- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 08 March 2017 17:46
- Hits: 3681
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
แม้ SET ยังปรับตัวลงอีกได้ แต่ upside ก็กว้างขึ้น ดังนั้นทยอยซื้อแล้วถือ
ตลาดหุ้นวานนี้ : ถึงแม้ว่า SET จะกลับมาแกว่งทรงตัวบวก/ลบแคบๆ อีกครั้ง หลังจากปรับตัวลงแรงวันก่อน แสดงถึงแรงซื้อที่ยังมีเข้ามาช่วยพยุงตลาด ซึ่งก็เป็นไปตามภาวะตลาดหุ้นเอเชียที่ส่วนใหญ่ยังปิดเป็นบวก แต่เนื่องจากไม่ได้มีปัจจัยบวกใหม่หนุน ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐยังกดดันตลาดอยู่ ทำให้กรอบบวกของ SET ยังจำกัด และในช่วงท้ายตลาดวานนี้ก็ยังมีแรงขายกดดันให้ดัชนีอ่อนตัวลง
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เมื่อคืนนี้ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปยังคงอ่อนแอลงอีก เพราะนอกจากกังวลเกี่ยวกับโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมสัปดาห์หน้าแล้ว (14-15 มี.ค.) นักลงทุนยังวิตกเกี่ยวกับความไม่แน่นอนด้านนโยบายของสหรัฐ หลัง ปธน.สหรัฐเตรียมนำแผนสุขภาพตัวใหม่มาใช้แทน “โอบามาแคร์” รวมทั้งตัวเลขยอดสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีก็ร่วงลงอย่างหนักในเดือน ม.ค. ทำให้นักลงทุนยังรอติดตามดูผลประชุม ECB ในวันพรุ่งนี้ นอกจากนี้ยังรอติดตามตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในค่ำวันศุกร์ที่ 10 มี.ค.ด้วย เพื่อมองหาสัญญาณชี้นำเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ยจากที่ประชุมเฟดในสัปดาห์ถัดไป ทำให้ FSS ยังคาดว่า SET มีแนวโน้มที่จะแกว่งอ่อนตัวลงอีกได้
กลยุทธ์ : SET แกว่งพักตัวลงมาตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค. และเริ่มปรับตัวลงมาต่ำพอควรแล้ว ขณะที่ FSS ยังประเมินระดับดัชนีพื้นฐานของปีนี้ไว้ที่ 1650 จุด ทำให้ upside เปิดกว้างมากขึ้น จึงแนะนำเลือกหุ้นทยอยซื้อแล้วเน้นถือรอรอบขึ้นได้
แนวรับ 1548-1546 , 1543-1538 จุด
แนวต้าน 1552-1557 , 1560-1563 จุด
หุ้นเด่นทางเทคนิค : TWPC, BDMS, ICHI(buy back)
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$35ล้าน นำโดยไต้หวัน US$50ล้าน และเกาหลีใต้ US$49ล้าน ขณะที่ไหลออกไทย US$69ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกจากภูมิภาค นักลงทุนเริ่มวิตกต่อนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ และรอการประชุม FOMC ในกลางเดือนนี้หลังประธาน Fed ส่งสัญญาณว่ามีความพร้อมจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) ตลาดคาดมีโอกาส 98% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย ต่างชาติขายมากขึ้นทั้งตลาดหุ้นและพันธบัตร (ซื้อฟิวเจอร์สเล็กน้อย) ประเด็นนี้จะกดดันตลาดไปจนกว่าจะรู้ผล และตลาดยังจับตาเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยครั้งต่อไปในอัตราเร่งหรือไม่ ส่วนการประชุม ECB พรุ่งนี้ ตลาดคาดคงดอกเบี้ย แต่จับตาแถลงการณ์เรื่องโครงการซื้อสินทรัพย์ ส่วนเรื่อง Brexit ตลาดคาดนายกฯอังกฤษจะประกาศใช้มาตรา 50 เร็วๆนี้ เพื่อเริ่มกระบวนการเจรจาแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป
(-) TK ปีนี้มีแผนขยายสาขาจำนวนมาก ไทย 4 สาขา (ปี 2016 มี 88 สาขา), กัมพูชา 3 สาขา (รวมเป็น 6 สาขา) ลาว 1 สาขา และอาจไป CLMV อีก 1 ประเทศ ทำให้ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานสูงขึ้นโดยเฉพาะในช่วงแรกของการขยายธุรกิจ แม้ว่าเราจะปรับประมาณการการให้สินเชื่อและ Spread เพิ่มขึ้น และคาดกำไรปีนี้ +16.5% Y-Y แต่ราคาหุ้นก็ซื้อขายที่ PE 12 เท่า อยู่ในกรอบบนของ PE ปี 2013 ที่มี ROE ใกล้เคียงกัน จึงลดคำแนะนำเป็นขาย จากเดิมถือ คงราคาพื้นฐาน 12 บาท
(+) TPCH บริษัทคงเป้ามีกำลังผลิตไฟฟ้าชีวมวลที่มี PPA ระดับ 200 MW ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันระดับ 140 MW คาดว่าภาครัฐจะทยอยเปิดประมูลโครงการใหม่ๆใน 2H17 ซึ่งบริษัทมีความได้เปรียบจากประสบการณ์การทำโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยเฉพาะในภาคใต้ แนวโน้มกำไร 1Q17 จะ New high ต่อเนื่องจากโรงไฟฟ้าทุ่งสังกรีน (9.2MW, TPCH ถือ 65%) ผลิตเต็มไตรมาส ส่วนโรงไฟฟ้าพัทลุงกรีนพาวเวอร์ จะเริ่ม COD กลาง เม.ย. เราคงราคาพื้นฐาน 23 บาท แนะนำซื้อ
(+) K Backlog เพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ 762 ล้านบาท และมีงานที่รอผลประมูลทั้งปีอีกราว 2 พันล้านบาท บริษัทคาดได้งาน 50% เพราะส่วนใหญ่เป็นงานตกแต่ง Shop Brand ที่ชะลอมาจากปีกอ่น กำไรปี 2017 ที่เราคาด +5% Y-Y น่าจะต่ำไป มีแนวโน้มปรับขึ้นจากงานในมือที่เพิ่มขึ้นเร็ว การรับงานมีความหลากหลายขึ้น การปรับโครงสร้างภายในช่วยให้ค่าใช้จ่ายลดลง ยังคงแนะนำซื้อ ราคาพื้นฐานปัจจุบัน 7.30 บาท
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
8-มี.ค. - ญี่ปุ่น: 4Q16 GDP
- สหรัฐ:การจ้างงานภาคเอกชน (ก.พ.)
9 มี.ค. - ยูโรโซน: ECB ประชุม
- จีน:อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)
- ฟิลิปปินส์:ธนาคารกลาง (BSP) ประชุม
10 มี.ค. - จีน:ดุลการค้า (ม.ค.)
- สหรัฐ:การจ้างงานนอกภาคเกษตร (ก.พ.) (ตลาดคาด +1.75 แสนราย ลดลงจากเดือนก่อนที่ 2.27 แสนราย)
14-15 มี.ค. - สหรัฐ:FOMC Meeting
14 มี.ค. - จีน:ยอดค้าปลีก, Industrial Production (ก.พ.)
- ยูโรโซน: ZEW Survey Expectations (มี.ค.)
15 มี.ค. - สหรัฐ:ยอดค้าปลีก, อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)
- เนเธอร์แลนด์:การเลือกตั้งทั่วไป
16 มี.ค. - ญี่ปุ่น: BOJประชุม
- สหรัฐ: Housing starts & Building permits (ก.พ.)
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)
(-)ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมายังปิดในแดนลบต่อเนื่องโดยยังคงได้รับแรงกดดันจากกระแสคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED ในเดือนนี้ รวมถึงความไม่แน่นอนด้านนโยบายของทรัมป์หลังพรรครีพับลิกันได้เปิดเผยแผนฉบับใหม่ที่จะนำมาแทนโอบามาแคร์
(-)ด้านตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ผ่านมาปรับตัวลงต่อเนื่องเช่นกันโดยตอบรับเชิงลบกับตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมา รวมถึงยังคงถูกกดดันจากประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยของ FED
(-)ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวค่อนมาในแดนลบเช่นกันจากบรรยากาศการลงทุนที่ยังคงไม่สดใส ขณะที่นักลงทุนจับตาดูตัวเลข GDP 4Q16 แก้ไขของญี่ปุ่น ตัวเลขการค้าของจีน รวมถึงสถานการณ์การเมืองในเกาหลีใต้
(-)ค่าเงินบาทยังคงแกว่งตัวอ่อนค่าลง ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 35.05-35.15 บาท/ดอลลาร์
(-)ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ลดลง 0.06 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 53.14 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังรัฐมนตรีพลังงานของซาอุดิอาระเบียให้ความเห็นว่าจะสนับสนุนให้กลุ่ม OPEC เข้าแทรกแซงตลาดน้ำมันในช่วงเวลาที่จำกัดเท่านั้น ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 9 ติดต่อกัน
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ร่วงลง 9.40 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,216.10 ดอลลาร์/ออนซ์ ต่ำสุดในรอบกว่า 4 สัปดาห์จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าจากความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่ FED จะขึ้นดอกเบี้ยเดือนนี้
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch