราคาพื้นฐานขึ้นเป็น 62 บาทจาก 44 บาท (DCF) ปรับคำแนะนำขึ้นเป็นซื้อเก็งกำไร จากถือ
(+) ROBINS การพบผู้บริหารวานนี้ ทำให้เรายังเชื่อมั่นว่าประมาณการกำไรปกติที่เราคาดปีนี้โต 22% Y-Y ปีหน้าโต 16% Y-Y มีความเป็นไปได้สูง การเติบโตไม่ได้มาจากการเน้นเปิดสาขา แต่เน้นเพิ่มอัตรากำไร โดยปรับ Product mix เพิ่มสัดส่วนสินค้า House brand และ International brand จาก 11% ในปีก่อนให้เป็น 14% ในปีนี้ และตั้งเป้า 20% ในปี 2020 เน้นการทำกำไรจากช่องทาง on line ให้มากขึ้น ซึ่งเราคิดว่า ROBINS มาถูกทาง ราคาหุ้นปัจจุบันคิดเป็น PE 22 เท่า ต่ำกว่ากลุ่มที่อยู่ที่ 27 เท่า เรายังคงแนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 76 บาท
(-) GL เราปรับกำไรสุทธิปี 2017 ลง 15% เหลือ 1.48 พันล้านบาท +38.7% Y-Y โดยลดการเติบโตของสินเชื่อของบ.ย่อยลง เพราะคิดว่าบริษัทจะหันมาปล่อยสินเชื่อเองทางตรงให้ดีลเลอร์ซึ่งทำให้ปล่อยได้ช้าลง และปรับเพิ่มต้นทุนทางการเงินเพราะหุ้นกู้แปลงสภาพชุดล่าสุดมีดอกเบี้ยสูงขึ้น ทั้งนี้ ไม่รวม Downside ที่อาจเกิดขึ้นจากการด้อยค่าของเงินลงทุนในศรีลังกา ซึ่งมูลค่าที่ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระประเมิน ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีอย่างมีนัยสำคัญ เราปรับราคาพื้นฐานลงเหลือ 32 บาทจาก 48 บาท ยังคงแนะนำขาย
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
10 มี.ค. - จีน:ดุลการค้า (ม.ค.)
- สหรัฐ:การจ้างงานนอกภาคเกษตร (ก.พ.) (ตลาดคาด +2 แสนราย ลดลงจากเดือนก่อนที่ +2.27 แสนราย)
14-15 มี.ค. - สหรัฐ:FOMC Meeting
14 มี.ค. - จีน:ยอดค้าปลีก, Industrial Production (ก.พ.)
- ยูโรโซน: ZEW Survey Expectations (มี.ค.)
15 มี.ค. - สหรัฐ:ยอดค้าปลีก, อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)
- เนเธอร์แลนด์:การเลือกตั้งทั่วไป
16 มี.ค. - ญี่ปุ่น: BOJประชุม
- สหรัฐ: Housing starts & Building permits (ก.พ.)
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)
22 มี.ค. - ฟิลิปปินส์:ธนาคารกลาง (BSP)ประชุม
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านเก่า (ก.พ.)
23 มี.ค. - ไทย:ยอดขายรถ (ก.พ.)
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านใหม่ (ก.พ.)
(0) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดทรงตัวโดยตลาดจับตาดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ก.พ. และอัตราการว่างงานที่จะประกาศคืนนี้
(+) ด้านตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดในแดนบวกได้หลัง ECB มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมวานนี้ รวมถึงยังส่งสัญญาณเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปเนื่องจากเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ
(0) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่ยังแกว่งทรงตัวในกรอบแคบๆเนื่องจากรอดูตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ยกเว้นตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ปรับตัวขึ้นแรงหนุนโดยค่าเงินเยนที่อ่อนค่า
(-) ค่าเงินบาทยังแกว่งตัวอ่อนค่าต่อเนื่อง ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 35.34-35.41 บาท/ดอลลาร์
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ร่วงอีก 1.00 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 49.28 ดอลลาร์/บาร์เรล หลุดต่ำกว่าระดับ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว โดยตลาดกลับมากังวลทางด้านอุปทานที่ยังล้นตลาดอีกครั้ง
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ร่วงลง 6.20 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,203.20 ดอลลาร์/ออนซ์ ต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ เนื่องจากตลาดค่อนข้างมั่นใจว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนนี้แน่นอน
Contact person : Somchai Anektaweepon Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852 www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch